อ้วน !! ล้างหม้อข้าวให้เขาหน่อย มันเหมือนจะมีกลิ่นบูดเขาล้างยังไงก็ไม่หาย
เสียง ผบ.ทบ. ตะโกน บอกผมมาจากห้องครัว ในขณะที่ผมนั่งจ้องคอมพ์ปั่นรายงานอยู่
เพื่อความสงบสุขของที่บ้าน เรื่องนี้จึงเป็นภารกิจที่ผมต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามบานปลาย
เนื่องจากที่บ้านผมเป็นครอบครัวเล็ก ๆ หม้อหุงข้าวที่บ้านจึงเป็นหม้ออะลูมิเนียมขนาดไม่ใหญ่นัก
และไม่ได้เคลือบเทฟลอนที่ตัวหม้อ ประกอบกับที่บ้านกินข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ
เพราะหวังว่าในซักวันหนึ่ง ผบ.ทบ. จะเปลี่ยนนามเรียกขานเป็น “ผอม” ในซักวันหนึ่ง ?
ดังนั้นหม้อหุงข้าวที่คุณเห็นอยู่ตรงหน้า จึงมีคราบสีแดงออกน้ำตาลช้ำ ๆ สีเดียวกับข้าวกล้องเกาะติดอยู่ที่หม้อหุงข้าว
เป็นคราบที่ติดแน่น ล้างไม่ออกด้วยน้ำยาล้างจานปกติ เนื่องจากเศษอาหารมันฝังติดแน่นและแอบซ่อนอยู่ในออกไซด์ของหม้ออะลูมิเนียม
และนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หม้อหุงข้าวมีกลิ่นบูด !!
ในแง่มุมโลหะวิทยาอะลูมิเนียมเป็นโลหะที่ทนการกัดกร่อนได้ในระดับหนึ่ง
เนื่องจากหากผิวของอะลูมิเนียมสัมผัสกับออกซิเจนจะทำให้เกิดฟิล์มอะลูมิเนียมออกไซด์ (Al
2O
3) ที่มีเสถียรภาพ
ซึ่งเราจะเรียกฟิล์มนี้ว่าฟิล์มเฉื่อยหรือ Passive Film คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นกับ ไททาเนียม หรือ สเตนเลส
เราจึงเห็นการใช้อะลูมิเนียมเป็นหม้อหุงข้าว หรือ ภาชนะใส่อาหาร เป็นเรื่องปกติ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างฟิล์มพาสซีฟของอะลูมิเนียมกับ ไททาเนียมหรือสเตนเลส คือ
ฟิล์มพาสซีฟของอะลูมิเนียมจะมีรูพรุนเล็ก ๆ เกิดขึ้นได้ในระหว่างการใช้งาน
ซึ่งรูพรุนเล็ก ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดการสะสมของเศษอาหารเกิดขึ้น
และนำไปสู่การบูดเน่าของหม้อหม้อ จากเชื้อรา หรือ แบคทีเรียที่มาย่อยเศษอาหารที่อยู่ภายใน
การล้างหม้อหุงข้าวด้วยวิธีปกติจึงไม่สามารถล้างเศษอาหารที่อยู่ในรูพรุนเล็ก ๆ ของอะลูมิเนียมออกไซด์ได้
เนื่องจากรูพรุนของอะลูมิเนียมออกไซด์มีขนาดเล็กมาก
ดังนั้นวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับผมในการกำจัดเศษอาหารเหล่านี้ จึงไม่ใช่การนำเศษอาหารออกจากฟิล์มออกไซด์
แต่เป็นการล้างฟิล์มออกไซด์พวกนี้ออกไปพร้อม ๆ กับเศษอาหารที่อยู่ภายใน
โดยการใช้มะนาว หรือ น้ำสมสายชู วัตถุดิบที่มีอยู่ติดบ้านนำมาแช่หม้อหุงข้าวทิ้งไว้ซัก 3-5 นาที
จากนั้นจึงขัดหม้อออกด้วยสก๊อตไบร์ทหรือฝอยขัดหม้อ แค่นี้คราบสีแดงช้ำ ๆ ก็จะหายไป
และก่อนใช้งานก็เอาหม้อไปตากแดด หรือ ต้มด้วยน้ำเปล่าอีกซักครั้งเพื่อรอให้หม้อใบเก่าสร้างฟิล์มออกไซด์ขึ้นมาใหม่
แค่นี้คุณก็ได้หม้อใบเก่าที่ไม่มีกลิ่นเหม็นบูดอีกต่อไป
#เหล็กไม่เอาถ่าน
บรรลัยวิทยา: หม้อบูด
เสียง ผบ.ทบ. ตะโกน บอกผมมาจากห้องครัว ในขณะที่ผมนั่งจ้องคอมพ์ปั่นรายงานอยู่
เพื่อความสงบสุขของที่บ้าน เรื่องนี้จึงเป็นภารกิจที่ผมต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามบานปลาย
เนื่องจากที่บ้านผมเป็นครอบครัวเล็ก ๆ หม้อหุงข้าวที่บ้านจึงเป็นหม้ออะลูมิเนียมขนาดไม่ใหญ่นัก
และไม่ได้เคลือบเทฟลอนที่ตัวหม้อ ประกอบกับที่บ้านกินข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ
เพราะหวังว่าในซักวันหนึ่ง ผบ.ทบ. จะเปลี่ยนนามเรียกขานเป็น “ผอม” ในซักวันหนึ่ง ?
