ป.ป.ส. ยัน "กัญชา" ปลูกโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดกฎหมาย
https://www.thailandplus.tv/archives/457782
1. กัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประะเภท 5 ตามมาตรา 29 (5) แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ประกอบมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และประกอบกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง "ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563" โดยกำหนดให้ช่อดอก และเมล็ดกัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ส่วนเปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ สารสกัด กากหรือเศษของต้นกัญชาเฉพาะที่ได้รับอนุญาตในการปลูกในประเทศ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5
2. การจะขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ครองครองกัญชา จะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง (4) หรือ วรรคสอง ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ขออนุญาตตามมาตรา 93 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท ตามมาตรา 148 วรรคหนึ่ง
3. ผู้ป่วยสามารถครอบครองยาที่มีส่วนประกอบของกัญชาได้ในปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้รักษาโรค โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสืบรับรองของแพทย์ ตามมาตรา 33 (5)
4. การจะขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ครองครองกัญชา ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง "การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา พ.ศ. 2564" ประกอบมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564
6. ในกฎกระทรวงฯ ข้อ 3 ผู้ที่สามารถสามารถขออนุญาตปลูกกัญชา เพื่อใช้ทางการแพทย์ จะต้องเป็น
(1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์
(2) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์
(3) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม
(4) สภากาชาดไทย
(5) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) (2) (3) หรือ (4) หรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
(6) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) (2) (3) หรือ (4) หรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร
(7) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) (2) (3) หรือ (4) หรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
(8) ผู้ขออนุญาตอื่น ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันหรือผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือผู้รับอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร
(ข้อมูลจาก ป.ป.ส.)
ณ วันที่ 11 มกราคม 2565 กัญชายังเป็นยาเสพติดหรือไม่ครับ?!!?
https://www.thailandplus.tv/archives/457782
1. กัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประะเภท 5 ตามมาตรา 29 (5) แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ประกอบมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และประกอบกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง "ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563" โดยกำหนดให้ช่อดอก และเมล็ดกัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ส่วนเปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ สารสกัด กากหรือเศษของต้นกัญชาเฉพาะที่ได้รับอนุญาตในการปลูกในประเทศ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5
2. การจะขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ครองครองกัญชา จะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง (4) หรือ วรรคสอง ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ขออนุญาตตามมาตรา 93 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท ตามมาตรา 148 วรรคหนึ่ง
3. ผู้ป่วยสามารถครอบครองยาที่มีส่วนประกอบของกัญชาได้ในปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้รักษาโรค โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสืบรับรองของแพทย์ ตามมาตรา 33 (5)
4. การจะขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ครองครองกัญชา ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง "การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา พ.ศ. 2564" ประกอบมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564
6. ในกฎกระทรวงฯ ข้อ 3 ผู้ที่สามารถสามารถขออนุญาตปลูกกัญชา เพื่อใช้ทางการแพทย์ จะต้องเป็น
(1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์
(2) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์
(3) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม
(4) สภากาชาดไทย
(5) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) (2) (3) หรือ (4) หรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
(6) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) (2) (3) หรือ (4) หรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร
(7) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตาม (1) (2) (3) หรือ (4) หรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
(8) ผู้ขออนุญาตอื่น ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันหรือผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือผู้รับอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร
(ข้อมูลจาก ป.ป.ส.)