ปัญญาประดิษฐ์ ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน

แน่นอนว่าสงครามใดๆย่อมถือเป็นโศกนาฏกรรม ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและเดือดร้อนเป็นวงกว้าง แต่สำหรับนักการทหารและนักวิเคราะห์ด้านมั่นคงแล้ว สงครามรัสเซีย-ยูเครน ถือเป็นห้องเรียนที่ล้ำค่า เป็น real-world lab ที่ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ ซึ่งทุกชาติต่างก็ monitor อย่างละเอียดละออเพื่อจะถอดบทเรียนทางการทหาร

เพราะ 1. โลกไม่ได้มีสงครามตามแบบ​(conventional warfare) ที่รบกันในทุก domain เต็มรูปแบบอย่างนี้มานานแล้ว 2. เป็นการรบใหญ่ของชาติมหาอำนาจ 3. นี่คือสงครามที่รบกันด้วยวิทยาการระดับสูงอย่างที่มนุษยชาติไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน (the most technologically advanced war that humanity has ever seen thus far)

2 domain ที่เป็นที่จับตามองอย่างมาก ก็คือ Cyber Domain และ Space Domain จนเราสามารถพูดได้ว่า ผลงานที่ล้มเหลว(catastrophic) ของรัสเซีย คงไม่ได้มาจากว่ากองทัพรัสเซียไร้ประสิทธิภาพขนาดนั้น แต่คงเป็นเพราะยูเครนถูกยกระดับขีดความสามารถในการทำสงครามอย่างมหาศาลจากโลกตะวันตก ในขณะที่รัสเซียยังปรับตัวไม่ทัน โดยใช้หลักนิยมและแนวความคิดแบบเก่าอยู่

ในส่วนของ Space Domain รัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจนในการทำลายข่ายการสื่อสารของยูเครน ทำให้ยูเครนดำรงข่ายการบังคับบัญชาเอาไว้ได้ ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็น war fighting function ที่สำคัญมาก เหตุผลก็คือ ยูเครนได้รับการสนับสนุนขีดความสามารถด้าน space domain ทั้งจากตัวแสดงที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐของประเทศตะวันตก(both state and non-state actor)

ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ ดาวเทียม Starlink ของ SpaceX แต่บริษัทเอกชนด้านอวกาศอื่นๆเองก็ให้ความช่วยเหลือเช่นกัน ทำให้ยูเครนดำรงเอกภาพของการบังคับบัญชาได้(ซึ่งรัสเซียคาดว่าจะทำลายได้ใน 2 วันแรกของสงคราม) ช่วยในการตรวจจับการเคลื่อนกำลังภาพพื้นของรัสเซีย และทำให้ drone เข้าโจมตีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์และยุทธการที่สำคัญได้อย่างแม่นยำ

ในส่วนของ cyber domain ก็มีหลายองค์ประกอบที่สำคัญ แต่องค์ประกอบที่ถูกพูดถึงอย่างมาก คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์(artificial intelligence)ในการทำสงคราม โดยฝ่ายสหรัฐ

โดยสหรัฐและยูเครนจะทำคู่ขนานกันไป แต่เชื่อว่ายูเครนน่าจะเป็นผู้รับข่าวกรองและขอคำแนะนำ จากฝั่งสหรัฐมากกว่า

ข่าวกรองและคำแนะนำ ที่ผลิตโดยชุมชนข่าวกรองสหรัฐและฝ่ายความมั่นคงสหรัฐ ส่วนนี้จะเป็นเทคโนโลยีของฝั่งสหรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่มี SOP ในการเก็บข้อมูลข่าวกรองจากทั่วโลก เพื่อทำการวิเคราะห์อยู่แล้ว (เช่นที่อื้อฉาวจากกรณี Edward Snowden) โดยข่าวกรองสหรัฐ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพอย่างมากในสงครามครั้งนี้ โดยเฉพาะการ predict ล่วงหน้า 6-7 เดือนว่า อย่างไรรัสเซียก็บุก (ทำให้โลกตะวันตกยอมรับการนำของสหรัฐ / ก่อนบุก 3 เดือน สหรัฐส่ง ผอ. CIA ซึ่งคุ้นเคยกับปูติน ไปเจรจากับปูตินถึงเครมลิน แต่ไม่เป็นผล)

