เครดิต
“ไทก้า! ไฟย่า! ไซบ้า! ไฟบ้า! ไดว่า! ไวบ้า! จ้าจ้า!”
พ.ศ. 2560 วงไอดอลชุดสีลูกกวาดแปลกตาสัญชาติญี่ปุ่น BNK48 ปรากฏตัวให้ชาวไทยได้เห็น ซึ่งเพลง ‘คุกกี้เสี่ยงทาย’ ซิงเกิลที่ 2 ของวงก็ดังเป็นพลุแตก จนปลุกกระแสเกิร์ลกรุ๊ปไทยให้กลับมาได้อีกครั้ง และส่งผลมาถึงทิศทางบางส่วนของ T-POP ในปัจจุบัน
เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ ชื่อแรก ๆ ที่คนจะพูดถึงเมื่อพูดถึง BNK48 เรียกว่าเป็นบุคคลที่ก้าวขาเข้าไปในวงก่อนใครเขา เพราะในงาน BNK48 We Need You ซึ่งเป็นงานประกาศการออดิชั่นสานฝันวัยรุ่นสาวชาวไทยสู่วงการบันเทิง เมื่อ พ.ศ. 2559 เด็กสาวผู้เป็นแฟนคลับวงพี่อย่าง AKB48 ที่ได้ขึ้นไปถ่ายรูปบนเวทีคือ กระเต็น หรือ เจนนิษฐ์ BNK48 ในวันนี้
สำหรับเรา เราเห็นเธอมาก่อนหน้านั้น ตั้งแต่เรายังอยู่มัธยมปลายและเธอยังเป็นเด็กน่ารักผูกคอซองเดินอยู่ที่โรงเรียน น่าทึ่งที่รุ่นน้องคนนี้ได้เริ่มชีวิตการทำงานจริง ๆ จัง ๆ ก่อนเรานานนัก ผ่านไปเกือบ 6 ปี เธอกลายเป็นไอดอลที่มีประสบการณ์ ทั้งร้อง เต้น เป็นนักแสดง และปัจจุบันก็กำลังจะเข้าสู่บทใหม่ของชีวิต หลังจากที่ประกาศจบการศึกษาไป จะทำงานในวงถึงแค่สิ้นปีนี้
ในวาระที่ภาพยนตร์ระทึกขวัญ Faces of Anne ผลงานแสดงของเธอเข้าโรงไป (สัมภาษณ์ก่อนภาพยนตร์เข้า) เราขอชวนเธอมาคุยกันถึงการทำงานชิ้นนี้ รวมถึงสรุปสิ่งที่ตกตะกอนจากการเป็น ‘ไอดอล’ และการเป็น ‘เจนนิษฐ์’ ผู้เถรตรงในวัย 22 ปี กันสักหน่อย
แอบกระซิบว่าการพูดคุยในครั้งนี้ทำให้เราเข้าใจมุมมองของเธอต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่น้อย แม้จะเผยแพร่ไม่ได้ทั้งหมดเพราะความอ่อนไหวบางอย่าง แต่เท่าที่คัดมาลงในบทความนี้ก็น่าสนใจทีเดียว
เปิดใจสาวเต็น
แนะนำตัวพอเป็นพิธี
สวัสดีค่ะ เจนนิษฐ์ BNK48 ค่ะ ถ้าคนอื่นมองเข้ามา เราคือไอดอลคนหนึ่ง แต่จริง ๆ ก็เป็นคนธรรมดานี่แหละค่ะ ทำงานหาเช้ากินค่ำ
BNK48 รุ่น 1 กำลังทยอยประกาศจบการศึกษากันหลายคนแล้ว ใจหายไหม
มากค่ะ วันนี้เพิ่งไปถ่ายรายการมาก็น้ำตาร่วงอีกแล้ว ช่วงนี้รุ่น 1 ทริกเกอร์นะคะ ห้ามพูดอะไรเซนซิทีฟ ร้องไห้กันเก่งมาก
เหตุการณ์อะไรที่รู้สึกภูมิใจที่สุดตั้งแต่เข้ามา
ภูมิใจที่สุดน่าจะเป็นช่วงรับรางวัลตอน (ภาพยนตร์) Where We Belong นี่แหละค่ะ เป็นช่วงที่เดินสาย Q&A ต่างประเทศเยอะที่สุดในชีวิต ปกติไม่เคยไปทำงานต่างประเทศนอกจากญี่ปุ่น แต่ครั้งนั้นไปทุกที่เลย น่าจะประสบความสำเร็จที่สุดตั้งแต่อยู่ในวงมาค่ะ
