ศังกราจารย์…ผู้ทำลายพุทธศาสนาในชมพูทวีป
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ความเลื่อมสลายของพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีป มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปราชญ์นักศาสนาผู้ยิ่งใหญ่ชาวอินเดียนาม 'ศังกราจารย์' ที่ถูกจารึกเอาไว้ว่าเป็น 'ผู้ทำลายพุทธศาสนา' ได้ถึงรากอย่างแยบยลและแนบเนียนที่สุด ด้วยยุทธศาสตร์ 'ทำลายโดยไม่ให้รู้ว่าทำลาย '
ศังกราจารย์ เจ้าลัทธิไศวะ หรือลัทธิศิวะอวตาร ถูกกล่าวขานในฐานะปราชญ์ผู้สามารถล้มล้างพุทธศาสนาในอินเดีย หากเปรียบเทียบกับไทยก็คลับคล้ายคลับคลากับกรณี พระเทพญาณมหามุนี (พระธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่อาศัยความตื้นเขินของปุถุชนสร้างรัฐธรรมกาย และคณะศิษยานุศิษย์ที่ยอมพลีกายถวายหัว
ศังกราจารย์ ถือเป็นเจ้าลัทธิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก
ลำพังการที่คนคนหนึ่งคิดจะก่อตั้งลัทธิอะไรขึ้นมาได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ท่านศังกราจารย์นั้นสามารถทำได้มากกว่านั้น ท่านสามารถที่จะดูดดึงศาสนิกชนชาวพุทธไปเป็นสาวกของตนเองได้อย่างแนบเนียน จนล้มพุทธศาสนาที่เป็นคู่แข่งลงได้ แล้วใช้เป็นฐานในการพัฒนาและปฏิรูปลัทธิใหม่ของตน จนสืบต่อมาได้อย่างยิ่งใหญ่และกลายเป็นศาสนาสำคัญของโลกในยุคปัจจุบันได้สำเร็จ”
กล่าวถึงประวัติโดยย่อ ศังกราจารย์ นามจริงคือ ศังกระ หรือ อาทิ ศังกระ (Adi Shankara) เกิดที่เมืองเกราลา (Kerala) มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1331 - 1363 เป็นปราชญ์นักการศาสนาชาวอินเดียใต้ ต่อมาได้เดินทางโต้วาทะ เผยแพร่ลัทธิของตนไปยังทั่วอินเดีย ได้รับการนับถือโดยทั่วกันว่าเป็น 'องค์อวตารของพระศิวะ' และเป็นผู้ประพันธ์คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์เวทานตะ อรรถกถาอธิบายลัทธิเวทานตะ และก่อตั้งลัทธิอไทวตะเวทานตะ (non-dualism : ปฏิเสธของคู่ แต่นิยมบูชาพระเจ้าองค์เดียวเป็นสิ่งสูงสุด) แต่เป็นที่จดจำของคนทั่วไปในชื่อ ลัทธิไศวะ หรือ ลัทธิศิวะอวตาร ศังกราจารย์ เป็นผู้ก่อตั้งวัดและพระที่มีลักษณะเดียวกันกับสถาบันสงฆ์ เรียกว่าเลียนแบบพุทธศาสนากลายๆ เข้าครอบงำพุทธศาสนาอย่างแนบเนียน พร้อมทั้งยกระดับลัทธิพราหมณ์เป็นศาสนาฮินดู
การเที่ยวถกเถียงโต้วาทะไปทั่วทุกแห่งหนแถบนอกเมืองของอินเดีย คือวิธีการกำจัดพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดของศังกราจารย์ โดยที่ไม่แยแสคนในเมือง เพราะเขารู้ว่าต่อให้พุทธศาสนาในเวลานั้นจะอ่อนแอเพียงใดคนในเมืองก็ยังคงศรัทธาอย่างเข้มแข็ง
