"มาเลเซีย" ผงาดเป็นประเทศรายได้สูง รายได้ต่อหัวเฉียด 5 แสนบาท
https://www.thansettakij.com/world/541052
มาเลเซีย ขยับขึ้นแท่น "ประเทศรายได้สูง" อย่างไม่เป็นทางการแล้ว หลังรายได้ประชาชาติต่อหัวแตะ 13,268 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉียดๆ 5 แสนบาท
รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยรายงานตัวเลข รายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัว หรือ GDP Per Capita ประจำปี 2565 ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) พบว่า ประชาชนชาวมาเลเซียมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวพุ่งขึ้นมาเป็น 13,268 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 490,916 บาทต่อคน ซึ่งเมื่อพิจารณาตามกฎเกณฑ์ของธนาคารโลกเกี่ยวกับการจัดกลุ่มประเทศตามสถานะรายได้นั้น ส่งผลให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง หรือ High Income Nation อย่างไม่เป็นทางการ
ในปีที่ผ่านมา (2564) มาเลเซียมีรายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัวอยู่ที่ 11,399 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 421,763 บาทต่อหัว ซึ่งจัดเป็นประเทศรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง หรือ Middle to High Income Nation แต่ในปี 2565 ช่วง 8 เดือนแรก พบว่า รายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัวพุ่งขึ้น 16.4% มากเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน สู่ระดับ 13,268 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 490,916 บาทต่อคน
มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเปิดระบบเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยสัดส่วนการค้าต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี สูงถึง 130% นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา หรือเป็นเวลาต่อเนื่องถึง 12 ปี
การเปิดตลาดการค้าและการเปิดการลงทุน เป็นเครื่องจักรสำคัญไม่เพียงในการสร้างงานให้กับประชาชนมาเลเซีย แต่ยังสร้างรายได้เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบัน พบว่า 40% ของการจ้างงานในประเทศมาเลเซียอยู่ในภาคการส่งออก
ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาเลเซีย พบว่า มาเลเซียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)พุ่งทะยานถึง 8.9% ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ (2565) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ในปี 2564 นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปีนี้ ที่เติบโตมากถึง 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564
ทั้งนี้ ประเทศมาเลเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 37 ของโลก และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
สบช่องสุญญากาศกัญชา แห่ปลูกเกลื่อน ทุบราคาร่วง
https://www.prachachat.net/marketing/news-1054899
ตลาดกัญชาฝุ่นตลบ เกษตรกร-ชาวบ้านแห่ปลูกตามกระแสฟีเวอร์ โอดหาตลาดรองรับไม่ได้ ราคาร่วงต่อเนื่อง ใบแห้งร่วงหนักเหลือโลละ 3,000-3,500 บาท ด้านวิสาหกิจชุมชน “เพ ลา เพลิน” ซุ่มตั้งบริษัท ทุนจดทะเบียน 46 ล้านปลูกกัญชง เปิดสถิติตัวเลขตั้งบริษัทกัญชาพุ่ง กางแผนที่สำรวจ 5 จังหวัดท็อปไฟฟ์แห่ปลูก
การต้องกลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ของร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชา พ.ศ. …. หลังจากการประชุมสภาเมื่อกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา มีมติให้ถอนออกจากระเบียบวาระการประชุม ซึ่งส่งผลให้การมีกฎหมายควบคุมเรื่องกัญชา กัญชง โดยเฉพาะ ต้องล่าช้าออกไปอีกระยะหนึ่ง
แต่ในทางปฏิบัติสำหรับธุรกิจที่ได้มีการยื่นขอใบอนุญาตทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา กัญชง ภายใต้กรอบกฎหมายของ อย. ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็สร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนหนึ่งเช่นกัน
ธุรกิจกัญชาเดินหน้าลุยต่อ
ดร.
สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โรงงานผู้ผลิตยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง แสดงความเห็นถึงกรณีที่ ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ออกจากสภาว่า ไม่ส่งผลกับบริษัท รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งธุรกิจสกัด-ผลิต สินค้าจากกัญชา กัญชง ที่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง
เนื่องจากกิจการเหล่านี้อยู่ภายใต้กฎหมายนั้น ๆ เช่น อาหาร, เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ฯลฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าร่าง พ.ร.บ.นี้จะผ่านสภาหรือไม่ อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พิจารณาจดแจ้งผลิตภัณฑ์กัญชา-กัญชง จะยังใช้กติกาเดิม
สำหรับบริษัทเองมีแผนจะเริ่มทยอยผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกัญชา ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 เป็นต้นไป หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ได้มีการผลิตสารสกัด และไตรมาสที่ 3 จะมีการวิจัยพัฒนาสูตร
อย่างไรก็ตาม ข่าวร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ที่ถูกสภาตีตกไป ก็ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเกิดความสับสน และเกิดความเข้าใจผิดและกังวลว่าอาจจะทำให้กัญชากลับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง จากเดิมที่มีการติดต่อให้บริษัทพัฒนาสูตร-ผลิตสินค้าจากกัญชาก็ชะลอแผนออกไปบ้างเล็กน้อย
ขณะที่ นาย
พิทวัส เตชะณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้ากัญชาออนไลน์ บลูม (Bloom) กล่าวในเรื่องนี้ว่า การที่ พ.ร.บ.กัญชา กัญชง กลับไปเริ่มนับ 1 ใหม่ เพื่อจะนำกลับสู่วาวะการประชุมของสภา อีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายปีนี้ ไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทในแง่ของการดำเนินธุรกิจ โดยขณะนี้ ผู้ผลิตสินค้ากัญชาที่เป็นพันธมิตรยังทยอยส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายบนแพลตฟอร์มของบลูมอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ประกอบการที่เน้นการใช้กัญชาทางการแพทย์ หรือวิสาหกิจชุมชนที่มีใบอนุญาต หรือร่วมกับหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนดก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติเช่นกัน
“โดยส่วนตัวเชื่อว่ากัญชาจะไม่กลับไปมีสถานะเป็นยาเสพติดเหมือนที่ผ่านมา และไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการเปิดเสรีในเรื่องนี้ มั่นใจว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับกัญชาจะมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ขณะนี้มีแผนจะชักชวนนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน ซึ่งมีกลุ่มทุนหลายรายแสดงความสนใจเข้ามาทำธุรกิจกัญชาในประเทศไทย”
“เพ ลา เพลิน” เบนเข็มปลูกกัญชง
นางสาว
ธนัชชา ชลายนนาวิน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท จำกัด ผู้สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจ เพ ลา เพลิน โมเดล ที่นำร่องการปลูกกัญชา-กัญชง จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกกัญชง-กัญชาในพื้นที่หลายราย
ทั้งรายย่อย ปลูกในครัวเรือน และรายใหม่ที่เพิ่งลงทุนปลูกจำนวนมากได้รับผลกระทบจากกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. …. ถูกตีกลับ จากเคยคาดหวังว่าจะสร้างมูลค่าได้ เพราะถูกกฎหมายและเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ น่าจะมีตลาดรองรับ แต่กลับกลายเป็นว่าปลูกแล้วเริ่มไร้ทิศทางที่ชัดเจน
“หลายคนลงทุนปลูกจนหมดหน้าตัก แต่ไม่มีตลาดมารองรับ เพราะคิดเพียงแค่ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกโดยไม่มีความรู้ว่าตลาดอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้ซื้อ คุณภาพต้องเป็นอย่างไร ต้องมีมาตรฐานแบบไหน พอร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ต้องไปเริ่มใหม่ก็กระทบหมดเลย โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกกัญชา”