ช่วงชีวิต 5 – 6 ปีที่ผ่านมานี่คิดว่าต่างจากชีวิตก่อนหน้านั้นมากไหม
แน่นอน ต้องต่างมากแน่นอน เพราะว่าเปลี่ยนจากการเรียนหนังสืออย่างเดียวมาทำงานเต็มตัว จากคนที่ไม่ได้มีใครรู้จักเราขนาดนั้นก็กลายมาเป็นจุดสนใจ
ขอสักคำมานิยามให้กับช่วงชีวิตนี้หน่อย
เหมือนเข้าไปอยู่ในอะคาเดมี่ค่ะ เหมือนเรียน ม.1 ถึง ม.6 กับเพื่อนห้องเดิมตลอด ไม่เปลี่ยนห้องเลย (กลั้วหัวเราะ) อาจจะมีเพื่อนหายไปบ้าง แล้วก็มีรุ่นน้องชั้นปีใหม่เข้ามา
มันคือการเรียน แค่ไม่ได้เรียนวิชาในตำรา ในหนังสือ แต่เรียนวิชาชีวิต การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การตอบคำถามสื่อ เรียนเต้น เรียนร้อง
ความรู้สึกตอนนี้ต่างจากวันที่เข้ามายังไงบ้าง การรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ของเรามันเปลี่ยนไปมากไหม
แน่นอนค่ะ เราเรียนรู้จากความผิดพลาดทั้งของตัวเองและของคนอื่น เรียนรู้ว่าควรจะทำยังไง ควรจะรับมือยังไง ตอนนี้เราก็เก่งขึ้น ชั่วโมงบินเยอะขึ้น และมีวิธีหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญหา
มาถึงจุดนี้แล้ว คิดว่า ‘ไอดอล’ คืออะไร
ตอบเหมือนเดิม ไอดอลก็คืออาชีพค่ะ เราทำหลายอย่าง เลยรู้สึกว่าไอดอลเป็นชื่อเรียกอาชีพเราที่คนจะเข้าใจมากที่สุดถ้าถามว่าเราทำอะไร จะพูดว่านักร้องก็ไม่ใช่ นักเต้นก็ไม่ใช่ บอกว่าไอดอลคนก็คงเข้าใจแหละว่าเราทำงานแบบนี้ ๆ
ในบริบทที่ว่าไอดอลคือบุคคลตัวอย่าง มันเป็นผลพลอยได้ที่คนอื่นเรียกเรา แต่ถ้าในมุมมองของหนู ยังไงไอดอลก็คือชื่ออาชีพของหนูเอง
แล้วเราคิดว่าเราเป็นบุคคลตัวอย่างบ้างไหม
อันนี้ก็แล้วแต่ว่าคนจะนับถือหนูเป็นบุคคลตัวอย่างไหม แต่ตัวเองก็รู้สึกเฉย ๆ เหมือนเรามาทำอาชีพที่เราชอบแล้วมีคนมาชอบเรา
หนูบอกตลอดว่าหนูไม่ทำตามที่คนอื่นคาดหวังอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นคนที่ชอบทำตามใจคนอื่น หนูทำตามใจตัวเอง
แสดงว่าไม่เคยทุกข์กับการที่มีคนมาคาดหวังอะไรกับเราแบบคนอื่นเขาเลย
ไม่เคยค่ะ (ยิ้ม) พูดมาแต่แรกเลยว่าไม่ใช่คนดี ไม่ใช่คนเรียบร้อย ไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่คนเพอร์เฟกต์ที่จะมาคาดหวังได้ แต่ถ้าคุณโอเคกับการตามเรา เราก็ยินดี ก็ขอบคุณเขาที่ชอบที่เราเป็นเรา
เจนนิษฐ์ล่ะ คาดหวังอะไรกับตัวเองไหม
ไม่เชิงว่าคาดหวัง มันเป็นความต้องการนะ เราอยากเก่งขึ้นแหละ แต่ไม่ได้คาดหวังว่าฉันจะต้องเล่นหนังแล้วได้รางวัลปีละ 3 เรื่อง แค่อยากเก่งขึ้น ได้งานดี ๆ ทำ
การที่เป็นไอดอลมา 5 – 6 ปี หล่อหลอมอะไรเราบ้าง เหมือนเราโตมาในนี้เลย
