🇹🇭🎀มาลาริน🎀🇹🇭WHOชี้โควิด“ยังเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข”/การดูแลตนเอง คือสิ่งที่สำคัญกว่าวัคซีน

ผ่านมาแล้ว 3 ปี อนามัยโลกชี้โควิด “ยังเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข”

องค์การอนามัยโลกยังคงยืนยันว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” นับตั้งแต่การอุบัติของโรค เมื่อปี 2563

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ว่า องค์การอนามัยโลก ( ดับเบิลยูเอชโอ ) ออกแถลงการณ์ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังถือเป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” โดยดับเบิลยูเอชโอประกาศเรื่องดังกล่าวเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2563

เนื้อหาตอนหนึ่งในแถลงการณ์ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมาถึง “จุดเปลี่ยน” อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการสถานการณ์ยังคงต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง “เพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบ” และยังคงมีความจำเป็นในระดับสูงเช่นกัน ที่กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเปราะบางต้องได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง

อนึ่ง นพ.เทดรอส แอดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอ เคยกล่าวระหว่างการประกาศขยายเวลาการให้โรคโควิด-19 ยังคงเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว ว่า “โควิด-19 เป็นโรคที่สร้างความประหลาดใจให้แก่มนุษย์หลายครั้งแล้ว และอาจเกิดขึ้นอีกก็ได้”

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1944863/

"หมอ ยง" เผย 3 ปีที่โรคโควิด-19 ระบาด การดูแลตนเอง คือสิ่งที่สำคัญกว่าวัคซีน
"หมอ ยง" เผยการดูแลตนเอง คือสิ่งที่สำคัญมากกว่าวัคซีน ในระยะเวลา 3 ปี ที่โรคโควิด-19 ระบาด พร้อมย้ำไม่มีวัคซีนใดที่ป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแค่ลดความรุนแรงของโรคเท่านั้น



วันที่ 31 มกราคม 2566 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง โควิด-19 ประสิทธิภาพการดูแลรวมทั้งวัคซีน กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ระบุว่า เมื่อเวลาผ่านมาถึง 3 ปี การระบาดของโรค และการใช้วัคซีน ความรุนแรงของโรค และอัตราการเสียชีวิตในแต่ละประเทศ กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าวัคซีนคือ การดูแลตนเอง สุขอนามัย mask กำหนดระยะห่าง ประเทศที่ใช้วัคซีนหลักเป็นเชื้อตาย เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย กัมพูชาเองได้รับวัคซีน mRNA บริจาคเพียง 2 แสนโดส เท่านั้น ที่เหลือเป็นวัคซีนเชื้อตายทั้งหมด กัมพูชาแก้ปัญหาโควิด-19 และเปิดประเทศได้ก่อนประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตน้อยมาก
ขณะเดียวกัน ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป ใช้วัคซีน mRNA เป็นวัคซีนหลัก แต่ขณะเดียวกันประเทศจีนใช้วัคซีนเชื้อตายเป็นวัคซีนหลัก ผลลัพธ์เราคงเห็นผล ในเร็ววันนี้ถึงความแตกต่างกันของ 2 กลุ่มประเทศ ถึงอัตราความรุนแรงที่ทำให้ต้องเสียชีวิต
 
ไม่มีวัคซีนใดที่ป้องกันการติดเชื้อได้เลย แต่วัคซีนทุกตัวลดความรุนแรงของโรคลงได้ และถ้ามองด้านความปลอดภัยหรืออาการข้างเคียง วัคซีนเชื้อตาย ใช้เทคโนโลยีเก่า เช่นเดียวกับวัคซีนพิษสุนัขบ้า ตับอักเสบ A โปลิโอ ที่มีความปลอดภัยสูง และทราบถึงผลระยะยาวของวัคซีนที่ใช้ในอดีตมาแล้ว

อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็คงรู้จริง ทางฝรั่งคาดการณ์ว่าจีนจะมีคนเสียชีวิตเป็นล้านคน คงต้องติดตามดูจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นล้าน ไม่สามารถปกปิดได้แน่นอน แต่ที่ทราบว่า ขณะนี้จุดสูงสุดของการระบาดในจีนได้ผ่านไปแล้ว เช่นเดียวกับประเทศไทย เพราะมีการติดเชื้อไปแล้วมากกว่าร้อยละ 70 จึงเกิดภูมิต้านทานแบบลูกผสม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง และลดความรุนแรงของโรค การเปรียบเทียบระหว่างจีนกับอเมริกาเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก

https://www.thairath.co.th/news/society/2616731

ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12

นพ.ยง เผย !! ติดโควิดรอบ 2 อาการไม่รุนแรง
เป็นแล้วเป็นอีกได้ เหมือนไข้หวัดใหญ่ อาการน้อยกว่าครั้งแรก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุ โควิด 19 การติดเชื้อซ้ำความรุนแรงของโรค ลดลง โดยโรคโควิด 19 เป็นแล้วเป็นอีกได้ เหมือนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนที่ฉีดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนแต่ละชนิด ไม่ว่าจะสูงต่ำ จึงไม่แตกต่างกัน
จากการศึกษาของศูนย์ฯ ในผู้ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ในจำนวนมากกว่า 200 คนพบว่าการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่อาการน้อยกว่าการติดเชื้อครั้งแรก ในเกือบทุกลักษณะอาการ ยกเว้นน้ำมูกไหล ที่มีการพบในอัตราส่วนที่เท่ากัน อาการที่ลดลง เกิดจากผลที่มีภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น จากการติดเชื้อครั้งแรก รวมทั้งจำนวนหนึ่งได้รับวัคซีน และการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัส ที่อาจจะทำให้ความรุนแรงลดลง การติดเชื้อครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่อาการจึงน้อยกว่าครั้งแรก

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Pt73zbxyyJNiAe9JkFHD2utZMvrnacEWios1yxXBdnroxHjhaGjD6SMiudcZXZhQl


ครม. เห็นชอบ ปรับแผนซื้อยาและวัคซีนโควิดเพิ่มเติม ภายในปี 66 พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลฉีดเข็มกระตุ้นที่ถูกต้องแก่ประชาชน

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี วันนี้ (31 มกราคม 2566) อนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ ใช้จ่ายจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (วงเงิน 500,000 ล้านบาท) จำนวน 4 โครงการ ดังนี้

1. โครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับเตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหน่วยบริการสุขภาพ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ถึงธันวาคม 2565 กรอบวงเงิน 3,995.27 ล้านบาท ซึ่ง สธ. ได้ดำเนินการซื้อยาภายใต้โครงการดังกล่าวครบถ้วนแล้วและยังมีกรอบเงินกู้เหลือจ่ายประมาณ 766.79 ล้านบาท จึงให้ปรับแผนเพื่อจัดซื้อยาไวรัสเพิ่มเติมจากวงเงินกู้เหลือจ่าย ได้แก่ ยา Favipiravir/Molnupiravir จำนวน 30 ล้านเม็ด ยา Remdesivir จำนวน 300,000 vial โดยมุ่งเน้นการซื้อยา Molnupiravir เป็นหลัก และให้ขยายระยะเวลาโครงการสิ้นสุด มีนาคม 2566

2. โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) สำหรับบริการประชากรไทย จานวน 60 ล้านโดส (AstraZeneca) ปี 2565 ของกรมควบคุมโรค กรอบวงเงิน 18,639.11 ล้านบาท สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน 2566 และให้กรมควบคุมโรคพิจารณาจัดหาวัคซีนในส่วนที่เหลือกรณีวัคซีนรุ่นใหม่ที่สามารถรองรับการกลายพันธุ์ของเชื้อ รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลในการฉีดเข็มกระตุ้นเพื่อสร้างการรับรู้/ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

3. โครงการพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. เพื่อขยายการรองรับการดูแลผู้ป่วย COVID - 19 ที่มีอาการจนถึงระยะวิกฤติ ระยะเวลาดำเนินการถึงธันวาคม 2565 ให้ขยายระยะเวลาโครงการฯ เป็นสิ้นสุด มิถุนายน 2566

4. โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด - 19 (ChulaCov19 mRNA) ที่ผลิตเองในไทย เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1-3 และการผลิต เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน ของจุฬาลงกรณ์ อว. ให้ปรับแก้ไขชื่อโครงการเป็น โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด - 19 ChulaCov19 mRNA ที่ผลิตเองในไทย เพื่อทำการทดสอบทางคลินิก และการพัฒนาวัคซีนโควิด - 19 รุ่นสอง สำหรับสายพันธุ์ใหม่ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

ที่มา : โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02KRPJfG6jEXCRfP7o4nACCuo54wfE9mXsCUThM7m5B9Wg8uA392pR6ETKjKeMSpoyl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่