สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ Core ของหนังก่อน
หลัก ๆ ก็คือการสร้าง "ตัวตนสมมติ" ของตัวเองขึ้นมา
และอย่างที่เราเห็นในเรื่องว่าตัวละคร ชื่อ "แอน" เหมือนกันหมด, เพราะทุกตัวล้วนมาจากการสร้าง "ตัวตนสมมติ" ของ แอน (ตัวจริง), โดยอิงจากบุคคลแวดล้อมรอบ ๆ ไม่ว่าจะเป็น {เพื่อน, แพทย์, อินฟลูเอนเซอร์, ... ฯลฯ}
กล่าวคือ อยากเป็นคนนั้นคนนี้ไปทั่ว เพื่อหลีกหนีความจริงจากโลก หรือได้รับการยอมรับจากสังคม
แต่ไม่ว่าภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกมาจะเป็นใคร ภายในทุกตัวก็ล้วนเป็น "แอน" ทั้งนั้น
และหนังเรื่องนี้ก็สร้าง "What If" จาก Core ตรงนั้น, โดยรังสรรค์โลกของเหล่า แอน ขึ้นมา ภายใต้จิตสำนึกของ แอน (ตัวจริง) *ที่ปัจจุบันนอนแอ้งแม้งอยู่บนเตียงผู้ป่วย
โดยทุกตัวละครจะต้องแก่งแย่งกัน เพื่อความอยู่รอดในการเป็น "แอน" (เพราะ แอน มีได้แค่คนเดียว)
แต่อย่างที่บอก... การใช้วิธีการ "เดิม ๆ" ก็จะได้ผลลัพธ์ "เดิม ๆ"
แอน ทุกตัว จึงพยามหาวิธีการ "ใหม่ ๆ" เพราะหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ "ใหม่ ๆ"
แต่...มันก็ไม่ได้มีอะไรที่ ใหม่ จริง ๆ เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่ แอน แต่ละตัวพยามทำก็เพียงแค่ต้องการหนี ปีศาจหัวกวาง
ซึ่งปีศาจตัวนั้นแท้จริงแล้วมันก็คือ "แอน" พูดง่าย ๆ ..."หนีตัวเอง"
แล้วถามหน่อยว่า ถ้าคุณอยากอยู่รอดในฐานะ "แอน" แต่คุณก็หนีตัวตน "แอน" ของตัวเอง เพียงเพราะ ความกลัว
กลัวในสิ่งที่ไม่รู้จัก กลัวในภาพลักษณ์ กลัวในตัวตน (จะเห็นใช่มั้ยว่าตอนต้นเรื่อง มันโฟกัสแค่เรื่องหน้าตาของตัวเอง!? .."เห้ยทำไมหน้าฉันเปลี่ยน" "ฉันเป็นใคร" "เธอเป็นใคร" "ทำไมหน้าของเธอถึง"... บลาๆๆๆ) ท้ายสุดแล้ว มันก็เป็นกระจกสะท้อนไปถึง ทัศนคติ ของ แอน ที่ให้คุณค่ากับรูปลักษณ์ภายนอก มากเกินไป ก็เหมือนกับการที่ อยากเป็นคนนั้นคนนี้ แล้วสร้าง "ตัวตนสมมติ" ของตัวเองขึ้นมานั่นแหละ
และพอถึงจุดหนึ่งที่กล้าเผชิญหน้ากับตัวเอง อยากหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ที่ตัวเองสร้างขึ้น ปล่อยวางจากเรื่องภาพลักษณ์ จนรู้ตัวว่าหน้าตัวเองไม่เปลี่ยนแล้วนั่นแหละ ก็คือค่อย ๆ กลับมาเป็น แอน ที่แท้จริง ...แต่แค่เฉพาะภายนอกนะ
