ยังไม่พบรายงานแพ้-ภาวะแทรกซ้อน หลังฉีดวัคซีนโควิด 6 ด. - 4 ปี
กรมควบคุมโรค เผยติดหยุดยาว รายงานฉีดวัคซีนโควิดเด็กเล็ก 6 เดือน - 4 ปี ยังไม่มาก แต่ยังไม่พบอาการแพ้รุนแรง ภาวะแทรกซ้อน ย้ำปลอดภัยกว่าปล่อยให้ติดเชื้อ จนเสี่ยงภาวะมิสซี ยิ่งปลายปีต่างประเทศอาจระบาดมากขึ้น ยิ่งควรมารับป้องกันไว้ ตั้งเป้าให้เข็มแรกได้ 2 ใน 3
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังจากคิกออฟฉีดวัคซีนโควิด 19 กลุ่มเด็กเล็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี เมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ด้วยสัปดาห์นี้เป็นช่วงวันหยุดยาว ทำให้จำนวนการฉีดกำลังทยอยเพิ่มเข้าในระบบ แต่ปัจจุบันก็ฉีดได้หลายร้อยโดสแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีตัวเลขที่เป็นทางการ ขณะเดียวกันยังไม่มีรายงานอาการแพ้รุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อนที่กังวล เช่น ไข้สูง ชัก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ส่วนใหญ่เด็กจะร้องไห้ตอนฉีดวัคซีน เกิดบวมบริเวณที่ปักเข็ม ซึ่งการฉีดวัคซีนเด็กเล็กในต่างประเทศเป็นหลายล้านโดสก็ยังไม่พบปัญหาอะไร
เมื่อถามว่าผู้ปกครองยังกังวลภาวะแทรกซ้อน นพ.โสภณ กล่าวว่า ตอนที่เริ่มฉีดในเด็กโต แนะนำว่า ให้สังเกตอาการ 7 วันหลังรับวัคซีน โดยงดทำกิจกรรมออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงเยอะ หากเด็กมีอาการเหนื่อย กินข้าวไม่ค่อยได้ ให้รีบพามาพบแพทย์ ทั้งนี้ข้อมูลจากต่างประเทศ พบว่า อาการแทรกซ้อนในเด็กเล็กเกิดได้น้อยกว่าเด็กโต อย่างกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนไม่ได้เกิดขึ้นง่าย เมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กที่ติดโควิดแต่ไม่ได้รับวัคซีน เด็กติดเชื้ออาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร่วมกับการอักเสบทั่วร่างกาย (MIS-C) มีโอกาสรุนแรงเสียชีวิตได้ง่าย ซึ่งเราเคยเจอในช่วงเดลตาระบาด ดังนั้น การฉีดวัคซีนคุ้มค่ากว่าการเสี่ยงให้ติดเชื้อโดยธรรมชาติ
"ช่วงปลายปี คือ ธ.ค. 2565 - ม.ค. 2566 น่าจะมีการระบาดในต่างประเทศ ตอนนี้เริ่มเห็นข้อมูลในยุโรป สิงคโปร์ ที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น การฉีดวัคซีนเด็กเล็กที่เป็นกลุ่มเดียวที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และป้องกันตนเองได้น้อยกว่ากลุ่มอื่นจึงมีความสำคัญ กรมควบคุมโรคจะพยายามเร่งฉีดให้ได้มากที่สุด อย่างน้อยให้ได้เท่ากับเด็กโต คือ เข็มแรกฉีดได้ 2 ใน 3 และเข็ม 2 ประมาณครึ่งหนึ่ง แต่เด็กโตฉีดที่โรงเรียนได้ เด็กเล็กบางคนก็ยังอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก จึงต้องขอความร่วมมือผู้ปกครองพามารับวัคซีน ยิ่งให้วัคซีนครบทุกกลุ่มวัย
ก็จะทำให้ประเทศปลอดภัยมากขึ้น” นพ.โสภณ กล่าว
https://mgronline.com/qol/detail/9650000098840
กรมวิทย์ ยัน "โควิด XBB" ไม่พบในไทย หลังเจอบินไปฮ่องกง 3 ราย เร่งประสานหาต้นตอ
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2565
