คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 11.00 น.
https://web.facebook.com/100068069971811/videos/828279118498564/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ กระทรวงสาธารณสุข
29 กันยายน 2565
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02ka9LFAanYhve7FF34fPKCpMiAY4ULuLa64opeQJJo5gso4RcxyQuiRxVKqdPjxbPl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 28 ก.ย. 2565)
รวม 143,320,124 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 28 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 17,237 โดส
เข็มที่ 1 : 2,405 ราย
เข็มที่ 2 : 3,563 ราย
เข็มที่ 3 : 11,269 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,325,632 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,835,452 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,159,040 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0UpGvQTrsP5vDA9QesEY8dJ2dL1zfaHbTVUhHB5R78cYczzkvJhoTYpqy4ymKompxl
แผนบริหารจัดการโควิด หลังปรับเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป
ที่มา ไทยคู่ฟ้า
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid049d5fWqFjq4GUmxBVJBS3g6abq9YfUx4UnxUBCx1EvCHD5AjhCV9g3PSvje1x9hKl
สธ.ปิดศูนย์ EOC โควิด ระดับกระทรวง 1 ต.ค. 65 ผู้ป่วยโควิดอาการวิกฤตสีแดง ใช้ UCEP Plus ได้ทุกที่
กระทรวงสาธารณสุข ประกาศยุติบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) โควิดระดับกระทรวง และให้เป็นภารกิจของกรมควบคุมโรคตามปกติ เนื่องจากสถานการณ์ดีขึ้น ซึ่งจะยังมีการติดตามเฝ้าระวังโรคโควิด 19 อย่างใกล้ชิดต่อไป
ร.อ. นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 รัฐบาลต้องการอำนวยความสะดวกให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม จึงกำหนดสิทธิ UCEP COVID ทำให้ผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการและที่มีอาการทั้งระดับสีเขียว เหลือง แดง สามารถใช้สิทธินี้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ทุกที่ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และเมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น วันที่ 16 มีนาคม 2565 จึงได้ปรับเป็น UCEP Plus กำหนดให้เฉพาะผู้ป่วยโควิดอาการสีเหลืองและสีแดงสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ส่วนผู้ป่วยอาการสีเขียวต้องไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ ล่าสุด มีการประกาศปรับลดโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ กำหนดเฉพาะผู้ป่วยโควิดอาการวิกฤตสีแดง เช่น มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ทางเดินหายใจอุดกั้น หายใจหอบเหนื่อย มีภาวะที่ทำให้อาการระบบทางเดินหายใจรุนแรง ไม่สามารถหายใจได้ มีภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำ หรืออาการอื่นๆ ที่นำไปสู่การเสียชีวิตโดยเร็ว สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่
เดิมกลุ่มอาการสีเหลือง เช่น กลุ่ม 608 ที่ไม่มีอาการ จะใช้ UCEP Plus ได้ แต่หลังปรับเกณฑ์ใหม่จะไม่ครอบคลุมผู้ป่วยโควิด 19 อาการสีเหลือง โดยให้ไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิสุขภาพ ซึ่ง สพฉ.จะออกประกาศเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ ที่มีรายละเอียดชัดเจน ในวันที่ 30 กันยายนนี้ เพื่อให้ประชาชนและสถานพยาบาลรับทราบ โดยมีศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โทร. 0-2872-1669 เป็นหน่วยประสานระหว่างประชาชนและสถานพยาบาล ให้ข้อวินิจฉัยหรือคำแนะนำเมื่อมีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ทั้งนี้ สิทธิ UCEP Plus จะสามารถรับการรักษาได้จนกว่าจะหายป่วย แตกต่างกับ UCEP ปกติ ที่กำหนดให้การรักษาภาวะฉุกเฉินใน 72 ชั่วโมงแรก
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า แม้การระบาดจะไม่รุนแรงเหมือนเมื่อก่อน แต่ทุกคนยังมีโอกาสติดเชื้อได้ การป้องกันจึงยังเป็นมาตรการสำคัญ โดยขอให้สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมาก
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02bnMMK7Upv1prxrK8yXkWKd1Lns6wDxHkQcRWvRfvyg5R5XkbFxfkFZmqnXqXuhdKl
โควิด ป้องกันด้วย DMHT
- Distancing เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
- Mask Wearing สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง/แออัด/อากาศไม่ถ่ายเท
