พายุหนี้ยังไม่อ่อนกำลัง พายุดอกเบี้ยเข้าถล่มซ้ำ โจทย์ยาก...รอรัฐงัดทุกวิธีแก้ด่วน!!
https://www.matichon.co.th/economy/news_3595264
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
พายุหนี้ยังไม่อ่อนกำลัง พายุดอกเบี้ยเข้าถล่มซ้ำ โจทย์ยาก…รอรัฐงัดทุกวิธีแก้ด่วน!!
ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกแม้จะผ่านจากวิกฤตโควิดได้แต่ยังคงผันผวนรุนแรง ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาตั้งเป้าหมายคุมอัตราเงินเฟ้อสูงอย่างต่อเนื่อง และรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.75% ต่อปี ถือเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 3 แล้ว เพื่อหยุดยั้งเงินเฟ้อของประเทศ
แนวทางดังกล่าว ทำให้หลายประเทศต่างได้รับแรงกดดันจากส่วนต่างดอกเบี้ย ประเทศไทยเองก็กำลังเจอสถานการณ์ค่าเงินที่อ่อนตัวอย่างรวดเร็ว การไหลของเงินทุนต่างๆ ซึ่งจะต้องรักษาสมดุลให้ได้ เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ภายใต้สังกัด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทย อีก 0.25% รวมเป็น 1.00% ต่อปี จาก 0.75% หลังจากที่ปรับขึ้นไปแล้ว 1 ครั้งในอัตรา 0.25% เช่นกัน
⦁ สุดอั้น! แบงก์ขยับดอกเบี้ยตามนโยบาย
ผลจากดอกเบี้ยนโยบายที่ขยับขึ้นได้วัดใจสถานบันการเงินต่างๆ ตั้งแต่สถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ และสถานบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ว่าจะพิจารณาจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่
เพราะ ธปท.ได้พยายามเจรจาขอให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม แต่ธนาคารพาณิชย์ต่างทนไม่ไหว ประกาศปรับขึ้นกันเป็นรายวัน โดยธนาคารกรุงเทพ ประเดิมเจ้าแรกเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในส่วนของเงินกู้ 0.30-0.40% และเงินฝาก 0.15-0.50% ต่อแถวมาด้วยธนาคารกสิกรไทย ปรับขึ้นดอกเบี้ยในส่วนเงินฝาก 0.10-0.50% และเงินกู้เพิ่ม 0.25% แบบเฉพาะกลุ่มรายใหญ่ ล่าสุดคือ ธนาคารทหารไทย (ทีทีบี) ก็เพิ่มดอกเบี้ยแล้วเช่นกัน และคาดว่าจะมีรายอื่นๆ ตามมาแน่
⦁ แบงก์คนอยากมีบ้านย้ำตรึงดอกกู้ถึงสิ้นปี
อย่างไรก็ตาม ยังมีสถาบันการเงินของรัฐ อย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ประกาศตรึงดอกเบี้ยถึงสิ้นปี ทำคนผ่อนบ้านอุ่นใจ โดย
ฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร ธอส. ยืนยันว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นธอส.จะยังคงไว้ระดับเดิมถึงสิ้นปี 2565 โดยคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และการเงินของ ธอส.เตรียมประชุมเร่งด่วน พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทต่างๆ ของธนาคาร อาทิ ประเภทออมทรัพย์ และเงินฝากประจำบางประเภท เพื่อสนับสนุนการออมภาคประชาชน และรองรับการปล่อยสินเชื่อของ ธอส.คาดว่า ณ สิ้นปี 2565 จะปล่อยได้สูงถึง 3 แสนล้านบาท โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะให้มีผลบังคับใช้เร็วที่สุดต่อไป
“
หากขึ้นดอกเบี้ยในปี 2566 ผลกระทบนี้จะไปเกิดกับลูกค้าที่ขอกู้ใหม่ และลูกค้าดอกเบี้ยลอยตัวบางส่วนซึ่งมีจำนวนไม่มาก” กรรมการผู้จัดการ ธอส.ระบุ
กรรมการผู้จัดการ ธอส.ให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ระหว่างรับความช่วยเหลือตามมาตรการของธนาคารวงเงินกู้รวมประมาณ 7 หมื่นล้านบาท จำนวนนี้มีประมาณ 2 หมื่นล้านบาทที่อาจเริ่มผ่อนชำระไม่ปกติแต่กลุ่มนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำหนดเป็นอัตราคงที่ นอกจากนี้ ธนาคารจะยังคงมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้มารองรับ โดยสามารถเลือกผ่อนชำระ 25% 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระปกติ
