🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭'ศูนย์จีโนมฯ เปิดต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019/พร้อมฉีดวัคซีนเด็ก 6เดือนถึง 4 ปี 12 ต.ค.

'ศูนย์จีโนมทางการแพทย์' เปิดต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019



ศูนย์จีโนมฯ เผยโอไมครอนสานพันธุ์ลูกผสม XBB หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าทุกสายพันธ์ที่พบมา โชคดียังไม่พบในไทย เผยโลกสร้างต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 ได้แล้ว

06 ต.ค.2565 – เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาระบุว่า โอไมครอน “XBB” สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอไมครอน “BJ.1” และ “BA.2.75” ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกันมาคือ “BA.2” ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ "กริฟฟอน (Gryphon)" หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อน ดื้อต่อแอนติบอดีสังเคราะห์ทุกชนิด (ทดสอบในหลอดทดลอง) พบในประเทศสิงคโปร์ อินเดีย และบังกลาเทศ เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่พบในประเทศไทย

จากการที่นักวิจัยทั่วโลกช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 มาตลอด 3 ปีทำให้สามารถสร้างต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 (ด้วยระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง)เริ่มตั้งแต่ต้นกำเนิดจาก “ไวรัสอู่ฮั่น” ได้มีการวิวัฒนาการกลายพันธุ์เกิดเป็นทั้งสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยแตกแขนงมาทดแทนกันอย่างต่อเนื่อง (phylogenetic tree) จนล่าสุดเกิดเป็นโอไมครอน 4 สายพันธุ์ย่อยฺ BQ.1.1, BA.2.3.20, BA.2.75.2, XBB ที่คาดว่าจะระบาดมาแทนที่ BA.5 ในสิ้นปีนี้หรือต้นปี 2566 (ภาพ1)
โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB เป็นลูกผสมระหว่างโอไมครอนสายพันธุ์ BJ.1 และ BA.2.75 มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านไม่ยอมรับว่า "กริฟฟอน (Gryphon)" กลายพันธุ์ต่างจากไวรัสอู่ฮั่นไปกว่า 100 ตำแหน่ง มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) กว่าทุกสายพันธุ์ในปัจจุบัน แต่ไม่มากนัก

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5 ประมาณ 1.86 เท่า (186%)

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.2.75.2 ประมาณ 1.1 เท่า (110%)

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.2.3.20 ประมาณ 0.2 เท่า (22%)

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ลระบาด เหนือกว่า BQ.1.1 เพียงเล็กน้อยประมาณ 0.04 เท่า (4%)

จากการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าโอไมครอน XBB หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อน และดื้อต่อแอนติบอดีสังเคราะห์ทุกชนิดที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน

โอไมครอน XBB จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบเพียง 59 ราย พบมากในประเทศบังกลาเทศ สิงคโปร์ และอินเดีย

โอไมครอน BA.2.3.20 จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ 178 ราย พบมากในประเทศสิงคโปร์ และบูรไน

โอไมครอน BQ.1.1 จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ 354 ราย พบมากในประเทศไนจีเรีย และเบลเยียม

โอไมครอน BA.2.75.2 จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ 960 ราย พบมากในประเทศสิงคโปร์ และอินเดีย

เป็นที่น่าสังเกตว่าโอไมครอน 4 สายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปมากกว่า 100 ตำแหน่งต่างจากไวรัสอู่ฮั่นและมีแนวโน้มจะเข้ามาแทนที่ BA.5 ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า มีถึง 3 สายพันธุ์คือ XBB, BA.2.3.20, และ BA.2.75.2 ที่พบมากในประเทศสิงคโปร์ อินเดีย และบังกลาเทศ

หลายฝ่ายกังวลถึงการระบาดของ “โอไมครอน” ระลอกใหม่ในช่วงฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ ธันวาคม 2565 ของประเทศในแถบซีกโลกเหนือซึ่งอาจมีความรุนแรง