- Hand Washing ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
- Testing ตรวจ ATK เมื่อมีอาการโรคทางเดินหายใจ
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02xauR6x9ohpsGvMWCB3iC4renFHDyzj1A1rhdVZEm4wbPM6vKvpVkc2Fb23SgwgQ7l
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 จำนวน 10 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02TQatbeRHXZr6V7huM5psSsH1NqhMCjpJ8jgUuicy33fMpwCkToNQTQ6NteiV3Q6cl
รอเลย 1 ต.ค. นี้! สเปรย์พ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด นวัตกรรมระดับโลกฝีมือคนไทย
อีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคโควิด-19 กับ “สเปรย์พ่นจมูกแอนติบอดีเพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19” จากความร่วมมือของ 5 ภาคีรัฐ - เอกชน (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ศิลปากร, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, องค์การเภสัชกรรม, บ.ไฮไบโอไซ จำกัด) ในการพัฒนานวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูกที่ช่วยดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ภายใต้แบรนด์ “เวลล์ โควิแทรป แอนติ-โคฟ นาซอล สเปรย์” ที่ขณะนี้ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว และพร้อมจำหน่ายในวันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป
สเปรย์พ่นจมูกฯ นี้ มีคุณสมบัติในการดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ด้วยหลักการทำงาน 2 กลไก ได้แก่ 1.ดักจับด้วยสาร HPMC ที่เคลือบพื้นผิวโพรงจมูก ทำให้ความสามารถในการเกาะของเชื้อไวรัสลดลง 2.ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายด้วยภูมิคุ้มกัน ผ่านการพ่นที่โพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง สอดหัวพ่นเข้าไปในโพรงจมูกในแนวตั้ง พ่นข้างละ 1 - 2 ครั้ง ใช้ได้ตามต้องการทุก 6 ชั่วโมง ไม่เกิน 3 ครั้ง/วัน
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE @Covitrap/ Facebook โควิแทรป/ เภสัชกรประจำร้านยาองค์การเภสัชกรรม/ สถานพยาบาล The Senizens/ สถานพยาบาล Panacura
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02k6d6LrkUkuD4RJcwF915AhhaQ7GmiSSvDVdFGZHsehcVmyqEd5dr58c9bRRJLPx8l
รัฐบาลขอบคุณประชาชนทุกภาคส่วนร่วมมือมาตรการภาครัฐ ส่งผลลดระดับโควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 1 ต.ค.นี้
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลขอบคุณประชาชนทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือกับมาตรการภาครัฐเป็นอย่างดีจนทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลให้ ศบค. ได้มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร และกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศลดระดับโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (Post - Pandemic) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขอให้ประชาชนทุกคนยังต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย สามารถดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมได้ตามปกติ
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0TWvLGd6NokEPS5ugqUWACpA9hYyceMbQ2yC7qTB9S5jpMDDEMxJBb8VhBSuzhmybl
https://web.facebook.com/100068069971811/videos/828279118498564/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ กระทรวงสาธารณสุข
29 กันยายน 2565
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02ka9LFAanYhve7FF34fPKCpMiAY4ULuLa64opeQJJo5gso4RcxyQuiRxVKqdPjxbPl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 28 ก.ย. 2565)
รวม 143,320,124 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 28 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 17,237 โดส
เข็มที่ 1 : 2,405 ราย
เข็มที่ 2 : 3,563 ราย
เข็มที่ 3 : 11,269 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,325,632 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,835,452 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,159,040 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0UpGvQTrsP5vDA9QesEY8dJ2dL1zfaHbTVUhHB5R78cYczzkvJhoTYpqy4ymKompxl
แผนบริหารจัดการโควิด หลังปรับเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป
ที่มา ไทยคู่ฟ้า
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid049d5fWqFjq4GUmxBVJBS3g6abq9YfUx4UnxUBCx1EvCHD5AjhCV9g3PSvje1x9hKl
