โควิดวันนี้ เสียชีวิต 12 ราย ป่วยใหม่ 837 ราย ปอดอักเสบ 664 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3565386
โควิดวันนี้ เสียชีวิต 12 ราย ป่วยใหม่ 837 ราย ปอดอักเสบ 664 ราย
เมื่อวันที่ 16 กันยายน สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 837 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 837 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,448,711 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 1,087 ราย หายป่วยสะสม 2,460,902 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 10,147 ราย
เสียชีวิต 12 ราย เสียชีวิตสะสม 10,905 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 664 ราย
ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย.65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
ค้างชำระ เช่าซื้อรถ พุ่ง แบงก์อัดมาตรการอุ้มลูกค้าสกัดหนี้เสีย
https://www.prachachat.net/finance/news-1047215
แบงก์หวั่นหนี้เสียสินเชื่อรถพุ่ง หลังตัวเลขหนี้ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนเพิ่มต่อเนื่อง เร่งจัดมาตรการช่วยเหลือต่อเนื่อง “ทิสโก้” เผยลูกค้าแห่คืนรถ 600-800 คันต่อเดือน ลุยจัดมาตรการ “คืนรถจบหนี้ เฟส 3” ขณะที่ “ทีทีบี” จัดโปรแกรมปรับโครงสร้างหนี้อุ้มลูกค้าผ่อนไม่ไหว
ยันสถานการณ์ “รถยึด-คืนรถ” ยังปกติตก 2-3 พันคันต่อเดือน ฟาก “กรุงศรี ออโต้” ชี้มีมาตรการช่วยเหลือรายกรณี ทั้ง “ลดค่างวด-ขยายระยะเวลาผ่อน” ด้าน สศช.เฝ้าระวัง SM สินเชื่อยานยนต์หวั่น NPL พุ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากธนาคารกสิกรไทย รวบรวมจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ในไตรมาส 2 ปีนี้ สินเชื่อเช่าซื้อมีหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (SM) เพิ่มขึ้นเป็น 154,345 ล้านบาท คิดเป็น 13.11% จากไตรมาสแรกอยู่ที่ 141,985 ล้านบาท หรือ 12.05% ส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังทรงตัว
ก่อนหน้านี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ต้องเฝ้าระวังสินเชื่อเพื่อยานยนต์ เนื่องจากมีสัดส่วนหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียในอนาคต โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง โดยไตรมาสแรกปี 2565 สัดส่วนหนี้เสียสินเชื่อยานยนต์อยู่ที่ระดับ 1.47%
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มการยึดรถ และคืนรถ จากสถานการณ์ค่าครองชีพสูง พบว่าอัตราการยึด-คืนรถของธนาคาร มีทั้งช่วงที่ปรับขึ้นและลดลง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 600-700 คันต่อเดือน
แต่จะมีบางช่วงที่โครงการคืนรถจบหนี้ขึ้นไปสูงสุด (พีก) ราว 800 คันต่อเดือน ในทุกประเภท ทั้งรถใหม่-รถเก่า และจำนำทะเบียน ล่าสุดธนาคารได้มีโครงการ “คืนรถจบหนี้” ครั้งที่ 3 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ผ่อนชำระไม่ไหว สามารถนำรถมาคืนได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้
“หลังจากทำโครงการไปแล้ว 2 ครั้ง มีลูกค้าคืนรถราว 6,000 ราย เป็นเงินกว่า 600 ล้านบาท คาดว่าเฟส 3 จะมีลูกค้าที่ให้ความสนใจลดลงแล้ว เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว อาจใช้วิธียืดเวลาผ่อนชำระ หรือปรับลดค่างวด เป็นต้น”
ทั้งนี้ มองไประยะข้างหน้า คาดว่าสัญญาณการคืนรถ-ยึดรถอาจจะปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันได้ เนื่องจากธนาคารจะขยายสินเชื่อจำนำทะเบียนมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ขาดสภาพคล่องและต้องการใช้วงเงิน อย่างไรก็ดี ต้องระมัดระวังว่า หากปล่อยวงเงินต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) สูงเกินไป อาจทำให้ลูกค้าต้องคืนรถได้
“เราคิดว่าคืนรถจบหนี้เฟส 3 จะแก้ไขปัญหาหนี้แบบเบ็ดเสร็จ แต่การปล่อยสินเชื่อใหม่ก็ต้องพิจารณารายได้-รายจ่ายลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคืนรถยึดรถตามมา โดยสัดส่วนรายได้ต่อภาระหนี้ หรือ DSR ระดับศักยภาพไม่ควรเกิน 50%” นาย
