ศัลยกรรมและเสริมความงามกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

ปัจจุบันการให้บริการศัลยกรรมและเสริมความงามได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีการศัลยกรรมหลายรูปแบบ เช่น การเสริมจมูก การทำตาสองชั้น การศัลยกรรมหน้าอก เป็นต้น
ซึ่งการเสริมจมูก เป็นการศัลยกรรมเสริมความงามที่ได้รับความนิยมมาก แต่การศัลยกรรมย่อมทุกรูปแบบย่อมมีความเสี่ยง อาจมีปัญหาจมูกไม่ได้รูปทรงตามที่ต้องการอาจเกิดจากการเสริมจมูกไม่พอดีกับรูปหน้า ส่วนการเสริมหน้าอกเป็นการทำศัลยกรรมความงามที่มีความเสี่ยงมากที่สุด เพราะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และความชำนาญจากแพทย์ผู้ทำการศัลยกรรม ซึ่งปัญหาการเสริมหน้าอกที่พบบ่อย เช่น หน้าอกผิดรูป เกิดเป็นพังผืดรอบเต้านมหากเกิดความผิดพลาดทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อรายกาย แต่การที่เราจะตัดสินใจใช้บริการนั้น เราจะต้องพิจารณาดูก่อนจะเลือกที่ไหนที่มีความน่าเชื่อถือ แพทย์ที่เราจะไปทำเรื่องความงามและศัลยกรรมเป็นแพทย์ที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ตรวจสอบแพทย์ที่มีใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานพยาบาลหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบควรเช็คประวัติของแพทย์ของเว็บไซต์แพทยสภา ซึ่งเป็นการยืนยันสถานที่ ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ เพราะแพทย์ที่มีใบรับรองมาตรฐานจากแพทย์สภา

     การเลือกใช้ให้บริการศัลยกรรมและเสริมความงามที่ปลอดภัย ต้องมีมาตรฐานและการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข โดยต้องมี “ใบอนุญาตในการดำเนินสถานพยาบาลและประกอบกิจการสถานพยาบาล” เพื่อยืนยันสถานบริการนั้น มีคุณสมบัติตรงตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ และพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถตรวจสอบได้ว่าคลินิกได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย   นอกจากนี้คลินิกที่ดีต้องระบุสถานที่ตั้งอย่างชัดเจน ภายในคลินิกสะอาด รวมถึงมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัย และมีการตรวจเช็กความพร้อมของร่างกายก่อนเข้ารับการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัย มั่นใจในผลลัพธ์ และหลังการใช้บริการศัลยกรรม ผู้บริโภคควรได้แสดงหลักฐาน
การรับเงินตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการเสริมความงามเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๖๓

    ดังนั้นหากผู้บริโภคจะใช้บริการศัลยกรรมและเสริมความงาม สคบ. ขอแนะนำดังนี้
     ๑) ควรตรวจสอบใบนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
     ๒) ควรตรวจสอบใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
     ๓) ก่อนเข้าทำศัลยกรรมควรสอบถามว่าอุปกรณ์ และตัวยาที่ใช้ในการทำศัลยกรรมได้มาตรฐานหรือไม่
     ๔) ก่อนเข้าทำศัลยกรรมควรสอบถามและปรึกษาแพทย์ถึงรูปแบบ วิธีการในการทำศัลยกรรมหรือวิธีอื่นใด ผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้น โอกาสที่จะได้ผลลัพธ์ตรงตามที่แจ้งไว้ก่อนทำศัลยกรรมหรือไม่ ผลแทรกแซงในภายหลัง รวมถึงระยะเวลาพักฟื้นหลังทำศัลยกรรม
    ๕) ก่อนเข้าทำศัลยกรรมควรสอบถามข้อแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้รับบริการ ภายหลังจากการทำศัลยกรรม
    ๖) หากเกิดความเสียหายจากการทำศัลยกรรมการสามารถแจ้งเรื่องร้องทุกข์มายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแจ้งเรื่องร้องทุกข์ไปยัง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือแพทยสภา เพื่อให้ตรวจสอบการประกอบกิจการสถานพยาบาล และตรวจสอบใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล รวมถึงพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือผู้บริโภคต่อไป

     หากผู้บริโภคท่านใด ได้รับความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำศัลยกรรมที่คลินิกเสริมความงามโปรดเก็บรวบรวมหลักฐานและเอกสารนำมาร้องเรียนที่ สคบ. หรือสามารถร้องเรียนออนไลน์ได้ที่ www. ocpb.go.th หรือแอปพลิเคชัน OCPB Connect
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่