ตัวละคร "หมอ" ก็ถึงได้บอกไงว่า "ครั้งนี้หน้าไม่เปลี่ยนแล้ว น่าสนใจนะเนี่ย" เพราะเห็นว่าตัว แอน ค่อย ๆ เข้าใจและยอมรับตัวเองได้ และที่ แอน ถามต่อว่า "ทำไมตอนแรกต้องโกหก" เธอก็ให้เหตุผล "เพราะตอนแรกแอนยังไม่พร้อม" ก็สอดคล้องกับ ทัศนคติ ของ แอน ในตอนแรกที่ยังไม่หลุดพ้นจากภาพลักษณ์/ตัวตนของตัวเองจริง ๆ
ทีนี้พอหลุดพ้นจากเรื่อง ภาพลักษณ์ ก็ไปต่อที่เรื่องค้างคาในใจ ที่ แอน ก็ยังไม่หลุดพ้น
อย่างกวางที่เคยเห็นพ่อตัวเองฆ่าตอนยังเด็ก ก็กลัวฝังใจกับภาพจำนั้น กะโหลกกวางที่แสดงถึงกวางที่ตายไป จึงเป็นตัวแทนของ ความกลัว ภายในใจของ แอน ที่ทำให้ แอน อยากหนีมัน
สิ่งที่หนังอยากจะสื่อคือ... คุณหลีกหนีความจริงไม่ได้ คุณหลีกหนีตัวตนของคุณไม่ได้ คุณหลีกหนีอดีตของคุณไม่ได้ สิ่งที่คุณต้องทำคือกล้าที่จะยอมรับ และเผชิญกับมันต่อไป เพราะทุกอย่างมันก็คือองค์ประกอบที่หล่อหลอมให้คุณเป็นคุณ ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ก็ตาม
อย่าคิดว่าการทำร้ายร่างกาย หรือฆ่าตัวตายมันจะเป็นทางออก เพราะมันก็แค่การหนีจากความจริง สุดท้ายคุณก็แค่หนีๆๆๆ ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ
Doesn't matter who you are, just be yourself and love yourself.
หลัก ๆ ก็คือการสร้าง "ตัวตนสมมติ" ของตัวเองขึ้นมา
และอย่างที่เราเห็นในเรื่องว่าตัวละคร ชื่อ "แอน" เหมือนกันหมด, เพราะทุกตัวล้วนมาจากการสร้าง "ตัวตนสมมติ" ของ แอน (ตัวจริง), โดยอิงจากบุคคลแวดล้อมรอบ ๆ ไม่ว่าจะเป็น {เพื่อน, แพทย์, อินฟลูเอนเซอร์, ... ฯลฯ}
กล่าวคือ อยากเป็นคนนั้นคนนี้ไปทั่ว เพื่อหลีกหนีความจริงจากโลก หรือได้รับการยอมรับจากสังคม
แต่ไม่ว่าภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกมาจะเป็นใคร ภายในทุกตัวก็ล้วนเป็น "แอน" ทั้งนั้น
และหนังเรื่องนี้ก็สร้าง "What If" จาก Core ตรงนั้น, โดยรังสรรค์โลกของเหล่า แอน ขึ้นมา ภายใต้จิตสำนึกของ แอน (ตัวจริง) *ที่ปัจจุบันนอนแอ้งแม้งอยู่บนเตียงผู้ป่วย
โดยทุกตัวละครจะต้องแก่งแย่งกัน เพื่อความอยู่รอดในการเป็น "แอน" (เพราะ แอน มีได้แค่คนเดียว)
แต่อย่างที่บอก... การใช้วิธีการ "เดิม ๆ" ก็จะได้ผลลัพธ์ "เดิม ๆ"
แอน ทุกตัว จึงพยามหาวิธีการ "ใหม่ ๆ" เพราะหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ "ใหม่ ๆ"
แต่...มันก็ไม่ได้มีอะไรที่ ใหม่ จริง ๆ เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่ แอน แต่ละตัวพยามทำก็เพียงแค่ต้องการหนี ปีศาจหัวกวาง
