เที่ยวอังกฤษ สก๊อตแลนด์ ตอนต่อไป
สก๊อตแลนด์ วันที่ 3 (ตอนที่ 1)
กระทู้นั้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าจากทัวร์ศิลปะอังกฤษสก๊อตแลนด์นะครับ เขียนมาหลายตอนแล้วละ
ลองไปดูตอนต้นๆได้ที่นี่ฮะ
https://ppantip.com/topic/41018924
เล่าต่อละกันครับ
หลังจากที่ชมหอศิลป์แห่งชาติแล้วก็ไปชมงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งสก๊อตแลนด์ (Scottish National Gallery of Modern Art) กันต่อ ที่นี่อยู่ไกลจากย่านจอแจของเมืองแต่ก็สามารถเดินทางไปถึงได้ ระหว่างทางไปบรรยากาศเริ่มเปลี่ยน จนสงสัยว่ามาถูกทางเหรอ รถราเริ่มน้อยลง ผู้คนบนถนนก็น้อยลง เส้นทางเปลี่ยวขึ้นแต่ตึกสวยๆยังคงมีให้เห็นเช่นเดิม เดินอยู่นานนึกว่าจะมาผิดทางเพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเลย จึงได้ไปถามทางผู้หญิงคนหนึ่งหน้าตาเหมือนคนละตินอเมริกันผู้ใจดี บอกว่ามาถูกทางแล้วละหนู เดินไปตามที่บอกนะแหละไม่มีทางพลาด
เมื่อมาถึงอากาศก็เปลี่ยน มืดครึ้มและเงียบสงบ ตึกสีเทาคร่ำมีหน้าจั่วแบบพาเธนอนตามสไตล์เมืองเอดินบะระ (เห็นบ่อยจนถึงสงสัยว่าเขาออกแบบตึกหอศิลป์แบบอื่นไม่ได้กันเหรอ หรือนี่ดีที่สุดแล้วที่เขาคิด) ใหญ่โตอยู่กลางสนามหญ้ากว้างขวาง ที่นี่มีเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยของสก๊อตแลนด์ซึ่งอยู่ทั้งสองฝั่งของถนน มีประติมากรรมสวยๆแปลกๆตั้งอยู่เป็นสัญลักษณ์
เดินเข้าประตูรั่วไปก็ได้พบกระท่อมน้อยหลังหนึ่ง เห็นครั้งแรกนึกว่าเป็นป้อมยาม แต่มีป้ายแปะไว้ ว่านี่คือที่ทำงานของ Artist ชื่อว่า Helen Leigh ถ้าคุณมาถึงก็ช่วยเปิดหน้าต่าง ไปทักทายกับเธอหน่อยนะ
ผมเปิดหน้าต่างไปตามคำเชิญ แง้มไปตรงบานหน้าต่าง ผู้หญิงสาวหน้ากลมๆวิ่งมาปะทะยิ้มแย้มตอบเป็นการทักทายก่อนเข้าชม
เดินเข้าไปตรงตึกใหญ่สีเทาก็พบพนักงานแต่งตัวแบบสก๊อตอีกแล้ว ภายในนั้นค่อนข้างเงียบเชียบ ต่างกับ Tate Gallery ที่ลอนดอนสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามแม้ว่าหอศิลป์ที่นี่จะเล็กแต่ก็มีงานของศิลปินในระดับตำนานหลายคนอยู่เหมือนกัน ทั้งของSCและประเทศอื่น ๆ
