ศรัทธาคืออะไร?

กระทู้คำถาม
ศรัทธาคืออะไร? (ข้อเขียนนี้โดยอาจารย์กำธร เสนจันทร์ฒิไชย พ.ม.,กศ.บ.,ศศ.ม.ข้าฯไม่ใช่ผู้ชํานาญการหรือเชี่ยวชาญใดๆ เป็นแค่ฅนธรรมดาจึงไม่รับรองว่า..ข้อเขียนนี้ถูกต้อง) 
ศรัทธาคืออะไร?  คือ ความเชื่อมั่นในสิ่งดีงาม, ความเลื่อมใส, ความเห็นชอบ , ความชื่นชม ฯ อาทิ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต้องศรัทธาในหลักตรีมูรติ ของพระพรหม , พระวิษณุนารายณ์ , พระอิศวรศิวะและเชื่อในคัมภีร์พระเวทที่ปรากฏแก่ฤๅษีผู้มีฌานวิเศษอยู่เหนือปัญญาขั้นเหตุผลของมนุษย์  
ศาสนาพุทธ...ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล  องค์ตถาคตได้ตรัสถามพระสารีบุตรว่า...ที่ท่านศึกษาธรรมจนแตกฉานนั้นท่านมีศรัทธาในตัวเราหรืออย่างไร? พระสารีบุตรตอบว่า..ข้าพระพุทธเจ้าได้ศึกษาตามที่พระองค์สอนจนเห็นความจริงของธรรมะได้ด้วยตัวเอง หาได้เชื่อเพราะศรัทธาในสิ่งที่พระองค์สอนแต่อย่างใด แต่เชื่อเพราะรู้ถึงความจริงนั้นว่าเป็นอย่างนั้นจริงตามที่พระองค์ทรงสอน.ตถาคตจึงตรัสกับพระสารีบุตรว่า...ถูกต้องเเล้ว ท่านเป็นผู้ศึกษาด้วยปัญญาจนเห็นธรรมะ เห็นความจริงของธรรมะด้วยปัญญาของตนเอง ศรัทธาที่เคยมีต่อเราไม่จำเป็นอีกต่อไป พระอรหันต์ไม่ต้องมีศรัทธา มีแต่ปัญญากับเมตตาเเค่นั้นก็พอ..ฯ..
  ศาสนาเชน ต้องศรัทธาว่า “พระมหาวีระ” เป็นศาสดาองค์สุดท้ายผู้เข้าถึง “มุกตชีวะ”(วิญญาณ) ที่หลุดพ้นจากกฎแห่งกรรมแล้ว  
ศาสนาสิกข์ ต้องจงรักภักดีต่อพระ “สัจจะ”ผู้ทรงสร้างผู้ปราศจากความกลัวผู้เป็นอมฤตภาพกำลังเป็นอยู่ เป็นมาแล้ว และจะเป็นต่อไป เชื่อกฎแห่งกรรมเชื่อผลของกรรมเชื่อสัตว์มีกรรมเป็นของของตนเชื่อองค์ตถาคตเป็นพระสัมมาสัมพุทธะผู้ตรัสรู้สัจธรรมด้วยพระองค์เองโดยชอบและเชื่อว่า มนุษย์ทั้งผองเป็นพี่น้องกัน  
ศาสนาคริสต์ฝ่ายคาทอลิก ต้องเชื่อในตรีเอกภาพ. เชื่อพระเยซูคือพระบุตรมาเกิดเป็นมนุษย์  เชื่อนรกและสวรรค์นิรันดร และ เชื่อว่าสันตะปาปาสืบตำแหน่งของนักบุญเปโตร 
ศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อพระเจ้าตอบสนองต่อความรักของพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ สัตย์ซื่อ มั่นคง แน่วแน่ ยึดมั่น จงรักภักดี และการถวายตัวต่อพระเจ้า  
ศาสนาอิสลาม อิมาม(Iman ;อิหม่าม ,โต๊ะอิหม่าม) ศรัทธาด้วยวาจา ยึดมั่นด้วยจิตใจ และปฏิบัติด้วยสรีระ ต่อคำสอนของอัลลอฮ์ แต่เพียงองค์เดียว  เพื่อทำหน้าที่ในการดำรงอยู่ ตามพระบัญชาของพระองค์ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ มะลาอิกะฮ์ (Angels)เชื่อชีวิตในปรโลก (Akhirah) ซึ่งเป็นโลกที่ถาวรด้วยการพิพากษาวิญญาณของมนุษย์ที่ตายไปจะดำรงอยู่ในบัรซัค(Barzakh)โลกทางวิญญาณเพื่อรอวันฟื้นคืนชีพในปรโลก ผ่านศาสดามุฮัมมัด ซึ่งเป็นศาสดาสุดท้ายฯ (อ้างอิง ; Muhammad Naim Yasin, 19956) 
ดังนั้น  ท่านนับถือลัทธิศาสนาใดก็จะเข้าข้างและแสดงความคิดเห็นเป็นเช่นนั้นซึ่งไม่ผิดในศรัทธาเพราะ"ศาสดา"ต่างมีกุศโลบายในการให้ "สาวก" ทำความดี , เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ , มีเมตตากรุณา ฯลฯ แต่สิ่งหนึ่งที่แฝงในคัมภีร์แทบทุกคัมภีร์คือ "ความเป็นชาตินิยม" ส่วนชาติกำเนิดของ "ศาสดา" ในมุมมองของ "สัตว์สังคม" ก็คือมนุษย์ธรรมดา ๆ ที่ไม่ได้วิเศษวิโสเพียงแต่มีโอกาสและจังหวะในการถูก "อุปโลกน์" ยกกันขึ้นเป็นหัวหน้าทุกศาสนา ยกเว้น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ไม่มี "ศาสดา" (ไม่ขอวิพากษ์ ณ ที่นี้) ในทางวิชาการของประวัติศาสตร์มีหลักฐานบ่งชี้ชัด...ศาสนาพุทธ...ของ...เจ้าชายสิทธัตถะ...ถือว่าเป็นลัทธิแรกของโลกที่นำ"ปรัชญา(philosophy)"ใช้หลักแห่งความจริงเป็นปัจจัยพิจารณาใคร่ครวญการดำเนินชีวิต เป็นความพยายามที่จะเข้าใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล (Brubacher's Electric Philosophy of Education) นัยยะแฝงยุคนั้นคือ "ต่อต้านพราหมณ์" ถ้ายุควลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) เจ้าลัทธิปรัชญาลัทธิมาร์กซิสต์ (Marxism) คือ"ต่อต้านนายทุน" เลนิน...เป็นศาสดาหรือไม่ ? ก็น่าจะใช่..แต่..การ"อุปโลกน์"ไม่มีอิทธิพลพอ..สรุป..ไม่ต้องถกเถียง "ศาสดา" ใครเก่งและวิเศษวิโสกว่าใคร ? เป้าหมายของแต่ละ "ศาสดา" ก็ไม่เหมือนกัน "คัมภีร์" มาจากใครเป็นผู้เริ่ม..คำตอบ..อยู่ที่สมองของแต่ละ "ศาสดา"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่