⦁ นักวิชาการกังวลเศรษฐกิจเข้าลูปถดถอย
ขณะที่
นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงว่า ตามปกติจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว เพราะดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นคนทั่วไปจะไม่ถอนเงินฝากออกมาใช้ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจฝืดลง ขณะเดียวกันผู้ขอเงินกู้ก้อนใหม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพงขึ้น ทำให้กู้น้อยลง
ทั้งนี้ แม้จะมีปัญหาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้ามาช่วงปลายปี 2565 แต่จะมีช่วงเวลาในการส่งผ่าน เพราะดอกเบี้ยของเงินฝากเงินกู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่จะไปกระทบกับการก่อหนี้ใหม่ในอนาคต อีกส่วนคือต่อให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว 1 ครั้ง 0.25% แต่ ธปท.ได้หารือกับธนาคารพาณิชย์ให้ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว เพราะฉะนั้นผลกระทบจริงจะลดลงกว่าเดิม ส่วนขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้แล้ว ธปท.จะวางมาตรการช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว คงไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม ช่วงโควิดมีข้อมูลฐานะของครัวเรือนของไทยแย่ลง สถานะเครดิตของคนไทยมีปัญหาไม่ชำระหนี้หรือหนี้เสียเพิ่มขึ้น ปัญหานี้หากให้ประชาชนแก้หนี้ด้วยตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย ล่าสุดภาครัฐได้เดินหน้ามหกรรมร่วมใจแก้หนี้ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ เมื่อปลดหนี้ มีรายได้สูงขึ้นสามารถเอาเงินไปหักหนี้ หักส่วนต่างและดอกเบี้ยได้
“กลไกมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ที่ประสานเจ้าหนี้อย่างสถานบันการเงิน และที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์ กับลูกหนี้ มาเจรจาไกล่เกลี่ยกัน ครอบคลุมสินเชื่อหลายประเภท จึงตอบโจทย์อย่างมาก” นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอกล่าว และว่า คนไทยก่อหนี้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้จ่ายส่วนบุคคล บัตรเครดิต การซื้อรถจักรยานยนต์ รถยนต์ หรือกระทั่งสินเชื่อเพื่อการศึกษา ปัจจุบันมีหนี้ประมาณ 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ถือว่าสูง
ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งหนี้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ หนี้เพื่อการบริโภค เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต เป็นต้น ใช้ซื้อของกินของใช้และท้ายที่สุดก็หมดไป และหนี้เพื่อการลงทุน อาทิ สินเชื่อรถยนต์ เพื่อการประกอบอาชีพ สินเชื่อการศึกษา อนาคตสิ่งที่ลงทุนมีโอกาสสร้างรายได้เป็นสินเชื่อที่มีประเด็นน้อยกว่าสินเชื่อเพื่อการบริโภค
⦁ ดบ.ขาขึ้นกดดันลูกหนี้เปราะบางกู้ก้อนใหม่
นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอให้มุมมองทิ้งท้ายว่า สถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นท่ามกลางปัญหาหนี้ครัวเรือนระดับสูง ถือเป็นเรื่องน่ากังวล รัฐบาลต้องดูแลใกล้ชิด เพราะบุคคลนั้นเป็นหนี้ จ่ายได้แค่ดอกเบี้ย ท้ายที่สุดอาจหันไปทำสัญญาเงินกู้ใหม่ แบบนี้จะเจอปัญหาก่อหนี้ใหม่ไม่รู้จบ
พายุหนี้ยังไม่อ่อนกำลังลง แต่กลับต้องเจอพายุดอกเบี้ยถาโถมซ้ำอีก ประชาชนจะรับไหวแค่ไหน เป็นโจทย์ที่ภาครัฐต้องเข้าช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด!!