เข้าไปในส่วนแรกจะพบกับคอลเลคชั่นรูปใบหน้าที่ศิลปินสมัยใหม่หลายคนวาดเอาไว้ แขวนบนผนังดูละลานตาไปหมด ใบหน้าเหล่านี้แสดงถึงสไตล์ที่หลากหลายของแต่ละศิลปิน (อันที่จริงเขาใช้ชื่อ (title) ว่า Head ไม่ใช่ Face นะ แต่ผมคิดว่าถ้าแปลตรงตัวแล้ว จินตภาพของผู้อ่านจะไม่เหมือนกับที่มันเป็น) ถือเป็นสิ่งบ่งชี้อัตลักษณ์ของแต่ละศิลปินได้ดี และระบุรูปแบบของศิลปะในแนวต่างๆได้ รวมทั้งการแสดงอารมณ์ต่างๆ ความเจ็บปวด สุขเศร้า ได้ตามโลกทัศน์ของศิลปิน รวมทั้งเทคนิคที่แต่ละคนใช้ในการสร้างงานอีกด้วย
หลังจากชมใบหน้าสารพัดแบบไปแล้วลองมาดูคอลเลคชั่นอื่นๆกันต่อ พบปะจ๊ะเอ๋กับศิลปินระดับโลกหลายคน อย่างเช่นปิกัสโซ ภาพ Mother and Child ในสไตล์บาศก์นิยม (Cubism) นำเอาภาพจากหลายมุมมองมาซ้อนกันเป็นหลายมิติ ภาพทิวทัศน์ป่าดงของโกแกงสีสวยงาม งานของปิแอร์ มอนเดรียน ใช้เส้นตรงไม่กี่เส้นบนผ้าใบมาสร้างระนาบแม่สีบนผืนผ้าใบ ดูแล้วน่าจะไปออกรายการทำเองก็ได้ง่ายจัง (วุ๊ย ปากบอน)
ต่อจากนั้นเป็นกลุ่มของศิลปินลัทธิสำแดงพลัง (Expressionism) ชื่อดังหลายคน อย่างเช่น E. L. Kirchner รูปนางละครญี่ปุ่นที่ใช้ฝีแปรงหยาบๆสีสดแสดงใบหน้าที่ดูเหมือนหน้ากากคนไร้วิญญาณ งานของฟรานซิส เบคอน รูปเสื้อโค้ทและหมวกที่ไร้ผู้สวมใส่แต่จัดวางแล้วดูเหมือนเป็นร่างที่หมอบซบลงกับพวงหรีด
ภาพของลูเซียน ฟรอยด์ (คนนี้เป็นญาติกับซิกมันต์ ฟรอย์จริงๆ และสร้างงานแบบโรคจิตอีกด้วย) รูปชายนอนสองคน คนหนึ่งสวมเสื้อผ้าอีกคนหนึ่งเปลือย ทั้งสองดูหลับใหลแต่ก็ดูเหมือนกำลังว้าวุ่นใจและทุกข์ทน ภาพคุณพ่อของศิลปิน John Bellany ดูแล้วเห็นพลังชาวประมงที่แข็งแกร่งด้วยความหยาบของฝีแปรงบนทำให้เกิดภาพผู้ชายที่มีพลังเข้มแข็งในร่างกายและดวงตาที่จ้องเขม็งแบบมุ่งมั่น
ภาพผู้หญิง (Women) ของ Edvard Munch ผมสยายและเส้นลายคลื่นลอนที่ไหลเวียนเหมือนอารมณ์หลอนตามสไตส์ของศิลปิน ภาพ Milky Way ของ Peter Doig ดูแล้วมันเป็นค่ำคืนคลื่นหลอน เหมือนเป็นฝันบอกเหตุบางอย่าง
สำหรับกลุ่มลัทธิเหนือจริง (Surrealism) ก็มีศิลปินดังเช่นกัน อย่างภาพของ max ernst รูปเถาว์ไม้ยุ่งเหยิงมีตั๊กแตนแฝงตัว ภาพของ Paul De Vous เป็นรูปผู้หญิงนู้ด ในภูมิประเทศที่ดูเหมือนความฝัน จิตไม่อยู่กับตัว มีแรงปรารถนาที่ปะปนกับความสยองขวัญและความตาย
อีกภาพเป็นงานของ salvador dali รูปซากนกที่ดูเหมือนข้างในจะมีซากหมาหรืออะไรสักอย่างนึงบนพื้นผิวทราย และภาพของ Rene Magritte เป็นรูปกระจกและมีคำเขียนว่า ซากศพมนุษย์ (Corpse Human) แปะอยู่
