จากกรณีการวิจารณ์โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ว่า
"รัฐบาลให้สิทธินักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินถึง 99 ปี ถือเป็นการขายชาติ"
ความจริงการให้สิทธิดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 แต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นการให้สิทธิใหม่หรือให้สิทธิเพิ่มเติม เพราะเป็นสิทธิเดิมที่นักลงทุนต่างชาติเคยได้รับมาตั้งแต่ปี 2542 แล้ว
นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่า
"ขณะนี้มีขบวนการสร้างข่าวบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่ารัฐบาลขายชาติให้กับคนต่างด้าว จึงแสดงความเป็นห่วงเรื่องการรับข่าวสารของประชาชน โดยขอให้ทุกคนพิจารณาด้วยความรอบคอบ และกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง"
• สัญญาเช่าครั้งแรกไม่เกิน 50 ปี (ผู้ที่เข้ามาลงทุนจะต้องเป็นนิติบุคคล ต้องเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่ได้ และถือจำนวนที่ดินได้ไม่เกินที่กฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายการนิคมอุตสาหกรรมกำหนด ถ้าหากไม่ได้ประกอบกิจการ 3 ปี จะต้องขายสิทธิที่ดินภายใน 1 ปี)
• ต่ออายุเพิ่มได้อีกไม่เกิน 49 ปี (การต่ออายุการเช่าที่ดินนั้นจะไม่ใช่การต่อโดยอัตโนมัติ เพราะทุกโครงการต้องผ่านการทบทวน และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหาร EEC กำหนด เช่น จำนวนเงินลงทุน การจ้างงาน ประโยชน์หรือผลกระทบที่เกิดขึ้น)
เงื่อนไขสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักสากล เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ยืนยัน พระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไม่ได้ให้สิทธินักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินในพื้นที่อีอีซีถึง 99 ปี
"ตามสิทธิพระราชบัญญัติการเช่าดินเพื่อการพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 และ พระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กำหนดให้เช่าที่ดินได้ไม่เกิน 50 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีกครั้งไม่เกิน 49 ปี"
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลยืนยันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) เป็นนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยกำหนดให้มีการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ของ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เหมือนกับในหลายประเทศ เช่น ปุตราจายาของมาเลเซีย และซิลิคอนวัลเลย์ของสหรัฐฯ ซึ่งทุกโครงการที่จะเข้ามาลงทุนต้องศึกษาความเป็นไปได้ เช่น ประโยชน์ที่จะได้รับ ผลกระทบที่เกิดกับชุมชน และการแนวทางการเยียวยา โดยก่อนการอนุมัติโครงการต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงเปิดเผยผลการศึกษา และร่างผังของเขตส่งเสริมที่จะขอรับการสนับสนุนด้วย
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ที่เข้ามาลงทุนจะต้องเป็นนิติบุคคล ต้องเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่ได้ และถือจำนวนที่ดินได้ไม่เกินที่กฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายการนิคมอุตสาหกรรมกำหนด ถ้าหากไม่ได้ประกอบกิจการ 3 ปี จะต้องขายสิทธิที่ดินภายใน 1 ปี อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ระบุว่า ขณะนี้มีขบวนการสร้างข่าวบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่ารัฐบาลขายชาติให้กับคนต่างด้าว จึงแสดงความเป็นห่วงเรื่องการรับข่าวสารของประชาชน โดยขอให้ทุกคนพิจารณาด้วยความรอบคอบ และกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ส่วนการให้คนต่างด้าวสามารถซื้อคอนโดที่พักได้โดยยกเว้นหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดนั้น จะอนุญาตเฉพาะนิติบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาลงทุน คนต่างด้าวทั่วไปไม่สามารถทำได้ และผู้ประกอบกิจการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารหรือผู้ชํานาญการ ต้องได้รับอนุญาตให้ทำงานจากเลขาธิการ อีอีซี สำหรับการชำระเงินของนักลงทุนเหล่านี้สามารถใช้เงินตราต่างประเทศภายในเขตส่งเสริมได้ และหากมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน ธปท.สามารถเข้ามากำกับดูแลได้ทันที
ที่มา : ใส่สีตีข่าว
