สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เท่าที่เห็นบทความที่มีคนเขียนถึงเรื่องนี้ ก็มีรายละเอียดหลายอย่างเหมือนกัน อันนี้ตัดบางส่วนมาจาก ลิงค์นี้ https://fapot.or.th/main/information/article/view/769
ในปี 1993 หนังเกาหลีในประเทศมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 15% อีก 85% เป็นหนังนำเข้าจากอเมริกาทั้งๆ ที่เกาหลีมีระบบ Screen Quota หรือกฎหมายที่บังคับให้โรงหนังต้องฉายหนังเกาหลีเป็นจำนวนตามที่ระบุไว้ เพื่อปกป้องตลาดจากหนังต่างประเทศ
แต่เมื่อคิม ยองซัมได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 1993 ก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เมื่องคิม ยองซัมได้รับตำแหน่งได้พูดว่า “ในศตวรรษที่ 21 ศิลปะและวัฒนธรรมจะเป็นอุตสาหกรรมที่ทรงอำนาจผ่านการพัฒนาสื่อทัศน์ที่ทันสมัย การแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจต่างๆ จะเข้มข้นด้วย ‘สงครามวัฒนธรรม’ ดังนั้น เกาหลีต้องพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมที่ตอบสนองวิสัยทัศน์นานาชาติ เพิ่มมูลค่าของสินค้า”
ประธานาธิบดีคิม ยองซัม เป็นผู้นำคนแรกที่เห็นความสำคัญของ “อุตสาหกรรมวัฒนธรรม”
ช่วงปี 1998 ถึง 2008 หรือช่วงการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสองคน คิม แดจุง และโร มุนฮู เป็น 10 ปีแห่งการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี
รัฐให้บุคลากรภาคเอกชน เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยฝ่ายเอกชนในอุตสาหกรรมเป็นตัวนำในการขับเคลื่อน ไม่ใช่เป็นการวางแผนชี้นำมาโดยรัฐ
เกาหลีสร้างนโยบาย content ในฐานะหัวหอกทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมมาตั้งแต่ราวปี 2000
หนังเกาหลีมีเนื้อเรื่องอันหลากหลายมากขึ้น
การพัฒนาของอุตสาหกรรมหนังเกาหลี เกิดขึ้นเคียงบ่าเคียงไหล่กับการพัฒนาอุตสาหกรรม IT ของเกาหลี ทั้งสองภาคเกื้อหนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกัน
- ในปี 2001 หนังเกาหลีมีส่วนแบ่งการตลาด 50% เป็นครั้งแรก หมายถึงคนดูในประเทศ ดูหนังเกาหลีครึ่งหนึ่งและหนังฮอลลีวูดอีกครึ่งหนึ่ง
- ปี 2004 ส่วนแบ่งของหนังเกาหลีขึ้นไปถึง 59% พอถึงปี 2006 ตัวเลขพุ่งขึ้นไปอีกถึง 63% แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความตื่นตัวของคนดูหนังในประเทศที่จะดูหนังชาติตัวเองเป็นพลังผลักดันที่มีอำนาจอย่างยิ่งในการพัฒนา
แต่ก็ไม่ได้จะราบรื่นไปตลอด ก็มีปัญหาเข้ามาเหมือนกัน
ในปี 2006 สหรัฐอเมริกาบีบให้เกาหลีลด Screen Quota หมายถึงบีบให้เกาหลีต้องฉายหนังฮอลลีวูดมากขึ้น และให้ลดวันที่กฎหมายกำหนดว่าโรงหนังต้องฉายหนังเกาหลีให้น้อยลงครึ่งหนึ่ง (จาก 146 วัน เป็น 73 วัน) เกิดการประท้วงใหญ่โตโดยคนทำหนังเกาหลีที่ต้องการปกป้องหนังในประเทศจากอำนาจทางวัฒนธรรมของอเมริกา แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องยอมแรงกดดันจากฝั่งอเมริกาในที่สุด น่าสนใจที่ว่า ถึงแม้ Screen Quota จะลดลง แต่หนังเกาหลียังคงครองส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ตลอดมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน (เทียบกับไทย หนังไทยมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ เพียง 15-20% ทุกปี)
หนังเกาหลียุคใหม่มีอุปสรรคหลายอย่างที่คนทั่วไปมองไม่เห็น เพราะมัวแต่ไปมุ่งที่ความสำเร็จ ปัญหาดังกล่าว เช่น