ดังนั้นหม้อหุงข้าวที่คุณเห็นอยู่ตรงหน้า จึงมีคราบสีแดงออกน้ำตาลช้ำ ๆ สีเดียวกับข้าวกล้องเกาะติดอยู่ที่หม้อหุงข้าว
เป็นคราบที่ติดแน่น ล้างไม่ออกด้วยน้ำยาล้างจานปกติ เนื่องจากเศษอาหารมันฝังติดแน่นและแอบซ่อนอยู่ในออกไซด์ของหม้ออะลูมิเนียม
และนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หม้อหุงข้าวมีกลิ่นบูด !!
ในแง่มุมโลหะวิทยาอะลูมิเนียมเป็นโลหะที่ทนการกัดกร่อนได้ในระดับหนึ่ง
เนื่องจากหากผิวของอะลูมิเนียมสัมผัสกับออกซิเจนจะทำให้เกิดฟิล์มอะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) ที่มีเสถียรภาพ
ซึ่งเราจะเรียกฟิล์มนี้ว่าฟิล์มเฉื่อยหรือ Passive Film คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นกับ ไททาเนียม หรือ สเตนเลส
เราจึงเห็นการใช้อะลูมิเนียมเป็นหม้อหุงข้าว หรือ ภาชนะใส่อาหาร เป็นเรื่องปกติ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างฟิล์มพาสซีฟของอะลูมิเนียมกับ ไททาเนียมหรือสเตนเลส คือ
ฟิล์มพาสซีฟของอะลูมิเนียมจะมีรูพรุนเล็ก ๆ เกิดขึ้นได้ในระหว่างการใช้งาน
ซึ่งรูพรุนเล็ก ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดการสะสมของเศษอาหารเกิดขึ้น
และนำไปสู่การบูดเน่าของหม้อหม้อ จากเชื้อรา หรือ แบคทีเรียที่มาย่อยเศษอาหารที่อยู่ภายใน
การล้างหม้อหุงข้าวด้วยวิธีปกติจึงไม่สามารถล้างเศษอาหารที่อยู่ในรูพรุนเล็ก ๆ ของอะลูมิเนียมออกไซด์ได้
เนื่องจากรูพรุนของอะลูมิเนียมออกไซด์มีขนาดเล็กมาก
ดังนั้นวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับผมในการกำจัดเศษอาหารเหล่านี้ จึงไม่ใช่การนำเศษอาหารออกจากฟิล์มออกไซด์
แต่เป็นการล้างฟิล์มออกไซด์พวกนี้ออกไปพร้อม ๆ กับเศษอาหารที่อยู่ภายใน
โดยการใช้มะนาว หรือ น้ำสมสายชู วัตถุดิบที่มีอยู่ติดบ้านนำมาแช่หม้อหุงข้าวทิ้งไว้ซัก 3-5 นาที
จากนั้นจึงขัดหม้อออกด้วยสก๊อตไบร์ทหรือฝอยขัดหม้อ แค่นี้คราบสีแดงช้ำ ๆ ก็จะหายไป
และก่อนใช้งานก็เอาหม้อไปตากแดด หรือ ต้มด้วยน้ำเปล่าอีกซักครั้งเพื่อรอให้หม้อใบเก่าสร้างฟิล์มออกไซด์ขึ้นมาใหม่
แค่นี้คุณก็ได้หม้อใบเก่าที่ไม่มีกลิ่นเหม็นบูดอีกต่อไป
#เหล็กไม่เอาถ่าน