หล่อหลอมให้อยู่เป็น ให้เจอจุดสมดุลในการเป็นตัวเองโดยที่อยู่กับคนอื่นได้ บางทีเป็นตัวเองเกินก็อยู่กับคนอื่นไม่ได้ เราทำงานกับคนที่หลากหลาย ก็ต้องปรับตัวให้หลากหลายตามเขาด้วย แต่ต้องไม่สูญเสียตัวเองไปเลย
แปลว่าถ้าไม่ได้เข้ามาที่นี่ คิดว่าตัวเองจะไม่ได้เป็นแบบนี้เหรอ
ใช่ ก่อนเข้าวงก็คือไม่ค่อยแคร์ ไม่ค่อยประนีประนอมค่ะ อาจจะเพราะเราไม่ค่อยอยู่กับใครมาก เราอยู่แค่กับแก๊งเพื่อนของเราที่เข้าใจความเป็นเราอยู่แล้ว ก็เลยไม่ได้เดือดร้อน เราไม่รู้ด้วยว่าการที่เราเป็นตัวเราแบบนี้จะไปทำคนอื่นเดือดร้อนหรือเปล่า เพราะเราไม่ได้เจอคนเยอะ แต่พอเข้าวงก็เริ่มรู้สึกว่า ไม่ได้ว่ะ แบบนี้มันอยู่ไม่ได้ ต้องปรับแล้ว
คิดว่าออกไปจะกลับสู่สภาพเดิมหรือเปล่า
ไม่ ไม่แล้วค่ะ (ตอบยิ้ม ๆ) ออกไปก็ต้องปรับไปเรื่อยเลย เพราะเราออกไปเจอโลกที่กว้างขึ้น ออกไปเจอคนเยอะขึ้นแน่นอน
หาตัวเองเจอ
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์ ที่เรียนอยู่นี่เรียนอะไรบ้าง
มีเรียนร้อง เรียนเต้น เรียน ASEAN Music ถ้าวิชาของธุรกิจ (สาขาเดิม) ก็จะมีเรียน Aesthetic Listening เรียนวิเคราะห์ดนตรีพื้นฐาน เรียนวิชา PR เรียน Customer Behavior พวกวิชา Business ก็มี
คนที่เรียนคือเขาอยากเป็นไอดอลหรืออยากอยู่เบื้องหลัง
ถ้าเป็นธุรกิจดนตรีและบันเทิง สาขาเก่าหนู คือเป็นเบื้องหลัง แต่ถ้าสาขาใหม่ที่ย้ายมาน่าจะเบื้องหน้ามากกว่า แต่ก็เป็นเบื้องหลังได้ด้วย ถ้าจะเป็นเบื้องหลังก็เรียนให้รู้ว่าเบื้องหน้าต้องทำอะไร เบื้องหลังจะได้รับมือจัดการได้ถูกต้อง
ตอนแรกดูเป็นคนสายวิทย์นะ
ใช่ เรียนวิทย์มาตลอดชีวิต ตอนอยู่จุฬาฯ ก็ยังเรียนวิทย์ แต่พอคิดว่าคงไม่ได้ใช้แล้ว ก็ทิ้งเลย
จุดเปลี่ยนมันคืออะไร รู้สึกว่าเราไม่เอาแล้วเหรอ
ไม่ได้ไม่เอาแล้ว แต่มันจะไม่ได้ใช้แล้วในอนาคต ก็เลยไม่รู้จะเรียนไปทำไมค่ะ มันเสียตังค์อะเนอะ ค่าเทอมแพง (หัวเราะ) เราจะอยู่ในวงการบันเทิง ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในเบื้องหน้า ก็คงอยู่ในธุรกิจแวดวงนี้ หรือไม่ก็คงไปทำธุรกิจตัวเอง ถ้าจะใช้วิทย์มันคงไม่ถึงขั้นต้องเรียนมหา’ลัย หรือเรียนเฉพาะเจาะจงไปขนาดนั้น
เรียกว่าหาตัวเองเจอแล้วหรือเปล่า
ช่าย (ลากเสียง) คนอื่นเขาอาจจะเรียนมหา’ลัยเพื่อหาสิ่งที่ชอบ หางานที่ชอบ เราข้ามขั้นตอนไปแล้ว แต่พอเจองานที่ชอบก็มีปัญหาเหมือนกันว่าจะเรียนไปทำไม เพราะเราเจองานแล้ว
แล้วพอเข้าไปเรียน เรามีมุมมองต่อวงการไอดอลเปลี่ยนไปไหม