- การลด Screen Quota ในปี 2006 ยังคงส่งผลต่อเนื่อง
- หนังเกาหลีอาจจะมีจำนวนมาก แต่หนังที่ประสบความสำเร็จและฉุดตัวเลขให้ดูดี มีเพียงไม่กี่เรื่องต่อปี ส่วนที่เหลือขาดทุนระเนระนาด
- เช่นในปี 2018 มีหนัง 40 เรื่องที่ใช้เงินทุนสร้างมากกว่า 3 ล้านดอลล่าร์ แต่มีเพียง 13 เรื่องเท่านั้นที่ไม่ขาดทุน
- การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยังเป็นปัญหาสำหรับคนทำหนังจำนวนมาก
สรุปก็คือ
เริ่มต้นจากเปิดเสรีภาพให้ศิลปินคนทำหนัง ผ่อนคลายการเซ็นเซอร์
จากนั้นนโยบายปรับไปให้ความสำคัญกับการสร้างตลาดและเพิ่มทุนให้ตลาดตามระบอบทุนนิยม นำมาซึ่งการสถาปนา cultural industry และ content industry ในปลายยุค 1990
นอกจากนั้น รัฐเกาหลียังชูอุดมการณ์ว่าด้วย วัฒนธรรมในฐานะส่วนประกอบของสังคมประชาธิปไตย การสร้างความหลากหลายของเนื้อหา และการมองว่าวัฒนธรรมเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่ง
ท้ายที่สุด รัฐบาลเกาหลียังมีชุดความคิดเชิง neoliberalism หรือการเปิดโอกาสให้ตลาดทำงานเต็มที่ เพิ่มการแข่งขัน โดยเชื่อมั่นว่าระบบต่างๆ จะหาจุดสมดุลได้เอง
อันนี้ตัดมาจากลิงค์นี้ https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/soft-power-strategy-south-korea-in-film-industry/
ในอดีตคำว่า Hallyu ในภาษาจีนแปลตรงตัวว่า ‘กระแสนิยมเกาหลี’ (The Korean Wave) โดยนิยามขึ้นเพื่อใช้เรียกชาวโสมขาวตั้งแต่ในยุค 90 สะท้อนถึงความพยายามที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีมานานตั้งแต่ในสมัยนั้น ทั้งนี้ ในบทความ THE CONVERSATION แบ่งประเภทของ ‘สินค้าทางวัฒนธรรม’ ที่รัฐบาลส่งเสริมอย่างชัดเจน หลักๆ มีอยู่ 4 ประเภท
K-pop (วงศิลปินนักร้อง)
K-drama (ภาพยนตร์ และซีรีส์)
K-beauty (เครื่องสำอาง และแฟชั่นต่างๆ)
K-cuisine (อาหารเกาหลี)
เกาหลีใต้ได้ใช้กลยุทธ์ทาง Soft Power มานาน โดยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 80 ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศมาตรการ Screen Quota System ซึ่งเป็นการจำกัดโควตาการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศในโรงภาพยนตร์ของเกาหลีใต้
ขณะเดียวกันในช่วงปลายยุค 90 รัฐบาลพยายามช่วยเหลืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ท้องถิ่นผ่านมาตรการต่างๆ เช่น ยกเว้นภาษีแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึงให้เงินสนับสนุนผู้สร้างภาพยนตร์ ซึ่งในปี 2019 รัฐบาลเกาหลีได้เพิ่มเงินทุนสำหรับการผลิตภาพยนตร์มากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเกาหลีใต้ในต่างประเทศ (บรรจุเป็นกรอบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมปี 1999)
นักวิเคราะห์ของ Bloomberg เคยกล่าวถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ เอาไว้ว่า ส่วนหนึ่งที่ธุรกิจภาพยนตร์ รวมถึง สื่อบันเทิงอื่นๆ เช่น ศิลปินนักร้อง และซีรีส์เรื่องต่างๆ มีการพัฒนาเร็วก็เพราะว่า รัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนงบประมาณ R&D สำหรับการเก็บ data ของผู้ชมในวัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับ ‘ธุรกิจทางวัฒนธรรม’ ให้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง
ในปี 1993 หนังเกาหลีในประเทศมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 15% อีก 85% เป็นหนังนำเข้าจากอเมริกาทั้งๆ ที่เกาหลีมีระบบ Screen Quota หรือกฎหมายที่บังคับให้โรงหนังต้องฉายหนังเกาหลีเป็นจำนวนตามที่ระบุไว้ เพื่อปกป้องตลาดจากหนังต่างประเทศ
