🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭7ก.ย.โควิดไทยอันดับ29โลก/ป่วย1,605คน หาย1,618คน ตาย20คน/อภ.เปิดขายยาฟาวิฯ/แย้มปี66 ไม่ฉีดกระตุ้นทุกคน


https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1025262

เพี้ยนแคปเจอร์อภ.เปิดจำหน่าย "ฟาวิพิราเวียร์" ผ่านร้านยาวันแรก พรุ่งนี้กระจายครบทุกสาขา ย้ำต้องมีใบสั่งแพทย์



อภ.เริ่มจำหน่าย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ที่ร้านยาเป็นวันแรกที่สาขาราชเทวี เตรียมจำหน่ายครบทุกสาขาวันพรุ่งนี้ ย้ำจำหน่ายเฉพาะมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ต้องระบุทั้งชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย แพทย์ผู้สั่ง ขนาดยา คนปกติใช้ 1 กระปุก 50 เม็ด กิน 5 วันส่วนโมลนูฯ ผลิตและจำหน่ายได้สิ้นปี เผยร้านยาดีลเลอร์เริ่มติดต่อขอยาไปจำหน่ายแล้ว

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ภญ.ปาริชาติ แคล้วปลอดทุกข์ ผู้เชี่ยวชาญระดับ 10 องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ให้สัมภาษณ์ว่า การจำหน่ายยาต้านไวรัสโควิด 19 ผ่านร้านขายยาแผนปัจจุบัน ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา อภ.ได้เริ่มจำหน่ายผ่านร้านยาของ อภ.สาขาราชเทวีวันนี้เป็นวันแรก โดยพรุ่งนี้จะทยอยกระจายไปที่ร้านขายยา 7 สาขาที่เหลือใน กทม.และปริมณฑล ซึ่งเบื้องต้นจากการประเมินยังไม่มีใบสั่งแพทย์เข้ามา เนื่องจากเพิ่งเริ่มเป็นวันแรก โดยขณะนี้มีการจำหน่ายเพียงยาฟาวิพิราเวียร์ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อเม็ด เป็นแบบ 1 กระปุกมี 50 เม็ด โดยการซื้อจะต้องมีใบสั่งแพทย์มาด้วย

"ใบสั่งแพทย์จะต้องมีข้อมูลครบถ้วน ทั้งชื่อนามสกุลผู้ป่วย มีเลข HN โรงพยาบาล มีชื่อยา ขนาดความแรง จำนวนที่แพทย์สั่งจ่าย รวมถึงชื่อ นามสกุลของแพทย์ผู้สั่งจ่าย เลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อให้สามารถตรวจย้อนกลับได้ว่า ใบสั่งแพทย์มาจากสถานพยาบาลใดและแพทย์คนใด เพื่อให้การจ่ายยาต้านไวรัสเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาโอเวอร์โดสหรือใช้ยาผิด" ภญ.ปาริชาติกล่าว


ภญ.ปาริชาติ กล่าวว่า สำหรับยาฟาวิพิราเวียร์ 1 กระปุก 50 เม็ด จะมีขนาดเหมาะสมกับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัว 45-90 กิโลกรัม ซึ่งจะแบ่งรับประทาน 5 วัน คือ วันแรกเป็น Loading Dose กินขนาด 1,800 มิลลิกรัมต่อวันทุก 12 ชั่วโมง เช่น กินตอน 6 โมงเช้าจำนวน 9 เม็ด และ 12 ชั่วโมงต่อมา คือ 6 โมงเย็นกินอีก 9 เม็ด รวมเป็น 18 เม็ด จากนั้นวันที่ 2-5 ลดขนาดลงมากิน 4 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง รวมเป็น 8 เม็ดต่อวัน ต่อเนื่องอีก 4 วัน ก็จะครบ 50 เม็ดพอดี แต่หากคนน้ำหนักตัวมากกว่านี้หรือเด็กที่น้ำหนักตัวน้อยกว่านี้ แพทย์จะคำนวณการสั่งจ่ายตามน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และเราจะจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ที่สั่งจ่ายมา ซึ่งยาที่เหลือจากการจ่ายแบบไม่เต็มกระปุกจากกรณีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไปนั้น จะเก็บในขวดในสภาวะที่เหมาะสม ไม่ต้องกังวลว่ายาจะเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ

