เพื่อน ๆ หลายคนคงจะได้ดูซีรีย์เกาหลียอดฮิตที่เพิ่งจบไป ที่นางเอกของเรื่องเป็นโรคออทิสติกสเปกตรัม หรือ ASD (Autistic spectrum disorder) พี่หมอได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนที่เป็นคุณหมอด้านพัฒนาการเด็กเกี่ยวกับโรคนี้ เลยอยากเอามาแชร์ครับ
“ออทิสติกสเปกตรัม” เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการ ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการที่ล่าช้า ในด้านการสื่อภาษา การปฏิสัมพันธ์ด้านสังคม รวมถึงเกิดพฤติกรรมและความสนใจที่เป็นแบบแผนซ้ำๆ หรือแบบแคบๆ มีขีดจำกัด ความบกพร่องทางการพูดและการสื่อสาร พบได้ตั้งแต่เด็กที่ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน พูดคำแปลกๆ พูดเป็นคำหรือภาษาที่ไม่เข้าใจ (Neologism) หรือเด็กบางคนพูดได้ แต่ไม่สามารถพูดโดยใช้ภาษาในการสื่อสารหรือสนทนาได้ เรียกว่าเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว ดูได้จากการตอบไม่ตรงเรื่องที่สนทนา ชอบพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจมากกว่า (เหมือนนางเอกในซีรีย์ ที่ชอบพูดถึงเรื่องวาฬ ^_^ ) ไม่โต้ตอบสนทนา ไม่ชวนคุย โดยความบกพร่องทางภาษานี้จะมีทั้งรูปแบบภาษาพูดและภาษาท่าทาง
ปฏิสัมพันธ์ทางด้านสังคม ในเด็กกลุ่มนี้ บางคนจะไม่สบตา ไม่หันตามเวลาเรียกชื่อ ไม่โผให้อุ้มเวลาผู้ใหญ่เข้าหา ไม่กลัวคนแปลกหน้า ไม่ชี้นิ้ว ใช้วิธีดึงมือผู้อื่นไปทำ ชอบเล่นคนเดียวมากกว่าเล่นกับเด็กด้วยกัน ไม่มีความสนใจร่วม ไม่ชวนเล่น ไม่เล่นสมมติ ไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกหรือมุมมองของคนอื่น ชอบอยู่ในโลกของตัวเอง
ด้านพฤติกรรมซ้ำซากที่พบได้ในภาวะออทิสติกสเปกตรัม สามารถสังเกตได้จากหลายอาการ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ เขย่งเท้า สะบัดมือ พูดตามโดยไม่เข้าใจความหมาย (echolalia) พูดวลีซ้ำ นอกจากนี้ยังทำกิจวัตรซ้ำๆ เปลี่ยนแปลงยาก เช่นกินอาหารซ้ำ การเดินทางเส้นทางเดิม มีความหมกหมุ่นยึดติดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ เช่น สนใจเรื่องรถ เรื่องวาฬ เป็นต้น อาการที่พบร่วมอีกอย่างคือ มีการตอบสนองประสาทสัมผัสมากหรือน้อยผิดปกติ เช่น ตอบสนองผิดปกติต่อเสียง แสง ผิวสัมผัสบางอย่าง เด็กอาจเอามือปิดหู ไม่ชอบเสียงเครื่องจักร เครื่องตัดหญ้า บางรายหลับตา หรือบางรายจะให้ความสนใจต่อการเคลื่อนไหวบางอย่างมากผิดปกติ เช่น ชอบนั่งมองพัดลมหมุนๆ
กลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัม มีอาการแสดงที่หลายหลาย มีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ความแตกต่างกันทั้งด้าน IQ ตั้งแต่ระดับสูงถึงต่ำ ลักษณะเหมือนกับเฉดสีของของรุ้งกินน้ำ จึงมีแนวคิดการวินิจฉัยแบบ spectrum นั่นเองครับ
แตกต่างจากของออทิสติกสเปกตรัม กับ ออทิสติกแท้และเทียม🙆♀️
ออทิสติกแท้ คือกลุ่มที่เป็นโรคจริงๆ มีปัญหาด้านพัฒนาการตามที่อธิบายข้างต้น เป็นกลุ่มของความผิดปกติของสมองส่งผลต่อพัฒนาการ กลุ่มนี้ได้รับการวินิจฉัยเข้าเกณฑ์ที่เข้าได้กับออทิสติกสเปกตรัม