ศักดิ์ชัยกล่าว
นาย
ชัชฤทธิ์ ตั้งเถกิงเกียรติ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ผลิตภัณฑ์ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า ตัวเลขยึดรถคืนรถของแบงก์ ตอนนี้ไม่ได้น่ากังวลและยังอยู่ในกรอบที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยเฉลี่ยมีรถยึดหรือคืนรถ 2,000-3,000 คันต่อเดือน (รวมทุกผลิตภัณฑ์) ถือว่าตัวเลขไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับพอร์ตของธนาคารที่มีปล่อยสินเชื่อรถไปมากกว่า 1 ล้านคัน
“เราเห็นตัวเลขขยับขึ้นลงมาสักพัก แต่ไม่ได้น่าตกใจ และเราเองมีโปรแกรมช่วยเหลือลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้หากลูกค้าผ่อนไม่ไหว หรือลูกค้ามีความประสงค์จะคืนรถก็สามารถทำได้ โดยธนาคารมีทีมคอยแนะนำช่วยเหลือลูกค้า เพื่อทำให้มูลหนี้ของลูกค้าเหลือน้อยที่สุด” นาย
ชัชฤทธิ์กล่าว
นาย
คงสิน คงคา ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (กรุงศรี ออโต้) กล่าวว่า อัตราการยึดรถนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ความไม่แน่นอน กรุงศรี ออโต้ มีมาตรการช่วยเหลือเหมาะสมและตรงจุดให้กับลูกค้ารายบุคคล และครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ เช่น ลดอัตราค่างวดการผ่อนชำระ การขยายระยะเวลาการชำระ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้รถในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
กทม. เดินหน้าแผนแก้ฝุ่น PM 2.5 ปรับค่ามาตรฐาน-แจ้งเตือนสถานการณ์ 4 ระดับ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2501472
“ชัชชาติ” ผู้ว่าฯ กทม. ประชุมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปรับแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นเป็น 4 ระดับ สร้างอากาศสะอาดและปลอดภัยให้ประชาชน
วันที่ 15 ก.ย. 2565 นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2566 ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “
การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ซึ่งกรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศในพื้นที่ตามเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ และใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด โดยปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยรายปีปรับลดจาก 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เหลือ 15 มคก./ลบ.ม. พร้อมปรับการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็น 4 ระดับ ได้แก่
• ระดับ 1 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.
• ระดับ 2 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ระหว่าง 37.6-50 มคก./ลบ.ม.
• ระดับ 3 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ระหว่าง 51-75 มคก./ลบ.ม.
• ระดับ 4 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ตั้งแต่ 76 มคก./ลบ.ม. ขึ้นไป
ทั้งนี้ เมื่อปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับไหนจะมีการเพิ่มความเข้มข้นของปฏิบัติการในแต่ละระดับให้สามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การแจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ การให้ความรู้สำหรับเตรียมตัวหรือปฏิบัติตัวในการป้องกันปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการแก้ไขปัญหาและลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงการเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อกรุงเทพมหานครสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ให้พื้นที่เกิดผลสัมฤทธิ์ สร้างอากาศสะอาด บริสุทธิ์ และปลอดภัยให้ประชาชน โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กำชับสำนักสิ่งแวดล้อมเร่งปรับปรุง (ร่าง) แผนดังกล่าวตามที่ประชุมเสนอแนะและเร่งดำเนินการจัดทำแผนออกมาให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์.