ภญ.ปาริชาติกล่าวว่า ขณะนี้เรามียาฟาวิพิราเวียร์อยู่ในสต๊อกพร้อมจำหน่าย 2.5 ล้านเม็ด จะกระจายทั้งภาครัฐ เอกชน และขายปลีกส่งให้ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีในไปป์ไลน์การผลิต 3 ล้านเม็ดจะทยอยออกมาใน ก.ย. โดยยาฟาวิพิราเวียร์ราคาเม็ดละ 15.5 บาท หรือกระปุกละ 775 บาท ส่วนอนาคตจะมีการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์คาดว่าจะออกมาในสิ้นปี 2565 นี้ และน่าจะเริ่มจำหน่ายในร้านขายยาได้เช่นกัน โดยกำลังการผลิตจะพิจารณาจากสถานการณ์โรคดควิด 19 ส่วนราคายังไม่คอนเฟิร์ม แต่จะเป็นราคาที่สมเหตุผลและประชาชนเข้าถึงได้ ส่วนระหว่างนี้คงไม่มีการนำยาโมลนูพิราเวียร์ของผู้รับอนุญาตนำเข้ารายอื่นมาจำหน่าย เนื่องจาก อภ.จะมีการผลิตเอง และผู้นำเข้ารายอื่นก็สามารถดีลตรงกับร้านขายยาทั่วไปได้อยู่แล้ว



ถามว่ามีร้านขายยาอื่นมาติดต่อ อภ.เพื่อขอนำยาฟาวิพิราเวียร์ไปจำหน่ายแล้วหรือไม่ ภญ.ปาริชาติกล่าวว่า หลังจากมีข่าวว่า อย.ประกาศให้จำหน่ายในร้านขายยาได้ และ อภ.พร้อมที่จะมีสินค้าให้ ผู้แทนคือนักการตลาดของเราก็มีการให้ข้อมูลแก่ดีลเลอร์ที่เป็นลูกค้าร้านยาของเรา คือ ร้านยาตัวแทนจำหน่ายช่วงและร้านยาทั่วไป ซึ่งก็มีจำนวนหนึ่งสนใจติดต่อเข้ามา ว่าจะรับยาจากเราไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าตามภูมิภาคและจังหวัดต่างๆ รวมถึง กทม.ด้วย ซึ่งการติดต่อมารับยาไปจำหน่ายก็ไม่ยาก ก็เหมือนกับยาอื่นๆ ทั่วไป ไม่มีความซับซ้อนอะไร เพียงแต่ร้านยาก็ต้องทำบัญชีการจำหน่ายยาไว้ในการตรวจสอบย้อนหลัง แต่ไม่ต้องส่งกลับมายัง อภ. ส่วนประชาชนก็สามารถสอบถามมาที่ อภ.ได้ว่าร้านยาใดที่มีการมารับยาฟาวิพิราเวียร์จาก อภ.ไปจำหน่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามเจ้าหน้าที่พบว่า เริ่มมีประชาชนที่มาขอซื้อยาฟาวิพิราเวียร์แล้ว แต่ไม่มีใบสั่งแพทย์มา จึงไม่ได้มีการจำหน่ายให้แต่อย่างใด

https://mgronline.com/qol/detail/9650000085989

เพี้ยนแคปเจอร์“อนุทิน”แย้มปี 66 ไม่ได้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกคน หลัง 1 ต.ค.”โควิด”เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง


เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 65 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ว่า ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ จะมีผู้บริหารเข้ารับตำแหน่งใหม่ทั้งปลัด รองปลัด และอธิบดี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ยืนยันว่าการดำเนินงานต่างๆ จะไม่มีรอยต่อและไม่มีผลกระทบต่อการบริการประชาชน ระบบการดูแลต่างๆ มีความพร้อม อย่างไรก็ตาม ขอย้ำให้กลุ่มเสี่ยง 608 ยังต้องมารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากขณะนี้ผู้เสียชีวิตจากโควิดยังเป็นกลุ่มนี้เกือบ 100% รวมทั้งยังแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปในพื้นที่เสี่ยงหรือร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยง

