กลายเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่มีการเผยโปสเตอร์ออกมาแล้ว สำหรับภาพยนตร์ที่มีชื่อไทยสั้นๆ ว่า “แอน” แน่นอนว่า นอกจากหน้าหนังที่ดูมีความพิศวงชวนติดตาม บวกกับรายชื่อดาราหญิงรุ่นใหม่ที่อัดแน่นจนแทบไม่มีที่หายใจแล้ว ก็ยังมีชื่อของ “คงเดช จาตุรันต์รัศมี” ผู้กำกับสายอินดี้ที่มักจะมาพร้อมกับการแฝงประเด็นที่ละเอียดอ่อนอยู่ในผลงานของเขาให้เราได้ชวนขบคิดอยู่เสมอ
Faces of Anne เล่าถึงหญิงสาวที่ล้วนแต่มีชื่อว่า “แอน” ตื่นขึ้นมาในสถานที่ที่ดูเหมือนกับโรงพยาบาลจิตเวชพร้อมกับความทรงจำที่เลือนราง หมอและพยาบาลต่างบอกว่าพวกเธอมาที่นี่เพื่อตามหาว่าพวกเธอคือใคร ท่ามกลางความสับสนงุนงง ในทุกคืนจะมี “เวติโก” ปีศาจหัวกวางที่พยายามตามฆ่าพวกเธอทุกคน และมีเพียงแอนตัวจริงเท่านั้นจึงจะได้เป็นผู้อยู่รอด
แม้จะทำการเตรียมใจก่อนดูมาแล้วว่า งานของคงเดชคงไม่ได้มาแบบปกติธรรมดาแน่นอน ซึ่งก็ไม่ผิดจากที่คาดนัก เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เต็มไปด้วยความพิศวงในการนำเสนอ ทั้งการเล่าเรื่อง การใช้ภาษาภาพ การลำดับเวลาและเหตุการณ์ รวมถึงการซ่อนนัยยะทางสังคมและการเมืองเอาไว้อย่างแยบยลที่เป็นสไตล์ของผู้กำกับคนนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ซึ่ง “แอน” สามารถนำพาผู้ชมเข้าไปสู่โลกของความพิศวงที่ว่าได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่วินาทีแรกของตัวหนัง พร้อมทั้งตั้งคำถามไว้ให้กับผู้ชมตลอดทั้งเรื่องว่า แอนคือใคร เกิดอะไรขึ้นกับตัวละครนี้ ทำไมถึงถูกปีศาจหัวกวางไล่ฆ่า ความเป็นจริงคืออะไร ซึ่งตลอดทั้งเรื่องหนังก็มีการใช้ลูกล่อลูกชนให้กับคนดู โดยการค่อยๆ ปล่อยคำใบ้มาทีละนิด บางคำใบ้ก็อาจจะทำให้ตัวเรื่องดูซับซ้อนขึ้นไปอีกด้วยซ้ำ ทำให้เราไม่สามารถคาดเดาอะไรในเรื่องได้เลยจนกว่าจะถึงตอนจบ (แม้กระทั่งหนังจบไปแล้วก็อาจจะยังไม่ได้คำตอบอะไรเลยก็ได้) แต่หากเข้าใจประเด็นหลักของเรื่องอาจถึงขั้นตบเข่าฉาด ถึงความบ้าและไปสุดทางในสิ่งที่หนังต้องการจะนำเสนอเลยทีเดียว ทำให้นึกถึงงานล่าสุดอย่าง Nope ของผู้กำกับ Jordan Peels ที่มีความคล้ายกันทั้งในเรื่องความแปลก การใช้ภาษาภาพ และการต้องตีความประเด็นของเรื่องเพื่อเข้าถึงสิ่งที่หนังต้องการสื่อจริงๆ