แต่เมื่อคิม ยองซัมได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 1993 ก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เมื่องคิม ยองซัมได้รับตำแหน่งได้พูดว่า “ในศตวรรษที่ 21 ศิลปะและวัฒนธรรมจะเป็นอุตสาหกรรมที่ทรงอำนาจผ่านการพัฒนาสื่อทัศน์ที่ทันสมัย การแข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจต่างๆ จะเข้มข้นด้วย ‘สงครามวัฒนธรรม’ ดังนั้น เกาหลีต้องพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมที่ตอบสนองวิสัยทัศน์นานาชาติ เพิ่มมูลค่าของสินค้า”
ประธานาธิบดีคิม ยองซัม เป็นผู้นำคนแรกที่เห็นความสำคัญของ “อุตสาหกรรมวัฒนธรรม”
ช่วงปี 1998 ถึง 2008 หรือช่วงการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสองคน คิม แดจุง และโร มุนฮู เป็น 10 ปีแห่งการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี
รัฐให้บุคลากรภาคเอกชน เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยฝ่ายเอกชนในอุตสาหกรรมเป็นตัวนำในการขับเคลื่อน ไม่ใช่เป็นการวางแผนชี้นำมาโดยรัฐ
เกาหลีสร้างนโยบาย content ในฐานะหัวหอกทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมมาตั้งแต่ราวปี 2000
หนังเกาหลีมีเนื้อเรื่องอันหลากหลายมากขึ้น
การพัฒนาของอุตสาหกรรมหนังเกาหลี เกิดขึ้นเคียงบ่าเคียงไหล่กับการพัฒนาอุตสาหกรรม IT ของเกาหลี ทั้งสองภาคเกื้อหนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกัน
- ในปี 2001 หนังเกาหลีมีส่วนแบ่งการตลาด 50% เป็นครั้งแรก หมายถึงคนดูในประเทศ ดูหนังเกาหลีครึ่งหนึ่งและหนังฮอลลีวูดอีกครึ่งหนึ่ง
- ปี 2004 ส่วนแบ่งของหนังเกาหลีขึ้นไปถึง 59% พอถึงปี 2006 ตัวเลขพุ่งขึ้นไปอีกถึง 63% แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความตื่นตัวของคนดูหนังในประเทศที่จะดูหนังชาติตัวเองเป็นพลังผลักดันที่มีอำนาจอย่างยิ่งในการพัฒนา
แต่ก็ไม่ได้จะราบรื่นไปตลอด ก็มีปัญหาเข้ามาเหมือนกัน
ในปี 2006 สหรัฐอเมริกาบีบให้เกาหลีลด Screen Quota หมายถึงบีบให้เกาหลีต้องฉายหนังฮอลลีวูดมากขึ้น และให้ลดวันที่กฎหมายกำหนดว่าโรงหนังต้องฉายหนังเกาหลีให้น้อยลงครึ่งหนึ่ง (จาก 146 วัน เป็น 73 วัน) เกิดการประท้วงใหญ่โตโดยคนทำหนังเกาหลีที่ต้องการปกป้องหนังในประเทศจากอำนาจทางวัฒนธรรมของอเมริกา แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องยอมแรงกดดันจากฝั่งอเมริกาในที่สุด น่าสนใจที่ว่า ถึงแม้ Screen Quota จะลดลง แต่หนังเกาหลียังคงครองส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ตลอดมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน (เทียบกับไทย หนังไทยมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ เพียง 15-20% ทุกปี)
หนังเกาหลียุคใหม่มีอุปสรรคหลายอย่างที่คนทั่วไปมองไม่เห็น เพราะมัวแต่ไปมุ่งที่ความสำเร็จ ปัญหาดังกล่าว เช่น
- การลด Screen Quota ในปี 2006 ยังคงส่งผลต่อเนื่อง
- หนังเกาหลีอาจจะมีจำนวนมาก แต่หนังที่ประสบความสำเร็จและฉุดตัวเลขให้ดูดี มีเพียงไม่กี่เรื่องต่อปี ส่วนที่เหลือขาดทุนระเนระนาด
- เช่นในปี 2018 มีหนัง 40 เรื่องที่ใช้เงินทุนสร้างมากกว่า 3 ล้านดอลล่าร์ แต่มีเพียง 13 เรื่องเท่านั้นที่ไม่ขาดทุน
- การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยังเป็นปัญหาสำหรับคนทำหนังจำนวนมาก