JJNY : เสียชีวิต 12 ป่วยใหม่ 837│ค้างชำระเช่าซื้อรถพุ่ง│กทม. เดินหน้าแผนแก้ฝุ่น PM 2.5│พท.พร้อมรับผิดชอบถอนพรบ.กัญชา
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3565386
โควิดวันนี้ เสียชีวิต 12 ราย ป่วยใหม่ 837 ราย ปอดอักเสบ 664 ราย
เมื่อวันที่ 16 กันยายน สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 837 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 837 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,448,711 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 1,087 ราย หายป่วยสะสม 2,460,902 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 10,147 ราย
เสียชีวิต 12 ราย เสียชีวิตสะสม 10,905 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 664 ราย
ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย.65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
ค้างชำระ เช่าซื้อรถ พุ่ง แบงก์อัดมาตรการอุ้มลูกค้าสกัดหนี้เสีย
https://www.prachachat.net/finance/news-1047215
แบงก์หวั่นหนี้เสียสินเชื่อรถพุ่ง หลังตัวเลขหนี้ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนเพิ่มต่อเนื่อง เร่งจัดมาตรการช่วยเหลือต่อเนื่อง “ทิสโก้” เผยลูกค้าแห่คืนรถ 600-800 คันต่อเดือน ลุยจัดมาตรการ “คืนรถจบหนี้ เฟส 3” ขณะที่ “ทีทีบี” จัดโปรแกรมปรับโครงสร้างหนี้อุ้มลูกค้าผ่อนไม่ไหว
ยันสถานการณ์ “รถยึด-คืนรถ” ยังปกติตก 2-3 พันคันต่อเดือน ฟาก “กรุงศรี ออโต้” ชี้มีมาตรการช่วยเหลือรายกรณี ทั้ง “ลดค่างวด-ขยายระยะเวลาผ่อน” ด้าน สศช.เฝ้าระวัง SM สินเชื่อยานยนต์หวั่น NPL พุ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากธนาคารกสิกรไทย รวบรวมจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ในไตรมาส 2 ปีนี้ สินเชื่อเช่าซื้อมีหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (SM) เพิ่มขึ้นเป็น 154,345 ล้านบาท คิดเป็น 13.11% จากไตรมาสแรกอยู่ที่ 141,985 ล้านบาท หรือ 12.05% ส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังทรงตัว
ก่อนหน้านี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ต้องเฝ้าระวังสินเชื่อเพื่อยานยนต์ เนื่องจากมีสัดส่วนหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียในอนาคต โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง โดยไตรมาสแรกปี 2565 สัดส่วนหนี้เสียสินเชื่อยานยนต์อยู่ที่ระดับ 1.47%
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มการยึดรถ และคืนรถ จากสถานการณ์ค่าครองชีพสูง พบว่าอัตราการยึด-คืนรถของธนาคาร มีทั้งช่วงที่ปรับขึ้นและลดลง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 600-700 คันต่อเดือน
แต่จะมีบางช่วงที่โครงการคืนรถจบหนี้ขึ้นไปสูงสุด (พีก) ราว 800 คันต่อเดือน ในทุกประเภท ทั้งรถใหม่-รถเก่า และจำนำทะเบียน ล่าสุดธนาคารได้มีโครงการ “คืนรถจบหนี้” ครั้งที่ 3 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ผ่อนชำระไม่ไหว สามารถนำรถมาคืนได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้
“หลังจากทำโครงการไปแล้ว 2 ครั้ง มีลูกค้าคืนรถราว 6,000 ราย เป็นเงินกว่า 600 ล้านบาท คาดว่าเฟส 3 จะมีลูกค้าที่ให้ความสนใจลดลงแล้ว เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว อาจใช้วิธียืดเวลาผ่อนชำระ หรือปรับลดค่างวด เป็นต้น”
ทั้งนี้ มองไประยะข้างหน้า คาดว่าสัญญาณการคืนรถ-ยึดรถอาจจะปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันได้ เนื่องจากธนาคารจะขยายสินเชื่อจำนำทะเบียนมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ขาดสภาพคล่องและต้องการใช้วงเงิน อย่างไรก็ดี ต้องระมัดระวังว่า หากปล่อยวงเงินต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) สูงเกินไป อาจทำให้ลูกค้าต้องคืนรถได้
