จากที่เราได้อ่านข่าว และได้ไปนั่งคุยกับเพื่อนๆ ในประเด็นที่ว่า ประเทศไทยจะกลับมาฟื้นฟูการท่องเที่ยวได้เร็วตามข่าวมั้ย ทำไมข่าวดีที่ออกมันกลับสวนทางกับคนทำงานจริง ที่รู้ ๆ มาหลายธุรกิจจัง เลยลองมาสรุปวิเคราะห์ในอีกมุมที่เราอาจลืมนึกถึงกันไปหรือเปล่า คือ ไทยเราเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวได้แบบปกติแล้วตั้งแต่ 1 ตค. ที่ผ่านมา ซึ่งจริง ๆ ก็ทยอยผ่อนปรนกันมาหลายเดือนแล้ว ตอนนี้จึงถือได้ว่าเราเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวกันได้เต็มที่แล้ว ต่อไปเศรษฐกิจบ้านเราก็น่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ หลายธุรกิจก็น่าจะได้รับอนิสงค์ มียอดขายมีรายได้ฟื้นตัวกลับมาเหมือนก่อนหน้านี้ เป็นการฟื้นตัวไปตามเศรษฐกิจภาพใหญ่ของบ้านเราด้วย โดยเฉพาะธุรกิจหลายอย่างที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
แต่การที่หลายคนมองว่าพอเปิดประเทศปุ๊บธุรกิจต่างๆ ด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม บริษัททัวร์ ร้านอาหาร ร้านค้าดิวตี้ฟรี น่าจะมียอดขายมีรายได้เป็นกอบเป็นกำกันอย่างรวดเร็วและกลับไปมีชีวิตเหมือนตอนก่อนโดวิดนั้น ความจริงมันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะผลกระทบของไวรัสโควิด19 มันลากยาวมาเกือบ 3 ปีเลยทีเดียว อย่าว่าแต่ไทยเลย กิจกรรมทั่วโลกก็ชะงักเปิด ๆ ปิด ๆ กันมาตั้งนาน อยู่ ๆ เปิดประเทศมาได้ไม่กี่เดือนจะให้ทุกอย่างกลับไปเหมือนเดิม(ตามข่าวพาดหัวต่างๆ) ให้เศรษฐกิจฟื้นตัวบุ๊ปปั๊บดังใจหลาย ๆ คนมันคงยากและคงต้องใช้เวลากันสักระยะหนึ่งแหละ
แล้วถ้ามาดูข้อเท็จจริงหลายเรื่องในวันนี้ เราน่าจะเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าทำไมธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงยังไม่ฟื้นตัว อย่างแรกเลย ผู้ประกอบการหลายรายยังอยู่ในภาวะลำบากต้องแบกรับภาระหนี้สิน ต้องแก้ไขปัญหาสารพัดที่เกิดขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ทั้งเรื่องไม่มีรายได้มีแต่รายจ่ายสารพัด เรียกว่าช่วงที่ล็อกดาวน์ปิดประเทศ เงินทุนที่มีคงลดน้อยลง ไม่ก็อาจจะหมดไปเลย
หลายธุรกิจที่ยืนอยู่ได้ถึงวันนี้ ไม่ได้ล้มหายตายจาก หรือเลิกกิจการไปเสียก่อน ก็ต้องแบกค่าใช้จ่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าร้านเช่าที่ เงินเดือน พนง.ที่ต้องจ่ายทุกเดือน ไหนจะ ค่าบริหารจัดการ ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าใช้จ่ายจิปาถะที่ต้องจ่ายเชื่อว่าทุกเดือนมีแต่รายจ่ายออก มากกว่ารายรับแน่นนอน หรือใครดูแลพนักงานไม่ไหวต้องเลิกจ้าง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานอีก เรียกได้ว่า มีแต่รายจ่าย จ่าย แล้วก็จ่ายออก ไม่ว่าจะยังรักษาพนักงานไว้หรือไม่ก็ตาม
อย่างที่สอง พอเราเปิดประเทศ บรรดาโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าดิวตี้ฟรี สนามบิน หรือธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อม ต้องปรับปรุงร้าน หรือสถานที่ ซ่อมแซมโน้นนี่นั่นให้มันดูดี ซึ่งเรื่องทั้งหลายก็ต้องมีเงินเป็นหัวใจสำคัญ ถ้าทุนเดิมยังพอมีก็ดีไป แต่ถ้าไม่มี หรือมีไม่พอ ก็ต้องไปกู้ยืมมาก็ต้องมีภาระเรื่องดอกเบี้ยที่จะต้องเสียเพิ่มอีก หรือถ้าก่อนหน้านี้เป็นหนี้อยู่แล้ว ก็ต้องเตรียมใช้หนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยต่อไปอีกด้วย
ยิ่งใครจะกลับมาทำธุรกิจต่อในช่วงนี้ ก็เหมือนเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ และเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนก็สูงไม่น้อย เพราะข้าวของแพงทุกอย่าง จากผลกระทบของเงินเฟ้อสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมา ปีนี้น่าจะเห็นช่วง 5.5%-6.5% แถมราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้นอีก แล้วยังงี้ต้นทุนทำธุรกิจในปีนี้หรือในปีต่อ ๆ ไปจะไม่สูงขึ้นได้ยังไง ไหนจะเรื่องดอกเบี้ยที่ตอนนี้เป็นภาวะขาขึ้น อย่างแบงก์ชาติก็เพิ่งประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1% แล้ว ต่อไปต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการสูงขึ้นแน่นอน นี่ยังไม่นับเรื่องค่าเงินบาทของไทยที่อ่อนค่าด้วย เรียกได้ว่ามีสารพัดปัจจัยลบทั้งนั้น