ส่วนที่น่าสนใจ คือ ตู้แห่งความใคร่รู้ (Cabinet of curiosities) มีของสะสมที่แสดงให้เห็นธีมบางอย่าง หลายพิพิธภัณฑ์มีตู้ทำนองนี้ให้ได้ชมซึ่งอาจมีเรื่องราวและบรรยากาศต่างกัน แต่สำหรับที่นี่ดูแล้วชวนให้คิดถึงงานของกลุ่มเซอร์เรียลลิซึ่มมากกว่าอย่างอื่น ภายในตู้ดูเป็นของประหลาดเหมือนมาจากแดนลี้ลับ ดูมีเวทมนต์สุดแสนมหัศจรรย์ อย่างเช่นรูปหล่อศีรษะมนุษย์ที่ดูเหมือนสตรีอินเดียโบราณ ซากปลาโบราณจากใต้สมุทร ศีรษะที่ด้านหนึ่งเป็นหัวกะโหลกแต่อีกด้านหนึ่งเป็นใบหน้าคน เซรามิกรูปมือมนุษย์ หมูป่าทำจากแก้วเป่า รูปแกะสลักเด็กชายที่ยิ้มแสยะขดตัวนอนหงาย เห็นแล้วหลอนเหมือนเดินไปในความฝันร้าย
เดินมาถึงตอนนี้แล้วเหนื่อย แต่นี่ยังแค่ครึ่งทางเท่านั้น ยังมีงานของศิลปินดังรอคอยเราอยู่อีก แต่พักก่อนละกัน เดี๋ยวอีกสักแป๊บจะมาเล่าต่อ อาจเล่ากระทู้ถัดไป หรือว่ากระทู้นี้ต่อไปก็ยังไม่รู้
ที่สำคัญคือ ศิลปินดังทะลุโลก ชื่อ รอย ลิกเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein) ที่มีชื่อเสียงจากการนำภาพการ์ตูน comic ภาพโฆษณา มาทำเป็นงานศิลปะ อันนี้เป็นคอลเลคชั่นชิ้นเอกที่พลาดไม่ได้ เดี๋ยวเราไปดูกันต่อนะ
ชมหอศิลป์ร่วมสมัยแห่งสก๊อตแลนด์ (Scottish National Gallery of Modern Art)
สก๊อตแลนด์ วันที่ 3 (ตอนที่ 1)
กระทู้นั้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าจากทัวร์ศิลปะอังกฤษสก๊อตแลนด์นะครับ เขียนมาหลายตอนแล้วละ
ลองไปดูตอนต้นๆได้ที่นี่ฮะ
https://ppantip.com/topic/41018924
เล่าต่อละกันครับ
หลังจากที่ชมหอศิลป์แห่งชาติแล้วก็ไปชมงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งสก๊อตแลนด์ (Scottish National Gallery of Modern Art) กันต่อ ที่นี่อยู่ไกลจากย่านจอแจของเมืองแต่ก็สามารถเดินทางไปถึงได้ ระหว่างทางไปบรรยากาศเริ่มเปลี่ยน จนสงสัยว่ามาถูกทางเหรอ รถราเริ่มน้อยลง ผู้คนบนถนนก็น้อยลง เส้นทางเปลี่ยวขึ้นแต่ตึกสวยๆยังคงมีให้เห็นเช่นเดิม เดินอยู่นานนึกว่าจะมาผิดทางเพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเลย จึงได้ไปถามทางผู้หญิงคนหนึ่งหน้าตาเหมือนคนละตินอเมริกันผู้ใจดี บอกว่ามาถูกทางแล้วละหนู เดินไปตามที่บอกนะแหละไม่มีทางพลาด