นายอนุทินกล่าวต่อว่า สำหรับการลงนามกับไฟเซอร์ เพื่อจัดซื้อวัคซีนโควิด 19 สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน – ต่ำกว่า 5 ปี ในส่วนของสัญญามีการเจรจาและผ่านมติ ครม.รวมถึงความเห็นชอบของไฟเซอร์แล้ว คาดว่าจะมีการลงนามระหว่างกรมควบคุมโรคและไฟเซอร์ในช่วงบ่ายวันนี้ และจะเริ่มทยอยส่งมอบในช่วงเดือนตุลาคมนี้ไปจนครบ 3 ล้านโดส ส่วนแนวทางบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ในปี 2566 ต้องรอการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ว่าจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่ ต้องเน้นกลุ่มเสี่ยงใด จำนวนเท่าใด ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน

“ส่วนเรื่องยาต้านไวรัสนั้น กระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามการใช้งานและสำรองไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยทุกรายไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และหากแพทย์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องรับยาก็ไม่ควรไปซื้อมารับประทานเอง โดยการซื้อยาต้านไวรัสในร้านขายยาต้องใช้ใบสั่งแพทย์ เนื่องจากยังเป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน”

https://siamrath.co.th/n/380443

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 7 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0tAgnL8XsfvwRnqUbLXCFKobRhTMvhAh1bsa7EEFLiKjsEha34Q9xLkP8TPzfbJBjl


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 6 ก.ย. 2565)
รวม 142,911,652 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 6 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 19,709 โดส

เข็มที่ 1 : 2,481 ราย
เข็มที่ 2 : 4,362 ราย
เข็มที่ 3 : 12,866 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,273,937 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,748,841 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,888,874 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid04VGWxB8mVxLSu93AGnsnkj5sntaC1w99qtT8jcwEghwFG6tViRhTZBbT6LFwiooyl


วัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น สำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี
ฉีดเข็มที่ 2 ครบ 3 เดือน มารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
ได้ที่โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน

ที่มา กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02z7nj66xS3o7K2ea6SG7DmdQbQ1d1sziE2E6Zp6GLLmwA75aug4J2wD6pSAm1VW1vl


สภาเภสัชฯ จับมือ “สปสช. – ร้านขายยา” ให้บริการประชาชน คัดกรองโรค แจก ATK เข้าถึงได้ง่าย ใกล้บ้าน และไม่มีความเสี่ยงจากโรคโควิด พร้อมเพิ่มบริการให้ครอบคลุมประชาชนมากขึ้น

รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเภสัชกรรมปฐมภูมิ สภาเภสัชกรรม เปิดเผยว่า ในปี 2565 ได้ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และร้านขายยา ในการให้บริการประชาชน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ใกล้บ้าน และไม่มีความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 อาทิ การแจกชุดตรวจโควิด-19 Antigen Test Kit (ATK) ให้แก่ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่มีความเสี่ยง เพื่อรับ ATK ได้ที่ร้านขายยากว่า 2,000 แห่ง ทั่วประเทศ บริการการแจกยาคุมกำเนิดและถุงยางอนามัย พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพื่อป้องกันโรคติดต่อหรือติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งทุกสิทธิสามารถเข้ารับบริการได้ผ่านแอปฯ เป๋าตัง ในปี 2566 ยังมีการเพิ่มบริการการแจกยาคุมฉุกเฉิน รวมไปถึงการคัดกรองโรคเบื้องต้นขยายไปทั่วประเทศจากเดิมที่อยู่ในแค่บางพื้นที่ของ กทม. ซึ่งการคัดกรองสภาเภสัชกรรมจะกำหนดมาตรฐานของร้านขายยา เช่น ร้านยาทุกร้านต้องเป็นหน่วยร่วมบริการกับ สปสช. และจะต้องเปิดบริการอย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีเภสัชกรประจำเพื่อให้ประชาชนที่จะเข้ามารับบริการเกิดความมั่นใจ ยังมีการเพิ่มบริการ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มที่อยากตั้งครรภ์ ซึ่งเมื่อตรวจแล้วพบว่าตั้งครรภ์เภสัชกรจะให้คำแนะนำ เพื่อการตั้งครรภ์มีคุณภาพ และ 2. กลุ่มที่ไม่พร้อมตั้งครรภ์ จะมีกระบวนการส่งต่อ เพื่อรับคำแนะนำจากหน่วยบริการต่อไป และทำแอปฯ เป๋าตังให้มีความหลากหลายมากขึ้น ให้ใช้ได้ทุกสิทธิการรักษา แต่ถ้าเป็นโรคอย่างง่ายเจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถเข้ามารับบริการที่ร้านขายยาได้ แต่ในกรณีที่ประชาชนมีแอปฯ แต่ใช้ไม่เป็นก็สามารถเข้ามาขอคำแนะนำได้ที่ร้านขายยาได้เช่นกัน