'จิราพร-ชญาภา' ควง 'เศกสิทธิ์' เยี่ยม ปชช. สู้ท่วม วอนรบ.ช่วยเหลือ เหน็บแรง 8 ปีได้แค่นี้ อย่าอยู่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3596043
‘จิราพร-ชญาภา’ ควง ‘เศกสิทธิ์’ เยี่ยม ปชช. สู้ท่วม วอนรบ.เร่งช่วยเหลือ ทวงแผนจัดการน้ำเป็นรูปธรรม ฉะ ‘บิ๊กตู่’ อยู่ 8 ปีได้แค่นี้ อย่าอยู่
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม น.ส.
จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.
ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรค พท. นาย
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ว่าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ร้อยเอ็ด นาง
เอมอร สินธุไพร อดีต ส.ส.พรรค พท. พร้อมผู้นำชุมชนลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด ที่ถูกน้ำท่วมพื้นที่จากผลกระทบจากพายุโนรู
น.ส.
จิราพร กล่าวว่า จากการพูดคุยสอบถามประชาชนพบว่า พวกเขาต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซากอีก เป็นปัญหาที่ประชาชนต้องพบเจอเกือบทุกปี ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และโรคลำปีสกินก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนลำบาก ยิ่งถูกซ้ำเติม จึงแทบจะไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ สิ่งที่รัฐบาลต้องทำ สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะสั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า คือ
1. นำถุงยังชีพ เครื่องอุปโภค บริโภคพื้นฐานมาแจกจ่ายให้กับประชาชนให้มากขึ้น
2. ประชาชนที่ได้อพยพสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ เช่น วัว ควาย หนีน้ำท่วม ต้องการหญ้าแห้งเลี้ยงสัตว์ ในเบื้องต้นได้ประสานปศุสัตว์จ.ร้อยเอ็ด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือบ้างแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะคาดว่าน้ำจะท่วมขังหลายสัปดาห์
3.ไม่มีสุขาใช้ ในส่วนนี้นาย
เศกสิทธิ์ จะประสานอบจ.ร้อยเอ็ด นำสุขาน็อคดาวน์มาติดตั้ง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
และ 4.บางหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมขังนานนับสัปดาห์ เริ่มส่งกลิ่นเหม็น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งป้องกันเรื่องโรคระบาด
ส่วนมาตรการการช่วยเหลือระยะการเยียวยานั้น รัฐบางต้องเร่งวางมาตรการเยียวยาพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย, ซ่อมบำรุงถนนและเส้นทางการคมนาคมในท้องถิ่นที่ชำรุดเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงการวางแผนบริหารจัดการน้ำในระยะยาว ป้องกันน้ำท่วมน้ำแล้ง
น.ส.
จิราพร กล่าวว่า ชาวบ้านทั้งเบื่อหน่าย ทั้งชาชินกับน้ำท่วม น้ำแล้ง วนลูบเกือบทุกปี จนแทบไม่กลัวแล้วว่าน้ำจะท่วมบ้าน แต่กลัวน้ำท่วมนา เป็นตลกร้ายที่ไม่ควรเกิดขึ้น ตอนน้ำไม่ท่วม ทำการเกษตรก็ต้องเจอต้นทุนการผลิตสูง ปุ๋ยมีราคาแพง แต่ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ชาวบ้านกัดฟันกู้เงินมาลงทุนทำนา แต่ต้องเจอกับน้ำท่วม ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้ ชีวิตวนเวียนอยู่แต่กับความทุกข์ยากขมขื่น
“ยิ่งปีนี้มีข้อจำกัดทางกฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องกรอบเวลา 180 วัน ที่ส.ส.หรือว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ไม่สามารถมอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชนได้ ส่วนนายก อบจ.ร้อยเอ็ด กกต. ก็ยังไม่รับรอง แต่ก็ไม่นิ่งดูดายต่อความเดือดร้อนของประชาชน พยายามช่วยเหลือประสานงานช่วยพี่น้องอย่างเต็มที่ ทุกคนช่วยกันเต็มที่แล้ว แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำอะไรอยู่ อยู่มา 8 ปีแล้ว แต่ไม่มีแผนบริหารจัดการน้ำที่เป็นเป็นรูปธรรม ถ้าทำได้แค่นี้ก็อย่ากอดเก้าอี้นายกรัฐมนตรีไว้อีกเลย” น.ส.