เมื่อมาถึงอากาศก็เปลี่ยน มืดครึ้มและเงียบสงบ ตึกสีเทาคร่ำมีหน้าจั่วแบบพาเธนอนตามสไตล์เมืองเอดินบะระ (เห็นบ่อยจนถึงสงสัยว่าเขาออกแบบตึกหอศิลป์แบบอื่นไม่ได้กันเหรอ หรือนี่ดีที่สุดแล้วที่เขาคิด) ใหญ่โตอยู่กลางสนามหญ้ากว้างขวาง ที่นี่มีเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยของสก๊อตแลนด์ซึ่งอยู่ทั้งสองฝั่งของถนน มีประติมากรรมสวยๆแปลกๆตั้งอยู่เป็นสัญลักษณ์
เดินเข้าประตูรั่วไปก็ได้พบกระท่อมน้อยหลังหนึ่ง เห็นครั้งแรกนึกว่าเป็นป้อมยาม แต่มีป้ายแปะไว้ ว่านี่คือที่ทำงานของ Artist ชื่อว่า Helen Leigh ถ้าคุณมาถึงก็ช่วยเปิดหน้าต่าง ไปทักทายกับเธอหน่อยนะ
ผมเปิดหน้าต่างไปตามคำเชิญ แง้มไปตรงบานหน้าต่าง ผู้หญิงสาวหน้ากลมๆวิ่งมาปะทะยิ้มแย้มตอบเป็นการทักทายก่อนเข้าชม
เดินเข้าไปตรงตึกใหญ่สีเทาก็พบพนักงานแต่งตัวแบบสก๊อตอีกแล้ว ภายในนั้นค่อนข้างเงียบเชียบ ต่างกับ Tate Gallery ที่ลอนดอนสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามแม้ว่าหอศิลป์ที่นี่จะเล็กแต่ก็มีงานของศิลปินในระดับตำนานหลายคนอยู่เหมือนกัน ทั้งของSCและประเทศอื่น ๆ
เข้าไปในส่วนแรกจะพบกับคอลเลคชั่นรูปใบหน้าที่ศิลปินสมัยใหม่หลายคนวาดเอาไว้ แขวนบนผนังดูละลานตาไปหมด ใบหน้าเหล่านี้แสดงถึงสไตล์ที่หลากหลายของแต่ละศิลปิน (อันที่จริงเขาใช้ชื่อ (title) ว่า Head ไม่ใช่ Face นะ แต่ผมคิดว่าถ้าแปลตรงตัวแล้ว จินตภาพของผู้อ่านจะไม่เหมือนกับที่มันเป็น) ถือเป็นสิ่งบ่งชี้อัตลักษณ์ของแต่ละศิลปินได้ดี และระบุรูปแบบของศิลปะในแนวต่างๆได้ รวมทั้งการแสดงอารมณ์ต่างๆ ความเจ็บปวด สุขเศร้า ได้ตามโลกทัศน์ของศิลปิน รวมทั้งเทคนิคที่แต่ละคนใช้ในการสร้างงานอีกด้วย
หลังจากชมใบหน้าสารพัดแบบไปแล้วลองมาดูคอลเลคชั่นอื่นๆกันต่อ พบปะจ๊ะเอ๋กับศิลปินระดับโลกหลายคน อย่างเช่นปิกัสโซ ภาพ Mother and Child ในสไตล์บาศก์นิยม (Cubism) นำเอาภาพจากหลายมุมมองมาซ้อนกันเป็นหลายมิติ ภาพทิวทัศน์ป่าดงของโกแกงสีสวยงาม งานของปิแอร์ มอนเดรียน ใช้เส้นตรงไม่กี่เส้นบนผ้าใบมาสร้างระนาบแม่สีบนผืนผ้าใบ ดูแล้วน่าจะไปออกรายการทำเองก็ได้ง่ายจัง (วุ๊ย ปากบอน)
ต่อจากนั้นเป็นกลุ่มของศิลปินลัทธิสำแดงพลัง (Expressionism) ชื่อดังหลายคน อย่างเช่น E. L. Kirchner รูปนางละครญี่ปุ่นที่ใช้ฝีแปรงหยาบๆสีสดแสดงใบหน้าที่ดูเหมือนหน้ากากคนไร้วิญญาณ งานของฟรานซิส เบคอน รูปเสื้อโค้ทและหมวกที่ไร้ผู้สวมใส่แต่จัดวางแล้วดูเหมือนเป็นร่างที่หมอบซบลงกับพวงหรีด