EEC - โต้ปมรัฐบาลขายชาติ เอื้อต่างชาติเช่าที่ดิน ‘อีอีซี’ 99 ปี
"รัฐบาลให้สิทธินักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินถึง 99 ปี ถือเป็นการขายชาติ"
ความจริงการให้สิทธิดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากสิทธิตาม พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 แต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นการให้สิทธิใหม่หรือให้สิทธิเพิ่มเติม เพราะเป็นสิทธิเดิมที่นักลงทุนต่างชาติเคยได้รับมาตั้งแต่ปี 2542 แล้ว
นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่า
"ขณะนี้มีขบวนการสร้างข่าวบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่ารัฐบาลขายชาติให้กับคนต่างด้าว จึงแสดงความเป็นห่วงเรื่องการรับข่าวสารของประชาชน โดยขอให้ทุกคนพิจารณาด้วยความรอบคอบ และกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง"
• สัญญาเช่าครั้งแรกไม่เกิน 50 ปี (ผู้ที่เข้ามาลงทุนจะต้องเป็นนิติบุคคล ต้องเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่ได้ และถือจำนวนที่ดินได้ไม่เกินที่กฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายการนิคมอุตสาหกรรมกำหนด ถ้าหากไม่ได้ประกอบกิจการ 3 ปี จะต้องขายสิทธิที่ดินภายใน 1 ปี)
• ต่ออายุเพิ่มได้อีกไม่เกิน 49 ปี (การต่ออายุการเช่าที่ดินนั้นจะไม่ใช่การต่อโดยอัตโนมัติ เพราะทุกโครงการต้องผ่านการทบทวน และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหาร EEC กำหนด เช่น จำนวนเงินลงทุน การจ้างงาน ประโยชน์หรือผลกระทบที่เกิดขึ้น)
เงื่อนไขสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นไปตามหลักสากล เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ยืนยัน พระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไม่ได้ให้สิทธินักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินในพื้นที่อีอีซีถึง 99 ปี
"ตามสิทธิพระราชบัญญัติการเช่าดินเพื่อการพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 และ พระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กำหนดให้เช่าที่ดินได้ไม่เกิน 50 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีกครั้งไม่เกิน 49 ปี"
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลยืนยันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) เป็นนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยกำหนดให้มีการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ของ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เหมือนกับในหลายประเทศ เช่น ปุตราจายาของมาเลเซีย และซิลิคอนวัลเลย์ของสหรัฐฯ ซึ่งทุกโครงการที่จะเข้ามาลงทุนต้องศึกษาความเป็นไปได้ เช่น ประโยชน์ที่จะได้รับ ผลกระทบที่เกิดกับชุมชน และการแนวทางการเยียวยา โดยก่อนการอนุมัติโครงการต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมถึงเปิดเผยผลการศึกษา และร่างผังของเขตส่งเสริมที่จะขอรับการสนับสนุนด้วย
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ที่เข้ามาลงทุนจะต้องเป็นนิติบุคคล ต้องเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่ได้ และถือจำนวนที่ดินได้ไม่เกินที่กฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายการนิคมอุตสาหกรรมกำหนด ถ้าหากไม่ได้ประกอบกิจการ 3 ปี จะต้องขายสิทธิที่ดินภายใน 1 ปี อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ระบุว่า ขณะนี้มีขบวนการสร้างข่าวบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่ารัฐบาลขายชาติให้กับคนต่างด้าว จึงแสดงความเป็นห่วงเรื่องการรับข่าวสารของประชาชน โดยขอให้ทุกคนพิจารณาด้วยความรอบคอบ และกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ส่วนการให้คนต่างด้าวสามารถซื้อคอนโดที่พักได้โดยยกเว้นหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดนั้น จะอนุญาตเฉพาะนิติบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาลงทุน คนต่างด้าวทั่วไปไม่สามารถทำได้ และผู้ประกอบกิจการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารหรือผู้ชํานาญการ ต้องได้รับอนุญาตให้ทำงานจากเลขาธิการ อีอีซี สำหรับการชำระเงินของนักลงทุนเหล่านี้สามารถใช้เงินตราต่างประเทศภายในเขตส่งเสริมได้ และหากมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน ธปท.สามารถเข้ามากำกับดูแลได้ทันที
ที่มา : ใส่สีตีข่าว