แน่นอนว่าสำหรับคนที่ชื่นชอบเรื่องการตีความภาพยนตร์ นี่เป็นโจทย์ที่ท้าทายและมันมืออยู่ไม่น้อย เพราะทั้งเรื่องเต็มไปด้วยการสอดแทรกสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องและประเด็นทางสังคมของคนรุ่นใหม่ในระดับปัจเจกบุคคลและมหภาค อยู่ในทุกๆ จังหวะของเรื่องผ่านการใช้ภาษาภาพ บทพูดของตัวละคร สิ่งของที่ปรากฏ เรียกว่าใครตาดีก็เก็บได้เยอะ ซึ่งบอกได้ว่า งานของคงเดชเรื่องนี้มีความร่วมสมัยและสดใหม่อยู่พอตัว คล้ายกับงานก่อนหน้าอย่าง “Where We Belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า” (2562) ที่ว่าด้วยเรื่องของความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อถิ่นฐานของพวกเขา
อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยขับเน้นความพิศวงมาถึงคนดูได้อย่างมีพลังนั่นคือ เรื่องของงานสร้างภาพยนตร์ ซึ่ง “แอน” ดูเหมือนจะเป็นภาพยนตร์ที่มีทุ่มทุนสร้างมากที่สุดในบรรดางานที่ผ่านๆ มาของผู้กำกับคงเดชแล้ว แค่เห็นรายชื่อนักแสดงก็ไม่ต้องสงสัยถึงความทะเยอทะยานในครั้งนี้ และการใส่ใจถึงการออกแบบงานสร้างที่ได้ “ราสิเกติ์ สุขกาล” มาร่วมกันออกแบบและเป็นผู้กำกับร่วม นั่นทำให้ “แอน” ถ่ายทอดความบิดเบี้ยวของบรรยากาศภายในเรื่องได้น่าขนลุกไม่น้อย พาลให้นึกถึงโรงพยาบาลบ้าในเกม OUTLAST ทั้งในแง่ของความทะมึนของฉากหลังและการเคลื่อนที่ของตัวละครที่ไร้การคาดเดาในด้านพื้นที่และเวลาด้วย
แต่ถึงอย่างนั้น ในเรื่องของการสร้างความระทึกขวัญในฐานะที่เป็นหนัง Psychological Thriller หรือหนังจิตวิทยาแนวระทึกขวัญ ยังถือว่าทำได้ไม่มากพอ ทั้งๆ ที่หนังโปรโมตว่ามีปีศาจหัวกวางถือค้อนปอนด์ไล่ทุบเด็กสาวอย่างอำมหิต แต่กลับไม่สามารถให้อารมณ์ความระทึก ตื่นเต้น หนีตาย หรือการชิงไหวชิงพริบลับสมองลวงคนดูได้เท่าที่ควร (ไม่รู้ว่าเป็นเพราะมัวแต่จะแทรกประเด็นนู้นนี่เยอะไปรึเปล่า) เห็นได้ชัดว่ายังใช้ประโยชน์ของจังหวะตัดต่อ การใช้เสียงประกอบและดนตรีประกอบ เพื่อบีบคั้นหรือสร้างจังหวะใจตุ้มๆ ต่อมๆ ให้กับคนดูได้ไม่ดีพอ
ซึ่งคนดูส่วนใหญ่ยังต้องการอารมณ์ร่วมในส่วนนี้อยู่มาก บวกกับหลายคนที่เข้าไปดูก็ล้วนแต่เป็นคนที่ติดตามเหล่านักแสดง ยิ่งเป็นนักแสดงที่มาจากวงไอดอลชื่อดังอย่าง มิวสิค และ เจนนิษฐ์ ซึ่งก็มีฐานแฟนคลับไม่น้อย การเข้าไปดูเพื่อความบันเทิงจึงน่าจะเป็นสิ่งแรกที่กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการ (หากไม่ใช่ประเภทที่เห็นชื่อผู้กำกับแล้วเดินเข้าโรงก็คงเดาทางหนังไม่ออก) ลองนึกถึงภาพยนตร์ดีกรีผู้ชนะรางวัลออสการ์อย่าง Parasite ที่มอบความสนุก ตื่นเต้น ของชะตากรรมที่ตัวละครต้องพบเจอ แม้จะไม่ใช่สายตีความ วิเคราะห์หนัง ก็สามารถลิ้มรสชาติความโสมมของชนชั้นล่างได้เต็มอิ่มเต็มอารมณ์
