Faces of Anne: แอน
" หนังไล่เชือดที่มีโครงสร้างน่าสนใจ แต่การเล่นยากหลายครั้ง ก็ทำให้คนดูลุ้นเหมือนกันว่า หนังจะหาทางลงและมีจุดจบอย่างไร "
สัปดาห์นี้คงไม่มีหนังไทยเรื่องไหนที่กระแสดีไปกว่าเรื่อง
Faces of Anne (2022) หนังไทยที่ดึงดาราหญิงระดับแม่เหล็กมามายมาย หลังจากที่ผมได้รับชม ก็อยากจะมารีวิวแชร์ความเห็นด้วยเช่นกันครับ
เรื่องย่อ
ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Faces of Anne แอน (Official Trailer)
Faces of Anne (2022) ได้รับการกำกับโดย
คงเดช จาตุรันต์รัศมี ผู้กำกับไทยคุณภาพที่สร้างผลงานไว้มากมาย (
Where We Belong, Snap แค่ได้คิดถึง, เฉิ่ม, สยิว) โดยหนังเล่าถึง ผู้หญิงทุกคนที่ชื่อ
"แอน" พวกเธอตื่นขึ้นมาพร้อมความทรงจำที่เลือนราง และหน้าตาที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา หมอและพยาบาลต่างบอกว่า นี่เป็นอาการทางจิตที่เธอคิดไปเอง ทว่าความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น
ที่โชคร้ายกว่า ในทุกค่ำคืน พวกเธอจะต้องเผชิญหน้ากับ "เวติโก" ปีศาจหัวกวางในตำนาน เหล่าแอนจึงต้องเอาตัวรอดจากปีศาจ พร้อมกับหาสาเหตุที่ทำหน้าตาเธอจึงเปลี่ยนไปให้ได้
ความรู้สึกหลังชม
ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมว่า นี่เป็นหนังที่ค่อนข้าง
"ทะเยอทะยาน" เมื่อเทียบกับเรื่องที่ผ่านมาของคุณคงเดช... นับว่าเป็นหนังไทยคุณภาพในปีนี้อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ
- Faces of Anne เป็นหนังที่เหมือนดำเนินเรื่องใน 3 ระดับ (Layer) ไปพร้อมกัน
ระดับที่ 1 (ระดับรูปธรรม) คือ การเป็นหนังหนีฆาตกรไล่เชือดที่ให้ความบันเทิงกับผู้ชมโดยตรง
ระดับที่ 2 (ระดับกลาง) คือ การเป็นหนังในทางจิตวิทยาที่พยายามสำรวจตัวตนของแอน พร้อมกับขุดลึกถึงประเด็นที่ว่า
"ตัวตนที่แท้จริงของเราคืออะไร และประกอบกันอย่างไรจากผลของสังคมและภาวะแวดล้อม"
ระดับที่ 3 (ระดับนามธรรม - ผสมกันกับระดับที่ 2 ในบางส่วน) คือ การเป็นหนังที่สะท้อนนัยยะทางการเมือง สภาพสังคม หรือเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งหนังไม่มีการเฉลยว่าจริง ๆ แล้ว มันคืออะไร แต่เราทุกคนสามารถตีความได้ในฉบับตัวเอง
[ สังเกตว่า หนังมีโครงสร้าง / Layer ที่ซ้อนกันเยอะมาก ถือว่า สร้างสรรค์และเป็นความท้าทายสำหรับภาพยนตร์ไทย ]
- ถ้าเจาะลึกไปในแต่ละระดับ
สำหรับระดับที่ 1 ส่วนนี้ผมว่าหนังทำงานในระดับที่สนุกเพลิน แต่ไม่ดีเท่าที่ควร ในมุมของหนังไล่เชือด เราสามารถเพิ่มความระทึกให้มากกว่านี้ เพื่อให้หนังทำงานกับคนดูมากขึ้น เช่น การออกแบบจังหวะ Jump-Scare หรือความกดดันที่ผลักลิมิตให้สูงกว่านี้ได้
