ถามเป็นความรู้ประเด็นเรื่องเทียบค่าครองชีพที่มีดีเจท่านนึงโพสต์ลงจนเป็นกระแสครับ

จากกระแสที่มีดีเจท่านนึง (ไม่เอ่ยนาม) ไปออสเตรเลียแล้วโพสต์ว่า ส้มตำที่เมลเบิร์น ว่า ส้มตำจานละ 600 จิ้มจุ่มหม้อละ 1,000 คนยังต่อแถวกินกัน โชคดีแค่ไหน...  ประมาณนี้อ่าครับ แล้วเลยเกิดกระแสดราม่าถึงค่าครองชีพและค่าแรงขั้นต่ำของไทยกับต่างประเทศ ที่ต่างกันราวฟ้ากับเหว สักพักนึงมีข่าวออกว่า รัฐบาลจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศตามมา นั้น
 
ละพอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปุ้บ มันจะมีคนออกมาแย้งว่า นายจ้างไม่มีจ่ายแน่ ข้าวของต้องแพงขึ้นแน่นอน ต่างชาติจะหนีไปลงทุนที่อื่นแน่ๆ สุดท้ายก็เหมือนเดิม คือค่าแรงไม่ได้ขึ้น คนก็ต้องทนอยู่กับค่าครองชีพสูงกันต่อไป ไม่มีทางพ้นกับดักความยากจนอยู่ดี
 
ต่อไปเรามาคุยกันแบบจริงจังครับ ไม่อยากให้ดราม่าไปถึงพี่ดีเจท่านนั้นนะครับ ไม่มีเงินในบัญชีพอจ่ายค่าขึ้นศาล 😅

อยากถามครับว่า ทำยังไงเราถึงจะได้ค่าแรงต่อ ชม. ที่มากเท่าประเทศอื่นได้ และมีค่าครองชีพในระดับที่ไม่สูงไปกว่าค่าแรง โดยที่
เศรฐกิจและการจ้างงาน การลงทุนยังอยู่ได้ คือแบบวิน-วินทั้งสองฝ่าย ทั้งนายจ้างและลูกจ้างครับ ขอเป็นความรู้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่