“เราคิดว่าคืนรถจบหนี้เฟส 3 จะแก้ไขปัญหาหนี้แบบเบ็ดเสร็จ แต่การปล่อยสินเชื่อใหม่ก็ต้องพิจารณารายได้-รายจ่ายลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคืนรถยึดรถตามมา โดยสัดส่วนรายได้ต่อภาระหนี้ หรือ DSR ระดับศักยภาพไม่ควรเกิน 50%” นายศักดิ์ชัยกล่าว
นายชัชฤทธิ์ ตั้งเถกิงเกียรติ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ผลิตภัณฑ์ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า ตัวเลขยึดรถคืนรถของแบงก์ ตอนนี้ไม่ได้น่ากังวลและยังอยู่ในกรอบที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยเฉลี่ยมีรถยึดหรือคืนรถ 2,000-3,000 คันต่อเดือน (รวมทุกผลิตภัณฑ์) ถือว่าตัวเลขไม่ได้สูงมาก เมื่อเทียบกับพอร์ตของธนาคารที่มีปล่อยสินเชื่อรถไปมากกว่า 1 ล้านคัน
“เราเห็นตัวเลขขยับขึ้นลงมาสักพัก แต่ไม่ได้น่าตกใจ และเราเองมีโปรแกรมช่วยเหลือลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้หากลูกค้าผ่อนไม่ไหว หรือลูกค้ามีความประสงค์จะคืนรถก็สามารถทำได้ โดยธนาคารมีทีมคอยแนะนำช่วยเหลือลูกค้า เพื่อทำให้มูลหนี้ของลูกค้าเหลือน้อยที่สุด” นายชัชฤทธิ์กล่าว
นายคงสิน คงคา ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (กรุงศรี ออโต้) กล่าวว่า อัตราการยึดรถนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ความไม่แน่นอน กรุงศรี ออโต้ มีมาตรการช่วยเหลือเหมาะสมและตรงจุดให้กับลูกค้ารายบุคคล และครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ เช่น ลดอัตราค่างวดการผ่อนชำระ การขยายระยะเวลาการชำระ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้รถในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
กทม. เดินหน้าแผนแก้ฝุ่น PM 2.5 ปรับค่ามาตรฐาน-แจ้งเตือนสถานการณ์ 4 ระดับ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2501472
“ชัชชาติ” ผู้ว่าฯ กทม. ประชุมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปรับแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นเป็น 4 ระดับ สร้างอากาศสะอาดและปลอดภัยให้ประชาชน
วันที่ 15 ก.ย. 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2566 ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ซึ่งกรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศในพื้นที่ตามเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ และใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด โดยปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยรายปีปรับลดจาก 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เหลือ 15 มคก./ลบ.ม. พร้อมปรับการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็น 4 ระดับ ได้แก่
• ระดับ 1 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.
• ระดับ 2 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ระหว่าง 37.6-50 มคก./ลบ.ม.
• ระดับ 3 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ระหว่าง 51-75 มคก./ลบ.ม.
• ระดับ 4 ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ตั้งแต่ 76 มคก./ลบ.ม. ขึ้นไป
ทั้งนี้ เมื่อปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับไหนจะมีการเพิ่มความเข้มข้นของปฏิบัติการในแต่ละระดับให้สามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การแจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ การให้ความรู้สำหรับเตรียมตัวหรือปฏิบัติตัวในการป้องกันปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการแก้ไขปัญหาและลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงการเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อกรุงเทพมหานครสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ให้พื้นที่เกิดผลสัมฤทธิ์ สร้างอากาศสะอาด บริสุทธิ์ และปลอดภัยให้ประชาชน โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กำชับสำนักสิ่งแวดล้อมเร่งปรับปรุง (ร่าง) แผนดังกล่าวตามที่ประชุมเสนอแนะและเร่งดำเนินการจัดทำแผนออกมาให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์.