ในระดับที่ 2 พาร์ทนี้ค่อนข้างโอเคเลย ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในเรื่อง หนังมีประเด็นที่สร้างสรรค์ มีบทสรุปที่พอจะเป็นคำตอบแก่ผู้ชม พร้อมกับเปิดกว้างให้ได้ขบคิด อาจจะติดนิดนึงตรงหนังมีความไม่ชัดเจนหรือความสับสนในสารที่นำเสนอบ้าง แต่เป็นข้อเสียที่ละวางได้ (ถ้าขัดเกลาให้ Simple / เล่นง่ายกว่านี้จะเยี่ยมยอด)
ในระดับที่ 3 โดยปกติ พาร์ทนี้จะเป็นส่วน Support ของหนังสไตล์คงเดช แต่ใน Faces of Anne ดูเหมือนจะมีการเร่งส่วนนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จริง ๆ แล้ว อาจขึ้นกับความชอบแต่ละคน (
ว่าอยากให้มีโทนทางการเมือง / ประเด็นทางสังคมที่เข้มหรือบางมากแค่ไหน) แต่สำหรับผม ผมประทับใจพาร์ทนี้ในผลงานเรื่องก่อน ๆ มากกว่า ในผลงานก่อน ๆ ประเด็นต่าง ๆ ถูกแทรกมาเป็นกิมมิคหนัง แต่ไม่ได้เป็นประเด็นหลักให้เราต้องเก็บไปคิดอย่างหนัก เพราะหัวใจหลักของเรื่องอยู่ที่พาร์ทระดับที่ 1 หรือ 2 ซึ่งเป็นส่วนเดินเรื่องหลัก
ดังนั้นเมื่อ Faces of Anne เพิ่มน้ำหนักส่วนนี้เข้ามา ผสมกับประเด็นที่ซ้อนทับกันเยอะกว่าเดิม ทำให้หนังยิ่งซับซ้อน สับสนง่ายขึ้น แถมเผาพลังงานผู้ชมอย่างหนัก ซึ่งใครที่รอดตรงนี้มาได้ก็จะหลงรัก แต่ถ้าใครไม่รอด รับรองว่าบ่นอุบแน่นอน 😅 (จริง ๆ ผมว่าคนน่าจะเริ่มตายตั้งแต่ระดับที่ 2 แล้วแหละ)
นี่จึงเป็นหนังที่เล่นท่ายากและเสี่ยงที่จะพังได้ง่าย ทว่าถ้าวัดกันโดยรวม ก็ถือว่าทางผู้กำกับจัดการกับทั้งสามส่วนนี้ค่อนข้างดีเมื่อกับสเกลหนังที่ซับซ้อนขนาดนี้ รวมถึงหาทางลงให้กับหนังได้ค่อนข้างปลอดภัย บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น... น่าชื่นชมครับ !
- จุดที่พอเป็นข้อเสียอีกอย่างคือ ไม่รู้ว่าการเล่นใหญ่ขนาดนี้ ท้ายที่สุดผลลัพธ์ที่ผู้ชมรอคอยจะคุ้มค่าหรือเปล่า ตัวหนังเองก็เผาพลังงานของผู้ชมไปหนักพอสมควร ดังนั้นส่วนนี้ก็มีผลทำให้แฟนหนังแตกออกไปสองฝั่งได้ (ชอบก็ชอบไปเลย ไม่ชอบก็เกลียดไปเลย)
- หนังดำเนินเรื่องค่อนข้าง Slow Burn สไตล์คงเดช ทำให้หนังมีความเนิบผสมเข้ามา แต่ก็ไม่ได้ถือว่าช้าจนดูลำบากยากเย็น
- ดีไซน์ด้านสถานที่ คอสตูม งานภาพ การเล่นเฉดสีในหนัง สร้างสรรค์ดีและแปลกสำหรับภาพยนตร์ไทย
- พาร์ทนักแสดง ส่วนนี้เป็นดาบสองคมเช่นกัน นักแสดงทุกคนต่างทำหน้าที่ตัวเองได้ดี แต่เมื่อนักแสดงมีจำนวนมากเกินไป ทำให้แต่ละคนมี Air-time ค่อนข้างน้อย แม้ว่านักแสดงหลายคนจะแสดงได้เยี่ยม แต่ความสามารถนั้นก็อาจไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเนื่องจากเวลาที่จำกัด ซึ่งจุดนี้ก็ส่งผลก็ให้ความอินของผู้ชมลดลงได้