ภาพของลูเซียน ฟรอยด์ (คนนี้เป็นญาติกับซิกมันต์ ฟรอย์จริงๆ และสร้างงานแบบโรคจิตอีกด้วย) รูปชายนอนสองคน คนหนึ่งสวมเสื้อผ้าอีกคนหนึ่งเปลือย ทั้งสองดูหลับใหลแต่ก็ดูเหมือนกำลังว้าวุ่นใจและทุกข์ทน ภาพคุณพ่อของศิลปิน John Bellany ดูแล้วเห็นพลังชาวประมงที่แข็งแกร่งด้วยความหยาบของฝีแปรงบนทำให้เกิดภาพผู้ชายที่มีพลังเข้มแข็งในร่างกายและดวงตาที่จ้องเขม็งแบบมุ่งมั่น
ภาพผู้หญิง (Women) ของ Edvard Munch ผมสยายและเส้นลายคลื่นลอนที่ไหลเวียนเหมือนอารมณ์หลอนตามสไตส์ของศิลปิน ภาพ Milky Way ของ Peter Doig ดูแล้วมันเป็นค่ำคืนคลื่นหลอน เหมือนเป็นฝันบอกเหตุบางอย่าง
สำหรับกลุ่มลัทธิเหนือจริง (Surrealism) ก็มีศิลปินดังเช่นกัน อย่างภาพของ max ernst รูปเถาว์ไม้ยุ่งเหยิงมีตั๊กแตนแฝงตัว ภาพของ Paul De Vous เป็นรูปผู้หญิงนู้ด ในภูมิประเทศที่ดูเหมือนความฝัน จิตไม่อยู่กับตัว มีแรงปรารถนาที่ปะปนกับความสยองขวัญและความตาย
อีกภาพเป็นงานของ salvador dali รูปซากนกที่ดูเหมือนข้างในจะมีซากหมาหรืออะไรสักอย่างนึงบนพื้นผิวทราย และภาพของ Rene Magritte เป็นรูปกระจกและมีคำเขียนว่า ซากศพมนุษย์ (Corpse Human) แปะอยู่
ส่วนที่น่าสนใจ คือ ตู้แห่งความใคร่รู้ (Cabinet of curiosities) มีของสะสมที่แสดงให้เห็นธีมบางอย่าง หลายพิพิธภัณฑ์มีตู้ทำนองนี้ให้ได้ชมซึ่งอาจมีเรื่องราวและบรรยากาศต่างกัน แต่สำหรับที่นี่ดูแล้วชวนให้คิดถึงงานของกลุ่มเซอร์เรียลลิซึ่มมากกว่าอย่างอื่น ภายในตู้ดูเป็นของประหลาดเหมือนมาจากแดนลี้ลับ ดูมีเวทมนต์สุดแสนมหัศจรรย์ อย่างเช่นรูปหล่อศีรษะมนุษย์ที่ดูเหมือนสตรีอินเดียโบราณ ซากปลาโบราณจากใต้สมุทร ศีรษะที่ด้านหนึ่งเป็นหัวกะโหลกแต่อีกด้านหนึ่งเป็นใบหน้าคน เซรามิกรูปมือมนุษย์ หมูป่าทำจากแก้วเป่า รูปแกะสลักเด็กชายที่ยิ้มแสยะขดตัวนอนหงาย เห็นแล้วหลอนเหมือนเดินไปในความฝันร้าย
เดินมาถึงตอนนี้แล้วเหนื่อย แต่นี่ยังแค่ครึ่งทางเท่านั้น ยังมีงานของศิลปินดังรอคอยเราอยู่อีก แต่พักก่อนละกัน เดี๋ยวอีกสักแป๊บจะมาเล่าต่อ อาจเล่ากระทู้ถัดไป หรือว่ากระทู้นี้ต่อไปก็ยังไม่รู้
ที่สำคัญคือ ศิลปินดังทะลุโลก ชื่อ รอย ลิกเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein) ที่มีชื่อเสียงจากการนำภาพการ์ตูน comic ภาพโฆษณา มาทำเป็นงานศิลปะ อันนี้เป็นคอลเลคชั่นชิ้นเอกที่พลาดไม่ได้ เดี๋ยวเราไปดูกันต่อนะ