ไม่นะ เราเป็นผู้รู้ในวงการ (หัวเราะ) เข้าไปแนะนำคนอื่นได้มากกว่า ถ้าน้อง ๆ ถามเราก็ตอบได้
จริง ๆ ในอนาคตอยากลองเป็นเบื้องหลังไหม ไม่ต้องที่นี่ก็ได้นะ
ช่วยดูได้ เป็นที่ปรึกษาได้ แต่คุมทั้งหมดอาจจะไม่ได้เก่งขนาดนั้น เราจัดการตัวเองได้ดีกว่าจัดการคนอื่น
เวลาไปเอาต์ติ้ง เขาจะมีการแบ่งคนตามสี สีแดงกับเขียวที่คนเยอะมาก สีเหลืองกับน้ำเงินจะเป็นส่วนน้อย เขาเปรียบเทียบว่าสมมติจะไปเดินทางต่างจังหวัดวันเสาร์ สีแดงจะจัดกระเป๋าเช้าวันเสาร์แบบโยนทุกอย่างเข้าไปแล้วไปเลย เป็นพวกที่ลงมือทำเลย ไม่ค่อยคิด สีเขียวจะเป็นพวกมีเช็กลิสต์ 1 2 3 4 ถ้ามีครบก็ไป สีเหลืองจะยาก ๆ หน่อย ไม่หลุดโลกไปเลย ก็เป็นพวกธรรมะธรรมโม ส่วนหนูเป็นสีน้ำเงิน เป็นพวกคิดแล้วคิดอีก จัดตั้งแต่วันเสาร์ที่แล้วจนถึงวันเสาร์สุดท้ายแล้วค่อยปิดกระเป๋าแล้วค่อยไป อาจจะไม่เหมาะกับการเป็นเบื้องหลัง
คิดเยอะ ๆ ไม่ปวดหัวเหรอ
ชินแล้ว ขนาดอยู่บนห้องจะเดินลงไปทำ 2 – 3 อย่างข้างล่าง ยังคิดก่อนว่าต้องไปทำอันไหนก่อนถึงจะเซฟเวลาที่สุด (หัวเราะ) แต่เพราะอย่างนี้ สีน้ำเงินก็เลยรู้จักตัวเองนะ เราคิดเยอะ
คิดยังไงกับอุตสาหกรรมเพลงไทย อุตสาหกรรมไอดอลในตอนนี้บ้าง
ช่วงนี้ครึกครื้นดีนะ คนเยอะมาก ๆ เลย ย้อนกลับไปก่อน BNK48 ก็คือไม่มีเลย ไม่มีทั้งเกิร์ลกรุ๊ป ทั้งบอยแบนด์ เงียบเหงามาก แต่ตอนนี้มีเพื่อน ๆ รุ่นใกล้ ๆ กัน เป็นเหมือนเพื่อนคนละโรงเรียนที่ทำสิ่งเดียวกับเรา ดูสนุกสนานดี ยิ่งถ้ามีโอกาสได้มาคอลแลบกันยิ่งเจ๋ง
อยากให้วงการนี้ดีขึ้นยังไงบ้าง
เรื่องพื้นที่ ตอนนี้รายการโชว์มีแค่ T-POP STAGE ยังไม่ได้เยอะมากขนาดนั้น เห็นดราม่าที่วงดัง ๆ ไปลงสยามแล้วคนหาว่าแย่งพื้นที่ แต่เรารู้สึกว่าพื้นที่เราก็ไม่ได้เยอะเว้ย (หัวเราะ) ถึงเราจะมีเยอะกว่าคนอื่นก็รู้สึกว่ามันยังไม่ได้พอขนาดนั้น แล้วก็มีเรื่องการสนับสนุนที่จะโกอินเตอร์ด้วยค่ะที่ยังไม่เพียงพอ
จริง ๆ แล้ว ไอดอลไทยหรือเพลงไทย จะมีโอกาสเป็น Soft Power ในต่างประเทศได้ไหม
ได้นะ หนูว่าอย่าง MILLI ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่มากเลยนะ ในที่สุดก็ได้ชื่อว่านี่คือนักร้องไทย เอาจริง ๆ วงการบันเทิงไทยมีแฟนคลับต่างชาติเยอะจะตาย วงเราก็มีแฟนคลับจีน อินโด เยอะแยะเลย เพราะเขาชอบความเป็นไทย หนูว่ามันผลักดันได้
ถ้าจะไปขายต่างประเทศ หนูว่าแนวไหนก็ได้หมดแหละ ถ้ามันบังเอิญไปตรงจริต ไปตรงเทสเขา
เจนนิษฐ์ จาก The Cloud
“ไทก้า! ไฟย่า! ไซบ้า! ไฟบ้า! ไดว่า! ไวบ้า! จ้าจ้า!”