ซึ่งปีศาจตัวนั้นแท้จริงแล้วมันก็คือ "แอน" พูดง่าย ๆ ..."หนีตัวเอง"
แล้วถามหน่อยว่า ถ้าคุณอยากอยู่รอดในฐานะ "แอน" แต่คุณก็หนีตัวตน "แอน" ของตัวเอง เพียงเพราะ ความกลัว
กลัวในสิ่งที่ไม่รู้จัก กลัวในภาพลักษณ์ กลัวในตัวตน (จะเห็นใช่มั้ยว่าตอนต้นเรื่อง มันโฟกัสแค่เรื่องหน้าตาของตัวเอง!? .."เห้ยทำไมหน้าฉันเปลี่ยน" "ฉันเป็นใคร" "เธอเป็นใคร" "ทำไมหน้าของเธอถึง"... บลาๆๆๆ) ท้ายสุดแล้ว มันก็เป็นกระจกสะท้อนไปถึง ทัศนคติ ของ แอน ที่ให้คุณค่ากับรูปลักษณ์ภายนอก มากเกินไป ก็เหมือนกับการที่ อยากเป็นคนนั้นคนนี้ แล้วสร้าง "ตัวตนสมมติ" ของตัวเองขึ้นมานั่นแหละ
และพอถึงจุดหนึ่งที่กล้าเผชิญหน้ากับตัวเอง อยากหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ที่ตัวเองสร้างขึ้น ปล่อยวางจากเรื่องภาพลักษณ์ จนรู้ตัวว่าหน้าตัวเองไม่เปลี่ยนแล้วนั่นแหละ ก็คือค่อย ๆ กลับมาเป็น แอน ที่แท้จริง ...แต่แค่เฉพาะภายนอกนะ
ตัวละคร "หมอ" ก็ถึงได้บอกไงว่า "ครั้งนี้หน้าไม่เปลี่ยนแล้ว น่าสนใจนะเนี่ย" เพราะเห็นว่าตัว แอน ค่อย ๆ เข้าใจและยอมรับตัวเองได้ และที่ แอน ถามต่อว่า "ทำไมตอนแรกต้องโกหก" เธอก็ให้เหตุผล "เพราะตอนแรกแอนยังไม่พร้อม" ก็สอดคล้องกับ ทัศนคติ ของ แอน ในตอนแรกที่ยังไม่หลุดพ้นจากภาพลักษณ์/ตัวตนของตัวเองจริง ๆ
ทีนี้พอหลุดพ้นจากเรื่อง ภาพลักษณ์ ก็ไปต่อที่เรื่องค้างคาในใจ ที่ แอน ก็ยังไม่หลุดพ้น
อย่างกวางที่เคยเห็นพ่อตัวเองฆ่าตอนยังเด็ก ก็กลัวฝังใจกับภาพจำนั้น กะโหลกกวางที่แสดงถึงกวางที่ตายไป จึงเป็นตัวแทนของ ความกลัว ภายในใจของ แอน ที่ทำให้ แอน อยากหนีมัน
สิ่งที่หนังอยากจะสื่อคือ... คุณหลีกหนีความจริงไม่ได้ คุณหลีกหนีตัวตนของคุณไม่ได้ คุณหลีกหนีอดีตของคุณไม่ได้ สิ่งที่คุณต้องทำคือกล้าที่จะยอมรับ และเผชิญกับมันต่อไป เพราะทุกอย่างมันก็คือองค์ประกอบที่หล่อหลอมให้คุณเป็นคุณ ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ก็ตาม
อย่าคิดว่าการทำร้ายร่างกาย หรือฆ่าตัวตายมันจะเป็นทางออก เพราะมันก็แค่การหนีจากความจริง สุดท้ายคุณก็แค่หนีๆๆๆ ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ
Doesn't matter who you are, just be yourself and love yourself.
แสดงความคิดเห็น
งง faces of anne ช่วยตีความหน่อยค่ะ
พอจะคลำๆได้แค่ประเด็น การอยากเป็นคนนู้นคนนี้
เรือ หรือปีศาจกวางคืออะไร เรื่องวนๆ คืออะไร
ช่วยตีความให้ทีค่า 😭