🇹🇭💙มาลาริน💙🇹🇭23ก.ย.โควิดไทยดีขึ้น ยกเลิกพ.ร.ก,ฉุกเฉิน30ก.ย.ใช้พ.ร.ก.โรคติดต่อ/ป่วย752คน หาย794คน ตาย9คน/WHOเตือน


https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1028421

“ฮู” เตือนอย่าวางใจ “โควิด” - หวั่นโรคร้ายยังจบไม่จริง



สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ (ฮู) ออกมาเตือนต่อประเทศต่างๆ ต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยระบุว่า อย่าเพิ่งชะล่าใจในการต่อสู้กับโควิด-19 โดยฝ่ายต่างๆ ยังต้องประสานงานกัน รวมถึงมีความมุ่งมั่นในทางการเมือง เพื่อปกป้องชีวิตประชาชน และความเสียหายทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพของประชาชน ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โดย ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผอ.องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด แต่เป็นเพียงใกล้ที่จะสิ้นสุดของการแพร่ระบาดเท่านั้น เนื่องจากโควิด-19 ยังคงคร่าชีวิตประชาชนทั่วโลกกว่า 10,000 คน ต่อสัปดาห์ ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วสามารถป้องกันได้ แต่ปรากฏว่า ขณะนี้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ยังคงขาดแคลนวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่จะฉีดให้แก่ประชาชนได้อย่างครอบคลุม ตลอดจนการที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์การแพทย์ การรักษาพยาบาล รวมถึงการตรวจหาเชื้อต่างๆ ให้แก่ประชาชน

https://siamrath.co.th/n/385045



"บิ๊กป้อม"นั่งหัวโต๊ะ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดฉากเกือบ 3 ปี ศบค. มีผล 30 ก.ย.นี้ "อนุทิน"รับไม้ต่อ 1 ต.ค. ยันมีแผนรองรับ ขอบคุณทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ

เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 23 กันยายน 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ว่า...👇

เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้รายงานว่าปัจจุบันสถานการณ์ภาพรวมการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกดีขึ้น ผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตลดลง สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศที่ผู้ประกอบการขับเคลื่อนกิจการได้ปกติ กระทรวงสาธารณสุขปรับโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ที่ประชุม ศบค.จึงมีมติเห็นชอบยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ที่ประกาศมาตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค.63 และขยายมารวมทั้งสิ้น 19 ครั้ง รวมทั้งบรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งที่นายกรัฐมนตรี และ ครม.ใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั้งหมด โดยให้มีผลในวันที่ 30 ก.ย.65 เป็นต้นไป ถือเป็นการสิ้นสุดของ ศบค.
 
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า หลังจากนี้เมื่อไม่มี ศบค.แล้ว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ รมว.สาธารณสุข จะเป็นผู้กำกับดูแลตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ โดยมีแผนปฏิบัติการควบคุมโรครองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ควบคุมโรคให้อยู่ในสถานการณ์เฝ้าระวังหรือรุนแรงน้อย ซึ่งวางแนวทางไว้ 4 ระดับ โดยสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในระดับเฝ้าระวังที่อัตราป่วยเสียชีวิตน้อยกว่า 0.1% อัตราครองเตียงอยู่ระหว่างที่ 11 - 24% จะให้หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคเป็นระดับอำเภอ แต่ถ้าอัตราการป่วยเสียชีวิตขยับไปที่ 0.1 - 0.5% อัตราครองเตียง 25 - 40% จะถือเป็นระดับรุนแรงน้อย ศูนย์ปฏิบัติการจะเป็นระดับจังหวัดและเปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคขึ้นมา หรือถ้าไปถึงระดับรุนแรงปานกลาง มีอัตราป่วยเสียชีวิตมากกว่า 0.5% อัตราครองเตียง 41 - 75% จะเปิดศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงสาธารณสุข หากเข้าขั้นระดับรุนแรงมากที่อัตราป่วยเสียชีวิตมากกว่า 1% อัตราครองเตียงมากกว่า 75% จะเปิดศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์ฉุกเฉินระดับประเทศ ทั้งนี้ นายอนุทินเน้นย้ำว่าเตียงในระบบสาธารณสุขมีเป็นแสนเตียง สามารถรองรับได้ แต่ถึงอย่างไรประชาชนยังต้องป้องกันตัวเองกันต่อไป

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขณะที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การติดเชื้อ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 752 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 752 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 794 ราย อยู่ระหว่างรักษา 8,235 ราย อาการหนัก 523 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 244 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 9 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,677,090 ราย มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,636,163 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 32,692 ราย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่าจากนี้จนถึงปี 66 อาจเกิดการระบาดเป็นระลอกเล็กๆ ขึ้นบ้างตามสถานการณ์ แต่จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เนื่องจากปัจจุบันอัตราการครองเตียงอยู่ที่ 8.3% ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รายงานข้อมูลการท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.65 - 21 ก.ย.65 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาทั้งสิ้น 5,257,196 คน มีรายได้จากนักท่องเที่ยวสะสม 211,974 ล้านบาท ขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวคนไทยอยู่ที่ 432,889 ล้านบาท