จิราพร กล่าว
"ก้าวไกล" แฉข้อมูลสตง. “โคก หนอง นา โมเดล” เหลว จี้ อนุพงษ์-ปลัด มท. รับผิดชอบ
https://www.nationtv.tv/news/politics/378888353
"ก้าวไกล" แฉข้อมูล สตง. ยืนยันชัด “โคก หนอง นา โมเดล” ล้มเหลว เสียเงินกู้ฟรี 4,700 ล้าน จี้ อนุพงษ์-ปลัดมท. รับผิดชอบ
3 ตุลาคม 2565 นาย
อดิศักดิ์ สมบัติคำ หรือ ‘จ่าตา’ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรคก้าวไกล จ.มหาสารคาม ได้ออกมาเปิดรายงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถึงผลการตรวจสอบโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “
โคก หนอง นา โมเดล” ของกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งจากรายงานพบว่าโครงการแทบไม่เดิน ทำจริงไม่ได้ ยังไม่เกิดผลทางปฏิบัติ
นาย
อดิศักดิ์ กล่าวว่า ตอนเริ่มโครงการภาครัฐโฆษณาด้านดีด้านเดียว โดยอ้างแต่หลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง พอทำจริงข้างนอกสดใส ข้างในตะติ๊งโหน่ง ซึ่งพรรคก้าวไกลก็ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้แล้วว่าโครงการทำจริงในทางปฏิบัติแทบไม่ได้ แต่รัฐบาลก็ยังดันทุรังทำ ผลคือโครงการล้มเหลวตามที่พรรคก้าวไกลอภิปรายไว้ทุกประการ
สตง. เขียนเอาไว้ชัดเจนว่า โครงการมีปัญหา 3 เรื่อง ที่ทำให้โคก หนอง นาเป็นโครงการส่อล้มเหลว
JJNY : พายุหนี้ยังไม่อ่อนกำลัง│‘จิราพร’เหน็บแรง8ปีได้แค่นี้│"กก."แฉข้อมูลสตง.“โคกหนองนา โมเดล”เหลว│ลำตะคองล้นตลิ่ง
https://www.matichon.co.th/economy/news_3595264
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
พายุหนี้ยังไม่อ่อนกำลัง พายุดอกเบี้ยเข้าถล่มซ้ำ โจทย์ยาก…รอรัฐงัดทุกวิธีแก้ด่วน!!
ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกแม้จะผ่านจากวิกฤตโควิดได้แต่ยังคงผันผวนรุนแรง ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาตั้งเป้าหมายคุมอัตราเงินเฟ้อสูงอย่างต่อเนื่อง และรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.75% ต่อปี ถือเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 3 แล้ว เพื่อหยุดยั้งเงินเฟ้อของประเทศ
แนวทางดังกล่าว ทำให้หลายประเทศต่างได้รับแรงกดดันจากส่วนต่างดอกเบี้ย ประเทศไทยเองก็กำลังเจอสถานการณ์ค่าเงินที่อ่อนตัวอย่างรวดเร็ว การไหลของเงินทุนต่างๆ ซึ่งจะต้องรักษาสมดุลให้ได้ เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ภายใต้สังกัด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทย อีก 0.25% รวมเป็น 1.00% ต่อปี จาก 0.75% หลังจากที่ปรับขึ้นไปแล้ว 1 ครั้งในอัตรา 0.25% เช่นกัน
⦁ สุดอั้น! แบงก์ขยับดอกเบี้ยตามนโยบาย
ผลจากดอกเบี้ยนโยบายที่ขยับขึ้นได้วัดใจสถานบันการเงินต่างๆ ตั้งแต่สถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ และสถานบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ว่าจะพิจารณาจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่
เพราะ ธปท.ได้พยายามเจรจาขอให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม แต่ธนาคารพาณิชย์ต่างทนไม่ไหว ประกาศปรับขึ้นกันเป็นรายวัน โดยธนาคารกรุงเทพ ประเดิมเจ้าแรกเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในส่วนของเงินกู้ 0.30-0.40% และเงินฝาก 0.15-0.50% ต่อแถวมาด้วยธนาคารกสิกรไทย ปรับขึ้นดอกเบี้ยในส่วนเงินฝาก 0.10-0.50% และเงินกู้เพิ่ม 0.25% แบบเฉพาะกลุ่มรายใหญ่ ล่าสุดคือ ธนาคารทหารไทย (ทีทีบี) ก็เพิ่มดอกเบี้ยแล้วเช่นกัน และคาดว่าจะมีรายอื่นๆ ตามมาแน่