ซึ่งคาดการณ์ว่า instrastructure ด้านข้อมูลของสหรัฐคงมหึหามาก และทำ AI/ML Ops แบบครบวงจร โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยเหลือทั้งในงานด้าน การข่าว(S2) ยุทธการ(S3) และ ส่งกำลัง(S4) เป็นหลัก

ในด้านการข่าว สหรัฐใช้การออกแบบ pipeline ทางการข่าวโดยบูรณาการเป็นหนึ่งเดียว (integrated intelligence) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบ ISR(intelligence, surveillance and reconnaissance) ซึ่งรวมทั้งหมด ทั้งข้อมูลที่ได้จาก ชุดลาดตระเวนพิเศษ​(special recon) โดรนตรวจการณ์(UAVs, UGVs, USVs) อุปกรณ์ตรวจการณ์ภาคพื้น ข้อมูลจาก radar ระบบเซนเซอร์ และดาวเทียม ข้อมูลที่จารกรรมได้ และข้อมูลจากแหล่งข่าวเปิด(OSINT) ซึ่งรวมถึง การใช้โซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ท และโทรศัพท์

โดยในการเก็บข้อมูลเหล่านี้นั้น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เองก็เข้ามาช่วยลดงานอย่างมาก การดักฟังการสื่อสารถูก automate ให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ อัลกอริธึมที่ใช้เทคโนโลยี natural language processing ถูกเทรนโมเดลเพื่อถอดถ้อยคำทางการทหารโดยเฉพาะ โดยสามารถถอดความหมาย แปล วิเคราะห์ และจัดเก็บข้อมูลได้ด้วยตัวเอง

โดยปกติแล้ว ต้องใช้นักภาษาศาสตร์เข้ารหัส(cryptologic linguist)จำนวนมากเพื่อทำงานนี้ ในขณะเดียวกัน การที่กองทัพรัสเซียขาดแคลนอุปกรณ์สื่อสารแบบเข้ารหัส(encrypted communication) ก็ยิ่งทำให้การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มีประสิทธิภาพเข้าไปอีก โดยข้อมูลเหล่านี้นำไปสู่การระบุ ที่ตั้งของกำลังพล(troop positon) การวางกำลัง(deployment position) ขวัญและกำลังใจของกำลังพล(troop morale) โครงสร้างการจัดหน่วย(unit structure) ขีดความสามารถของหน่วย(unit capabilities) รวมถึง โครงสร้างการบังคับบัญชา(command structure)

ข้อมูลที่เข้าสู่ pipeline คาดว่า วันๆนึงมีขนาดมหาศาล ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปเป็น data set เพื่อ train โมเดล รวมถึงทำการวิเคราะห์ (โดยผู้เชี่ยวชาญบอกว่า การ train และ retrain machine learning model เหล่านี้ไปตลอดช่วงของสงครามจะเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่ชี้ขาดสงคราม)
ข้อมูลทางสัญญาณ(signal intel)ถูกนำไประบุที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เช่น บก.(headquater) ระบบต่อสู้อากาศยาน ข้อมูลภาพถ่ายที่ผ่านกระบวนการ image processing นำไปสู่การระบุตัวผู้บังคับบัญชา(High-Value Individual) ระบุที่ตั้งของหน่วยที่สำคัญ เช่น หน่วยยานเกราะ รถถัง รวมถึงขบวนลำเลียง สป. ต่างๆ(logistic movement) ซึ่งทำให้ drone ยูเครน เข้าโจมตีที่หมายเหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ

ส่วนหนึ่งของสิ่งที่ model เหล่านี้เรียนรู้คือ หลักนิยมและยุทธวิธี(doctrine and tactic)ที่กองทัพรัสเซียใช้ ทำให้เกิดผลในทางยุทธการอย่างมากเมื่อผู้บังคับบัญชาวางแผนทางการทหาร การทำ war game โดยมีข้าศึกเป็น model ที่ถูกเทรนไว้แล้วนี้(คล้ายกับ DeepMind และ AlphaGo) จะช่วยทำให้เห็นยุทธวิธีปัจจัยที่รอบด้านมากขึ้น นำไปสู่การตกลงใจที่ดีขึ้น อีกทั้งมันยังช่วย predict แนวโน้มในการปฏิบัติการในอนาคตของฝั่งรัสเซียด้วย