พ.ศ. 2560 วงไอดอลชุดสีลูกกวาดแปลกตาสัญชาติญี่ปุ่น BNK48 ปรากฏตัวให้ชาวไทยได้เห็น ซึ่งเพลง ‘คุกกี้เสี่ยงทาย’ ซิงเกิลที่ 2 ของวงก็ดังเป็นพลุแตก จนปลุกกระแสเกิร์ลกรุ๊ปไทยให้กลับมาได้อีกครั้ง และส่งผลมาถึงทิศทางบางส่วนของ T-POP ในปัจจุบัน
เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ ชื่อแรก ๆ ที่คนจะพูดถึงเมื่อพูดถึง BNK48 เรียกว่าเป็นบุคคลที่ก้าวขาเข้าไปในวงก่อนใครเขา เพราะในงาน BNK48 We Need You ซึ่งเป็นงานประกาศการออดิชั่นสานฝันวัยรุ่นสาวชาวไทยสู่วงการบันเทิง เมื่อ พ.ศ. 2559 เด็กสาวผู้เป็นแฟนคลับวงพี่อย่าง AKB48 ที่ได้ขึ้นไปถ่ายรูปบนเวทีคือ กระเต็น หรือ เจนนิษฐ์ BNK48 ในวันนี้
สำหรับเรา เราเห็นเธอมาก่อนหน้านั้น ตั้งแต่เรายังอยู่มัธยมปลายและเธอยังเป็นเด็กน่ารักผูกคอซองเดินอยู่ที่โรงเรียน น่าทึ่งที่รุ่นน้องคนนี้ได้เริ่มชีวิตการทำงานจริง ๆ จัง ๆ ก่อนเรานานนัก ผ่านไปเกือบ 6 ปี เธอกลายเป็นไอดอลที่มีประสบการณ์ ทั้งร้อง เต้น เป็นนักแสดง และปัจจุบันก็กำลังจะเข้าสู่บทใหม่ของชีวิต หลังจากที่ประกาศจบการศึกษาไป จะทำงานในวงถึงแค่สิ้นปีนี้
ในวาระที่ภาพยนตร์ระทึกขวัญ Faces of Anne ผลงานแสดงของเธอเข้าโรงไป (สัมภาษณ์ก่อนภาพยนตร์เข้า) เราขอชวนเธอมาคุยกันถึงการทำงานชิ้นนี้ รวมถึงสรุปสิ่งที่ตกตะกอนจากการเป็น ‘ไอดอล’ และการเป็น ‘เจนนิษฐ์’ ผู้เถรตรงในวัย 22 ปี กันสักหน่อย
แอบกระซิบว่าการพูดคุยในครั้งนี้ทำให้เราเข้าใจมุมมองของเธอต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่น้อย แม้จะเผยแพร่ไม่ได้ทั้งหมดเพราะความอ่อนไหวบางอย่าง แต่เท่าที่คัดมาลงในบทความนี้ก็น่าสนใจทีเดียว
เปิดใจสาวเต็น
แนะนำตัวพอเป็นพิธี
สวัสดีค่ะ เจนนิษฐ์ BNK48 ค่ะ ถ้าคนอื่นมองเข้ามา เราคือไอดอลคนหนึ่ง แต่จริง ๆ ก็เป็นคนธรรมดานี่แหละค่ะ ทำงานหาเช้ากินค่ำ
BNK48 รุ่น 1 กำลังทยอยประกาศจบการศึกษากันหลายคนแล้ว ใจหายไหม
มากค่ะ วันนี้เพิ่งไปถ่ายรายการมาก็น้ำตาร่วงอีกแล้ว ช่วงนี้รุ่น 1 ทริกเกอร์นะคะ ห้ามพูดอะไรเซนซิทีฟ ร้องไห้กันเก่งมาก
เหตุการณ์อะไรที่รู้สึกภูมิใจที่สุดตั้งแต่เข้ามา
ภูมิใจที่สุดน่าจะเป็นช่วงรับรางวัลตอน (ภาพยนตร์) Where We Belong นี่แหละค่ะ เป็นช่วงที่เดินสาย Q&A ต่างประเทศเยอะที่สุดในชีวิต ปกติไม่เคยไปทำงานต่างประเทศนอกจากญี่ปุ่น แต่ครั้งนั้นไปทุกที่เลย น่าจะประสบความสำเร็จที่สุดตั้งแต่อยู่ในวงมาค่ะ
ช่วงชีวิต 5 – 6 ปีที่ผ่านมานี่คิดว่าต่างจากชีวิตก่อนหน้านั้นมากไหม