อ้างอิงตอนหนึ่งของบทความเรื่อง อะไรคือมูลเหตุแห่งการเสื่อมสูญของพุทธศาสนาในอินเดีย โดย กรุณา กุศลาสัย เปิดเผยว่า ในอินเดียสมัยโบราณมีการโต้วาที (ศาสตรารฺถ) กันในเรื่องของศาสนาที่เป็นสาธารณะ โดยเปิดให้ประชาชนทุกลัทธิความเชื่อถือเข้าฟังได้ ผลของการโต้วาทีมีอิทธิพลของความเชื่อของคนในยุคนั้นมาก ปรากฏว่าในการโต้วาทีเหล่านั้น ปราชญ์ฝ่าย พราหมณ์ - ฮินดู เช่น ท่านกุมาริละ และท่านศังกราจารย์ ได้ชื่อว่าเป็น ผู้พิชิตปราชญ์ฝ่ายพุทธ
ไม่เพียงเท่านั้น ศังกราจารย์ตีวงล้อมเมืองด้วยการจัดคณะนักบวชฮินดูเลียนแบบคณะสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มีการตีแผ่ผ่านหนังสือกาลานุกรมโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ก่อตั้งวัดและสังฆะ ตั้งวัดใหญ่ขึ้น 4 ทิศ เรียกว่า 'มัฐ' ตามอย่างวัดในพุทธศาสนาที่เรียกว่า 'วิหาร' เปรียบเสมือนศูนย์ระดมพลระดับภูมิภาค ซึ่งเรียกศรัทธาจากผู้คนตามชนบทได้อย่างดี และได้รับความนิยมบางแห่งถึงกลับมีการเปลี่ยนวัดพุทธเป็นวัดฮินดู
ศังกราจารย์สร้างเรื่องพระศิวะอวตาร ความว่า แต่งความเป็นคัมภีร์ศังกรทิควิชยะว่า เหล่าเทพยดาได้มาร้องทุกข์ต่อองค์ศิวะพระอิศวรเป็นเจ้าว่า พระวิษณุได้เข้าสิงร่างของพระพุทธเจ้าแล้วดำเนินการให้ประชาชนดูหมิ่นพราหมณ์ รังเกียจระบบวรรณะ และละเลิกบูชายัญ ทำให้เหล่าเทพยดาไม่ได้รับเครื่องเซ่นสังเวย ขอให้พระองค์ช่วย พระศิวะจึงได้อวตารลงมาเป็นศังกราจารย์ เพื่อกู้คำสอนของพระเวท ให้การบูชายัญและระบบวรรณะกลับฟื้นคืนมา
นอกจาก การโต้วาทะไปทั่วแล้วยังร่วมมือกับ กุมาริละ ผู้ร่วมทำงานกำจัดพุทธศาสนา เที่ยวชักจูงใจ กษัตริย์และผู้มีกำลังทรัพย์ผู้มีอำนาจทั้งหลายให้เลิกทำนุบำรุงอุปถัมภ์พุทธศาสนา
ยุทธศาตร์ของศังกราจารย์ ค่อยๆ กลืนพุทธศาสนาไปทีละเล็กทีละน้อยอย่างแนบเนียน โดยเฉพาะการใช้หลักคิดความเชื่อเหนือจริงมาชักจูง ยกตนอุปโลกน์ว่าเป็นองค์อวตารของพระศิวะ ปรุงแต่งรูปของเรื่องเล่าและคัมภีร์ จนเกิดเป็น ลัทธิไศวะ หรือ ศิวะอวตาร พร้อมทั้งแต่งคำสอนในลัทธิตนให้มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า กล่าวคือ ทำเนียนว่าตนนั้นบูชาพระพุทธเจ้า แต่กลับยกพระศิวะเป็นสิ่งสูงสุด ที่สำคัญยังอุปโลกน์ตนเป็นองค์อวตาร
ศังกราจารย์สร้างเรื่องว่า พระพุทธเจ้าเป็นปางที่ 9 ของพระนารายณ์ อันปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปุราณะ ซึ่งเป็นอุบายอันแยบยลที่ล้อกับความเชื่อของพุทธศาสนิกชนที่มีมาแต่ดังเดิม นั่นเท่ากับว่าหลอมรวมพุทธศาสนิกชนเป็นหนึ่งเดียวกับลัทธิของเขาไปโดยปริยาย จนได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถในการจัดตั้งและบริหารจัดการ ขณะที่ปราชญ์ทางศาสนายกย่องเช่นเดียวกันว่า ศังกราจารย์ คือ ผู้กอบกู้ลัทธิพราหมณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ปฏิรูปลัทธิพราหมณ์ขึ้นมาเป็นศาสนาฮินดู ดังที่กล่าวข้างต้น