⦁ แบงก์คนอยากมีบ้านย้ำตรึงดอกกู้ถึงสิ้นปี
อย่างไรก็ตาม ยังมีสถาบันการเงินของรัฐ อย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ประกาศตรึงดอกเบี้ยถึงสิ้นปี ทำคนผ่อนบ้านอุ่นใจ โดย ฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร ธอส. ยืนยันว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นธอส.จะยังคงไว้ระดับเดิมถึงสิ้นปี 2565 โดยคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน และการเงินของ ธอส.เตรียมประชุมเร่งด่วน พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทต่างๆ ของธนาคาร อาทิ ประเภทออมทรัพย์ และเงินฝากประจำบางประเภท เพื่อสนับสนุนการออมภาคประชาชน และรองรับการปล่อยสินเชื่อของ ธอส.คาดว่า ณ สิ้นปี 2565 จะปล่อยได้สูงถึง 3 แสนล้านบาท โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะให้มีผลบังคับใช้เร็วที่สุดต่อไป
“หากขึ้นดอกเบี้ยในปี 2566 ผลกระทบนี้จะไปเกิดกับลูกค้าที่ขอกู้ใหม่ และลูกค้าดอกเบี้ยลอยตัวบางส่วนซึ่งมีจำนวนไม่มาก” กรรมการผู้จัดการ ธอส.ระบุ
กรรมการผู้จัดการ ธอส.ให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ระหว่างรับความช่วยเหลือตามมาตรการของธนาคารวงเงินกู้รวมประมาณ 7 หมื่นล้านบาท จำนวนนี้มีประมาณ 2 หมื่นล้านบาทที่อาจเริ่มผ่อนชำระไม่ปกติแต่กลุ่มนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำหนดเป็นอัตราคงที่ นอกจากนี้ ธนาคารจะยังคงมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้มารองรับ โดยสามารถเลือกผ่อนชำระ 25% 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระปกติ
⦁ นักวิชาการกังวลเศรษฐกิจเข้าลูปถดถอย
ขณะที่ นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงว่า ตามปกติจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว เพราะดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นคนทั่วไปจะไม่ถอนเงินฝากออกมาใช้ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจฝืดลง ขณะเดียวกันผู้ขอเงินกู้ก้อนใหม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพงขึ้น ทำให้กู้น้อยลง
ทั้งนี้ แม้จะมีปัญหาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้ามาช่วงปลายปี 2565 แต่จะมีช่วงเวลาในการส่งผ่าน เพราะดอกเบี้ยของเงินฝากเงินกู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่จะไปกระทบกับการก่อหนี้ใหม่ในอนาคต อีกส่วนคือต่อให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว 1 ครั้ง 0.25% แต่ ธปท.ได้หารือกับธนาคารพาณิชย์ให้ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว เพราะฉะนั้นผลกระทบจริงจะลดลงกว่าเดิม ส่วนขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้แล้ว ธปท.จะวางมาตรการช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว คงไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม ช่วงโควิดมีข้อมูลฐานะของครัวเรือนของไทยแย่ลง สถานะเครดิตของคนไทยมีปัญหาไม่ชำระหนี้หรือหนี้เสียเพิ่มขึ้น ปัญหานี้หากให้ประชาชนแก้หนี้ด้วยตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย ล่าสุดภาครัฐได้เดินหน้ามหกรรมร่วมใจแก้หนี้ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ เมื่อปลดหนี้ มีรายได้สูงขึ้นสามารถเอาเงินไปหักหนี้ หักส่วนต่างและดอกเบี้ยได้
“กลไกมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ที่ประสานเจ้าหนี้อย่างสถานบันการเงิน และที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์ กับลูกหนี้ มาเจรจาไกล่เกลี่ยกัน ครอบคลุมสินเชื่อหลายประเภท จึงตอบโจทย์อย่างมาก” นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอกล่าว และว่า คนไทยก่อหนี้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้จ่ายส่วนบุคคล บัตรเครดิต การซื้อรถจักรยานยนต์ รถยนต์ หรือกระทั่งสินเชื่อเพื่อการศึกษา ปัจจุบันมีหนี้ประมาณ 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ถือว่าสูง
ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งหนี้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ หนี้เพื่อการบริโภค เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต เป็นต้น ใช้ซื้อของกินของใช้และท้ายที่สุดก็หมดไป และหนี้เพื่อการลงทุน อาทิ สินเชื่อรถยนต์ เพื่อการประกอบอาชีพ สินเชื่อการศึกษา อนาคตสิ่งที่ลงทุนมีโอกาสสร้างรายได้เป็นสินเชื่อที่มีประเด็นน้อยกว่าสินเชื่อเพื่อการบริโภค
⦁ ดบ.ขาขึ้นกดดันลูกหนี้เปราะบางกู้ก้อนใหม่
นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอให้มุมมองทิ้งท้ายว่า สถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นท่ามกลางปัญหาหนี้ครัวเรือนระดับสูง ถือเป็นเรื่องน่ากังวล รัฐบาลต้องดูแลใกล้ชิด เพราะบุคคลนั้นเป็นหนี้ จ่ายได้แค่ดอกเบี้ย ท้ายที่สุดอาจหันไปทำสัญญาเงินกู้ใหม่ แบบนี้จะเจอปัญหาก่อหนี้ใหม่ไม่รู้จบ
พายุหนี้ยังไม่อ่อนกำลังลง แต่กลับต้องเจอพายุดอกเบี้ยถาโถมซ้ำอีก ประชาชนจะรับไหวแค่ไหน เป็นโจทย์ที่ภาครัฐต้องเข้าช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด!!
'จิราพร-ชญาภา' ควง 'เศกสิทธิ์' เยี่ยม ปชช. สู้ท่วม วอนรบ.ช่วยเหลือ เหน็บแรง 8 ปีได้แค่นี้ อย่าอยู่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3596043
‘จิราพร-ชญาภา’ ควง ‘เศกสิทธิ์’ เยี่ยม ปชช. สู้ท่วม วอนรบ.เร่งช่วยเหลือ ทวงแผนจัดการน้ำเป็นรูปธรรม ฉะ ‘บิ๊กตู่’ อยู่ 8 ปีได้แค่นี้ อย่าอยู่
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรค พท. นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ว่าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ร้อยเอ็ด นางเอมอร สินธุไพร อดีต ส.ส.พรรค พท. พร้อมผู้นำชุมชนลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด ที่ถูกน้ำท่วมพื้นที่จากผลกระทบจากพายุโนรู
น.ส.จิราพร กล่าวว่า จากการพูดคุยสอบถามประชาชนพบว่า พวกเขาต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซากอีก เป็นปัญหาที่ประชาชนต้องพบเจอเกือบทุกปี ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และโรคลำปีสกินก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนลำบาก ยิ่งถูกซ้ำเติม จึงแทบจะไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ สิ่งที่รัฐบาลต้องทำ สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะสั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า คือ
1. นำถุงยังชีพ เครื่องอุปโภค บริโภคพื้นฐานมาแจกจ่ายให้กับประชาชนให้มากขึ้น
2. ประชาชนที่ได้อพยพสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ เช่น วัว ควาย หนีน้ำท่วม ต้องการหญ้าแห้งเลี้ยงสัตว์ ในเบื้องต้นได้ประสานปศุสัตว์จ.ร้อยเอ็ด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือบ้างแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะคาดว่าน้ำจะท่วมขังหลายสัปดาห์