ที่มา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02NCAnZQNKgfkRWcmLSSB3FJMudQ7q25pCRPkWXJbdxqU3kzDcSxWg83MRhZFq8FxBl


สธ. แจง “ร้านขายยา” จ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ “ต้องมีใบสั่งยา” จากแพทย์เท่านั้น

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เรื่อง “แนวทางปฏิบัติในการจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ที่ร้านขายยา สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิดในประเทศไทย” ส่งถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด (สสจ.) แจ้งแนวปฏิบัติในการจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ที่ร้านขายยา ใน 4 ประเด็น ได้แก่
1. ให้จ่ายยาโมลนูพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ร้านขายยา โดยมีใบสั่งยาจากแพทย์
2. มีผลการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) หรือ PCR สำหรับโรคโควิด-19 ประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ในการออกใบสั่งยา
3. จ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ที่ร้านขายยา โดยเภสัชกร ตามมาตรฐานเภสัชกรรม และร้านขายยา
4. มีระบบติดตามแนวทางการใช้ยาที่ชัดเจน เข้าใจง่ายและสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนและผู้ให้บริการ รวมถึงมีข้อมูลผู้ใช้ยา และติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สำหรับแนวทางดังกล่าว สืบเนื่องมาจากคณะกรรมการ Intelligence Unit กระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายให้ศึกษาความเป็นไปได้ของการจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ที่ร้านขายยา รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่าการจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ที่ร้านขายยามีประโยชน์มาก และขอให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการให้เกิดการปฏิบัติได้จริงโดยเร็วที่สุด

ที่มา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02yNDPMEpMdX9tKLzZaRde2ptqoPCgM26F6GsWyscn16TNUmFYXWunFeHEwsbnXFKNl


ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อจะลดลง เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นมาตรการสำคัญระยะเปลี่ยนผ่าน การจัดการโควิด จึงเป็นมาตรการควบคุมโรค ประกอบด้วย การฉีดวัคซีนในประชากรกลุ่มเป้าหมายให้สูงเพียงพอ ร่วมกับมาตรการสังคม ที่เน้นการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และมาตรการทางการแพทย์

ที่มา พญ.ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0x2TWGALz4h6LH3TGEo9ucxZsB2yDqfSK9KUjZoGw5o5RtELPKTEPU77AfyME9BQwl


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพุธที่ 7 กันยายน 2565 จำนวน 20 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02KFN7rRxoiaRFJFyY99XsGmnDNS2Lnnqvzafpzpcn7tpetjSKxExvTed6CjAE4Qspl


สธ.ลงนามปรับแก้สัญญาจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก (6 เดือน - 5 ปี) คาดเริ่มทยอยส่งมอบเดือน ต.ค. ชี้ช่วยป้องกันภาวะ MIS-C

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ลงนามจัดหาวัคซีนโควิด-19 ฝาสีแดง จำนวน 3 ล้านโดส เพื่อฉีดในเด็กเล็ก ร่วมกับนางสาวเด็บบราห์ ไซเฟิร์ท ผู้จัดการใหญ่บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทยและอินโดไชน่า หลัง ครม.มีมติปรับแก้สัญญาการจัดซื้อโควิด-19 ให้มีสัดส่วนของวัคซีนเด็ก (อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี) คาดจะเริ่มทยอยส่งมอบวัคซีนให้ไทยในเดือนตุลาคม 2565

