ซาอุดีฯ ยกทัพ 200 นักธุรกิจ บุกร่วมทุนไทย 3 ธุรกิจใหญ่ ล็อคเป้า “อีอีซี”
.
รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนซาอุดีฯ มาเอง นำทัพ 200 นักธุรกิจบุกไทย ลุยจับคู่ร่วมลงทุน 3 ธุรกิจใหญ่ “ท่องเที่ยวโรงแรม-สร้างเมืองใหม่-พลังงาน” เอกชนชี้เป็นโอกาสดีสุด ๆ ในรอบ 32 ปีหลังฟื้นสัมพันธ์ เล็งเป้าดึงลงทุนระลอกใหญ่ลงอีอีซี ขณะ 3 อุตฯไทยเนื้อหอม เวลคัมร่วมลงทุนในซาอุดีฯ
.
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือสำนักงานอีอีซี เผยว่า ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 นี้ Mr.Khalid Abdulaziz Al-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนแห่งซาอุดีอาระเบียจะนำคณะภาคเอกชนที่เป็นนักธุรกิจ และนักลงทุนของซาอุดีฯ รวมกว่า 200 คน ร่วมงาน “Thai – Saudi Investment Forum” ในประเทศไทย
.
ไฮไลน์สำคัญ จะมีการลงนาม MOU ร่วมกันในธุรกิจเป้าหมาย ไทย-ซาอุดีฯ, การนำเสนอภาพรวมกลยุทธ์การลงทุนร่วมไทย-ซาอุดีฯ โดย นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และนายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาอีอีซี นอกจากนี้จะมีเวทีเสวนาร่วมระหว่างผู้บริหารของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)และหอการค้าซาอุดีฯ โดย นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และ Mr. Bads Aldadr ,Deputy Minister of Investor Outreach, MISA
.
นอกจากนี้จะมีการเสวนาและจับคู่ธุรกิจ (บิซิเนส แมชชิ่ง) ร่วมลงทุนธุรกิจเป้าหมายภาคเอกชนและนักธุรกิจของไทย-ซาอุดีฯ ใน 3 เวทีได้แก่ ในธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม, ธุรกิจการสร้างมืองใหม่ และธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งจะเป็นการเปิดมิติใหม่ในการร่วมลงทุนไทย-ซาอุดีฯ ในรอบ 32 ปี หลังฟื้นความสัมพันธ์
.
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ไทยและซาอุดีฯได้แลกเปลี่ยนการเดินทางเยือนของคณะภาครัฐ-เอกชนกันหลายรอบแล้วในรอบปีนี้ หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้นำคณะเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เมื่อปลายเดือนมกราคม 2565 และประกาศการฟื้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
.
สำหรับการเดินทางเยือนไทยและร่วมเวทีเชื่อมสัมพันธ์ด้านการลงทุนกันในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ให้มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยทั้งสองฝ่ายได้เชิญชวนในการแลกเปลี่ยน และร่วมลงทุนทั้งในไทยและในซาอุดีฯ
.
ในส่วนของไทยมีเป้าหมายเชิญชวนทางซาอุดีฯมาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ในเบื้องต้นมีธุรกิจที่ซาอุดีฯให้ความสนใจลงทุน หรือร่วมลงทุนในอีอีซี เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ เครื่องใช้ไฟฟ้า การแพทย์ เกษตรชีวภาพ อาหารแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ก่อสร้าง ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และภาคการเงิน เป็นต้น
.
ขณะที่ทางซาอุดีฯได้เชิญชวนไทยไปร่วมลงทุนใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ 1.ชิ้นส่วนยานยนต์ ที่หลังเปิดประเทศหลังโควิดคลี่คลาย ความต้องการใช้ชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อซ่อมบำรุงรถในซาอุดีฯ มีมากขึ้น และปัจจุบันทางการซาอุดีฯได้เปิดโอกาสให้สตรีขับรถเองได้แล้ว 2.เครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากซาอุดีฯ มีสภาพอากาศที่ร้อน จึงมีความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง และ 3.อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันและปิโตรเลียม เช่น ปิโตรเคมี จากซาอุดีฯผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และมีวัตถุดิบขั้นต้นครบวงจร
.
“ปัจจุบันบริษัทไทยไปลงทุนในซาอุฯ ยังมีน้อย จากความสัมพันธ์ที่หยุดชะงักไปในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดหลังฟื้นความสัมพันธ์ มีทาง ปตท.(โดย บมจ. ปตท.น้ำมันและค้าปลีก หรือโออาร์) ได้เปิดร้านคาเฟ่ อเมซอน สาขาแรกในซาอุดีฯ ที่กรุงริยาด นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นการทำการค้า การส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซาอุฯ ลงทุนไทยช่วงที่ผ่านมายังมีน้อย ซึ่งหากดึงเขามาร่วมลงทุนได้ โอกาสที่สินค้าและบริการจากไทยในการเจาะตลาดซาอุดีฯและตลาดอื่น ๆ ก็จะมีเพิ่มขึ้น”นายชัยชาญ กล่าว
.
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
.