แน่นอน ต้องต่างมากแน่นอน เพราะว่าเปลี่ยนจากการเรียนหนังสืออย่างเดียวมาทำงานเต็มตัว จากคนที่ไม่ได้มีใครรู้จักเราขนาดนั้นก็กลายมาเป็นจุดสนใจ
ขอสักคำมานิยามให้กับช่วงชีวิตนี้หน่อย
เหมือนเข้าไปอยู่ในอะคาเดมี่ค่ะ เหมือนเรียน ม.1 ถึง ม.6 กับเพื่อนห้องเดิมตลอด ไม่เปลี่ยนห้องเลย (กลั้วหัวเราะ) อาจจะมีเพื่อนหายไปบ้าง แล้วก็มีรุ่นน้องชั้นปีใหม่เข้ามา
มันคือการเรียน แค่ไม่ได้เรียนวิชาในตำรา ในหนังสือ แต่เรียนวิชาชีวิต การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การตอบคำถามสื่อ เรียนเต้น เรียนร้อง
ความรู้สึกตอนนี้ต่างจากวันที่เข้ามายังไงบ้าง การรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ของเรามันเปลี่ยนไปมากไหม
แน่นอนค่ะ เราเรียนรู้จากความผิดพลาดทั้งของตัวเองและของคนอื่น เรียนรู้ว่าควรจะทำยังไง ควรจะรับมือยังไง ตอนนี้เราก็เก่งขึ้น ชั่วโมงบินเยอะขึ้น และมีวิธีหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญหา
มาถึงจุดนี้แล้ว คิดว่า ‘ไอดอล’ คืออะไร
ตอบเหมือนเดิม ไอดอลก็คืออาชีพค่ะ เราทำหลายอย่าง เลยรู้สึกว่าไอดอลเป็นชื่อเรียกอาชีพเราที่คนจะเข้าใจมากที่สุดถ้าถามว่าเราทำอะไร จะพูดว่านักร้องก็ไม่ใช่ นักเต้นก็ไม่ใช่ บอกว่าไอดอลคนก็คงเข้าใจแหละว่าเราทำงานแบบนี้ ๆ
ในบริบทที่ว่าไอดอลคือบุคคลตัวอย่าง มันเป็นผลพลอยได้ที่คนอื่นเรียกเรา แต่ถ้าในมุมมองของหนู ยังไงไอดอลก็คือชื่ออาชีพของหนูเอง
แล้วเราคิดว่าเราเป็นบุคคลตัวอย่างบ้างไหม
อันนี้ก็แล้วแต่ว่าคนจะนับถือหนูเป็นบุคคลตัวอย่างไหม แต่ตัวเองก็รู้สึกเฉย ๆ เหมือนเรามาทำอาชีพที่เราชอบแล้วมีคนมาชอบเรา
หนูบอกตลอดว่าหนูไม่ทำตามที่คนอื่นคาดหวังอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นคนที่ชอบทำตามใจคนอื่น หนูทำตามใจตัวเอง
แสดงว่าไม่เคยทุกข์กับการที่มีคนมาคาดหวังอะไรกับเราแบบคนอื่นเขาเลย
ไม่เคยค่ะ (ยิ้ม) พูดมาแต่แรกเลยว่าไม่ใช่คนดี ไม่ใช่คนเรียบร้อย ไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่คนเพอร์เฟกต์ที่จะมาคาดหวังได้ แต่ถ้าคุณโอเคกับการตามเรา เราก็ยินดี ก็ขอบคุณเขาที่ชอบที่เราเป็นเรา
เจนนิษฐ์ล่ะ คาดหวังอะไรกับตัวเองไหม
ไม่เชิงว่าคาดหวัง มันเป็นความต้องการนะ เราอยากเก่งขึ้นแหละ แต่ไม่ได้คาดหวังว่าฉันจะต้องเล่นหนังแล้วได้รางวัลปีละ 3 เรื่อง แค่อยากเก่งขึ้น ได้งานดี ๆ ทำ
การที่เป็นไอดอลมา 5 – 6 ปี หล่อหลอมอะไรเราบ้าง เหมือนเราโตมาในนี้เลย