นางสาว
ธนัชชากล่าวด้วยว่า สำหรับ เพ ลา เพลิน เองไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ถูกถอนแต่อย่างใด เพราะเป็นการปลูกตามออร์เดอร์ และเน้นการปลูกเพื่อใช้งานด้านการแพทย์ (Medical Grade) และสามารถผลิตช่อดอกได้ประมาณ 300 กก./รอบ
โดย 1 รอบปลูกใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน ราคาเฉลี่ย 45,000 บาท/กก. ขึ้นอยู่กับคุณภาพผลผลิต และส่งขายให้โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรม ที่ต้องการสารสกัดไปใช้ในการผลิตยา ทั้งหมดล้วนเป็นผู้รับซื้ออย่างถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดปัจจุบัน เพ ลา เพลิน ที่เดิมเน้นปลูกกัญชา ได้เริ่มปรับเปลี่ยนมาเน้นการปลูกกัญชงเกือบทั้งหมด 100% เพราะกัญชามีสาร THC หรือสารมึนเมาอยู่ค่อนข้างสูง ส่วนกัญชงมีสาร THC ต่ำ แต่มีสาร CBD สูง ซึ่งใช้ในทางการแพทย์ และเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมมากกว่า และสามารถนำไปแปรรูปค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ยา อาหารเสริม ไฟเบอร์ เป็นต้น
แหล่งข่าวจากวงการอาหาร-เครื่องดื่มเปิดเผยว่า หลังจากทางการปลดล็อกกัญชาจากยาเสพติดตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งเปิดให้ประชาชนสามารถปลูกในครัวเรือนได้ ใช้ได้
ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่มีการเพาะกล้ากัญชา-เมล็ดกัญชา ออกมาขายจำนวนมาก ทำให้ขณะนี้ราคากัญชาในตลาดเริ่มตกลง จากเดิมที่หาซื้อยากและมีราคาสูง เช่น ใบแห้ง ที่เคยขายกันสูงถึงกิโลกรัมละ 15,000-16,000 บาท ตอนนี้ราคาร่วงมาเหลือเพียงประมาณ 3,000 บาท
จากช่วงประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ราคาจะอยู่ที่ 4,000-5,000 บาท สาเหตุหลักเป็นเพราะตอนนี้ทุกคนสามารถปลูกได้โดยไม่ผิดกฎหมาย สามารถหาซื้อต้นกล้า หาซื้อเมล็ด มาเพาะปลูกเองได้ คนที่มีสวน มีไร่ หรือมีที่ดินมาก ก็อาจจะปลูกมาก
แห่ตั้งบริษัททำธุรกิจกัญชา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีการปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ โดยมีผลตั้งแต่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดจากการตรวจสอบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจกัญชา จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา กัญชง มากกว่า 70 บริษัท
จากก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม มีบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อทำธุรกิจกัญชามีประมาณ 50 บริษัท เช่นเดียวกับเดือนมิถุนายน ที่เริ่มเป็นแนวโน้มการจดทะเบียนของบริษัทกัญชาที่เริ่มฟื้นกลับขึ้นมา โดยมีจดทะเบียนประมาณ 20 บริษัท
บริษัทที่จดทะเบียนดังกล่าวส่วนใหญ่จะระบุว่า เพื่อประกอบกิจการเกี่ยวกับกัญชา กัญชง เช่น การปลูก การนำเข้า การสกัด รวมถึงซื้อ และขายอุปกรณ์, บริการรับเป็นที่ปรึกษา รับวางระบบฟาร์ม และบริหารจัดการฟาร์มกัญชา มาตรฐานทางการแพทย์, ประกอบกิจการคลินิกเวชกรรม คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกกัญชา,
ประกอบกิจการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชา กัญชง, ประกอบกิจการจำหน่ายกล้าพันธุ์กัญชา และรับซื้อ-ขาย ผลผลิตจากกัญชา, จำหน่ายอาหาร เบเกอรี่ กาแฟ และเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีส่วนผสมของกัญชา และกัญชง ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด, จำหน่ายกัญชา น้ำกัญชา รวมทั้งผลิตภัณฑ์สินค้าบริโภคอื่นที่มีส่วนผสมของกัญชาทุกชนิด เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทที่จดทะเบียนตั้งบริษัทดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมการเพื่อจะดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยบริษัทเหล่านี้ระบุว่า จะประกอบกิจการได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าในเดือนมิถุนายนนี้ มีวิสาหกิจชุมชนขนาดใหญ่ คือ วิสาหกิจชุมชน เพ ลา เพลิน ได้จดทะเบียนตั้งบริษัทเป็น บริษัท วิสาหกิจชุมชน เพ ลา เพลิน จำกัด แสดงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อประกอบกิจการจำหน่าย นำเข้า ส่งออก เมล็ดพันธุ์กัญชง กัญชา กระท่อม ดินปลูก อาหารพืช ปุ๋ย ฯลฯ มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 46 ล้านบาท