ภายหลังจากโควิด XBB ระบาดในสิงคโปร์ ฮ่องกง กรมวิทยาศาสตร์ ยันไม่พบโควิด XBB ในไทย เร่งประสานฮ่องกงหลังพบ 3 ราย มาจากไทย ด้านกรมควบคุมโรค สั่งยกระดับเฝ้าระวังโควิด XBB ทุกสนามบิน ตรวจผู้โดยสารที่มีอาการทางเดินหายใจจากประเทศที่พบการระบาด
จากการระบาดของโควิด-16 สายพันธุ์ย่อย XBB นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยังไม่พบเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย XBB ในประเทศไทย โดยยังไม่อยากให้ตื่นตระหนกกับสายพันธุ์ดังกล่าว เพราะจากข้อมูลยังไม่พบว่ามีนัยความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น
ส่วนที่มีนักวิชาการระบุถึงข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขฮ่องกงว่าตรวจพบไวรัส XBB ในประเทศ 29 คน ส่วนใหญ่พบจากผู้เดินทางมาจากสิงคโปร์ แต่มี 3 คน ที่ตรวจพบเดินทางมาจากประเทศไทยนั้น
ได้มีการประสานไปยังฮ่องกงเพื่อขอความชัดเจนแล้วว่า เป็นผู้ที่เดินทางออกจากประเทศไทยโดยตรง หรืออาจจะเป็นผู้เดินทางมาจากที่อื่น และมาเปลี่ยนเครื่องที่ไทย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่พบข้อมูลการติดเชื้อจากสายพันธุ์ XBB ในไทย เบื้องต้นได้สั่งยกระดับการเฝ้าระวังที่สนามบินทุกแห่งแล้ว หากพบผู้โดยสารที่มีอาการจากระบบทางเดินหายใจเดินทางจากสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศที่มีรายงานการระบาดของสายพันธุ์ XBB พร้อมกันนี้ยังสั่งให้มีการเฝ้าระวังตามสถานที่ต่าง ๆ
https://www.pptvhd36.com/health/news/2109
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....
🇹🇭💜มาลาริน💜🇹🇭ไม่พบรายงานแพ้-ภาวะแทรกซ้อน หลังฉีดวัคซีนโควิด 6 ด.-4 ปี/ยัน"โควิด XBB" ไม่พบในไทย หลังเจอบินไปฮ่องกง
กรมควบคุมโรค เผยติดหยุดยาว รายงานฉีดวัคซีนโควิดเด็กเล็ก 6 เดือน - 4 ปี ยังไม่มาก แต่ยังไม่พบอาการแพ้รุนแรง ภาวะแทรกซ้อน ย้ำปลอดภัยกว่าปล่อยให้ติดเชื้อ จนเสี่ยงภาวะมิสซี ยิ่งปลายปีต่างประเทศอาจระบาดมากขึ้น ยิ่งควรมารับป้องกันไว้ ตั้งเป้าให้เข็มแรกได้ 2 ใน 3
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังจากคิกออฟฉีดวัคซีนโควิด 19 กลุ่มเด็กเล็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี เมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ด้วยสัปดาห์นี้เป็นช่วงวันหยุดยาว ทำให้จำนวนการฉีดกำลังทยอยเพิ่มเข้าในระบบ แต่ปัจจุบันก็ฉีดได้หลายร้อยโดสแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีตัวเลขที่เป็นทางการ ขณะเดียวกันยังไม่มีรายงานอาการแพ้รุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อนที่กังวล เช่น ไข้สูง ชัก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ส่วนใหญ่เด็กจะร้องไห้ตอนฉีดวัคซีน เกิดบวมบริเวณที่ปักเข็ม ซึ่งการฉีดวัคซีนเด็กเล็กในต่างประเทศเป็นหลายล้านโดสก็ยังไม่พบปัญหาอะไร