เหตุที่พุทธศาสนาถูกทำลายในอินเดียเพราะผลมาจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู โดย พี่แนนโน๊ะ
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ความเลื่อมสลายของพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีป มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปราชญ์นักศาสนาผู้ยิ่งใหญ่ชาวอินเดียนาม 'ศังกราจารย์' ที่ถูกจารึกเอาไว้ว่าเป็น 'ผู้ทำลายพุทธศาสนา' ได้ถึงรากอย่างแยบยลและแนบเนียนที่สุด ด้วยยุทธศาสตร์ 'ทำลายโดยไม่ให้รู้ว่าทำลาย '
ศังกราจารย์ เจ้าลัทธิไศวะ หรือลัทธิศิวะอวตาร ถูกกล่าวขานในฐานะปราชญ์ผู้สามารถล้มล้างพุทธศาสนาในอินเดีย หากเปรียบเทียบกับไทยก็คลับคล้ายคลับคลากับกรณี พระเทพญาณมหามุนี (พระธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่อาศัยความตื้นเขินของปุถุชนสร้างรัฐธรรมกาย และคณะศิษยานุศิษย์ที่ยอมพลีกายถวายหัว
ศังกราจารย์ ถือเป็นเจ้าลัทธิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก
ลำพังการที่คนคนหนึ่งคิดจะก่อตั้งลัทธิอะไรขึ้นมาได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ท่านศังกราจารย์นั้นสามารถทำได้มากกว่านั้น ท่านสามารถที่จะดูดดึงศาสนิกชนชาวพุทธไปเป็นสาวกของตนเองได้อย่างแนบเนียน จนล้มพุทธศาสนาที่เป็นคู่แข่งลงได้ แล้วใช้เป็นฐานในการพัฒนาและปฏิรูปลัทธิใหม่ของตน จนสืบต่อมาได้อย่างยิ่งใหญ่และกลายเป็นศาสนาสำคัญของโลกในยุคปัจจุบันได้สำเร็จ”
กล่าวถึงประวัติโดยย่อ ศังกราจารย์ นามจริงคือ ศังกระ หรือ อาทิ ศังกระ (Adi Shankara) เกิดที่เมืองเกราลา (Kerala) มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1331 - 1363 เป็นปราชญ์นักการศาสนาชาวอินเดียใต้ ต่อมาได้เดินทางโต้วาทะ เผยแพร่ลัทธิของตนไปยังทั่วอินเดีย ได้รับการนับถือโดยทั่วกันว่าเป็น 'องค์อวตารของพระศิวะ' และเป็นผู้ประพันธ์คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์เวทานตะ อรรถกถาอธิบายลัทธิเวทานตะ และก่อตั้งลัทธิอไทวตะเวทานตะ (non-dualism : ปฏิเสธของคู่ แต่นิยมบูชาพระเจ้าองค์เดียวเป็นสิ่งสูงสุด) แต่เป็นที่จดจำของคนทั่วไปในชื่อ ลัทธิไศวะ หรือ ลัทธิศิวะอวตาร ศังกราจารย์ เป็นผู้ก่อตั้งวัดและพระที่มีลักษณะเดียวกันกับสถาบันสงฆ์ เรียกว่าเลียนแบบพุทธศาสนากลายๆ เข้าครอบงำพุทธศาสนาอย่างแนบเนียน พร้อมทั้งยกระดับลัทธิพราหมณ์เป็นศาสนาฮินดู
การเที่ยวถกเถียงโต้วาทะไปทั่วทุกแห่งหนแถบนอกเมืองของอินเดีย คือวิธีการกำจัดพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดของศังกราจารย์ โดยที่ไม่แยแสคนในเมือง เพราะเขารู้ว่าต่อให้พุทธศาสนาในเวลานั้นจะอ่อนแอเพียงใดคนในเมืองก็ยังคงศรัทธาอย่างเข้มแข็ง