ล่าสุดจากการตรวจสอบสถิติการใช้งานแอป “ปลูกกัญ” ของ อย. ณ วันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนการลงทะเบียน 1,088,323 คน ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 1,054,044 ใบ ออกใบรับจดแจ้งกัญชง 34,279 ใบ
เปิดชื่อจังหวัดท็อปเทนปลูกกัญชา
รายงานข่าวจากกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลจำนวนใบอนุญาต ณ วันที่ 19 ก.ย. (ข้อมูลก่อนวันที่ 9 มิ.ย. 2565) พบว่า ทั้งหมด 2,943 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 3,408 แห่ง แบ่งเป็น
1.ใบอนุญาตครอบครอง จำนวนทั้งหมด 122 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 122 แห่ง
2. ใบอนุญาตนำเข้าทั้งหมด 12 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 12 แห่ง
3. ใบอนุญาตผลิต (ปลูก) ทั้งหมด 881 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 1,345 แห่ง
4. ใบอนุญาตจำหน่ายทั้งหมด 1,875 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 1,876 แห่ง
5. ใบอนุญาตส่งออกทั้งหมด 1 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 1 แห่ง
6. ใบอนุญาตผลิต (ปรุง) ทั้งหมด 7 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 7 แห่ง
และ 7. ใบอนุญาตผลิต (แปรรูป/สกัด) ทั้งหมด 41 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 41 แห่ง
JJNY : "มาเลเซีย"ผงาดเป็นปท.รายได้สูง│กัญชาแห่ปลูกเกลื่อนทุบราคาร่วง│“ประเสริฐ”ชี้กกต.ควรเร่งออกเกณฑ์│กกต.เตรียมแผนลต.
https://www.thansettakij.com/world/541052
มาเลเซีย ขยับขึ้นแท่น "ประเทศรายได้สูง" อย่างไม่เป็นทางการแล้ว หลังรายได้ประชาชาติต่อหัวแตะ 13,268 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉียดๆ 5 แสนบาท
รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยรายงานตัวเลข รายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัว หรือ GDP Per Capita ประจำปี 2565 ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) พบว่า ประชาชนชาวมาเลเซียมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวพุ่งขึ้นมาเป็น 13,268 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 490,916 บาทต่อคน ซึ่งเมื่อพิจารณาตามกฎเกณฑ์ของธนาคารโลกเกี่ยวกับการจัดกลุ่มประเทศตามสถานะรายได้นั้น ส่งผลให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง หรือ High Income Nation อย่างไม่เป็นทางการ
ในปีที่ผ่านมา (2564) มาเลเซียมีรายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัวอยู่ที่ 11,399 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 421,763 บาทต่อหัว ซึ่งจัดเป็นประเทศรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง หรือ Middle to High Income Nation แต่ในปี 2565 ช่วง 8 เดือนแรก พบว่า รายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัวพุ่งขึ้น 16.4% มากเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน สู่ระดับ 13,268 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 490,916 บาทต่อคน
มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเปิดระบบเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยสัดส่วนการค้าต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี สูงถึง 130% นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา หรือเป็นเวลาต่อเนื่องถึง 12 ปี