3.ไม่มีสุขาใช้ ในส่วนนี้นายเศกสิทธิ์ จะประสานอบจ.ร้อยเอ็ด นำสุขาน็อคดาวน์มาติดตั้ง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
และ 4.บางหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมขังนานนับสัปดาห์ เริ่มส่งกลิ่นเหม็น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งป้องกันเรื่องโรคระบาด
ส่วนมาตรการการช่วยเหลือระยะการเยียวยานั้น รัฐบางต้องเร่งวางมาตรการเยียวยาพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย, ซ่อมบำรุงถนนและเส้นทางการคมนาคมในท้องถิ่นที่ชำรุดเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงการวางแผนบริหารจัดการน้ำในระยะยาว ป้องกันน้ำท่วมน้ำแล้ง
น.ส.จิราพร กล่าวว่า ชาวบ้านทั้งเบื่อหน่าย ทั้งชาชินกับน้ำท่วม น้ำแล้ง วนลูบเกือบทุกปี จนแทบไม่กลัวแล้วว่าน้ำจะท่วมบ้าน แต่กลัวน้ำท่วมนา เป็นตลกร้ายที่ไม่ควรเกิดขึ้น ตอนน้ำไม่ท่วม ทำการเกษตรก็ต้องเจอต้นทุนการผลิตสูง ปุ๋ยมีราคาแพง แต่ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ชาวบ้านกัดฟันกู้เงินมาลงทุนทำนา แต่ต้องเจอกับน้ำท่วม ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้ ชีวิตวนเวียนอยู่แต่กับความทุกข์ยากขมขื่น
“ยิ่งปีนี้มีข้อจำกัดทางกฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องกรอบเวลา 180 วัน ที่ส.ส.หรือว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ไม่สามารถมอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชนได้ ส่วนนายก อบจ.ร้อยเอ็ด กกต. ก็ยังไม่รับรอง แต่ก็ไม่นิ่งดูดายต่อความเดือดร้อนของประชาชน พยายามช่วยเหลือประสานงานช่วยพี่น้องอย่างเต็มที่ ทุกคนช่วยกันเต็มที่แล้ว แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำอะไรอยู่ อยู่มา 8 ปีแล้ว แต่ไม่มีแผนบริหารจัดการน้ำที่เป็นเป็นรูปธรรม ถ้าทำได้แค่นี้ก็อย่ากอดเก้าอี้นายกรัฐมนตรีไว้อีกเลย” น.ส.จิราพร กล่าว
"ก้าวไกล" แฉข้อมูลสตง. “โคก หนอง นา โมเดล” เหลว จี้ อนุพงษ์-ปลัด มท. รับผิดชอบ
https://www.nationtv.tv/news/politics/378888353
"ก้าวไกล" แฉข้อมูล สตง. ยืนยันชัด “โคก หนอง นา โมเดล” ล้มเหลว เสียเงินกู้ฟรี 4,700 ล้าน จี้ อนุพงษ์-ปลัดมท. รับผิดชอบ
3 ตุลาคม 2565 นายอดิศักดิ์ สมบัติคำ หรือ ‘จ่าตา’ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรคก้าวไกล จ.มหาสารคาม ได้ออกมาเปิดรายงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถึงผลการตรวจสอบโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ของกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งจากรายงานพบว่าโครงการแทบไม่เดิน ทำจริงไม่ได้ ยังไม่เกิดผลทางปฏิบัติ
นาย อดิศักดิ์ กล่าวว่า ตอนเริ่มโครงการภาครัฐโฆษณาด้านดีด้านเดียว โดยอ้างแต่หลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง พอทำจริงข้างนอกสดใส ข้างในตะติ๊งโหน่ง ซึ่งพรรคก้าวไกลก็ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้แล้วว่าโครงการทำจริงในทางปฏิบัติแทบไม่ได้ แต่รัฐบาลก็ยังดันทุรังทำ ผลคือโครงการล้มเหลวตามที่พรรคก้าวไกลอภิปรายไว้ทุกประการ
สตง. เขียนเอาไว้ชัดเจนว่า โครงการมีปัญหา 3 เรื่อง ที่ทำให้โคก หนอง นาเป็นโครงการส่อล้มเหลว