หล่อหลอมให้อยู่เป็น ให้เจอจุดสมดุลในการเป็นตัวเองโดยที่อยู่กับคนอื่นได้ บางทีเป็นตัวเองเกินก็อยู่กับคนอื่นไม่ได้ เราทำงานกับคนที่หลากหลาย ก็ต้องปรับตัวให้หลากหลายตามเขาด้วย แต่ต้องไม่สูญเสียตัวเองไปเลย
แปลว่าถ้าไม่ได้เข้ามาที่นี่ คิดว่าตัวเองจะไม่ได้เป็นแบบนี้เหรอ
ใช่ ก่อนเข้าวงก็คือไม่ค่อยแคร์ ไม่ค่อยประนีประนอมค่ะ อาจจะเพราะเราไม่ค่อยอยู่กับใครมาก เราอยู่แค่กับแก๊งเพื่อนของเราที่เข้าใจความเป็นเราอยู่แล้ว ก็เลยไม่ได้เดือดร้อน เราไม่รู้ด้วยว่าการที่เราเป็นตัวเราแบบนี้จะไปทำคนอื่นเดือดร้อนหรือเปล่า เพราะเราไม่ได้เจอคนเยอะ แต่พอเข้าวงก็เริ่มรู้สึกว่า ไม่ได้ว่ะ แบบนี้มันอยู่ไม่ได้ ต้องปรับแล้ว
คิดว่าออกไปจะกลับสู่สภาพเดิมหรือเปล่า
ไม่ ไม่แล้วค่ะ (ตอบยิ้ม ๆ) ออกไปก็ต้องปรับไปเรื่อยเลย เพราะเราออกไปเจอโลกที่กว้างขึ้น ออกไปเจอคนเยอะขึ้นแน่นอน
หาตัวเองเจอ
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์ ที่เรียนอยู่นี่เรียนอะไรบ้าง
มีเรียนร้อง เรียนเต้น เรียน ASEAN Music ถ้าวิชาของธุรกิจ (สาขาเดิม) ก็จะมีเรียน Aesthetic Listening เรียนวิเคราะห์ดนตรีพื้นฐาน เรียนวิชา PR เรียน Customer Behavior พวกวิชา Business ก็มี
คนที่เรียนคือเขาอยากเป็นไอดอลหรืออยากอยู่เบื้องหลัง
ถ้าเป็นธุรกิจดนตรีและบันเทิง สาขาเก่าหนู คือเป็นเบื้องหลัง แต่ถ้าสาขาใหม่ที่ย้ายมาน่าจะเบื้องหน้ามากกว่า แต่ก็เป็นเบื้องหลังได้ด้วย ถ้าจะเป็นเบื้องหลังก็เรียนให้รู้ว่าเบื้องหน้าต้องทำอะไร เบื้องหลังจะได้รับมือจัดการได้ถูกต้อง
ตอนแรกดูเป็นคนสายวิทย์นะ
ใช่ เรียนวิทย์มาตลอดชีวิต ตอนอยู่จุฬาฯ ก็ยังเรียนวิทย์ แต่พอคิดว่าคงไม่ได้ใช้แล้ว ก็ทิ้งเลย
จุดเปลี่ยนมันคืออะไร รู้สึกว่าเราไม่เอาแล้วเหรอ
ไม่ได้ไม่เอาแล้ว แต่มันจะไม่ได้ใช้แล้วในอนาคต ก็เลยไม่รู้จะเรียนไปทำไมค่ะ มันเสียตังค์อะเนอะ ค่าเทอมแพง (หัวเราะ) เราจะอยู่ในวงการบันเทิง ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในเบื้องหน้า ก็คงอยู่ในธุรกิจแวดวงนี้ หรือไม่ก็คงไปทำธุรกิจตัวเอง ถ้าจะใช้วิทย์มันคงไม่ถึงขั้นต้องเรียนมหา’ลัย หรือเรียนเฉพาะเจาะจงไปขนาดนั้น
เรียกว่าหาตัวเองเจอแล้วหรือเปล่า
ช่าย (ลากเสียง) คนอื่นเขาอาจจะเรียนมหา’ลัยเพื่อหาสิ่งที่ชอบ หางานที่ชอบ เราข้ามขั้นตอนไปแล้ว แต่พอเจองานที่ชอบก็มีปัญหาเหมือนกันว่าจะเรียนไปทำไม เพราะเราเจองานแล้ว
