💚มาลาริน💚แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 2561-2580 ของลุงตู่ เป็นรูปธรรมกว่าแผนล้มเหลวส่อทุจริตของยิ่งลักษณ์

แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2561 – 2580)
@ วิสัยทัศน์@
                  ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ไว้ ดังนี้ ...👇

“ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”
 
ด้านที่ ๑ การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค มีเป้าประสงค์ในการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชน ครบทุกหมู่บ้านหรือทุกครัวเรือน ชุมชนเมือง แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ  รวมทั้งการจัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่ซึ่งขาดแคลนแหล่งน้ำต้นทุน พัฒนาน้ำดื่มให้ได้มาตรฐาน ในราคาที่เหมาะสม และการประหยัดน้ำ โดยลดการใช้น้ำภาคครัวเรือน ภาคบริการ และภาคราชการ

ด้านที่ ๒ การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำและระบบส่งน้ำใหม่ให้เต็มศักยภาพ พร้อมทั้งการจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพื่อขยายโอกาสจากศักยภาพโครงการ
ขนาดเล็กและลดความเสี่ยงในพื้นที่ไม่มีศักยภาพ ลดความเสี่ยง/ความเสียหายลง ร้อยละ ๕๐ รวมถึงการเพิ่มผลิตภาพและปรับโครงสร้างการใช้น้ำ โดยดำเนินการร่วมกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมเพื่อยกระดับผลิตภาพด้านน้ำทั้งระบบ

ด้านที่ ๓ การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย มีเป้าประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การจัดระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง การจัดการพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ชะลอน้ำ รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ ในระดับลุ่มน้ำและพื้นที่วิกฤต (Area based) ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ ลุ่มน้ำสาขา/ลดความเสี่ยงและความรุนแรงลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐

ด้านที่ ๔ การจัดการคุณภาพน้ำ และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ป้องกันและลดการเกิดน้ำเสียต้นทาง การควบคุมปริมาณการไหลของน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ พร้อมทั้งพื้นฟูแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญในทุกมิติ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ

ด้านที่ ๕ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และป้องกันการพังทลายของดิน มีเป้าประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม การป้องกัน และลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่ลาดชัน

ด้านที่ ๖ การบริหารจัดการ มีเป้าประสงค์โดยการขับเคลื่อนการดำเนินการให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี อันประกอบด้วย การจัดทำกฎหมายรอง การจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำ และองค์ลุ่มน้ำเพื่อเป็นกลไกในการจัดทำแผนและขับเคลื่อนแผนงาน/แผนปฏิบัติการในระดับลุ่มน้ำ การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ โดยพัฒนาเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน


ปัญหาทรัพยากรน้ำในประเทศไทยมีมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำกินน้ำใช้ น้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่ออุตสาหรรม ภัยแล้ง การรับมือกับอุทกภัยตามฤดูกาล เพราะน้ำคือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิต และการผลิตในทุกภาคส่วน
รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
 จึงให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ที่จับต้องได้จริง ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยบูรณาการ การทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีผลสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อลดความเดือดร้อนและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

ห้าปีของการทำงานตามแผนดังกล่าว
 มีผลอย่างไรบ้าง ติดตามชมได้จากคลิปนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

โครงการน้ำผลาญชาติยุคยิ่งลักษณ์ ‘จกตา’ประชาชน
วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.

ไม่รู้จริงๆ แกล้งโง่ หรือเจตนาบิดเบือน?
 
รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวโจมตีงบจัดการน้ำยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ พร้อมเยินยอโครงการบริหารจัดการน้ำยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ระบุว่า...👇

“...พี่น้องทราบไหมค่ะว่า ครั้งหนึ่งประเทศไทยเราเคยเกือบมีโครงการที่จะรับมือและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากอย่างเป็นระบบมาแล้ว โดยใช้งบประมาณเพียงครึ่งเดียวของแผนยุทธศาสตร์จัดการน้ำ 10 ปีของรัฐบาลประยุทธ์ซะด้วยซ้ำ?
ย้อนกลับไปเมื่อปี’54 หลังเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งจะได้เป็นรัฐบาลเพียงไม่กี่เดือน ได้จัดทำโครงการเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินรวม 324,606 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยจัดการกับปัญหาน้ำท่วมได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด....
...แต่น่าเสียดายมากที่โครงการนี้ต้องถูกสั่งล้มจากคณะรัฐประหาร ซึ่งต่อมาได้กลายร่างเป็นรัฐบาลชุดปัจจุบัน โครงการดีๆ ที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนหลายล้านคนและช่วยป้องกันความเสียหายทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ต้องถูกทำลายด้วยปลายกระบอกปืน เป็นอีกครั้งที่โครงการดีๆ ที่จะสร้างอนาคตให้ประเทศต้องมาสะดุดหยุดลงเพราะการรัฐประหาร...
...ถ้ารัฐบาลนี้ไม่รู้จะแก้ปัญหาน้ำท่วมยังไงดีก๊อบแผนบริหารน้ำในสมัยนายกฯ ยิ่งลักษณ์มาก็ได้นะคะ เพราะผ่านการศึกษามาแล้วอย่างรอบคอบจากผู้เชี่ยวชาญและแก้ปัญหาครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องไปเริ่มต้นศึกษาใหม่ให้เสียเงินเสียทองเสียเวลาอีก
น้ำท่วมเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นหรอกค่ะ แต่ถ้าโครงการจัดการน้ำของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ถูกล้มลงไปเพราะการรัฐประหาร ในวันนี้คนไทยคงไม่ต้องมาหวาดผวาว่าน้ำจะท่วม...”