สำหรับออทิสติกเทียม ปัจจุบันเราจะเจอเด็กที่มีอาการคล้ายออทิสติกแต่ไม่ได้เป็นโรคจริง เด็กกลุ่มนี้อาจมีสาเหตุจากการขาดการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การขาดการกระตุ้นพัฒนาการ ขาดการเรียนรู้ การเล่นที่เหมาะสมหรือยุคปัจจบันที่เด็กจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป แยกตัวไม่มีเพื่อนเล่น เพราะภาวะโรคระบาด จนทำให้ดูไม่ค่อยสนใจคนอื่น ทักษะทางสังคมไม่ค่อยดี เด็กกลุ่มนี้เมื่อได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม อาการที่สงสัยดูคล้ายภาวะออทิสติกจะหายไปได้ครับ
การสังเกตอาการออทิสติกสเปกตรัม👀
ส่วนใหญ่จะเริ่มสังเกตว่าเด็กมีอาการผิดปกติหรือไม่ ได้จากแสดงออกของเด็กอายุก่อน 3 ขวบ
โดยเริ่มจากการสังเกตในขวบปีแรก เด็กไม่ค่อยมองหน้าสบตา ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่มี social smile ไม่หันหาเสียง ไม่จ้องหน้าผู้เลี้ยงดู พออายุ 1 ขวบปีให้สังเกตพัฒนาการด้านภาษา โดยสังเกตจากที่ปกติเด็กจะเริ่มพูดคำพูดที่มีความหมายได้ ตัวอย่างที่น่าสงสัยหรือเข้าข่ายก็เช่น เด็กอายุ 1 ขวบ 6 เดือนแต่ยังพูดคำเดี่ยวๆ ไม่ได้ ยังไม่เล่นสมมติ
พอเด็กเข้าช่วง 2-3 ขวบ เด็กออทิสติกจะพบประวัติว่าพูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน อาจดูได้จากประวัติว่าเด็กพูดได้เป็นคำๆ แล้วหยุดไป พูดคำที่มีความหมายยังไม่ได้ ส่วนด้านสังคมเด็กมักจะไม่สนใจเล่นกับคนอื่น ชอบเล่นกับตัวเองมากกว่า ไม่สนใจเวลาชี้ชวนให้ดู ยังเล่นของเล่นไม่ถูก ชอบเอาของมาเรียงๆ ไม่ค่อยกังวลเมื่อแยกจากแม่ ไม่กลัวคนแปลกหน้า สบตาน้อย หรือไม่สบตา เวลาเรียกชื่อไม่ตอบสนอง บางคนมีการเคลื่อนไหวซ้ำ เช่น เล่นมือ หมุนตัว ชอบมองของหมุนๆ ไวกับเสียง แสง สัมผัส (จึงทำให้มีการเขย่งเท้า)
สำหรับเด็กในวัยอนุบาล วัยเรียน จะสามารถสังเกตได้จากการเล่น เด็กจะไม่สนใจไม่เข้าหาเพื่อน เล่นหรือเริ่มต้นที่จะเล่นไม่เป็น ทั้งที่มีความอยากเล่นกับเพื่อน ด้านการสื่อสารเด็กบางรายพูดได้มากขึ้นแต่ยังช้ากว่าวัยเดียวกัน พูดเรียบเรียงสลับไปเป็นไปตามลำดับ และบางรายใช้สรรพนามผิด พูดสื่อสารทางเดียว ตอบไม่ตรงคำถาม สนทนาแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ
การรักษาภาวะออทิสติกสเปกตรัม👩⚕
การรักษาออทิสติกเทียม คุณหมอด้านพัฒนาการเด็กบอกว่า ต้องการรักษาแบบองค์รวม โดยช่วงเวลาของการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ ช่วง 3 ขวบปีแรก โดยการรักษาในช่วงนี้มีเป้าหมายคือ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสารทางสังคมดีขึ้น ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ พยายามพัฒนาศักยภาพเด็กให้ได้มากที่สุด พร้อมไปกับการรักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ เช่น สมาธิสั้น สติปัญญาบกพร่อง หรืออารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการสื่อสารที่มีปัญหา
การรักษาภาวะออทิสติกสเปกตรัม ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดปัญหาพฤติกรรม อาการไม่พึงประสงค์ การตอบสนองต่อยาในเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน
กิจกรรมบำบัดรักษาเด็กกลุ่มออทิสติกสเปกตรัม🥁
·
การฝึกพูด เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการการพัฒนาคำศัพท์ เปล่งเสียง การสร้างประโยค ฝึกการสื่อสารทางสังคม
·
กิจกรรมบำบัด เป็นเกิดฝึกโดยนักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้เด็กได้ฝึกและเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ
·
พฤติกรรมบำบัด เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างจิตแพทย์เด็ก แพทย์พัฒนาการ และนักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดปัญหาพฤติกรรม ร่วมกันเน้นการสร้างและเสริมพฤติกรรมที่ดี ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
·
Group Training and parent training เป็นการฝึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและบุคคลากรทางการแพทย์ เน้นเรื่องทักษะสังคม พัฒนาด้านการช่วยเหลือตัวเอง มีกิจกรรมผ่านการเล่น สร้างสัมพันธภาพ โดยอาจใช้ศิลปะและดนตรีบำบัดเข้ามาร่วมด้วย โดยในส่วนของผู้ปกครองจะเน้นทักษะการแก้ปัญหา ช่วยส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการลูก รวมถึงดูแลจิตใจพ่อแม่ เสริมพลังให้คุณพ่อคุณแม่ และครอบครัวบำบัด
·
การช่วยเหลือทางด้านการศึกษา สร้างแบบเรียนร่วมหรือ special class มีการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
·
การส่งเสริมพัฒนาการเดี่ยว Individual training
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาออกทิสติกสเปกตรัม หรือโรคออทิซึมให้หายขาดได้นะครบ แต่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ หากเด็กได้รับการดูแล ช่วยเหลือ รักษาอย่างรวดเร็ว และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อได้รับการวินิจฉัย ดังนั้นถ้าสงสัยว่าลูกมีความผิดปกติต้องรีบพามาพบคุณหมอด้นพัฒนาการและพฤติกรรม เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และเด็กได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญ คือการสร้างให้เกิดพัฒนาการและพฤติกรรมที่ใกล้เคียงเด็กปกติให้มากที่สุด โดยพ่อแม่จะเป็นผู้ร่วมบำบัดที่สำคัญครับ
เด็กพัฒนาการล่าช้า อาจเป็นออทิสติกสเปกตรัม
“ออทิสติกสเปกตรัม” เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการ ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการที่ล่าช้า ในด้านการสื่อภาษา การปฏิสัมพันธ์ด้านสังคม รวมถึงเกิดพฤติกรรมและความสนใจที่เป็นแบบแผนซ้ำๆ หรือแบบแคบๆ มีขีดจำกัด ความบกพร่องทางการพูดและการสื่อสาร พบได้ตั้งแต่เด็กที่ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน พูดคำแปลกๆ พูดเป็นคำหรือภาษาที่ไม่เข้าใจ (Neologism) หรือเด็กบางคนพูดได้ แต่ไม่สามารถพูดโดยใช้ภาษาในการสื่อสารหรือสนทนาได้ เรียกว่าเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว ดูได้จากการตอบไม่ตรงเรื่องที่สนทนา ชอบพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจมากกว่า (เหมือนนางเอกในซีรีย์ ที่ชอบพูดถึงเรื่องวาฬ ^_^ ) ไม่โต้ตอบสนทนา ไม่ชวนคุย โดยความบกพร่องทางภาษานี้จะมีทั้งรูปแบบภาษาพูดและภาษาท่าทาง
ปฏิสัมพันธ์ทางด้านสังคม ในเด็กกลุ่มนี้ บางคนจะไม่สบตา ไม่หันตามเวลาเรียกชื่อ ไม่โผให้อุ้มเวลาผู้ใหญ่เข้าหา ไม่กลัวคนแปลกหน้า ไม่ชี้นิ้ว ใช้วิธีดึงมือผู้อื่นไปทำ ชอบเล่นคนเดียวมากกว่าเล่นกับเด็กด้วยกัน ไม่มีความสนใจร่วม ไม่ชวนเล่น ไม่เล่นสมมติ ไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกหรือมุมมองของคนอื่น ชอบอยู่ในโลกของตัวเอง