เมื่อถามว่าผู้ปกครองยังกังวลภาวะแทรกซ้อน นพ.โสภณ กล่าวว่า ตอนที่เริ่มฉีดในเด็กโต แนะนำว่า ให้สังเกตอาการ 7 วันหลังรับวัคซีน โดยงดทำกิจกรรมออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงเยอะ หากเด็กมีอาการเหนื่อย กินข้าวไม่ค่อยได้ ให้รีบพามาพบแพทย์ ทั้งนี้ข้อมูลจากต่างประเทศ พบว่า อาการแทรกซ้อนในเด็กเล็กเกิดได้น้อยกว่าเด็กโต อย่างกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนไม่ได้เกิดขึ้นง่าย เมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กที่ติดโควิดแต่ไม่ได้รับวัคซีน เด็กติดเชื้ออาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร่วมกับการอักเสบทั่วร่างกาย (MIS-C) มีโอกาสรุนแรงเสียชีวิตได้ง่าย ซึ่งเราเคยเจอในช่วงเดลตาระบาด ดังนั้น การฉีดวัคซีนคุ้มค่ากว่าการเสี่ยงให้ติดเชื้อโดยธรรมชาติ
"ช่วงปลายปี คือ ธ.ค. 2565 - ม.ค. 2566 น่าจะมีการระบาดในต่างประเทศ ตอนนี้เริ่มเห็นข้อมูลในยุโรป สิงคโปร์ ที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น การฉีดวัคซีนเด็กเล็กที่เป็นกลุ่มเดียวที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และป้องกันตนเองได้น้อยกว่ากลุ่มอื่นจึงมีความสำคัญ กรมควบคุมโรคจะพยายามเร่งฉีดให้ได้มากที่สุด อย่างน้อยให้ได้เท่ากับเด็กโต คือ เข็มแรกฉีดได้ 2 ใน 3 และเข็ม 2 ประมาณครึ่งหนึ่ง แต่เด็กโตฉีดที่โรงเรียนได้ เด็กเล็กบางคนก็ยังอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก จึงต้องขอความร่วมมือผู้ปกครองพามารับวัคซีน ยิ่งให้วัคซีนครบทุกกลุ่มวัย
ก็จะทำให้ประเทศปลอดภัยมากขึ้น” นพ.โสภณ กล่าว
https://mgronline.com/qol/detail/9650000098840
กรมวิทย์ ยัน "โควิด XBB" ไม่พบในไทย หลังเจอบินไปฮ่องกง 3 ราย เร่งประสานหาต้นตอ
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2565
ภายหลังจากโควิด XBB ระบาดในสิงคโปร์ ฮ่องกง กรมวิทยาศาสตร์ ยันไม่พบโควิด XBB ในไทย เร่งประสานฮ่องกงหลังพบ 3 ราย มาจากไทย ด้านกรมควบคุมโรค สั่งยกระดับเฝ้าระวังโควิด XBB ทุกสนามบิน ตรวจผู้โดยสารที่มีอาการทางเดินหายใจจากประเทศที่พบการระบาด
จากการระบาดของโควิด-16 สายพันธุ์ย่อย XBB นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยังไม่พบเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย XBB ในประเทศไทย โดยยังไม่อยากให้ตื่นตระหนกกับสายพันธุ์ดังกล่าว เพราะจากข้อมูลยังไม่พบว่ามีนัยความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น
ส่วนที่มีนักวิชาการระบุถึงข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขฮ่องกงว่าตรวจพบไวรัส XBB ในประเทศ 29 คน ส่วนใหญ่พบจากผู้เดินทางมาจากสิงคโปร์ แต่มี 3 คน ที่ตรวจพบเดินทางมาจากประเทศไทยนั้น
ได้มีการประสานไปยังฮ่องกงเพื่อขอความชัดเจนแล้วว่า เป็นผู้ที่เดินทางออกจากประเทศไทยโดยตรง หรืออาจจะเป็นผู้เดินทางมาจากที่อื่น และมาเปลี่ยนเครื่องที่ไทย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่พบข้อมูลการติดเชื้อจากสายพันธุ์ XBB ในไทย เบื้องต้นได้สั่งยกระดับการเฝ้าระวังที่สนามบินทุกแห่งแล้ว หากพบผู้โดยสารที่มีอาการจากระบบทางเดินหายใจเดินทางจากสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศที่มีรายงานการระบาดของสายพันธุ์ XBB พร้อมกันนี้ยังสั่งให้มีการเฝ้าระวังตามสถานที่ต่าง ๆ
https://www.pptvhd36.com/health/news/2109
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....