ในส่วนของสายสี่ หรืองานส่งกำลังเอง ตัว AI ก็เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศเพื่อประกอบในการออกแผน รวมถึงการวิเคราะห์เส้นทางส่งกำลังที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (ทั้งในเชิงทรัพยากรและความปลอดภัย)

ในการวางแผนทางทหาร ซึ่งต้องทำซ้ำๆตามวงรอบ(planning cycle) สิ่งที่สำคัญมากคือ human factor ซึ่งต้องเผชิญกับความกดดัน ความเครียด ความอดนอน เป็นระยะเวลายาวนาน โดยต้องประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล และต้องประมวลตรรกะเพื่อตอบสนองหรือฉวยใช้โอกาสจากข้อมูลเหล่านั้น จะเห็นว่า AI เข้ามาช่วยเหลือฝ่ายอำนาจการ(planning staff)เพื่อลด human error ในการทำสงครามได้มหาศาลทีเดียว

โดยฝ่ายสหรัฐซึ่งมีศักยภาพสูงกว่าคงทำในระดับยุทธศาสตร์ รวมถึงที่กินความนอกเหนือไปจากเขตแดนของยูเครน ในขณะที่ฝ่ายยูเครนคงประยุกต์ใช้สิ่งเหล่านี้กับสิ่งที่เกิดภายในเขตแดนของตัวเองมากกว่า

สหรัฐเป็นผู้ที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับการสงครามและการข่าว มาเป็นเวลานานแล้ว จึงมีความเชี่ยวชาญสูง แต่เมื่อสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้น ก็ทำให้นักการทหารของหลายประเทศตื่นตัว และมองเห็นรูปแบบการทำสงครามในอนาคต

Alexander Karp CEO ของบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Palantir ได้กล่าวกับผู้นำของชาติยุโรปว่า หากยุโรปต้องการที่จะแข็งแกร่งพอเพื่อต่อต้านการรุกรานและยึดครองของอำนาจอื่น ยุโรปจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเทคโนโลยี ยุโรปต้องได้รับการสนับสนุนด้านขีดความสามารถด้านความมั่นคงจากบริษัทเอกชน

ในวันที่ 30 มิถุนา NATO ได้อนุมัติเงิน 1 พันล้านเหรียญ เพื่อลงทุนในบริษัท start-up ที่ทำด้าน automation, big data processing และ artificial intelligence ประเทศเยอรมันและอังกฤษเองก็ได้ออกนโยบายแบบเดียวกัน ซึ่งใช้เงินลงทุนใกล้เคียงกันออกมา

คนหนึ่งที่แข็งขันมากในการรณรงค์เรื่องนี้ก็คือ Eric Schmidt อดีต CEO ของ Google ซึ่งปัจจุบันนั่งเป็นประธานกรรมาธิการ NSCAI หรือ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งชาติด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยเขาเรียกร้องให้กองทัพสหรัฐเพิ่มงบประมาณในการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ขึ้นเป็น 8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ไม่อย่างนั้นอาจจะพ่ายแพ้ให้กับจีนได้ เพราะปัจจุบันกองทัพจีนลงทุนในเรื่องนี้อยู่ที่ 1.6. พันล้านเหรียญต่อปี

ผมเป็นคนที่เชื่อว่า ประเด็นเรื่อง security คือ สัญชาตญาณพื้นฐานของลิงเดินสองขาแบบเรา ดังนั้น ไม่ว่าเทคโนโลยีจะถูกพัฒนาไปถึงขั้นไหน สุดท้ายแล้วสิ่งแรกที่มันจะถูกดึงมารับใช้ก็คือ เหตุผลด้านความมั่นคง นั่นทำให้ AI, Autonomous Vehicle หรือ Quantum Computing มีสถานะเป็นเทคโนโลยีด้านความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

เวลาโลกคุกรุ่นด้วยความขัดแย้ง มันก็จะก่อให้เกิด demand ของแรงงานมหาศาลเพื่อไปตอบโจทย์ด้านความมั่นคงเหล่านี้ แต่ปัจจุบันเส้นตัดของความขัดแย้งมันมีหัวใจอยู่ที่เทคโนโลยี นั่นทำให้แรงงานด้าน STEM จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นไปอีก เฉกเช่นเดียวกับที่ นักฟิสิกส์ วิศวกรอากาศยาน นักคณิตศาสตร์ และนักคอมพิวเตอร์ เคยเป็นมนุษย์ทองคำเมื่อสมัยสงครามเย็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่