เรื่องการใช้นักแสดงเยอะก็เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนในเวลาเดียวกัน ซึ่งจุดแข็งคือการท้าทายในแง่ของนักแสดงกับการรับช่วงต่ออารมณ์ของตัวละครที่จะต้องเปลี่ยนใบหน้า(ในทางปฏิบัติคือเปลี่ยนคน) ให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน เป็นการโชว์ศักยภาพของผู้กำกับว่าจะเอาอยู่หรือไม่ และก็เกิดความสนุกปนลุ้นว่ากับตัวเองว่า “นักแสดงคนนี้จะโผล่มาตอนไหนนะ” ทำนองนั้น
แต่ส่วนที่เป็นจุดอ่อนเกิดขึ้นในความรู้สึกคนดู ว่านักแสดงที่พวกเขาชื่นชอบอาจจะไม่ได้มีบทบาทมากเท่าที่อยากเห็น แน่นอนว่าแต่ละคนก็จะรู้สึกต่างกันไป และความถี่ของการเปลี่ยนใบหน้า (ที่หนังอ้างว่าทุก 2 นาที) ก็เป็นเหตุที่ทำให้แอนบางคน ไม่ทันได้เข้าถึงคนดู ก็ถูกเปลี่ยนตัวไปซะแล้ว หนำซ้ำยังไม่รู้สึกว่า แอนบางคนจะมีความพิเศษตรงไหน ทำไมต้องใช้นักแสดงคนนี้ พูดง่ายๆ คือ การเปลี่ยนหน้าบ่อยๆ มันไม่ได้กระตุ้นความพิเศษของเรื่องมากขนาดนั้น (ถ้าลดจำนวนนักแสดงลงน่าจะดีกว่านี้)
สรุป Faces of Anne “แอน” เป็นภาพยนตร์ที่มีคุณภาพทั้งในด้านของบทภาพยนตร์และงานสร้าง เหมาะสมในการฉายขึ้นจอในโรงภาพยนตร์เทียบเคียงกับภาพยนตร์ในระดับสากลได้อย่างไม่ต้องอายใครเลย แม้ว่าอาจจะยังไม่สมบูรณ์ไปทุกอย่าง แต่นี่ควรจะเป็นมาตรฐานของภาพยนตร์ในบ้านเราที่ควรจะเป็นเรื่องปกติหากอยากจะพัฒนาวงการนี้ให้ก้าวหน้าไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้
ฝากเพจด้วยนะครับ
Story Decoder
[รีวิว] Faces of Anne: ความทะเยอทะยานล่าสุดของคงเดชที่มาพร้อมกับความพิสดารแต่ยังคงความเป็นตัวของตัวเอง
Faces of Anne เล่าถึงหญิงสาวที่ล้วนแต่มีชื่อว่า “แอน” ตื่นขึ้นมาในสถานที่ที่ดูเหมือนกับโรงพยาบาลจิตเวชพร้อมกับความทรงจำที่เลือนราง หมอและพยาบาลต่างบอกว่าพวกเธอมาที่นี่เพื่อตามหาว่าพวกเธอคือใคร ท่ามกลางความสับสนงุนงง ในทุกคืนจะมี “เวติโก” ปีศาจหัวกวางที่พยายามตามฆ่าพวกเธอทุกคน และมีเพียงแอนตัวจริงเท่านั้นจึงจะได้เป็นผู้อยู่รอด
แม้จะทำการเตรียมใจก่อนดูมาแล้วว่า งานของคงเดชคงไม่ได้มาแบบปกติธรรมดาแน่นอน ซึ่งก็ไม่ผิดจากที่คาดนัก เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เต็มไปด้วยความพิศวงในการนำเสนอ ทั้งการเล่าเรื่อง การใช้ภาษาภาพ การลำดับเวลาและเหตุการณ์ รวมถึงการซ่อนนัยยะทางสังคมและการเมืองเอาไว้อย่างแยบยลที่เป็นสไตล์ของผู้กำกับคนนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ซึ่ง “แอน” สามารถนำพาผู้ชมเข้าไปสู่โลกของความพิศวงที่ว่าได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่วินาทีแรกของตัวหนัง