สรุป
Faces of Anne (2022) นับเป็นหนังไทยดี มีประเด็นน่าสนใจ มีแรงทะเยอทะยานสูง ดูจากศักยภาพแล้ว ก็น่าส่งแข่งในเทศกาลภาพยนตร์หลาย ๆ ที่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสไตล์เนื้อเรื่องหลักจะเป็นหนังไล่เชือด แต่ตัวหนังก็มีความนอกกระแสพอสมควร (สไตล์คงเดช) และไม่ได้เป็นมิตรกับผู้ชมทุกกลุ่ม นอกจากนี้ก็อาจไม่ใช่หนังที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เพราะเรื่องราวต่าง ๆ ค่อนข้างซับซ้อน ต้องใช้พลังงานในการติดตาม
ดังนั้นหากใครต้องการหนังไทยที่มีต้องการความท้าทาย ความแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำกับเรื่องอื่น ก็ขอแนะนำเลยครับ และสำหรับคอหนังธรรมดา ก็ยังคงแนะนำให้ชมอยู่ดี เพราะหนังไทยสร้างสรรค์แบบนี้ ก็ไม่ได้มีบ่อย ๆ คงเสียดายน่าดู หากไม่ได้ชม !
_________________________________
(เพิ่มเติม) ขออนุญาตโฆษณากระทู้ที่รวมหนังของผู้กำกับ "คงเดช" เผื่อใครสนใจ 😂 แกถือเป็นผู้กำกับฝีมือเยี่ยมในประเทศไทยเลย
(เพิ่มเติม 2) สำหรับใครที่ดูแล้วไม่เข้าใจ ขออนุญาตแปะไว้ 2 กระทู้ ลองอ่านสปอยจากที่นี่ได้นะครับ หลาย ๆ ท่านเขียนตีความเอาไว้ดีเลย
_________________________________
ป.ล. รีวิวที่เขียนมาจากความรู้สึกหลังชม ซึ่งผมอาจเก็บไม่ครบหรือมองผิดพลาดได้ ดังนั้นหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ 😅
ป.ล.2 อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพุดคุยหรือติดต่อกับผม
Faces of Anne (2022) - หนังไล่เชือดไทยที่ทะเยอทะยาน พร้อมกับพาทุกคนสำรวจตัวตนของตัวเอง
เรื่องย่อ
ที่โชคร้ายกว่า ในทุกค่ำคืน พวกเธอจะต้องเผชิญหน้ากับ "เวติโก" ปีศาจหัวกวางในตำนาน เหล่าแอนจึงต้องเอาตัวรอดจากปีศาจ พร้อมกับหาสาเหตุที่ทำหน้าตาเธอจึงเปลี่ยนไปให้ได้
ความรู้สึกหลังชม
ระดับที่ 1 (ระดับรูปธรรม) คือ การเป็นหนังหนีฆาตกรไล่เชือดที่ให้ความบันเทิงกับผู้ชมโดยตรง
ระดับที่ 2 (ระดับกลาง) คือ การเป็นหนังในทางจิตวิทยาที่พยายามสำรวจตัวตนของแอน พร้อมกับขุดลึกถึงประเด็นที่ว่า "ตัวตนที่แท้จริงของเราคืออะไร และประกอบกันอย่างไรจากผลของสังคมและภาวะแวดล้อม"
ระดับที่ 3 (ระดับนามธรรม - ผสมกันกับระดับที่ 2 ในบางส่วน) คือ การเป็นหนังที่สะท้อนนัยยะทางการเมือง สภาพสังคม หรือเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งหนังไม่มีการเฉลยว่าจริง ๆ แล้ว มันคืออะไร แต่เราทุกคนสามารถตีความได้ในฉบับตัวเอง