การเปิดตลาดการค้าและการเปิดการลงทุน เป็นเครื่องจักรสำคัญไม่เพียงในการสร้างงานให้กับประชาชนมาเลเซีย แต่ยังสร้างรายได้เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบัน พบว่า 40% ของการจ้างงานในประเทศมาเลเซียอยู่ในภาคการส่งออก
ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาเลเซีย พบว่า มาเลเซียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)พุ่งทะยานถึง 8.9% ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ (2565) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ในปี 2564 นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปีนี้ ที่เติบโตมากถึง 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564
ทั้งนี้ ประเทศมาเลเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 37 ของโลก และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
สบช่องสุญญากาศกัญชา แห่ปลูกเกลื่อน ทุบราคาร่วง
https://www.prachachat.net/marketing/news-1054899
ตลาดกัญชาฝุ่นตลบ เกษตรกร-ชาวบ้านแห่ปลูกตามกระแสฟีเวอร์ โอดหาตลาดรองรับไม่ได้ ราคาร่วงต่อเนื่อง ใบแห้งร่วงหนักเหลือโลละ 3,000-3,500 บาท ด้านวิสาหกิจชุมชน “เพ ลา เพลิน” ซุ่มตั้งบริษัท ทุนจดทะเบียน 46 ล้านปลูกกัญชง เปิดสถิติตัวเลขตั้งบริษัทกัญชาพุ่ง กางแผนที่สำรวจ 5 จังหวัดท็อปไฟฟ์แห่ปลูก
การต้องกลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ของร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชา พ.ศ. …. หลังจากการประชุมสภาเมื่อกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา มีมติให้ถอนออกจากระเบียบวาระการประชุม ซึ่งส่งผลให้การมีกฎหมายควบคุมเรื่องกัญชา กัญชง โดยเฉพาะ ต้องล่าช้าออกไปอีกระยะหนึ่ง
แต่ในทางปฏิบัติสำหรับธุรกิจที่ได้มีการยื่นขอใบอนุญาตทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา กัญชง ภายใต้กรอบกฎหมายของ อย. ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็สร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนหนึ่งเช่นกัน
ธุรกิจกัญชาเดินหน้าลุยต่อ
ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โรงงานผู้ผลิตยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง แสดงความเห็นถึงกรณีที่ ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ออกจากสภาว่า ไม่ส่งผลกับบริษัท รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งธุรกิจสกัด-ผลิต สินค้าจากกัญชา กัญชง ที่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง
เนื่องจากกิจการเหล่านี้อยู่ภายใต้กฎหมายนั้น ๆ เช่น อาหาร, เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ฯลฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าร่าง พ.ร.บ.นี้จะผ่านสภาหรือไม่ อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พิจารณาจดแจ้งผลิตภัณฑ์กัญชา-กัญชง จะยังใช้กติกาเดิม
สำหรับบริษัทเองมีแผนจะเริ่มทยอยผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกัญชา ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 เป็นต้นไป หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ได้มีการผลิตสารสกัด และไตรมาสที่ 3 จะมีการวิจัยพัฒนาสูตร
อย่างไรก็ตาม ข่าวร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ที่ถูกสภาตีตกไป ก็ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเกิดความสับสน และเกิดความเข้าใจผิดและกังวลว่าอาจจะทำให้กัญชากลับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง จากเดิมที่มีการติดต่อให้บริษัทพัฒนาสูตร-ผลิตสินค้าจากกัญชาก็ชะลอแผนออกไปบ้างเล็กน้อย