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับโครงสร้างการดำเนินการในระยะสิ้นสุด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เรื่องของวัคซีนจะมีคณะกรรมการสร้างเสริมคุ้มกันโรคแห่งชาติภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติมาทำหน้าที่ดูแลตรงนี้ ส่วนการจัดหาและกระจายวัคซีนเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ส่วนการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายใต้ได้รับวัคซีนจะมีคณะกรรมการพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มาดูแล ดังนั้น หลายคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับวัคซีนเข็มต่อไปจะไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติแผนจัดหาวัคซีนเดือน ต.ค.65 ตามกรมควบคุมโรคเสนอ เห็นชอบแผนการประชาสัมพันธ์โควิด-19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น รับทราบความก้าวหน้าการวิจัยวัคซีน เห็นชอบการจัดจดหมายเหตุการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย และรับทราบการประมวลผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติป้องกันและควบคุมโรค

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า พล.อ.ประวิตรได้ขอบคุณประชาชนที่ร่วมมือ ขอบคุณผู้ประกอบการที่ร่วมใจ และภาครัฐที่ทำงานกันอย่างเข้มแข็งจนผ่านพ้นและเปลี่ยนผ่านมาถึงปัจจุบัน ศบค.ชุดใหญ่ดำเนินงานมาตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้วางแผนป้องกันเอาไว้ และขอให้การดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตนในฐานะโฆษก ศบค.ขอขอบคุณทุกภาคส่วนด้วยเช่นกัน

https://www.naewna.com/local/681979

วันนี้ชัดเจนแล้วนะคะ ว่าโควิดจะเป็นโรคเฝ้าระวัง

ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน  ใช้พ.ร.ก.โรคติดต่อควบคุมดูแล

สิ้นสุดโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง สิ้นสุดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สิ้นสุดศบค.ที่เป็นบอร์ดดูแลมาตลอด2ปี

ต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขล้วนๆค่ะ

รัฐบาลได้ผ่อนคลายงานใหญ่ๆไปอีกเรื่อง

แต่อย่างไรรัฐบาลก็ต้องระมัดระวังดูแลประชาชนต่อไปตามที่WHOเตือน

เราผ่านเวลาที่วิกฤตมาได้เพราะความร่วมมือของทุกฝ่าย

ขอบคุณรัฐบาลและบุคลากรทางการแพทย์ที่เหนื่อยยากลำบากอดทนกันมายาวนานนะคะ...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 23 กันยายน 2565 เวลา 12.30 น.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
https://www.facebook.com/informationcovid19/videos/814950126303008/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 23 กันยายน 2565


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02FRMGBafCozRTUefF8WZwZXehMhn5xV5nD6rGxspvutsbNguacGac2AqQUTJsy4KVl


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 22 ก.ย. 2565)
รวม 143,215,264 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 22 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 20,126 โดส

เข็มที่ 1 : 3,325 ราย
เข็มที่ 2 : 5,683 ราย
เข็มที่ 3 : 11,118 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,312,929 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,814,735 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,087,600 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02rqox4w6PTga5YqergYzZBtU9TzYQ1xJURSCcJJV2QRwiXbZR4CmsqVg6swNi6zT2l


เกิดภาวะ “ลองโควิด” หลังติดโควิด จะรู้ได้อย่างไร

ภาวะ “ลองโควิด” อาจมีอาการได้ ดังนี้
1. ไอ
2. มีไข้
3. ปวดศีรษะ
4. การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง
5. เจ็บหน้าอก
6. หายใจไม่อิ่ม
7. เหนื่อยล้า
8. ท้องเสีย
อาการเหล่านี้เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง
บางรายอาจมีอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย
สำหรับผู้มีอาการดังกล่าวควรเข้ารับบริการขอคำแนะนำ ประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม และเพื่อค้นหาโรคอื่นๆ

วิธีการใช้สิทธิ
• สิทธิบัตรทอง (สิทธิ30บาท) สิทธิสปสช. หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพ สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ทุกแห่ง เช่นโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิที่ท่านไปรักษาเป็นประจำ
• สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ไปสถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่ง
• สิทธิประกันสังคม ไปโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนเลือกไว้ในระบบประกันสังคมทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนประกันสังคม 1506/ประกันสังคมเขตพื้นที่
• สิทธิข้าราชการกรมบัญชีกลาง ไปสถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400
• แรงงานต่างด้าว/สิทธิอื่น เช่น ครูเอกชน หน่วยงานรัฐอื่น ติดต่อสถานพยาบาลภาครัฐใกล้บ้าน