แล้วพอเข้าไปเรียน เรามีมุมมองต่อวงการไอดอลเปลี่ยนไปไหม
ไม่นะ เราเป็นผู้รู้ในวงการ (หัวเราะ) เข้าไปแนะนำคนอื่นได้มากกว่า ถ้าน้อง ๆ ถามเราก็ตอบได้
จริง ๆ ในอนาคตอยากลองเป็นเบื้องหลังไหม ไม่ต้องที่นี่ก็ได้นะ
ช่วยดูได้ เป็นที่ปรึกษาได้ แต่คุมทั้งหมดอาจจะไม่ได้เก่งขนาดนั้น เราจัดการตัวเองได้ดีกว่าจัดการคนอื่น
เวลาไปเอาต์ติ้ง เขาจะมีการแบ่งคนตามสี สีแดงกับเขียวที่คนเยอะมาก สีเหลืองกับน้ำเงินจะเป็นส่วนน้อย เขาเปรียบเทียบว่าสมมติจะไปเดินทางต่างจังหวัดวันเสาร์ สีแดงจะจัดกระเป๋าเช้าวันเสาร์แบบโยนทุกอย่างเข้าไปแล้วไปเลย เป็นพวกที่ลงมือทำเลย ไม่ค่อยคิด สีเขียวจะเป็นพวกมีเช็กลิสต์ 1 2 3 4 ถ้ามีครบก็ไป สีเหลืองจะยาก ๆ หน่อย ไม่หลุดโลกไปเลย ก็เป็นพวกธรรมะธรรมโม ส่วนหนูเป็นสีน้ำเงิน เป็นพวกคิดแล้วคิดอีก จัดตั้งแต่วันเสาร์ที่แล้วจนถึงวันเสาร์สุดท้ายแล้วค่อยปิดกระเป๋าแล้วค่อยไป อาจจะไม่เหมาะกับการเป็นเบื้องหลัง
คิดเยอะ ๆ ไม่ปวดหัวเหรอ
ชินแล้ว ขนาดอยู่บนห้องจะเดินลงไปทำ 2 – 3 อย่างข้างล่าง ยังคิดก่อนว่าต้องไปทำอันไหนก่อนถึงจะเซฟเวลาที่สุด (หัวเราะ) แต่เพราะอย่างนี้ สีน้ำเงินก็เลยรู้จักตัวเองนะ เราคิดเยอะ
คิดยังไงกับอุตสาหกรรมเพลงไทย อุตสาหกรรมไอดอลในตอนนี้บ้าง
ช่วงนี้ครึกครื้นดีนะ คนเยอะมาก ๆ เลย ย้อนกลับไปก่อน BNK48 ก็คือไม่มีเลย ไม่มีทั้งเกิร์ลกรุ๊ป ทั้งบอยแบนด์ เงียบเหงามาก แต่ตอนนี้มีเพื่อน ๆ รุ่นใกล้ ๆ กัน เป็นเหมือนเพื่อนคนละโรงเรียนที่ทำสิ่งเดียวกับเรา ดูสนุกสนานดี ยิ่งถ้ามีโอกาสได้มาคอลแลบกันยิ่งเจ๋ง
อยากให้วงการนี้ดีขึ้นยังไงบ้าง
เรื่องพื้นที่ ตอนนี้รายการโชว์มีแค่ T-POP STAGE ยังไม่ได้เยอะมากขนาดนั้น เห็นดราม่าที่วงดัง ๆ ไปลงสยามแล้วคนหาว่าแย่งพื้นที่ แต่เรารู้สึกว่าพื้นที่เราก็ไม่ได้เยอะเว้ย (หัวเราะ) ถึงเราจะมีเยอะกว่าคนอื่นก็รู้สึกว่ามันยังไม่ได้พอขนาดนั้น แล้วก็มีเรื่องการสนับสนุนที่จะโกอินเตอร์ด้วยค่ะที่ยังไม่เพียงพอ
จริง ๆ แล้ว ไอดอลไทยหรือเพลงไทย จะมีโอกาสเป็น Soft Power ในต่างประเทศได้ไหม
ได้นะ หนูว่าอย่าง MILLI ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่มากเลยนะ ในที่สุดก็ได้ชื่อว่านี่คือนักร้องไทย เอาจริง ๆ วงการบันเทิงไทยมีแฟนคลับต่างชาติเยอะจะตาย วงเราก็มีแฟนคลับจีน อินโด เยอะแยะเลย เพราะเขาชอบความเป็นไทย หนูว่ามันผลักดันได้
ถ้าจะไปขายต่างประเทศ หนูว่าแนวไหนก็ได้หมดแหละ ถ้ามันบังเอิญไปตรงจริต ไปตรงเทสเขา