ด้านพฤติกรรมซ้ำซากที่พบได้ในภาวะออทิสติกสเปกตรัม สามารถสังเกตได้จากหลายอาการ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ เขย่งเท้า สะบัดมือ พูดตามโดยไม่เข้าใจความหมาย (echolalia) พูดวลีซ้ำ นอกจากนี้ยังทำกิจวัตรซ้ำๆ เปลี่ยนแปลงยาก เช่นกินอาหารซ้ำ การเดินทางเส้นทางเดิม มีความหมกหมุ่นยึดติดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ เช่น สนใจเรื่องรถ เรื่องวาฬ เป็นต้น อาการที่พบร่วมอีกอย่างคือ มีการตอบสนองประสาทสัมผัสมากหรือน้อยผิดปกติ เช่น ตอบสนองผิดปกติต่อเสียง แสง ผิวสัมผัสบางอย่าง เด็กอาจเอามือปิดหู ไม่ชอบเสียงเครื่องจักร เครื่องตัดหญ้า บางรายหลับตา หรือบางรายจะให้ความสนใจต่อการเคลื่อนไหวบางอย่างมากผิดปกติ เช่น ชอบนั่งมองพัดลมหมุนๆ
กลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัม มีอาการแสดงที่หลายหลาย มีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ความแตกต่างกันทั้งด้าน IQ ตั้งแต่ระดับสูงถึงต่ำ ลักษณะเหมือนกับเฉดสีของของรุ้งกินน้ำ จึงมีแนวคิดการวินิจฉัยแบบ spectrum นั่นเองครับ
แตกต่างจากของออทิสติกสเปกตรัม กับ ออทิสติกแท้และเทียม🙆♀️
ออทิสติกแท้ คือกลุ่มที่เป็นโรคจริงๆ มีปัญหาด้านพัฒนาการตามที่อธิบายข้างต้น เป็นกลุ่มของความผิดปกติของสมองส่งผลต่อพัฒนาการ กลุ่มนี้ได้รับการวินิจฉัยเข้าเกณฑ์ที่เข้าได้กับออทิสติกสเปกตรัม
สำหรับออทิสติกเทียม ปัจจุบันเราจะเจอเด็กที่มีอาการคล้ายออทิสติกแต่ไม่ได้เป็นโรคจริง เด็กกลุ่มนี้อาจมีสาเหตุจากการขาดการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การขาดการกระตุ้นพัฒนาการ ขาดการเรียนรู้ การเล่นที่เหมาะสมหรือยุคปัจจบันที่เด็กจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป แยกตัวไม่มีเพื่อนเล่น เพราะภาวะโรคระบาด จนทำให้ดูไม่ค่อยสนใจคนอื่น ทักษะทางสังคมไม่ค่อยดี เด็กกลุ่มนี้เมื่อได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม อาการที่สงสัยดูคล้ายภาวะออทิสติกจะหายไปได้ครับ
การสังเกตอาการออทิสติกสเปกตรัม👀
ส่วนใหญ่จะเริ่มสังเกตว่าเด็กมีอาการผิดปกติหรือไม่ ได้จากแสดงออกของเด็กอายุก่อน 3 ขวบ
โดยเริ่มจากการสังเกตในขวบปีแรก เด็กไม่ค่อยมองหน้าสบตา ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่มี social smile ไม่หันหาเสียง ไม่จ้องหน้าผู้เลี้ยงดู พออายุ 1 ขวบปีให้สังเกตพัฒนาการด้านภาษา โดยสังเกตจากที่ปกติเด็กจะเริ่มพูดคำพูดที่มีความหมายได้ ตัวอย่างที่น่าสงสัยหรือเข้าข่ายก็เช่น เด็กอายุ 1 ขวบ 6 เดือนแต่ยังพูดคำเดี่ยวๆ ไม่ได้ ยังไม่เล่นสมมติ
พอเด็กเข้าช่วง 2-3 ขวบ เด็กออทิสติกจะพบประวัติว่าพูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน อาจดูได้จากประวัติว่าเด็กพูดได้เป็นคำๆ แล้วหยุดไป พูดคำที่มีความหมายยังไม่ได้ ส่วนด้านสังคมเด็กมักจะไม่สนใจเล่นกับคนอื่น ชอบเล่นกับตัวเองมากกว่า ไม่สนใจเวลาชี้ชวนให้ดู ยังเล่นของเล่นไม่ถูก ชอบเอาของมาเรียงๆ ไม่ค่อยกังวลเมื่อแยกจากแม่ ไม่กลัวคนแปลกหน้า สบตาน้อย หรือไม่สบตา เวลาเรียกชื่อไม่ตอบสนอง บางคนมีการเคลื่อนไหวซ้ำ เช่น เล่นมือ หมุนตัว ชอบมองของหมุนๆ ไวกับเสียง แสง สัมผัส (จึงทำให้มีการเขย่งเท้า)