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 ใน กทม. ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 แห่ง ดังนี้
1.โรงพยาบาลกลาง
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ณ คลินิกประกันสุขภาพ
2. โรงพยาบาลตากสิน
ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. ณ ARI Clinic
3.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.ณ คลินิกอายุรกรรม
4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม
5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม
6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม
7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น. ณ ARI Clinic
8. โรงพยาบาลสิรินธร
ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ณ คลินิกวัณโรค
9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น. ณ คลินิกผู้ป่วยนอก
โดยนัดหมายรับบริการของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และเตรียมขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน "หมอ กทม." เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กทม. ผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ

ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02CxB9KtCfiYmiwmkQB9R6Q7rfiiamN9QvEJfntz4Wk8PZGhVrC7b6oDHggm6kUkBol


ศบค. มีมติ “ยกเลิก” พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ มีผล 30 ก.ย. 65

ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19 ในภาพรวมทั่วโลก มีแนวโน้มที่ดีขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และแนวโน้มของผู้เสียชีวิตลดลง

ศบค. จึงเห็นควรให้พิจารณายกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 19) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 รวมทั้งบรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่ง ที่ นรม. และ ครม. ใช้อำนาจแห่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมด โดยให้มีผลใน วันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

ที่มา : ศบค.
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LVzsZ9J3iKsRmvDErYG91Uu9gwiVRFSgY3dCW72NhCNvCdWJGDpYmyCnMaNCXWmTl


การบริหารจัดการวัคซีนโควิด ในระยะโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

โครงสร้างดำเนินงานในระยะสิ้นสุด พรก. ฉุกเฉินฯ
1. คำแนะนำการใช้วัคซีน
-คณะกรรมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
2. การจัดหาและกระจายวัคซีน
-คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติฯภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561
-คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิด 19
3. การเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
-คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับภูมิคุ้มกันโรค

ที่มา : ศบค.
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid033vqfTUcVYGrUvQhCgxxkBeW6oaAXf9SsGVywHbvY8kRoEExaSSBZj7Wpsqwuz7xXl


สธ.อิงข้อมูลทั่วโลกบ่งชี้โควิด-19 ระยะสุดท้าย ไร้ปัญหารับมือ ปรับแผนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น อาจ 6 เดือน -1 ปี!!

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุ ประชุม ศบค.วันนี้ จะนำมติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (21 ก.ย.) เรื่องปรับลดระดับโรคโควิด-19 ให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 นี้ จากข้อมูลวิชาการทั่วโลกบ่งชี้ว่า ขณะนี้เป็นช่วงท้ายของการระบาดโรคไม่ได้มีความรุนแรงอีกต่อไป อีกทั้ง ระบบสาธารณสุขไทยสามารถดูแลได้ มีวัคซีน มียา อย่างเพียงพอ เพียงแค่เฝ้าระวัง เพราะโรคอาจจะขึ้นหรือลงอีกก็ได้

“สำหรับแผนจัดการวัคซีนโควิด-19 ได้มอบให้กรมควบคุมโรค ทบทวน ข้อมูลวัคซีน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตว่า ณ ปัจจุบันป้องกันได้นานแค่ไหน เพราะที่ผ่านมา เป็นช่วงการระบาดรุนแรง-ปานกลาง จึงให้ฉีดเข็มกระตุ้นทุก 4 เดือน แต่ตอนนี้เป็นระยะท้ายของการระบาด จะขยายเวลาการกระตุ้นเป็น 6 เดือน หรือ 1 ปี ได้หรือไม่ ต้องรอผู้เชี่ยวชาญช่วยกันพิจารณาคาดจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ เพื่อนำมาวางแผนการจัดซื้อวัคซีนโควิดสำหรับปี 2566 แต่สำหรับวัคซีนของปี 2565 นี้ ตามแผนจัดซื้อวัคซีนตามจำนวนเดิมแต่อาจปรับเปลี่ยนจากวัคซีนเป็นยาหรือ LAAB แทน” นพ.เกียรติภูมิ ระบุ

ส่วน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ในช่วงแรกที่ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ศบค.จะยกเลิกหรือไม่ แล้วแต่ ศบค.พิจารณา แต่คาดว่า ยังมีความจำเป็นต้องใช้ในการดูแลด้านอื่นๆ เช่น ด้านสังคมไปอีกระยะหนึ่ง
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0CPrG3t4SWg9wRGAk3Rq1g82SC5ZteoyP4LNv4NeMKpdG3NizEnahN7wknkHogw9Rl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่