อ้างอิงตอนหนึ่งของบทความเรื่อง อะไรคือมูลเหตุแห่งการเสื่อมสูญของพุทธศาสนาในอินเดีย โดย กรุณา กุศลาสัย เปิดเผยว่า ในอินเดียสมัยโบราณมีการโต้วาที (ศาสตรารฺถ) กันในเรื่องของศาสนาที่เป็นสาธารณะ โดยเปิดให้ประชาชนทุกลัทธิความเชื่อถือเข้าฟังได้ ผลของการโต้วาทีมีอิทธิพลของความเชื่อของคนในยุคนั้นมาก ปรากฏว่าในการโต้วาทีเหล่านั้น ปราชญ์ฝ่าย พราหมณ์ - ฮินดู เช่น ท่านกุมาริละ และท่านศังกราจารย์ ได้ชื่อว่าเป็น ผู้พิชิตปราชญ์ฝ่ายพุทธ
ไม่เพียงเท่านั้น ศังกราจารย์ตีวงล้อมเมืองด้วยการจัดคณะนักบวชฮินดูเลียนแบบคณะสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มีการตีแผ่ผ่านหนังสือกาลานุกรมโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ก่อตั้งวัดและสังฆะ ตั้งวัดใหญ่ขึ้น 4 ทิศ เรียกว่า 'มัฐ' ตามอย่างวัดในพุทธศาสนาที่เรียกว่า 'วิหาร' เปรียบเสมือนศูนย์ระดมพลระดับภูมิภาค ซึ่งเรียกศรัทธาจากผู้คนตามชนบทได้อย่างดี และได้รับความนิยมบางแห่งถึงกลับมีการเปลี่ยนวัดพุทธเป็นวัดฮินดู
ศังกราจารย์สร้างเรื่องพระศิวะอวตาร ความว่า แต่งความเป็นคัมภีร์ศังกรทิควิชยะว่า เหล่าเทพยดาได้มาร้องทุกข์ต่อองค์ศิวะพระอิศวรเป็นเจ้าว่า พระวิษณุได้เข้าสิงร่างของพระพุทธเจ้าแล้วดำเนินการให้ประชาชนดูหมิ่นพราหมณ์ รังเกียจระบบวรรณะ และละเลิกบูชายัญ ทำให้เหล่าเทพยดาไม่ได้รับเครื่องเซ่นสังเวย ขอให้พระองค์ช่วย พระศิวะจึงได้อวตารลงมาเป็นศังกราจารย์ เพื่อกู้คำสอนของพระเวท ให้การบูชายัญและระบบวรรณะกลับฟื้นคืนมา
นอกจาก การโต้วาทะไปทั่วแล้วยังร่วมมือกับ กุมาริละ ผู้ร่วมทำงานกำจัดพุทธศาสนา เที่ยวชักจูงใจ กษัตริย์และผู้มีกำลังทรัพย์ผู้มีอำนาจทั้งหลายให้เลิกทำนุบำรุงอุปถัมภ์พุทธศาสนา
ยุทธศาตร์ของศังกราจารย์ ค่อยๆ กลืนพุทธศาสนาไปทีละเล็กทีละน้อยอย่างแนบเนียน โดยเฉพาะการใช้หลักคิดความเชื่อเหนือจริงมาชักจูง ยกตนอุปโลกน์ว่าเป็นองค์อวตารของพระศิวะ ปรุงแต่งรูปของเรื่องเล่าและคัมภีร์ จนเกิดเป็น ลัทธิไศวะ หรือ ศิวะอวตาร พร้อมทั้งแต่งคำสอนในลัทธิตนให้มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า กล่าวคือ ทำเนียนว่าตนนั้นบูชาพระพุทธเจ้า แต่กลับยกพระศิวะเป็นสิ่งสูงสุด ที่สำคัญยังอุปโลกน์ตนเป็นองค์อวตาร
ศังกราจารย์สร้างเรื่องว่า พระพุทธเจ้าเป็นปางที่ 9 ของพระนารายณ์ อันปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปุราณะ ซึ่งเป็นอุบายอันแยบยลที่ล้อกับความเชื่อของพุทธศาสนิกชนที่มีมาแต่ดังเดิม นั่นเท่ากับว่าหลอมรวมพุทธศาสนิกชนเป็นหนึ่งเดียวกับลัทธิของเขาไปโดยปริยาย จนได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถในการจัดตั้งและบริหารจัดการ ขณะที่ปราชญ์ทางศาสนายกย่องเช่นเดียวกันว่า ศังกราจารย์ คือ ผู้กอบกู้ลัทธิพราหมณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ปฏิรูปลัทธิพราหมณ์ขึ้นมาเป็นศาสนาฮินดู ดังที่กล่าวข้างต้น