อย่างที่สาม คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาบ้านเราช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ จากข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีแค่ 3.33 ล้านคนกว่า ๆ เท่านั้น ไม่ได้เยอะเท่าเมื่อก่อนแล้ว ที่มีตัวเลขปีละ 40 ล้านคน เต็มที่ปีนี้อาจจะได้แค่ 7-8 ล้านคนเท่านั้น ไม่ใช่แค่จำนวนน้อยเท่านั้นนะ แต่นักท่องเที่ยวหลักที่ช้อปปิ้งหนัก ๆ อย่างคนจีนแผ่นดินใหญ่ก็ยังไม่ได้กลับมาเที่ยวบ้านเราด้วย เพราะเขายังไม่ได้เปิดประเทศกันเลย จะหวังให้ธุรกิจต่าง ๆ โกยเงินกันเป็นกอบเป็นกำเหมือนเมื่อก่อนก็ยากอยู่นะ
หลาย ๆ เหตุผลที่เล่ามา เราว่าน่าจะทำให้พอเห็นภาพได้ว่า ทำไมธุรกิจด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวซักที ทั้ง ๆ ที่เราก็เปิดประเทศกันมาพักนึงแล้ว ซึ่งความจริงนั้นไม่ว่าเศรษฐกิจภาพรวม หรือว่ากลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้เป็นปกติ จะต้องมีมาตรการออกมากระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจด้วยกันทั้งระบบ และต้องมีปัจจัยบวกหลาย ๆ อย่างหนุนด้วย
ที่สำคัญ บ้านเรายังต้องพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกประเทศด้วย ถ้าพวกเขาเศรษฐกิจดีก็จะมีกำลังซื้อมาจับจ่ายใช้สอยในบ้านเรา หรือช่วยในเรื่องการส่งออกให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันไปหมดเหมือนห่วงโซ่ แต่ยังไงเสียเราเชื่อว่าทุกอย่างจะปรับตัวดีขึ้น แต่มันคงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และมันต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูพอสมควร ที่สำคัญคืออยากให้รัฐเล็งเห็นปัญหาตรงนี้ให้มาก ช่วยหามาตรการระยะยาวที่นอกจากแค่โปรโมทดึงคนเข้ามาเที่ยว อย่าลืมว่าการเยียวยาธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังบาดเจ็บหนักอยู่ก็สำคัญไม่แพ้กัน
ข้อมูลอ้างอิงที่เราไปอ่านๆ มาตามนี้เลย
https://www.bangkokbiznews.com/business/1018706
https://www.bangkokbiznews.com/business/1019241
https://www.bot.or.th/
สงสัยเปิดประเทศแล้ว ทำไม? ธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวเสียที
แต่การที่หลายคนมองว่าพอเปิดประเทศปุ๊บธุรกิจต่างๆ ด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม บริษัททัวร์ ร้านอาหาร ร้านค้าดิวตี้ฟรี น่าจะมียอดขายมีรายได้เป็นกอบเป็นกำกันอย่างรวดเร็วและกลับไปมีชีวิตเหมือนตอนก่อนโดวิดนั้น ความจริงมันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะผลกระทบของไวรัสโควิด19 มันลากยาวมาเกือบ 3 ปีเลยทีเดียว อย่าว่าแต่ไทยเลย กิจกรรมทั่วโลกก็ชะงักเปิด ๆ ปิด ๆ กันมาตั้งนาน อยู่ ๆ เปิดประเทศมาได้ไม่กี่เดือนจะให้ทุกอย่างกลับไปเหมือนเดิม(ตามข่าวพาดหัวต่างๆ) ให้เศรษฐกิจฟื้นตัวบุ๊ปปั๊บดังใจหลาย ๆ คนมันคงยากและคงต้องใช้เวลากันสักระยะหนึ่งแหละ
แล้วถ้ามาดูข้อเท็จจริงหลายเรื่องในวันนี้ เราน่าจะเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าทำไมธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงยังไม่ฟื้นตัว อย่างแรกเลย ผู้ประกอบการหลายรายยังอยู่ในภาวะลำบากต้องแบกรับภาระหนี้สิน ต้องแก้ไขปัญหาสารพัดที่เกิดขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ทั้งเรื่องไม่มีรายได้มีแต่รายจ่ายสารพัด เรียกว่าช่วงที่ล็อกดาวน์ปิดประเทศ เงินทุนที่มีคงลดน้อยลง ไม่ก็อาจจะหมดไปเลย