สธ.ปิดศูนย์ EOC โควิด ระดับกระทรวง 1 ต.ค. 65 ผู้ป่วยโควิดอาการวิกฤตสีแดง ใช้ UCEP Plus ได้ทุกที่
กระทรวงสาธารณสุข ประกาศยุติบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) โควิดระดับกระทรวง และให้เป็นภารกิจของกรมควบคุมโรคตามปกติ เนื่องจากสถานการณ์ดีขึ้น ซึ่งจะยังมีการติดตามเฝ้าระวังโรคโควิด 19 อย่างใกล้ชิดต่อไป
ร.อ. นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 รัฐบาลต้องการอำนวยความสะดวกให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม จึงกำหนดสิทธิ UCEP COVID ทำให้ผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการและที่มีอาการทั้งระดับสีเขียว เหลือง แดง สามารถใช้สิทธินี้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ทุกที่ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และเมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น วันที่ 16 มีนาคม 2565 จึงได้ปรับเป็น UCEP Plus กำหนดให้เฉพาะผู้ป่วยโควิดอาการสีเหลืองและสีแดงสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ส่วนผู้ป่วยอาการสีเขียวต้องไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ ล่าสุด มีการประกาศปรับลดโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ กำหนดเฉพาะผู้ป่วยโควิดอาการวิกฤตสีแดง เช่น มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ทางเดินหายใจอุดกั้น หายใจหอบเหนื่อย มีภาวะที่ทำให้อาการระบบทางเดินหายใจรุนแรง ไม่สามารถหายใจได้ มีภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำ หรืออาการอื่นๆ ที่นำไปสู่การเสียชีวิตโดยเร็ว สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่
เดิมกลุ่มอาการสีเหลือง เช่น กลุ่ม 608 ที่ไม่มีอาการ จะใช้ UCEP Plus ได้ แต่หลังปรับเกณฑ์ใหม่จะไม่ครอบคลุมผู้ป่วยโควิด 19 อาการสีเหลือง โดยให้ไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิสุขภาพ ซึ่ง สพฉ.จะออกประกาศเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ ที่มีรายละเอียดชัดเจน ในวันที่ 30 กันยายนนี้ เพื่อให้ประชาชนและสถานพยาบาลรับทราบ โดยมีศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โทร. 0-2872-1669 เป็นหน่วยประสานระหว่างประชาชนและสถานพยาบาล ให้ข้อวินิจฉัยหรือคำแนะนำเมื่อมีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ทั้งนี้ สิทธิ UCEP Plus จะสามารถรับการรักษาได้จนกว่าจะหายป่วย แตกต่างกับ UCEP ปกติ ที่กำหนดให้การรักษาภาวะฉุกเฉินใน 72 ชั่วโมงแรก
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า แม้การระบาดจะไม่รุนแรงเหมือนเมื่อก่อน แต่ทุกคนยังมีโอกาสติดเชื้อได้ การป้องกันจึงยังเป็นมาตรการสำคัญ โดยขอให้สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมาก
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02bnMMK7Upv1prxrK8yXkWKd1Lns6wDxHkQcRWvRfvyg5R5XkbFxfkFZmqnXqXuhdKl
โควิด ป้องกันด้วย DMHT
- Distancing เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
- Mask Wearing สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง/แออัด/อากาศไม่ถ่ายเท
- Hand Washing ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
- Testing ตรวจ ATK เมื่อมีอาการโรคทางเดินหายใจ
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02xauR6x9ohpsGvMWCB3iC4renFHDyzj1A1rhdVZEm4wbPM6vKvpVkc2Fb23SgwgQ7l
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 จำนวน 10 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02TQatbeRHXZr6V7huM5psSsH1NqhMCjpJ8jgUuicy33fMpwCkToNQTQ6NteiV3Q6cl
รอเลย 1 ต.ค. นี้! สเปรย์พ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด นวัตกรรมระดับโลกฝีมือคนไทย
อีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคโควิด-19 กับ “สเปรย์พ่นจมูกแอนติบอดีเพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19” จากความร่วมมือของ 5 ภาคีรัฐ - เอกชน (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ศิลปากร, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, องค์การเภสัชกรรม, บ.ไฮไบโอไซ จำกัด) ในการพัฒนานวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูกที่ช่วยดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ภายใต้แบรนด์ “เวลล์ โควิแทรป แอนติ-โคฟ นาซอล สเปรย์” ที่ขณะนี้ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว และพร้อมจำหน่ายในวันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป
สเปรย์พ่นจมูกฯ นี้ มีคุณสมบัติในการดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ด้วยหลักการทำงาน 2 กลไก ได้แก่ 1.ดักจับด้วยสาร HPMC ที่เคลือบพื้นผิวโพรงจมูก ทำให้ความสามารถในการเกาะของเชื้อไวรัสลดลง 2.ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายด้วยภูมิคุ้มกัน ผ่านการพ่นที่โพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง สอดหัวพ่นเข้าไปในโพรงจมูกในแนวตั้ง พ่นข้างละ 1 - 2 ครั้ง ใช้ได้ตามต้องการทุก 6 ชั่วโมง ไม่เกิน 3 ครั้ง/วัน
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE @Covitrap/ Facebook โควิแทรป/ เภสัชกรประจำร้านยาองค์การเภสัชกรรม/ สถานพยาบาล The Senizens/ สถานพยาบาล Panacura
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02k6d6LrkUkuD4RJcwF915AhhaQ7GmiSSvDVdFGZHsehcVmyqEd5dr58c9bRRJLPx8l
รัฐบาลขอบคุณประชาชนทุกภาคส่วนร่วมมือมาตรการภาครัฐ ส่งผลลดระดับโควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 1 ต.ค.นี้
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลขอบคุณประชาชนทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือกับมาตรการภาครัฐเป็นอย่างดีจนทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลให้ ศบค. ได้มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร และกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศลดระดับโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (Post - Pandemic) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขอให้ประชาชนทุกคนยังต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย สามารถดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมได้ตามปกติ
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0TWvLGd6NokEPS5ugqUWACpA9hYyceMbQ2yC7qTB9S5jpMDDEMxJBb8VhBSuzhmybl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭29ก.ย. สธ.เปิดมาตรการโควิดหลังเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง/ป่วย637คน หาย790คน ตาย10คน/ขอบคุณคนไทยใส่แมสต่อ
https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1029543
สธ.เปิดมาตรการโควิด“ธุรกิจ-ปชช.” รับ 1 ต.ค. ปรับเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง
เผยแพร่: 29 ก.ย. 25652
สธ.ย้ำแม้โควิดกลายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ธุรกิจต่าง ๆ ยังต้องประเมิน Thai Stop Covid 2 Plus-ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข ส่วน ปชช.ทำตามหลัก DMH
หลังสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด และรัฐบาลได้ประกาศลดระดับโรคนี้จากการเป็น “โรคติดต่ออันตราย” ไปสู่ “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อเปลี่ยนผ่านโควิด-19 แล้วจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคอุบัติใหม่นี้ได้หรือไม่
นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า แม้จะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค หลังโควิด-19 กลายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังแล้ว
แต่ พ.ร.บ.โรคติดต่อ, พ.ร.บ.การสาธารณสุข และกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดยังจำเป็นต้องใช้อยู่ เพียงแต่อาจลดระดับการคุมเข้มลง เนื่องจากลักษณะของตัวโรคโควิด-19 แสดงให้เห็นว่ายังอาจเกิดการระบาดเป็นระลอก ๆ อยู่
สรุปว่า มาตรการ Thai Stop Covid 2 Plus ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้สถานประกอบการเข้ามาประเมิน เพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐานในการให้บริการ ยังไม่มีการยกเลิกแพลตฟอร์ม และผู้ประกอบการยังสามารถเข้ามาประเมินตนเองได้ เพียงแต่ปรับรายละเอียดให้ผ่อนคลายมากขึ้น เหลือเพียงส่วนสำคัญ เพื่อป้องกันกรณีมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
นอกจากนี้กิจการตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การสาธารณสุข ทั้งหมด 142 ประเภท อาทิ กลุ่มกิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (สถานบริการดูแลเด็กปฐมวัย, สปา, อาบอบนวด, โรงแรม หอพัก, โรงหนัง และ สวนสนุก เป็นต้น) รวมถึงตลาด ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์มาร์เก็ต ยังต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.การสาธารณสุข
