ทำไมธุรกิจร้านขายอาหาร รุ่นลูก/หลาน หลายคนถึงไม่ค่อยอยากรับช่วงต่อกันครับ

ดูจากคนรอบตัวหรือญาติพี่น้องที่รู้จัก ที่รุ่นพ่อแม่ขายอาหารส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากจะรับช่วงต่อกัน 
อยากไปทำงานออฟฟิศ หรือค้าขายทำธุรกิจอื่นๆที่ไม่ไช่ขายอาหารกันมากกว่า

รุ่นพ่อแม่ก็เสียดายร้าน เพราะขายดี มีลูกค้าประจำเยอะ แต่สุดท้ายก็ต้องหยุดเพราะทำไม่ไหว

แต่ก็นะ ความชอบแต่ละคนไม่เหมือนกัน บังคับกันไม่ได้ แต่บางคนก็ไม่ได้ไปทำงานประจำ แต่เลือกที่จะไปค้าขายทำธุรกิจอย่างอื่นที่ไม่ไช่อาหารแทน
อาจเพราะเห็นและคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กหรือเปล่าว่างานมันหนักขนาดไหน เห็นคนรู้จักบางคนเคยบ่นว่าเหนื่อยเตรียมของ เหนื่อยทำ เหนื่อยเก็บ เหนื่อยล้าง 

ถามท่านที่มีประสบการณ์ เคยเปิดร้านอาหาร หรือขายพวกของกินหน่อยครับ ว่ามันแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆมากขนาดไหน
เห็นว่าอีกหนึ่งปัญหาใหญ่คือหาลูกจ้างยากด้วย ส่วนใหญ่ทำงานกันไม่ค่อยจะทน

ไม่ได้จะไปขายอาหารนะครับ แต่แค่อยากรู้เฉยๆ 

ขอบคุณทุกความคิดเห็นมากครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จริงๆ คำถามที่น่าจะถามกลับคือ

"ความชอบ/ถนัด" มันจำเป็นต้องถ่ายทอดทางสายเลือดหรือไม่?
เช่นพ่อถนัดทำอาหาร ลูกจำเป็นต้องถนัดและชอบทำอาหารไหม?
นี้ปี 2565/(2022) แล้ว, มันยังต้องมีความคิดครอบหัวแบบนั้นอยู่ไหม

ถ้าคำตอบคือไม่ใช่ นี้มันยุคที่คนสามารถมีทักษะเพื่อการทำงานในหลายรูปแบบ
ก็คงไม่แปลกอะไร


อันนี้ไม่ได้พูดถึงเพราะอาชีพทำอาหารนะครับ
ความคิดเห็นที่ 4
หลักๆนะ คือเหนื่อยมาก ยุ่งตลอด ต้องคุมเองทั้งหมด ไม่มีเวลาส่วนตัว
ทั้งซื้อของเข้าร้าน ต้องเตรียมร้าน เรียกว่ามีอะไรให้ทำตั้งแต่ลืมตาตื่นจนกระทั่งเข้านอน
จะปิดร้านทีก็เรื่องใหญ่ ต้องคิดถึงปากท้องของลูกน้องทั้งร้าน
ถ้ารุ่นลูกจะสืบทอดจริงๆ ต้องเป็นคนที่ใจรักมากๆ หรือไม่ก็คิดทำอย่างอื่นไม่เป็น
หรือไม่ก็คิดว่าเป็น safe zone ไม่อยากเสี่ยงไปทำอย่างอื่น

ว่าแล้วก็อยากกลับไปเปิดร้านหมูกะทะอีกรอบ วางมือมาเกือบสิบปีละ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่