#เปรี้ยง
#เพิ่มเสียงดังให้ความจริง
#WEREBACK
#เรากลับมาแล้ว
#โฉมใหม่
@@@ ซาอุบุก EEC ลงนาม MOU @@@
.
รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนซาอุดีฯ มาเอง นำทัพ 200 นักธุรกิจบุกไทย ลุยจับคู่ร่วมลงทุน 3 ธุรกิจใหญ่ “ท่องเที่ยวโรงแรม-สร้างเมืองใหม่-พลังงาน” เอกชนชี้เป็นโอกาสดีสุด ๆ ในรอบ 32 ปีหลังฟื้นสัมพันธ์ เล็งเป้าดึงลงทุนระลอกใหญ่ลงอีอีซี ขณะ 3 อุตฯไทยเนื้อหอม เวลคัมร่วมลงทุนในซาอุดีฯ
.
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือสำนักงานอีอีซี เผยว่า ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 นี้ Mr.Khalid Abdulaziz Al-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนแห่งซาอุดีอาระเบียจะนำคณะภาคเอกชนที่เป็นนักธุรกิจ และนักลงทุนของซาอุดีฯ รวมกว่า 200 คน ร่วมงาน “Thai – Saudi Investment Forum” ในประเทศไทย
.
ไฮไลน์สำคัญ จะมีการลงนาม MOU ร่วมกันในธุรกิจเป้าหมาย ไทย-ซาอุดีฯ, การนำเสนอภาพรวมกลยุทธ์การลงทุนร่วมไทย-ซาอุดีฯ โดย นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และนายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาอีอีซี นอกจากนี้จะมีเวทีเสวนาร่วมระหว่างผู้บริหารของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)และหอการค้าซาอุดีฯ โดย นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และ Mr. Bads Aldadr ,Deputy Minister of Investor Outreach, MISA
.
นอกจากนี้จะมีการเสวนาและจับคู่ธุรกิจ (บิซิเนส แมชชิ่ง) ร่วมลงทุนธุรกิจเป้าหมายภาคเอกชนและนักธุรกิจของไทย-ซาอุดีฯ ใน 3 เวทีได้แก่ ในธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม, ธุรกิจการสร้างมืองใหม่ และธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งจะเป็นการเปิดมิติใหม่ในการร่วมลงทุนไทย-ซาอุดีฯ ในรอบ 32 ปี หลังฟื้นความสัมพันธ์
.
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ไทยและซาอุดีฯได้แลกเปลี่ยนการเดินทางเยือนของคณะภาครัฐ-เอกชนกันหลายรอบแล้วในรอบปีนี้ หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้นำคณะเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เมื่อปลายเดือนมกราคม 2565 และประกาศการฟื้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
.
สำหรับการเดินทางเยือนไทยและร่วมเวทีเชื่อมสัมพันธ์ด้านการลงทุนกันในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ให้มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยทั้งสองฝ่ายได้เชิญชวนในการแลกเปลี่ยน และร่วมลงทุนทั้งในไทยและในซาอุดีฯ
.
ในส่วนของไทยมีเป้าหมายเชิญชวนทางซาอุดีฯมาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ในเบื้องต้นมีธุรกิจที่ซาอุดีฯให้ความสนใจลงทุน หรือร่วมลงทุนในอีอีซี เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ เครื่องใช้ไฟฟ้า การแพทย์ เกษตรชีวภาพ อาหารแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ก่อสร้าง ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และภาคการเงิน เป็นต้น
.
ขณะที่ทางซาอุดีฯได้เชิญชวนไทยไปร่วมลงทุนใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ 1.ชิ้นส่วนยานยนต์ ที่หลังเปิดประเทศหลังโควิดคลี่คลาย ความต้องการใช้ชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อซ่อมบำรุงรถในซาอุดีฯ มีมากขึ้น และปัจจุบันทางการซาอุดีฯได้เปิดโอกาสให้สตรีขับรถเองได้แล้ว 2.เครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากซาอุดีฯ มีสภาพอากาศที่ร้อน จึงมีความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง และ 3.อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันและปิโตรเลียม เช่น ปิโตรเคมี จากซาอุดีฯผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และมีวัตถุดิบขั้นต้นครบวงจร
.
“ปัจจุบันบริษัทไทยไปลงทุนในซาอุฯ ยังมีน้อย จากความสัมพันธ์ที่หยุดชะงักไปในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดหลังฟื้นความสัมพันธ์ มีทาง ปตท.(โดย บมจ. ปตท.น้ำมันและค้าปลีก หรือโออาร์) ได้เปิดร้านคาเฟ่ อเมซอน สาขาแรกในซาอุดีฯ ที่กรุงริยาด นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นการทำการค้า การส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซาอุฯ ลงทุนไทยช่วงที่ผ่านมายังมีน้อย ซึ่งหากดึงเขามาร่วมลงทุนได้ โอกาสที่สินค้าและบริการจากไทยในการเจาะตลาดซาอุดีฯและตลาดอื่น ๆ ก็จะมีเพิ่มขึ้น”นายชัยชาญ กล่าว
.
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
.
#เปรี้ยง
#เพิ่มเสียงดังให้ความจริง
#WEREBACK
#เรากลับมาแล้ว
#โฉมใหม่