ในระดับที่ 2 พาร์ทนี้ค่อนข้างโอเคเลย ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในเรื่อง หนังมีประเด็นที่สร้างสรรค์ มีบทสรุปที่พอจะเป็นคำตอบแก่ผู้ชม พร้อมกับเปิดกว้างให้ได้ขบคิด อาจจะติดนิดนึงตรงหนังมีความไม่ชัดเจนหรือความสับสนในสารที่นำเสนอบ้าง แต่เป็นข้อเสียที่ละวางได้ (ถ้าขัดเกลาให้ Simple / เล่นง่ายกว่านี้จะเยี่ยมยอด)
ในระดับที่ 3 โดยปกติ พาร์ทนี้จะเป็นส่วน Support ของหนังสไตล์คงเดช แต่ใน Faces of Anne ดูเหมือนจะมีการเร่งส่วนนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จริง ๆ แล้ว อาจขึ้นกับความชอบแต่ละคน (ว่าอยากให้มีโทนทางการเมือง / ประเด็นทางสังคมที่เข้มหรือบางมากแค่ไหน) แต่สำหรับผม ผมประทับใจพาร์ทนี้ในผลงานเรื่องก่อน ๆ มากกว่า ในผลงานก่อน ๆ ประเด็นต่าง ๆ ถูกแทรกมาเป็นกิมมิคหนัง แต่ไม่ได้เป็นประเด็นหลักให้เราต้องเก็บไปคิดอย่างหนัก เพราะหัวใจหลักของเรื่องอยู่ที่พาร์ทระดับที่ 1 หรือ 2 ซึ่งเป็นส่วนเดินเรื่องหลัก
ดังนั้นเมื่อ Faces of Anne เพิ่มน้ำหนักส่วนนี้เข้ามา ผสมกับประเด็นที่ซ้อนทับกันเยอะกว่าเดิม ทำให้หนังยิ่งซับซ้อน สับสนง่ายขึ้น แถมเผาพลังงานผู้ชมอย่างหนัก ซึ่งใครที่รอดตรงนี้มาได้ก็จะหลงรัก แต่ถ้าใครไม่รอด รับรองว่าบ่นอุบแน่นอน 😅 (จริง ๆ ผมว่าคนน่าจะเริ่มตายตั้งแต่ระดับที่ 2 แล้วแหละ)
นี่จึงเป็นหนังที่เล่นท่ายากและเสี่ยงที่จะพังได้ง่าย ทว่าถ้าวัดกันโดยรวม ก็ถือว่าทางผู้กำกับจัดการกับทั้งสามส่วนนี้ค่อนข้างดีเมื่อกับสเกลหนังที่ซับซ้อนขนาดนี้ รวมถึงหาทางลงให้กับหนังได้ค่อนข้างปลอดภัย บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น... น่าชื่นชมครับ !
- หนังดำเนินเรื่องค่อนข้าง Slow Burn สไตล์คงเดช ทำให้หนังมีความเนิบผสมเข้ามา แต่ก็ไม่ได้ถือว่าช้าจนดูลำบากยากเย็น
- ดีไซน์ด้านสถานที่ คอสตูม งานภาพ การเล่นเฉดสีในหนัง สร้างสรรค์ดีและแปลกสำหรับภาพยนตร์ไทย
- พาร์ทนักแสดง ส่วนนี้เป็นดาบสองคมเช่นกัน นักแสดงทุกคนต่างทำหน้าที่ตัวเองได้ดี แต่เมื่อนักแสดงมีจำนวนมากเกินไป ทำให้แต่ละคนมี Air-time ค่อนข้างน้อย แม้ว่านักแสดงหลายคนจะแสดงได้เยี่ยม แต่ความสามารถนั้นก็อาจไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเนื่องจากเวลาที่จำกัด ซึ่งจุดนี้ก็ส่งผลก็ให้ความอินของผู้ชมลดลงได้
สรุป
ดังนั้นหากใครต้องการหนังไทยที่มีต้องการความท้าทาย ความแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำกับเรื่องอื่น ก็ขอแนะนำเลยครับ และสำหรับคอหนังธรรมดา ก็ยังคงแนะนำให้ชมอยู่ดี เพราะหนังไทยสร้างสรรค์แบบนี้ ก็ไม่ได้มีบ่อย ๆ คงเสียดายน่าดู หากไม่ได้ชม !
ป.ล.2 อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพุดคุยหรือติดต่อกับผม