สรุปก็คือ
เริ่มต้นจากเปิดเสรีภาพให้ศิลปินคนทำหนัง ผ่อนคลายการเซ็นเซอร์
จากนั้นนโยบายปรับไปให้ความสำคัญกับการสร้างตลาดและเพิ่มทุนให้ตลาดตามระบอบทุนนิยม นำมาซึ่งการสถาปนา cultural industry และ content industry ในปลายยุค 1990
นอกจากนั้น รัฐเกาหลียังชูอุดมการณ์ว่าด้วย วัฒนธรรมในฐานะส่วนประกอบของสังคมประชาธิปไตย การสร้างความหลากหลายของเนื้อหา และการมองว่าวัฒนธรรมเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่ง
ท้ายที่สุด รัฐบาลเกาหลียังมีชุดความคิดเชิง neoliberalism หรือการเปิดโอกาสให้ตลาดทำงานเต็มที่ เพิ่มการแข่งขัน โดยเชื่อมั่นว่าระบบต่างๆ จะหาจุดสมดุลได้เอง
อันนี้ตัดมาจากลิงค์นี้ https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/soft-power-strategy-south-korea-in-film-industry/
ในอดีตคำว่า Hallyu ในภาษาจีนแปลตรงตัวว่า ‘กระแสนิยมเกาหลี’ (The Korean Wave) โดยนิยามขึ้นเพื่อใช้เรียกชาวโสมขาวตั้งแต่ในยุค 90 สะท้อนถึงความพยายามที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีมานานตั้งแต่ในสมัยนั้น ทั้งนี้ ในบทความ THE CONVERSATION แบ่งประเภทของ ‘สินค้าทางวัฒนธรรม’ ที่รัฐบาลส่งเสริมอย่างชัดเจน หลักๆ มีอยู่ 4 ประเภท
K-pop (วงศิลปินนักร้อง)
K-drama (ภาพยนตร์ และซีรีส์)
K-beauty (เครื่องสำอาง และแฟชั่นต่างๆ)
K-cuisine (อาหารเกาหลี)
เกาหลีใต้ได้ใช้กลยุทธ์ทาง Soft Power มานาน โดยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 80 ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศมาตรการ Screen Quota System ซึ่งเป็นการจำกัดโควตาการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศในโรงภาพยนตร์ของเกาหลีใต้
ขณะเดียวกันในช่วงปลายยุค 90 รัฐบาลพยายามช่วยเหลืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ท้องถิ่นผ่านมาตรการต่างๆ เช่น ยกเว้นภาษีแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึงให้เงินสนับสนุนผู้สร้างภาพยนตร์ ซึ่งในปี 2019 รัฐบาลเกาหลีได้เพิ่มเงินทุนสำหรับการผลิตภาพยนตร์มากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเกาหลีใต้ในต่างประเทศ (บรรจุเป็นกรอบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมปี 1999)
นักวิเคราะห์ของ Bloomberg เคยกล่าวถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ เอาไว้ว่า ส่วนหนึ่งที่ธุรกิจภาพยนตร์ รวมถึง สื่อบันเทิงอื่นๆ เช่น ศิลปินนักร้อง และซีรีส์เรื่องต่างๆ มีการพัฒนาเร็วก็เพราะว่า รัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนงบประมาณ R&D สำหรับการเก็บ data ของผู้ชมในวัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับ ‘ธุรกิจทางวัฒนธรรม’ ให้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง
แสดงความคิดเห็น
เพราะอะไรหนัง/ซีรีส์เกาหลี แซงเราไปไกล ทั้งที่เมื่อ 20 ปีก่อนยังพอๆกัน
ช่วงนั้นไทยเราก็มีหนังส่งออก Soft power ไทยไปสู่สายตาชาวโลก อย่างต้มยำกุ้ง องค์บาก
เกาหลีส่งออกวัฒนธรรมผ่านซีรีส์แดจังกึม หนังรักสไตล์เกาหลีอย่าง My Sassy Girl
ซึ่งเรามองว่าในยุคนั้นหนังทั้ง 2 ประเทศไม่ห่างกันมาก
ไทยเราได้รางวัลเทศกาลหนังเมืองคานส์ก่อนเกาหลีด้วยซ้ำ
แต่ตอนนี้เกาหลีแซงเราไปไกลแล้ว Parasite ได้รางวัลใหญ่ออสการ์ Squid Game เป็นซีรีส์ที่คนดูมากที่สุดใน Netflix
อยากรุ้ว่าเพราะอะไร