ขณะที่ นายพิทวัส เตชะณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้ากัญชาออนไลน์ บลูม (Bloom) กล่าวในเรื่องนี้ว่า การที่ พ.ร.บ.กัญชา กัญชง กลับไปเริ่มนับ 1 ใหม่ เพื่อจะนำกลับสู่วาวะการประชุมของสภา อีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายปีนี้ ไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทในแง่ของการดำเนินธุรกิจ โดยขณะนี้ ผู้ผลิตสินค้ากัญชาที่เป็นพันธมิตรยังทยอยส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายบนแพลตฟอร์มของบลูมอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ประกอบการที่เน้นการใช้กัญชาทางการแพทย์ หรือวิสาหกิจชุมชนที่มีใบอนุญาต หรือร่วมกับหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนดก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติเช่นกัน
“โดยส่วนตัวเชื่อว่ากัญชาจะไม่กลับไปมีสถานะเป็นยาเสพติดเหมือนที่ผ่านมา และไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการเปิดเสรีในเรื่องนี้ มั่นใจว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับกัญชาจะมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ขณะนี้มีแผนจะชักชวนนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน ซึ่งมีกลุ่มทุนหลายรายแสดงความสนใจเข้ามาทำธุรกิจกัญชาในประเทศไทย”
“เพ ลา เพลิน” เบนเข็มปลูกกัญชง
นางสาวธนัชชา ชลายนนาวิน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท จำกัด ผู้สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจ เพ ลา เพลิน โมเดล ที่นำร่องการปลูกกัญชา-กัญชง จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกกัญชง-กัญชาในพื้นที่หลายราย
ทั้งรายย่อย ปลูกในครัวเรือน และรายใหม่ที่เพิ่งลงทุนปลูกจำนวนมากได้รับผลกระทบจากกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. …. ถูกตีกลับ จากเคยคาดหวังว่าจะสร้างมูลค่าได้ เพราะถูกกฎหมายและเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ น่าจะมีตลาดรองรับ แต่กลับกลายเป็นว่าปลูกแล้วเริ่มไร้ทิศทางที่ชัดเจน
“หลายคนลงทุนปลูกจนหมดหน้าตัก แต่ไม่มีตลาดมารองรับ เพราะคิดเพียงแค่ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกโดยไม่มีความรู้ว่าตลาดอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้ซื้อ คุณภาพต้องเป็นอย่างไร ต้องมีมาตรฐานแบบไหน พอร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ต้องไปเริ่มใหม่ก็กระทบหมดเลย โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกกัญชา”
นางสาวธนัชชากล่าวด้วยว่า สำหรับ เพ ลา เพลิน เองไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ถูกถอนแต่อย่างใด เพราะเป็นการปลูกตามออร์เดอร์ และเน้นการปลูกเพื่อใช้งานด้านการแพทย์ (Medical Grade) และสามารถผลิตช่อดอกได้ประมาณ 300 กก./รอบ
โดย 1 รอบปลูกใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน ราคาเฉลี่ย 45,000 บาท/กก. ขึ้นอยู่กับคุณภาพผลผลิต และส่งขายให้โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรม ที่ต้องการสารสกัดไปใช้ในการผลิตยา ทั้งหมดล้วนเป็นผู้รับซื้ออย่างถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดปัจจุบัน เพ ลา เพลิน ที่เดิมเน้นปลูกกัญชา ได้เริ่มปรับเปลี่ยนมาเน้นการปลูกกัญชงเกือบทั้งหมด 100% เพราะกัญชามีสาร THC หรือสารมึนเมาอยู่ค่อนข้างสูง ส่วนกัญชงมีสาร THC ต่ำ แต่มีสาร CBD สูง ซึ่งใช้ในทางการแพทย์ และเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมมากกว่า และสามารถนำไปแปรรูปค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ยา อาหารเสริม ไฟเบอร์ เป็นต้น
แหล่งข่าวจากวงการอาหาร-เครื่องดื่มเปิดเผยว่า หลังจากทางการปลดล็อกกัญชาจากยาเสพติดตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งเปิดให้ประชาชนสามารถปลูกในครัวเรือนได้ ใช้ได้
ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่มีการเพาะกล้ากัญชา-เมล็ดกัญชา ออกมาขายจำนวนมาก ทำให้ขณะนี้ราคากัญชาในตลาดเริ่มตกลง จากเดิมที่หาซื้อยากและมีราคาสูง เช่น ใบแห้ง ที่เคยขายกันสูงถึงกิโลกรัมละ 15,000-16,000 บาท ตอนนี้ราคาร่วงมาเหลือเพียงประมาณ 3,000 บาท