โดยมาตรการที่สถานประกอบการต่าง ๆ ควรปฏิบัติมีดังนี้
ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
💊การทำความสะอาดจุดสัมผัส
💊การจัดสถานที่ให้มีการระบายอากาศภายใน
💊จัดให้มีอุปกรณ์ล้างมืออย่างเพียงพอ
💊พนักงาน/ผู้ปฏิบัติงาน
มีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
💊มีการคัดกรองอาการป่วยของพนักงาน หากใครป่วยให้💊💊รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที และให้หยุดปฏิบัติงาน
💊เข้ารับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์
💊กรณีเป็นร้านอาหาร พนักงานจะต้องสวมหน้ากากและผ่านการอบรมมาตรฐานของผู้สัมผัสอาหาร
ส่วนประชาชนที่เข้ารับบริการ เน้นย้ำให้คงมาตรการสวมหน้ากากอนามัย (Mask Wearing) เมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือเมื่อมีอาการป่วยทางเดินหายใจ พร้อมให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยสงสัย (Testing) และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ (Hand washing) เมื่อมีการสัมผัสอุปกรณ์ สิ่งของ หรือพื้นผิวสัมผัสร่วมกัน นอกจากนี้กลุ่มเสี่ยง ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ (กลุ่ม 608) ควรเข้ารับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เพราะผู้ติดเชื้อแล้วเสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม 608 ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบถึง 97%
https://www.pptvhd36.com/health/news/1969
รัฐบาลขอบคุณคนไทยร่วมมือสู้โควิด ขอความร่วมมือยังต้องใส่แมสก์ต่อ
รัฐบาลขอบคุณประชาชนทุกภาคส่วนร่วมมือมาตรการภาครัฐ ส่งผลลดระดับโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 1 ต.ค.นี้ ขอความร่วมมือประชาชนยังต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่อเข้าไปในสถานที่ผู้คนแออัด-เร่งเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่ออยู่กับโควิดได้อย่างปลอดภัย
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลขอบคุณประชาชนทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือกับมาตรการภาครัฐเป็นอย่างดีจนทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลให้ ศบค. ได้มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร และกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศลดระดับโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (Post - Pandemic) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขอให้ประชาชนทุกคนยังต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย สามารถดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมได้ตามปกติ
โดยกรณีผู้ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMHT โดยเฉพาะการสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือเมื่อต้องใกล้ชิดกับผู้อื่น ขณะที่ประชาชนทั่วไปแนะนำให้สวมหน้ากากเมื่อเข้าไปในสถานที่ผู้คนแออัด หรือพื้นที่ปิดอากาศไม่ถ่ายเท เช่น โรงพยาบาล สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ/เด็กเล็ก เป็นต้น รวมไปถึงการขนส่งสาธารณะที่มีคนหนาแน่น อาทิ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยตามความจำเป็น สำหรับในส่วนของหน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ ให้คัดกรองอาการป่วยของพนักงานเป็นประจำ โดยหากมีพนักงานป่วยจำนวนมากให้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อจะได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันได้ทันต่อสถานการณ์และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม
“นอกจากการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข DMHT และการสวมหน้ากากอนามัยแล้ว ในส่วนประชาชนที่ไม่เคยรับการฉีดวัคซีน รวมถึงผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ก็ขอความร่วมมือให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว โดยสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตามสถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง และช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดได้ ซึ่งจะทำให้เราอยู่ร่วมกับโควิดได้อย่างปลอดภัย และให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนเดินหน้าต่อไปได้ ตลอดจนเพื่อรองรับการเตรียมเข้าสู่ฤดูกาลของการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วย” นายอนุชาฯ กล่าว
https://www.naewna.com/politic/683193
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....