พร้อมทั้งตั้งคำถามไว้ให้กับผู้ชมตลอดทั้งเรื่องว่า แอนคือใคร เกิดอะไรขึ้นกับตัวละครนี้ ทำไมถึงถูกปีศาจหัวกวางไล่ฆ่า ความเป็นจริงคืออะไร ซึ่งตลอดทั้งเรื่องหนังก็มีการใช้ลูกล่อลูกชนให้กับคนดู โดยการค่อยๆ ปล่อยคำใบ้มาทีละนิด บางคำใบ้ก็อาจจะทำให้ตัวเรื่องดูซับซ้อนขึ้นไปอีกด้วยซ้ำ ทำให้เราไม่สามารถคาดเดาอะไรในเรื่องได้เลยจนกว่าจะถึงตอนจบ (แม้กระทั่งหนังจบไปแล้วก็อาจจะยังไม่ได้คำตอบอะไรเลยก็ได้) แต่หากเข้าใจประเด็นหลักของเรื่องอาจถึงขั้นตบเข่าฉาด ถึงความบ้าและไปสุดทางในสิ่งที่หนังต้องการจะนำเสนอเลยทีเดียว ทำให้นึกถึงงานล่าสุดอย่าง Nope ของผู้กำกับ Jordan Peels ที่มีความคล้ายกันทั้งในเรื่องความแปลก การใช้ภาษาภาพ และการต้องตีความประเด็นของเรื่องเพื่อเข้าถึงสิ่งที่หนังต้องการสื่อจริงๆ
แน่นอนว่าสำหรับคนที่ชื่นชอบเรื่องการตีความภาพยนตร์ นี่เป็นโจทย์ที่ท้าทายและมันมืออยู่ไม่น้อย เพราะทั้งเรื่องเต็มไปด้วยการสอดแทรกสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องและประเด็นทางสังคมของคนรุ่นใหม่ในระดับปัจเจกบุคคลและมหภาค อยู่ในทุกๆ จังหวะของเรื่องผ่านการใช้ภาษาภาพ บทพูดของตัวละคร สิ่งของที่ปรากฏ เรียกว่าใครตาดีก็เก็บได้เยอะ ซึ่งบอกได้ว่า งานของคงเดชเรื่องนี้มีความร่วมสมัยและสดใหม่อยู่พอตัว คล้ายกับงานก่อนหน้าอย่าง “Where We Belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า” (2562) ที่ว่าด้วยเรื่องของความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อถิ่นฐานของพวกเขา
อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยขับเน้นความพิศวงมาถึงคนดูได้อย่างมีพลังนั่นคือ เรื่องของงานสร้างภาพยนตร์ ซึ่ง “แอน” ดูเหมือนจะเป็นภาพยนตร์ที่มีทุ่มทุนสร้างมากที่สุดในบรรดางานที่ผ่านๆ มาของผู้กำกับคงเดชแล้ว แค่เห็นรายชื่อนักแสดงก็ไม่ต้องสงสัยถึงความทะเยอทะยานในครั้งนี้ และการใส่ใจถึงการออกแบบงานสร้างที่ได้ “ราสิเกติ์ สุขกาล” มาร่วมกันออกแบบและเป็นผู้กำกับร่วม นั่นทำให้ “แอน” ถ่ายทอดความบิดเบี้ยวของบรรยากาศภายในเรื่องได้น่าขนลุกไม่น้อย พาลให้นึกถึงโรงพยาบาลบ้าในเกม OUTLAST ทั้งในแง่ของความทะมึนของฉากหลังและการเคลื่อนที่ของตัวละครที่ไร้การคาดเดาในด้านพื้นที่และเวลาด้วย
