JJNY : "แพทองธาร"-"พท."ยืนหนึ่งอีสาน│“ชลน่าน”ยันไร้ดีลลับ“ธรรมนัส”│ยักษ์จีนหนี้ท่วม│เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธถี่ยิบ

"แพทองธาร "- "เพื่อไทย" ยืนหนึ่งในใจชาวอีสาน
https://www.posttoday.com/politics/domestic/1728

นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนอีสาน” สำรวจระหว่างวันที่ 3-6 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
 
เมื่อถามถึงบุคคลที่คนอีสานจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า
 
อันดับ 1 ร้อยละ 36.45 คือ น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เนื่องจาก เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง
อันดับ 2 ร้อยละ 12.65 เป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เป็นคนมีวิสัยทัศน์
อันดับ 3 ร้อยละ 10.20 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ซื่อสัตย์สุจริต  โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
อันดับ 4 ร้อยละ 9.85 เลือก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ ซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 7 ร้อยละ 2.80 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบวิธีการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นคนลงพื้นที่ดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง 
 
สำหรับพรรคการเมืองที่คนอีสานมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า                
อันดับ 1 ร้อยละ 54.35 คือ พรรคเพื่อไทย                                                                                                                                                                  
อันดับ 2 ร้อยละ 13.60 พรรคก้าวไกล                                                                                                                   
อันดับ 3 ร้อยละ 8.50 ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 5.60 พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 5 ร้อยละ 5.30 พรรคพลังประชารัฐ 
อันดับ 6 ร้อยละ 3.05 พรรคประชาธิปัตย์ 
อันดับ 7 ร้อยละ 2.55 พรรคไทยสร้างไทย 
อันดับ 8 ร้อยละ 1.95พรรคเสรีรวมไทย 
อันดับ 9 ร้อยละ 1.35 พรรคชาติพัฒนากล้า 
อันดับ 10 ร้อยละ 1.15 พรรคชาติไทยพัฒนา
 
เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่คนอีสานมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้
อันดับ 1 ร้อยละ 51.40 พรรคเพื่อไทย 
อันดับ 2 ร้อยละ 15.10 พรรคก้าวไกล 
อันดับ 3 ร้อยละ 9.10 ยังไม่ตัดสินใจ 
อันดับ 4 ร้อยละ 5.35 พรรคภูมิใจไทย 
อันดับ 5 ร้อยละ 5.25 พรรคพลังประชารัฐ 
อันดับ 6 ร้อยละ 3.00 พรรคประชาธิปัตย์ 
อันดับ 7 ร้อยละ 2.55 พรรคไทยสร้างไทย 
อันดับ 8 ร้อยละ 2.50 พรรคเสรีรวมไทย 
อันดับ 9 ร้อยละ 1.45 พรรคชาติไทยพัฒนา                                                                                                                                                            อันดับ 10 ร้อยละ 1.25 พรรคชาติพัฒนากล้า


 
“ชลน่าน” ยันไร้ดีลลับ “ธรรมนัส” กลับพรรคเพื่อไทย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_425790/

“ชลน่าน” ยันไร้ดีลลับ “ธรรมนัส” กลับพรรคเพื่อไทย ปัดตอบปิดประตู-โยนหินถามทาง มองต้องเฝ้าระวังว่าใครประสงค์ร้าย ย้ำต้องฟังความเห็นทุกฝ่าย เพราะ เพื่อไทยเป็นพรรคของประชาชน
 
ที่พรรคเพื่อไทย ในงานแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย พรุ่งนี้เพื่อไทย เพื่อ”รายได้ใหม่” ของประชาชน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระแสดีลลับที่ประเทศดูไบ ในการที่ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทยกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทย ว่า ตนเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ข่าวแบบนี้มีมาให้เห็นอยู่ตลอด และยังต้องเฝ้าระวังว่าจะมีใครประสงค์ร้ายต่อพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ซึ่งทางพรรคระมัดระวังเรื่องนี้มาโดยตลอด เพราะเกี่ยวเนื่องกับข้อกฎหมาย ยืนยันว่าทางพรรคเพื่อไทย ยึดถือข้อกฏหมายอย่างเคร่งครัดในการทำหน้าที่พรรคการเมือง

ส่วนคนที่เข้ามาสังกัดพรรค ต้องผ่านกรรมการบริหารพรรคก่อนหรือไม่นั้น นพ.ชลน่าน ระบุว่า มีกลไกอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของประชาชน ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกพรรค จากผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกับพรรค เพราะฉะนั้นการที่พรรคทำอะไร จะต้องคำนึงเรื่องนี้ตลอด โดยเมื่อเข้าสู่กระบวนการของพรรคเป็นลำดับชั้น สุดท้าย กรรมการบริหารพรรคจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ 
 
ส่วนโอกาสที่ร.อ.ธรรมนัสจะกลับมาพรรคเพื่อไทย เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน นพ.ชลน่าน ระบุว่า ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น เพราะแต่ละพรรคการเมืองมีแนวทางของตนเอง พยายามแสวงหาโอกาสที่จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด ส่วนจะเลือกแนวทางอย่างไร ก็เป็นแนวทางของแต่ละพรรค ซึ่งไม่ได้เป็นการปิดประตูที่ร.อ.ธรรมนัสจะกลับมาพรรคเพื่อไทยใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน ไม่ตอบคำถามดังกล่าว แต่ย้ำว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของประชาชน ต้องฟังความเห็นของประชาชน ฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
 