สามารถสืบค้นเพิ่มเติม โอไมครอน 3 สายพันธุ์ย่อยฺ BQ.1.1, BA.2.3.20, และ BA.2.75.2 ได้จากโพสต์ https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid02AM313vF6T6xEL5R9F2AdHhYKw9tDtNieaTB8kRGvRpqiMpqgfANsGFCY57iEv5hc

https://www.thaipost.net/covid-19-news/236786/

สธ.แจงความพร้อมฉีดวัคซีนโควิดเด็ก 6 เดือนถึง 4 ปี 12 ตุลาคมนี้



สธ.ซักซ้อมแนวทางฉีดวัคซีนโควิดไฟเซอร์ฝาสีแดงเข้มในเด็ก 6 เดือน ถึง 4 ปี ก่อนเริ่มฉีด 12 ต.ค.ทั่วประเทศ

06 ต.ค.25​65 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โดยกล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 โรคโควิด 19 ได้ปรับจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การควบคุมโรคประสบความสำเร็จ คือ การฉีดวัคซีนโควิด 19 ซึ่งปัจจุบันฉีดได้กว่า 143 ล้านโดส ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกัน และปัจจุบันได้ขยายการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี ซึ่งจะคิกออฟวันที่ 12 ต.ค.นี้ โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สธ.เป็นประธานที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี จึงมีการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการให้บริการวัคซีนเด็กกลุ่มนี้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการอย่างปลอดภัย สำหรับกลุ่มอื่นๆ พบว่าเมื่อโรคลดความรุนแรงลง ทำให้ความต้องการฉีดวัคซีนลดลงตามไปด้วย ดังนั้น ย้ำว่าเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น ขอให้ฉีดกระตุ้นอย่างน้อย​ 4 เดือนจากเข็มล่าสุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรรับถึงเข็มที่ 4 โดยขอให้พื้นที่ช่วยกันรณรงค์ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2565

ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยวริวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ฝาสีแดงเข้มสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี จะมาถึงวันที่ 7 ต.ค. 2565 เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองรุ่นการผลิตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะจัดส่งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เพื่อให้กระจายต่อในพื้นที่ ตามจำนวนที่มีการแจ้งความประสงค์ และเริ่มคิกออฟพร้อมกัน วันที่ 12 ต.ค.นี้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ปกครองสมัครใจให้เด็กรับวัคซีนแล้วเป็นจํานวนมาก โดยสามารถฉีดร่วมกับวัคซีนพื้นฐานชนิดอื่นได้

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันเด็ก 6 เดือน ถึง 4 ปี เป็นกลุ่มเดียวที่ยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งช่วงการระบาดของโอมิครอนพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีการป่วยและอัตราเสียชีวิตสูงกว่าเด็กโต 3 เท่า สำหรับการซักซ้อมวันนี้ได้เน้นย้ำให้ฉีดวัคซีนตามแนวทาง โดยเด็กเล็กจะใช้ปริมาณวัคซีนน้อยลง คือขนาด 3 ไมโครกรัม จำนวน 0.2 มิลลิลิตร ฉีด 3 เข็ม เข็มสองห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มสามห่างเข็มสอง 2 เดือน หลังฉีดให้สังเกตอาการ 30 นาที และติดตามต่อจนครบ 1 เดือน โดยให้จัดจุดบริการแยกจากกลุ่มวัยอื่น

เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้วัคซีน สำหรับข้อกังวลเรื่องผลข้างเคียง สหรัฐอเมริกามีการฉีดและติดตามล้านกว่าโดส พบว่ามีผลข้างเคียงน้อยกว่าเด็กโต ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงถึงเสียชีวิต ถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ MIS-C จากการติดเชื้อด้วย ทั้งนี้ ขอย้ำว่าหลังจากนี้มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จึงมีความเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้นทั้งผู้ใหญ่และเด็ก แต่วัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนักได้ง่าย เมื่อเด็กไม่ป่วย พ่อแม่ผู้สูงอายุในบ้านจะลดความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

https://www.thaipost.net/covid-19-news/237007/

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ.....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 น.
https://web.facebook.com/100068069971811/videos/782852529496487/ (มีคลิป)
https://web.facebook.com/100068069971811/videos/2883783668596940/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค
6 ตุลาคม 2565

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ข้อแนะนำการใช้วัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี (ฝาแดง)
https://web.facebook.com/nvikm/posts/pfbid0sNBMnjKi6HZJ7avTDy9NUBxurzoZ9QtTD89RqPPWLZ5fz1VnU74dT5ushhfpyM9ml