แต่ถึงอย่างนั้น ในเรื่องของการสร้างความระทึกขวัญในฐานะที่เป็นหนัง Psychological Thriller หรือหนังจิตวิทยาแนวระทึกขวัญ ยังถือว่าทำได้ไม่มากพอ ทั้งๆ ที่หนังโปรโมตว่ามีปีศาจหัวกวางถือค้อนปอนด์ไล่ทุบเด็กสาวอย่างอำมหิต แต่กลับไม่สามารถให้อารมณ์ความระทึก ตื่นเต้น หนีตาย หรือการชิงไหวชิงพริบลับสมองลวงคนดูได้เท่าที่ควร (ไม่รู้ว่าเป็นเพราะมัวแต่จะแทรกประเด็นนู้นนี่เยอะไปรึเปล่า) เห็นได้ชัดว่ายังใช้ประโยชน์ของจังหวะตัดต่อ การใช้เสียงประกอบและดนตรีประกอบ เพื่อบีบคั้นหรือสร้างจังหวะใจตุ้มๆ ต่อมๆ ให้กับคนดูได้ไม่ดีพอ
ซึ่งคนดูส่วนใหญ่ยังต้องการอารมณ์ร่วมในส่วนนี้อยู่มาก บวกกับหลายคนที่เข้าไปดูก็ล้วนแต่เป็นคนที่ติดตามเหล่านักแสดง ยิ่งเป็นนักแสดงที่มาจากวงไอดอลชื่อดังอย่าง มิวสิค และ เจนนิษฐ์ ซึ่งก็มีฐานแฟนคลับไม่น้อย การเข้าไปดูเพื่อความบันเทิงจึงน่าจะเป็นสิ่งแรกที่กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการ (หากไม่ใช่ประเภทที่เห็นชื่อผู้กำกับแล้วเดินเข้าโรงก็คงเดาทางหนังไม่ออก) ลองนึกถึงภาพยนตร์ดีกรีผู้ชนะรางวัลออสการ์อย่าง Parasite ที่มอบความสนุก ตื่นเต้น ของชะตากรรมที่ตัวละครต้องพบเจอ แม้จะไม่ใช่สายตีความ วิเคราะห์หนัง ก็สามารถลิ้มรสชาติความโสมมของชนชั้นล่างได้เต็มอิ่มเต็มอารมณ์
เรื่องการใช้นักแสดงเยอะก็เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนในเวลาเดียวกัน ซึ่งจุดแข็งคือการท้าทายในแง่ของนักแสดงกับการรับช่วงต่ออารมณ์ของตัวละครที่จะต้องเปลี่ยนใบหน้า(ในทางปฏิบัติคือเปลี่ยนคน) ให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน เป็นการโชว์ศักยภาพของผู้กำกับว่าจะเอาอยู่หรือไม่ และก็เกิดความสนุกปนลุ้นว่ากับตัวเองว่า “นักแสดงคนนี้จะโผล่มาตอนไหนนะ” ทำนองนั้น
แต่ส่วนที่เป็นจุดอ่อนเกิดขึ้นในความรู้สึกคนดู ว่านักแสดงที่พวกเขาชื่นชอบอาจจะไม่ได้มีบทบาทมากเท่าที่อยากเห็น แน่นอนว่าแต่ละคนก็จะรู้สึกต่างกันไป และความถี่ของการเปลี่ยนใบหน้า (ที่หนังอ้างว่าทุก 2 นาที) ก็เป็นเหตุที่ทำให้แอนบางคน ไม่ทันได้เข้าถึงคนดู ก็ถูกเปลี่ยนตัวไปซะแล้ว หนำซ้ำยังไม่รู้สึกว่า แอนบางคนจะมีความพิเศษตรงไหน ทำไมต้องใช้นักแสดงคนนี้ พูดง่ายๆ คือ การเปลี่ยนหน้าบ่อยๆ มันไม่ได้กระตุ้นความพิเศษของเรื่องมากขนาดนั้น (ถ้าลดจำนวนนักแสดงลงน่าจะดีกว่านี้)
สรุป Faces of Anne “แอน” เป็นภาพยนตร์ที่มีคุณภาพทั้งในด้านของบทภาพยนตร์และงานสร้าง เหมาะสมในการฉายขึ้นจอในโรงภาพยนตร์เทียบเคียงกับภาพยนตร์ในระดับสากลได้อย่างไม่ต้องอายใครเลย แม้ว่าอาจจะยังไม่สมบูรณ์ไปทุกอย่าง แต่นี่ควรจะเป็นมาตรฐานของภาพยนตร์ในบ้านเราที่ควรจะเป็นเรื่องปกติหากอยากจะพัฒนาวงการนี้ให้ก้าวหน้าไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้
ฝากเพจด้วยนะครับ Story Decoder