ส่วนจะเป็นการโยนหินถามทางหรือไม่ นพ.ชลน่าน ระบุว่า ตนไม่แน่ใจ ไม่ทราบ ส่วนที่มีรายชื่อของร.อ.ธรรมนัสจะกลับมาพรรคเพื่อไทย ทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจนั้น พรรคเพื่อไทยรับฟังทุกฝ่าย เพราะพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของประชาชน ไม่เฉพาะผู้ที่เห็นด้วยหรือต่อต้าน ทั้งหมดต้องมาประมวลว่าอะไรมีประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด พรรคเพื่อไทยยึดตรงนั้นเป็นหลัก
 
ส่วนที่ร.อ.ธรรมนัส มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะถูกเชื่อมโยงทางการเมืองหรือไม่ นพ.ชลน่าน ระบุว่า มิติทางการเมืองพรรคเพื่อไทยต้องคิดให้รอบด้านและรอบคอบว่า อะไรเป็นประโยชน์ในนามของพรรคเพื่อไทยเพื่อประชาชนให้มากที่สุด
 

 
เมื่อยักษ์จีนหนี้ท่วม สะเทือนโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
https://www.prachachat.net/world-news/news-1074523
 
ท่ามกลางทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ของหลายประเทศเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว กำลังส่งผลกระทบต่อโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road) ของจีน ด้วยค่าใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างในประเทต่าง ๆ ที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้หลายโครงการต้องหยุดชะงักหรือล้มเหลว กลายเป็นความเสี่ยงด้านภาระหนี้มหาศาลของบริษัทก่อสร้าง
 
นิกเคอิเอเชียรายงานว่า “ไชน่า คอมมิวนิเคชั่นส์ คอนสตรักชั่น กรุ๊ป” (CCCG) กลุ่มรัฐวิสาหกิจด้านการก่อสร้างท่าเรือ ถนน รถไฟความเร็วสูง และอสังหาริมทรัพย์ของจีน กำลังมีความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับภาระหนี้จำนวนมาก จากที่โครงการก่อสร้างในต่างประเทศได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
 
แม้ว่าในปี 2021 CCCG จะสามารถทำกำไรได้ถึง 30,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นราว 70% จากปี 2016 แต่ภาระหนี้ของบริษัทก็เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ขึ้นมาอยู่ที่ราว 1.84 ล้านล้านหยวนในเดือน มิ.ย. 2022 ตัวเลขหนี้ดังกล่าวเกือบเทียบเท่ากับหนี้ของ “เอเวอร์แกรนด์” บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนที่เผชิญวิกฤตหนี้สูงถึง 2 ล้านล้านหยวน
 
ทั้งนี้ CCCG เป็นรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของจีนที่เข้าไปในลงทุนก่อสร้างในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาตามโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก กำลังส่งผลให้รายได้จากโครงการในต่างประเทศของ CCCG มีแนวโน้มลดลง โดยปี 2021 สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศลดลงมาอยู่ที่ราว 13% ของรายได้ทั้งหมด จากที่ปี 2017 มีสัดส่วนสูงสุดถึง 24%
  
“ทาคาฮิเดะ คิอุจิ” นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยโนมูระชี้ว่า ประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากวิกฤตค่าเงิน เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐทำให้ค่าเงินของประเทศเหล่านั้นอ่อนค่าลง ขณะที่สถานการณ์ในยูเครนก็ทำให้ราคาพลังงานและอาหารพุ่งสูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่หลายแห่งประสบปัญหา ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงการลงทุนโครงการก่อสร้างบางแห่งอาจล้มเหลว
 
ปัจจุบัน CCCG เดินหน้าลงทุนก่อสร้างในโครงการต่าง ๆ หลายภูมิภาค ซึ่งส่วนมากอยู่ในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา และปีนี้ยังมีแผนการลงทุนเพิ่มอีก 280,000 ล้านหยวน
 
อย่างไรก็ตาม โครงการเหล่านี้ยังถูกตั้งคำถามถึงความสามารถในการทำกำไร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือโครงการพัฒนาท่าเรือฮัมบันโตตา (Hambanto) ใน “ศรีลังกา” ที่ประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากแทบจะไม่มีผู้ใช้บริการ และถูกวิจารณ์เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ผลักให้ศรีลังกาต้องเผชิญภาวะ “กับดักหนี้” ของจีน
 
ขณะเดียวกัน วิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของจีนก็เป็นอีกส่วนที่สร้างความเสี่ยงให้กับ CCCG เนื่องจากบริษัทพึ่งพิงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนค่อนข้างมาก คิดเป็นสัดส่วนราว 14% ของรายได้ทั้งหมดในปี 2021
 
แม้ว่าผลกระทบนี้ต่อ CCCG จะไม่เห็นชัดเท่าบริษัทเอกชนรายอื่น แต่ “หวัง ไห่หวาย” ประธาน บริษัท ไชน่า คอมมิวนิเคชั่นส์ คอนสตรักชั่น โค. (CCCC) บริษัทในเครือ CCCG ได้เปิดเผยในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ถึงข้อเสนอการรวมบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งเข้าเป็นหนึ่งเดียว เพื่อรับมือกับปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นกับหลายบริษัทในเครือ
 
การปรับตัวของ CCCG นับเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางของรัฐบาลจีน ที่ต้องการยกเครื่องการลงทุนและการดำเนินการในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางใหม่ ที่ต้องการให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ปรับปรุงความสามารถในการทำกำไรและการจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น รวมถึงประเมินผลทางการเงินในโครงการใหม่อย่างเข้มงวด หลังจากที่จีนทุ่มเงินไปกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินกู้ให้กับโครงการต่าง ๆ เกือบ 150 ประเทศทั่วโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่