จากช่วงประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ราคาจะอยู่ที่ 4,000-5,000 บาท สาเหตุหลักเป็นเพราะตอนนี้ทุกคนสามารถปลูกได้โดยไม่ผิดกฎหมาย สามารถหาซื้อต้นกล้า หาซื้อเมล็ด มาเพาะปลูกเองได้ คนที่มีสวน มีไร่ หรือมีที่ดินมาก ก็อาจจะปลูกมาก
แห่ตั้งบริษัททำธุรกิจกัญชา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีการปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ โดยมีผลตั้งแต่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดจากการตรวจสอบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจกัญชา จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา กัญชง มากกว่า 70 บริษัท
จากก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม มีบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อทำธุรกิจกัญชามีประมาณ 50 บริษัท เช่นเดียวกับเดือนมิถุนายน ที่เริ่มเป็นแนวโน้มการจดทะเบียนของบริษัทกัญชาที่เริ่มฟื้นกลับขึ้นมา โดยมีจดทะเบียนประมาณ 20 บริษัท
บริษัทที่จดทะเบียนดังกล่าวส่วนใหญ่จะระบุว่า เพื่อประกอบกิจการเกี่ยวกับกัญชา กัญชง เช่น การปลูก การนำเข้า การสกัด รวมถึงซื้อ และขายอุปกรณ์, บริการรับเป็นที่ปรึกษา รับวางระบบฟาร์ม และบริหารจัดการฟาร์มกัญชา มาตรฐานทางการแพทย์, ประกอบกิจการคลินิกเวชกรรม คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกกัญชา,
ประกอบกิจการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชา กัญชง, ประกอบกิจการจำหน่ายกล้าพันธุ์กัญชา และรับซื้อ-ขาย ผลผลิตจากกัญชา, จำหน่ายอาหาร เบเกอรี่ กาแฟ และเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีส่วนผสมของกัญชา และกัญชง ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด, จำหน่ายกัญชา น้ำกัญชา รวมทั้งผลิตภัณฑ์สินค้าบริโภคอื่นที่มีส่วนผสมของกัญชาทุกชนิด เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทที่จดทะเบียนตั้งบริษัทดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมการเพื่อจะดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยบริษัทเหล่านี้ระบุว่า จะประกอบกิจการได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าในเดือนมิถุนายนนี้ มีวิสาหกิจชุมชนขนาดใหญ่ คือ วิสาหกิจชุมชน เพ ลา เพลิน ได้จดทะเบียนตั้งบริษัทเป็น บริษัท วิสาหกิจชุมชน เพ ลา เพลิน จำกัด แสดงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อประกอบกิจการจำหน่าย นำเข้า ส่งออก เมล็ดพันธุ์กัญชง กัญชา กระท่อม ดินปลูก อาหารพืช ปุ๋ย ฯลฯ มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 46 ล้านบาท
ล่าสุดจากการตรวจสอบสถิติการใช้งานแอป “ปลูกกัญ” ของ อย. ณ วันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนการลงทะเบียน 1,088,323 คน ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 1,054,044 ใบ ออกใบรับจดแจ้งกัญชง 34,279 ใบ
เปิดชื่อจังหวัดท็อปเทนปลูกกัญชา
รายงานข่าวจากกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลจำนวนใบอนุญาต ณ วันที่ 19 ก.ย. (ข้อมูลก่อนวันที่ 9 มิ.ย. 2565) พบว่า ทั้งหมด 2,943 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 3,408 แห่ง แบ่งเป็น
1.ใบอนุญาตครอบครอง จำนวนทั้งหมด 122 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 122 แห่ง
2. ใบอนุญาตนำเข้าทั้งหมด 12 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 12 แห่ง
3. ใบอนุญาตผลิต (ปลูก) ทั้งหมด 881 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 1,345 แห่ง
4. ใบอนุญาตจำหน่ายทั้งหมด 1,875 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 1,876 แห่ง
5. ใบอนุญาตส่งออกทั้งหมด 1 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 1 แห่ง
6. ใบอนุญาตผลิต (ปรุง) ทั้งหมด 7 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 7 แห่ง
และ 7. ใบอนุญาตผลิต (แปรรูป/สกัด) ทั้งหมด 41 รายการ จำนวนสถานที่ทั้งหมด 41 แห่ง