สธ.แจงพบโควิด BQ.1 รายแรกในไทย ชายต่างชาติอายุ 40 ปีเดินทางมาจากจีน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แจงไทยพบคนป่วยโควิด BQ.1 เป็นชายต่างชาติอายุ 40 ปี ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีน เข้ารักษาที่ รพ.เอกชน ตั้งแต่ปลาย ส.ค. อาการไม่รุนแรงหายเป็นปกติแล้ว
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงเป็นเรื่องจริง กรณีศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ระบุถึงรายงานจากฐานข้อมูลโควิดโลก (GISAID) พบคนติดเชื้อโอมิครอน BQ.1 ในประเทศไทยแล้ว 1 ราย โดยผู้ป่วยดังกล่าวเป็นชายต่างชาติอายุ 40 ปี ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีน เข้ารักษาที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งในประเทศไทยตั้งแต่ปลาย ส.ค.65 อาการไม่รุนแรงและหายปกติแล้ว
จากนั้น รพ.ได้ส่งตัวอย่างเชื้อให้กรมวิทย์ฯ ตรวจหาสายพันธุ์ ช่วงนั้นได้ตรวจสายพันธุ์และส่งข้อมูลเข้าฐานข้อมูลโควิดโลกตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย.65 ขณะนั้นถูกกำหนดให้เข้ากับสายพันธุ์ BE.1.1 แต่หลังจากนั้นเมื่อทั่วโลกมีข้อมูลมากขึ้นและมีข้อค้นพบถึงตำแหน่งกลายพันธุ์ที่เข้าได้กับ BQ.1
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. จึงได้ปรับเปลี่ยนการระบุสายพันธุ์ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็น BQ.1 ซึ่งเป็นกลุ่มสายพันธุ์ที่ต้องจับตาเฝ้าระวังเนื่องจากมีความสามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็ว องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสายพันธุ์ที่ต้องจับตาเนื่องจากแพร่กระจายเชื้อได้สูงสุดคือ XBB ตามด้วย BQ.1.1, BN.1,BQ.1 และ BF.7 ตามลำดับ ทั้งหมดแต่ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคและยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต พร้อมย้ำมาตรการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง รวมถึงฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด.
ข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
https://www.dailynews.co.th/news/1595441/
สธ.แจงพบโควิด BQ.1 รายแรกในไทย ชายต่างชาติอายุ 40 ปีเดินทางมาจากจีน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แจงไทยพบคนป่วยโควิด BQ.1 เป็นชายต่างชาติอายุ 40 ปี ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีน เข้ารักษาที่ รพ.เอกชน ตั้งแต่ปลาย ส.ค. อาการไม่รุนแรงหายเป็นปกติแล้ว
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงเป็นเรื่องจริง กรณีศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ระบุถึงรายงานจากฐานข้อมูลโควิดโลก (GISAID) พบคนติดเชื้อโอมิครอน BQ.1 ในประเทศไทยแล้ว 1 ราย โดยผู้ป่วยดังกล่าวเป็นชายต่างชาติอายุ 40 ปี ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีน เข้ารักษาที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งในประเทศไทยตั้งแต่ปลาย ส.ค.65 อาการไม่รุนแรงและหายปกติแล้ว
จากนั้น รพ.ได้ส่งตัวอย่างเชื้อให้กรมวิทย์ฯ ตรวจหาสายพันธุ์ ช่วงนั้นได้ตรวจสายพันธุ์และส่งข้อมูลเข้าฐานข้อมูลโควิดโลกตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย.65 ขณะนั้นถูกกำหนดให้เข้ากับสายพันธุ์ BE.1.1 แต่หลังจากนั้นเมื่อทั่วโลกมีข้อมูลมากขึ้นและมีข้อค้นพบถึงตำแหน่งกลายพันธุ์ที่เข้าได้กับ BQ.1
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. จึงได้ปรับเปลี่ยนการระบุสายพันธุ์ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็น BQ.1 ซึ่งเป็นกลุ่มสายพันธุ์ที่ต้องจับตาเฝ้าระวังเนื่องจากมีความสามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็ว องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสายพันธุ์ที่ต้องจับตาเนื่องจากแพร่กระจายเชื้อได้สูงสุดคือ XBB ตามด้วย BQ.1.1, BN.1,BQ.1 และ BF.7 ตามลำดับ ทั้งหมดแต่ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคและยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต พร้อมย้ำมาตรการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง รวมถึงฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด.
ข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
https://www.dailynews.co.th/news/1595441/