สำหรับเด็กในวัยอนุบาล วัยเรียน จะสามารถสังเกตได้จากการเล่น เด็กจะไม่สนใจไม่เข้าหาเพื่อน เล่นหรือเริ่มต้นที่จะเล่นไม่เป็น ทั้งที่มีความอยากเล่นกับเพื่อน ด้านการสื่อสารเด็กบางรายพูดได้มากขึ้นแต่ยังช้ากว่าวัยเดียวกัน พูดเรียบเรียงสลับไปเป็นไปตามลำดับ และบางรายใช้สรรพนามผิด พูดสื่อสารทางเดียว ตอบไม่ตรงคำถาม สนทนาแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ
การรักษาภาวะออทิสติกสเปกตรัม👩⚕
การรักษาออทิสติกเทียม คุณหมอด้านพัฒนาการเด็กบอกว่า ต้องการรักษาแบบองค์รวม โดยช่วงเวลาของการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ ช่วง 3 ขวบปีแรก โดยการรักษาในช่วงนี้มีเป้าหมายคือ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสารทางสังคมดีขึ้น ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ พยายามพัฒนาศักยภาพเด็กให้ได้มากที่สุด พร้อมไปกับการรักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ เช่น สมาธิสั้น สติปัญญาบกพร่อง หรืออารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการสื่อสารที่มีปัญหา
การรักษาภาวะออทิสติกสเปกตรัม ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดปัญหาพฤติกรรม อาการไม่พึงประสงค์ การตอบสนองต่อยาในเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน
กิจกรรมบำบัดรักษาเด็กกลุ่มออทิสติกสเปกตรัม🥁
· การฝึกพูด เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการการพัฒนาคำศัพท์ เปล่งเสียง การสร้างประโยค ฝึกการสื่อสารทางสังคม
· กิจกรรมบำบัด เป็นเกิดฝึกโดยนักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้เด็กได้ฝึกและเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ
· พฤติกรรมบำบัด เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างจิตแพทย์เด็ก แพทย์พัฒนาการ และนักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดปัญหาพฤติกรรม ร่วมกันเน้นการสร้างและเสริมพฤติกรรมที่ดี ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
· Group Training and parent training เป็นการฝึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและบุคคลากรทางการแพทย์ เน้นเรื่องทักษะสังคม พัฒนาด้านการช่วยเหลือตัวเอง มีกิจกรรมผ่านการเล่น สร้างสัมพันธภาพ โดยอาจใช้ศิลปะและดนตรีบำบัดเข้ามาร่วมด้วย โดยในส่วนของผู้ปกครองจะเน้นทักษะการแก้ปัญหา ช่วยส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการลูก รวมถึงดูแลจิตใจพ่อแม่ เสริมพลังให้คุณพ่อคุณแม่ และครอบครัวบำบัด
· การช่วยเหลือทางด้านการศึกษา สร้างแบบเรียนร่วมหรือ special class มีการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
· การส่งเสริมพัฒนาการเดี่ยว Individual training
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาออกทิสติกสเปกตรัม หรือโรคออทิซึมให้หายขาดได้นะครบ แต่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ หากเด็กได้รับการดูแล ช่วยเหลือ รักษาอย่างรวดเร็ว และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อได้รับการวินิจฉัย ดังนั้นถ้าสงสัยว่าลูกมีความผิดปกติต้องรีบพามาพบคุณหมอด้นพัฒนาการและพฤติกรรม เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และเด็กได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญ คือการสร้างให้เกิดพัฒนาการและพฤติกรรมที่ใกล้เคียงเด็กปกติให้มากที่สุด โดยพ่อแม่จะเป็นผู้ร่วมบำบัดที่สำคัญครับ