หลายธุรกิจที่ยืนอยู่ได้ถึงวันนี้ ไม่ได้ล้มหายตายจาก หรือเลิกกิจการไปเสียก่อน ก็ต้องแบกค่าใช้จ่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าร้านเช่าที่ เงินเดือน พนง.ที่ต้องจ่ายทุกเดือน ไหนจะ ค่าบริหารจัดการ ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าใช้จ่ายจิปาถะที่ต้องจ่ายเชื่อว่าทุกเดือนมีแต่รายจ่ายออก มากกว่ารายรับแน่นนอน หรือใครดูแลพนักงานไม่ไหวต้องเลิกจ้าง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานอีก เรียกได้ว่า มีแต่รายจ่าย จ่าย แล้วก็จ่ายออก ไม่ว่าจะยังรักษาพนักงานไว้หรือไม่ก็ตาม
อย่างที่สอง พอเราเปิดประเทศ บรรดาโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าดิวตี้ฟรี สนามบิน หรือธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อม ต้องปรับปรุงร้าน หรือสถานที่ ซ่อมแซมโน้นนี่นั่นให้มันดูดี ซึ่งเรื่องทั้งหลายก็ต้องมีเงินเป็นหัวใจสำคัญ ถ้าทุนเดิมยังพอมีก็ดีไป แต่ถ้าไม่มี หรือมีไม่พอ ก็ต้องไปกู้ยืมมาก็ต้องมีภาระเรื่องดอกเบี้ยที่จะต้องเสียเพิ่มอีก หรือถ้าก่อนหน้านี้เป็นหนี้อยู่แล้ว ก็ต้องเตรียมใช้หนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยต่อไปอีกด้วย
ยิ่งใครจะกลับมาทำธุรกิจต่อในช่วงนี้ ก็เหมือนเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ และเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนก็สูงไม่น้อย เพราะข้าวของแพงทุกอย่าง จากผลกระทบของเงินเฟ้อสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมา ปีนี้น่าจะเห็นช่วง 5.5%-6.5% แถมราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้นอีก แล้วยังงี้ต้นทุนทำธุรกิจในปีนี้หรือในปีต่อ ๆ ไปจะไม่สูงขึ้นได้ยังไง ไหนจะเรื่องดอกเบี้ยที่ตอนนี้เป็นภาวะขาขึ้น อย่างแบงก์ชาติก็เพิ่งประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1% แล้ว ต่อไปต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการสูงขึ้นแน่นอน นี่ยังไม่นับเรื่องค่าเงินบาทของไทยที่อ่อนค่าด้วย เรียกได้ว่ามีสารพัดปัจจัยลบทั้งนั้น
อย่างที่สาม คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาบ้านเราช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ จากข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีแค่ 3.33 ล้านคนกว่า ๆ เท่านั้น ไม่ได้เยอะเท่าเมื่อก่อนแล้ว ที่มีตัวเลขปีละ 40 ล้านคน เต็มที่ปีนี้อาจจะได้แค่ 7-8 ล้านคนเท่านั้น ไม่ใช่แค่จำนวนน้อยเท่านั้นนะ แต่นักท่องเที่ยวหลักที่ช้อปปิ้งหนัก ๆ อย่างคนจีนแผ่นดินใหญ่ก็ยังไม่ได้กลับมาเที่ยวบ้านเราด้วย เพราะเขายังไม่ได้เปิดประเทศกันเลย จะหวังให้ธุรกิจต่าง ๆ โกยเงินกันเป็นกอบเป็นกำเหมือนเมื่อก่อนก็ยากอยู่นะ
หลาย ๆ เหตุผลที่เล่ามา เราว่าน่าจะทำให้พอเห็นภาพได้ว่า ทำไมธุรกิจด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวซักที ทั้ง ๆ ที่เราก็เปิดประเทศกันมาพักนึงแล้ว ซึ่งความจริงนั้นไม่ว่าเศรษฐกิจภาพรวม หรือว่ากลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้เป็นปกติ จะต้องมีมาตรการออกมากระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจด้วยกันทั้งระบบ และต้องมีปัจจัยบวกหลาย ๆ อย่างหนุนด้วย
ที่สำคัญ บ้านเรายังต้องพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกประเทศด้วย ถ้าพวกเขาเศรษฐกิจดีก็จะมีกำลังซื้อมาจับจ่ายใช้สอยในบ้านเรา หรือช่วยในเรื่องการส่งออกให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันไปหมดเหมือนห่วงโซ่ แต่ยังไงเสียเราเชื่อว่าทุกอย่างจะปรับตัวดีขึ้น แต่มันคงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และมันต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูพอสมควร ที่สำคัญคืออยากให้รัฐเล็งเห็นปัญหาตรงนี้ให้มาก ช่วยหามาตรการระยะยาวที่นอกจากแค่โปรโมทดึงคนเข้ามาเที่ยว อย่าลืมว่าการเยียวยาธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังบาดเจ็บหนักอยู่ก็สำคัญไม่แพ้กัน
ข้อมูลอ้างอิงที่เราไปอ่านๆ มาตามนี้เลย https://www.bangkokbiznews.com/business/1018706
https://www.bangkokbiznews.com/business/1019241
https://www.bot.or.th/