3 เหตุผลที่ประชาชนไม่สวมหน้ากากอนามัย
(ข้อมูลเมื่อวันที่ 1-26 ก.ย. 65)
- 45.4% ไม่ได้ไปไหน/อยู่บ้านคนเดียว
- 33.9% พูดคุยกับเพื่อนหรือคนรู้จักบางครั้งเผลอถอดหน้ากาก
- 16.8% ใส่หน้ากากแล้วหายใจไม่ค่อยออก ร้อน เหงื่อออก

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid04mtFfvALWhmRG5ry9Bt4uvVZ2xx53i7dyAEgXBzfboWf5xk4F4qpEbD3Z9iuuByBl


ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422 ปรับเวลาการให้บริการ
โดยจะให้บริการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 20.00 น.
ยกเว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0f2JmWF32dLVyQrGrbP13qdt7BL9fuyk31mGwtYuNgVtgVRrd21bWaf6w721cGXFEl


สธ. เผย ติด “โควิด” รักษาตามอาการ อาการเล็กน้อย แยกกักตัว 5 วัน ยึดหลัก DMH 100% รับวัคซีน 4 เข็ม ลดความรุนแรงได้

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ขณะนี้โรคโควิด 19 มีความรุนแรงลดลง จำนวนผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง วันนี้ผู้เสียชีวิตต่ำกว่าหลักสิบราย ส่วนใหญ่เป็นสูงอายุ มีโรคประจำตัว ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด จึงต้องขอย้ำว่าควรไปรับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม จะช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อได้

สำหรับการตรวจ ATK ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกวัน ควรตรวจเมื่อมีอาการเข้าข่ายสงสัย เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เป็นต้น หากผลเป็นบวกแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น เจ็บคอเล็กน้อย ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก หรือมีไข้ต่ำๆ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัส และอาจรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ลดเสมหะ ดื่มน้ำอุ่น พักผ่อนมากๆ แนะนำให้แยกตัวเอง 5 วัน แต่หากจำเป็นต้องออกจากบ้านหรือไปทำงาน ให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMH 100% คือ ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างจากคนอื่น แต่หากมีอาการไอมาก ไอบ่อย ไอถี่ หรือมีน้ำมูกมาก ขอให้หยุดงานและงดเดินทาง 5 วัน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายเชื้อ แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ 1.วัดไข้ได้ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมงใน 1 วัน 2.วัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94% 3.มีภาวะแทรกซ้อนหรือการกำเริบของโรคประจำตัว 4.มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง 5.มีภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และ 6.ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการซึม กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำจากอุจจาระร่วงหรือชักจากไข้สูง เป็นต้น ขอให้รีบไปพบแพทย์

หากผลตรวจเป็นลบ ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจจะสวมหน้ากากอนามัยป้องกันตนเอง 2-3 วัน ถ้ามีอาการค่อยตรวจ ATK ซ้ำ สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อ แนะนำว่ายังจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ โดยการสวมหน้ากากอนามัยให้ประเมินตามความเสี่ยง”

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid04r9HbpbYiejtLcFvDqSiaKJzN3KfDz3Z9uEvwLX1Z16KXy9BZnna37KKhdEWuig7l



เริ่มแล้ว! ศธ. ปรับมาตรการโควิดในสถานศึกษา ตามแนวทาง “ป้องกัน - เฝ้าระวัง” หลังเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดแนวทางดำเนินการของสถานศึกษาและแนวทางปฏิบัติของนักเรียนและบุคลากร เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา หลังปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นมา โดยเน้นย้ำถึงการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ให้ทุกคนปฏิบัติตามสุขอนามัย พร้อมเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครู บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง ดังนี้

การดำเนินการของสถานศึกษา
• ประกาศนโยบายมิติสุขภาพ และคำแนะนำการป้องกันโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
• จัดสภาวะแวดล้อมของสถานศึกษาให้สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ จัดห้องเรียนให้มีระบบระบายอากาศที่ดี
• มีการประเมินความเสี่ยงตามความเหมาะสม หรือตามคำแนะนำของ สธ. และ คกก.โรคติดต่อจังหวัด
• ส่งเสริมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ครู บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง

การปฏิบัติของนักเรียนและบุคลากร
• เน้นเรื่องการล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย
• ประเมินความเสี่ยงตนเอง
• รับวัคซีนตามคำแนะนำของ สธ.
• เฝ้าระวังสังเกตอาการป่วย พร้อมรายงานผ่านออนไลน์อนามัยโรงเรียน

เมื่อมีการติดเชื้อ กรณีไม่มีอาการ - อาการเล็กน้อย
• ให้จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยไม่ปิดเรียน
• ปฏิบัติตามหลักการ Universal Prevention
• เน้นมาตรการ 6-6-7
• เข้มงวดการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ
• เว้นระยะห่างของนักเรียนในห้องเรียนไม่น้อยกว่า 2 เมตร
• งดการทำกิจกรรมรวมกลุ่ม
• จัดพื้นที่ให้มีระบบระบายอากาศที่ดี
• ทำความสะอาดชั้นเรียนตามมาตรการ สธ.

เมื่อมีการติดเชื้อ กรณีอาการปานกลาง - รุนแรง
• ให้ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาของ สธ.
• ติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ตามระบบงานอนามัยโรงเรียน

Cr. กระทรวงศึกษาธิการ
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02UJnrVdwTqwK2m1vjqneWojT3JCiFETqLANTfyNMfAjbc8KJ7HDBXSRNUo3mbCeXel


คิกออฟฉีดวัคซีนโควิดเด็กเล็ก 6 เดือน ถึง 4 ปี เริ่ม 12 ต.ค. ฉีดสะสมแล้วกว่า 143 ล้านโดส ย้ำเข็มกระตุ้นยังจำเป็น

นัดคิกออฟ วันที่ 12 ต.ค.ฉีดวัคซีนโควิดเด็ก โดย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า เป็นการให้วัคซีนโควิด -19 ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย จะฉีดเป็นครั้งแรก ที่ รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กลุ่มดังกล่าว ฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครอง โดยตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในไทย ฉีดวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ 28 ก.พ. 2564 จนถึงปัจจุบันฉีดไปได้แล้วรวมกว่า 143 ล้านโดส

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ระบุด้วยว่า นับตั้งแต่โควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และสถานการณ์แพร่ระบาดเบาบางลง ทำให้การฉีดวัคซีนดำเนินการด้วยความยากลำบาก เพราะประชาชนให้ความสำคัญน้อยลง แต่ย้ำว่า วัคซีนยังมีความสำคัญและจำเป็น คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงให้ไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุก 3-4 เดือน โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ การจัดให้วัคซีนเข็มที่ 4 สธ. จะดำเนินการรณรงค์ช่วงเดือน ธ.ค.นี้ เบื้องต้นคาดว่าประมาณ 2 ล้านโดส ฉีด ณ จุดบริการ หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือที่สะดวก
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid02s86BwN4cuB2T96Ck19Ay6fHRirJvMYT43KWtKb4W4ysr9S3jXvnkCXFGgib7WdGkl


สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติปรับเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ เฉพาะผู้ป่วยโควิดวิกฤตสีแดงรักษาได้ทุกที่

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ปรับเกณฑ์ใหม่ UCEP Plus เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตผู้ป่วย โควิด19 เฉพาะกลุ่มวิกฤตสีแดง มีสิทธิรักษาได้ทุกที่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรับลดระดับโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

สำหรับผู้ป่วยโควิดฉุกเฉินวิกฤตสีแดง ที่เข้าเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ จะต้องมีเจ็บป่วยด้วยอาการ เช่น มีภาวะหัวใจหยุดเต้น มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึมลง ซักเกร็ง ปอดอักเสบ ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง มีไข้สูง 39 ค่าออกชิเจนน้อยกว่า 94% สามารถเข้ารักษาทุกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนฟรี! ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โทร.02-872-1669
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0qjpeUrsXpUqY79Dh3s6zuzmFdWh76Xcu8V4JzoY2njeUxzkS2vyCFnRbYySEZ4QMl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่