น่าเวทนามาก... ไม่รู้จริงๆ แกล้งโง่ หรือเจตนาบิดเบือน เพื่อ “จกตา” ประชาชน?

ความจริง คือ โครงการใหญ่ๆ (รวมฟลัดเวย์นั่นด้วย) ในแผนจัดการน้ำยุคยิ่งลักษณ์ยังไม่ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนเลย
โครงการที่ล่มไป ไม่ใช่เพราะรัฐประหาร แต่เพราะศาลปกครองพิพากษาชี้ว่า การดำเนินการไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้รับฟังความเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
ความฉ้อฉลของนักการเมืองต่างหากที่ทำให้เสียเวลาประเทศชาติ เสียโอกาสทำโครงการดีๆ ที่บางโครงการถูกจับมามัดรวมในยุคนั้น

1. หลังน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ยิ่งลักษณ์เอาไม่อยู่ ประชาชนเดือดร้อน ประเทศชาติเสียหาย
ช่วงปี 2555-2556 รัฐบาลทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ฉวยโอกาสเร่งรีบออก พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท โดยนำโครงการน้ำประเภทร้อยพ่อพันแม่ เอามามัดรวมกันเป็นกลุ่มๆเรียกว่า “โมดูล”
แล้วให้เอกชนเข้ามายื่นข้อเสนอ ยื่นราคารับเหมาออกแบบก่อสร้าง
ไม่มีราคากลางตามกฎหมายปกติเพียงแต่ตั้งกรอบงบเอาไว้
ถูกครหา วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในขณะนั้น

2. อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร หนีคดีโกงหลายคดี เดินสายไปถึงที่ทำการของเค-วอเตอร์ ในเกาหลีใต้
หลังจากนั้น ก็ปรากฏว่า กลุ่มเค-วอเตอร์ คว้าชิ้นปลามันไปครองแบบนอนมาตามคาด 2 โมดูล มูลค่าโครงการสูงที่สุด ได้แก่ โครงการทางผันน้ำ กรอบวงเงิน 153,000 ล้านบาท
ที่เหลือเป็นกลุ่มอิตาเลียนไทย นำโดยเสี่ยเปรมชัย 5 โมดูล
รวมเค-วอร์เตอร์ กับ itd ได้โครงการมูลค่าเกือบ 290,000 ล้านบาท

3. ป.ป.ช.ขณะนั้น ถึงขนาดส่งรายงาน “ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตและความเสียหายของทางราชการ ในการดำเนินการโครงการระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย” ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยชี้ว่า โครงการมีการใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีจุดเสี่ยงทุจริตหลายจุด มีลักษณะเร่งรีบ รวบรัด ขอยกเว้นระเบียบว่าด้วยการพัสดุ
โครงการขนาดใหญ่ ยังไม่เคยมีการศึกษาความคุ้มค่าและผลกระทบสิ่งแวดล้อมใดๆ มาก่อนเลย ต่อให้เซ็นสัญญาจ้างเอกชน ก็ยากจะสำเร็จตามคำคุยโม้

นับเป็นบุญของประเทศชาติ ที่ศาลปกครองชี้ว่า การดำเนินการไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้รับฟังความเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
สุดท้ายโครงการจึงล้มพับไป รอดปากเหยี่ยวปากกามาได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินให้เอกชนที่คัดเลือกชงกันมา

4. ผู้บริหารพรรคเพื่อไทยย่อมรู้ หรือควรรู้ว่า ปัจจุบัน ยังมีคดีทุจริตประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการประมูลโครงการน้ำ คาอยู่ที่ ป.ป.ช.

ส่วนกรณีออก พ.ร.ก.ขอกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท แม้ป.ป.ช.จะยกคำร้องไปแล้ว แต่กรณีการกู้เงินเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด และกรณีฮั้วประมูล หรือเอื้อประโยชน์แก่เอกชนบางราย ในการดำเนินโครงการ ยังอยู่ในชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช.

รอวันสรุปเรื่อง และพิจารณาชี้มูลความผิดของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการน้ำผลาญชาติ ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”

การออกมาบิดเบือน “จกตาประชาชน” ชนิดไม่ละอายต่อความจริงแบบนี้ คือ การดูถูกประชาชนคนไทยอย่างร้ายแรง



รู้ทันพวกเอามาแปะอวยรัฐบาลที่ผู้นำหนีคุก 

การบริหารจัดการน้ำของลุงตู่ มีแผนชัดเจน ทำถูกต้องตามระเบียบการเงินการคลัง  มีความยั่งยืน  เป็นการแก้ปัญหาครอบคลุมทุกมิติ น้ำใช้น้ำบริโภค  ระบบการชลประทาน การจัดสรรน้ำ แก้น้ำท่วม น้ำแล้ง ดูแลคุณภาพของน้ำ การฟื้นฟูผืนป่าแหล่งต้นน้ำและด้านอุตสาหกรรม

เราจะได้เห็นความสำเร็จของนโยบายต่างๆยุคลุงตู่ตามมาอีกมากมายค่ะ










คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 58
แผนจัดการน้ำทำมาทุกรัฐบาลครับ

แต่ที่เห็นผลที่สุดก็รัฐบาลลุงตู่

อย่าเอาไปเทียบกับสมัยเครื่องบินจอดอยู่กลางทะเลเลยครับ

ขนาดมีที่ปรึกษาเป็นอดีตนายกคนแดนไกล อันนั้นมีแต่สร้างความอับอาย

เพี้ยนลอย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่