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า วัคซีนโควิดสำหรับเด็กเล็ก (6 เดือน - 5 ปี) เพื่อป้องอาการรุนแรง รวมถึงภาวะการเกิด MIS-C (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรง หลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด ซึ่งเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2-6 สัปดาห์ สาเหตุเชื่อเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้มากเกินไป

ทั้งนี้ จากสถานการณ์โควิด-19 พบเด็กมีโอกาสเกิด MIS-C ประมาณ 1 ใน 10,000 คน อาการมีตั้งแต่มีไข้สูงจนชัก หรือภาวะท้องเสียอย่างรุนแรง การรับวัคซีนป้องกันจึงเป็นการลดความรุนแรงและป้องกันที่ดีที่สุด เพราะหากเกิดภาวะ MIS-C มีโอกาสที่จะเกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0fVNgULGD834iNm5jwzQDbCsnLQnDV8yYwpwntKMBAm5b5yuXHpkCVptMZompG2Mkl


สธ.เดินหน้าฉีดวัคซีนโควิดในเด็กเล็ก 6 เดือน-5 ปี

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังจาก ครม.เห็นชอบปรับสัญญาจัดซื้อวัคซีนโควิดไฟเซอร์ที่เหลือ 3 ล้านโดส มาให้ใช้ในเด็กเล็กวัย 6 เดือน ถึง 5 ปี คาดว่าการส่งมอบวัคซีนดังกล่าวจะมีขึ้นในไตรมาส 4 ราวเดือนตุลาคม เพื่อฉีดให้กับประชากรเด็ก จำนวน 1 ล้านคน ซึ่ง 1 คน รับ 3 เข็ม ความห่างระหว่างเข็ม 1-2 ห่าง 3 สัปดาห์ ส่วนการรับเข็ม 3 จะห่างออกไปอีก 8 สัปดาห์ โดยปริมาณของวัคซีนที่ใช้คือ 3 ไมโครกรัม และพบว่าขณะนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเด็กเล็กนี้ไปราว 7 ประเทศแล้ว

นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า ส่วนเด็กที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว ก็จะมีการพิจารณาให้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเช่นกัน เหมือนกับผู้ใหญ่ที่มีการติดเชื้อ แต่ระยะเวลาห่างยังต้องรอให้ผู้เชี่ยวชาญอนุมัติ สำหรับสัดส่วนการติดติดเชื้อโควิดในเด็กเล็กมีไม่มาก ส่วนข้อห้ามหรือข้อจำกัดในการรับวัคซีน ก็เหมือนกับเด็กโตวัย 5-11 ปี คือ ไม่มีข้อห้าม แต่ต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเป็นหลักมากกว่า และการฉีดจะทำเหมือนกับการให้วัคซีนในเด็กเล็กทั่วไป ที่ทำในคลินิกสุขภาพเด็กดี หรือในสถานพยาบาล ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ก็มีตั้งแต่ปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีด ส่วนสัดส่วนของการรับวัคซีนในกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี นี้คาดว่ามีประมาณ 60% ไม่แตกต่างจาก วัย 5-11 ปี.
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02t5zMQCBQKiDb1XNtYY8WzQzGtytvGtt1QxEfTxY6cNfba9xpihfMLQNgjeyuvLEJl


เตรียมปรับโควิด เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง 1 ต.ค.นี้

(7 ก.ย. 65) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข เผยว่า วันที่ 1 ตุลาคมนี้ เป็นช่วงที่มีการปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม ขอย้ำให้กลุ่มเสี่ยง 608 ยังต้องมารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากขณะนี้ผู้เสียชีวิตจากโควิดยังเป็นกลุ่มนี้เกือบ 100% รวมทั้งยังแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปในพื้นที่เสี่ยงหรือร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยง

ส่วนแนวทางบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ในปี 2566 ต้องรอการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ว่าจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่ ต้องเน้นกลุ่มเสี่ยงใด จำนวนเท่าใด ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน

เรื่องยาต้านไวรัสนั้น กระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามการใช้งานและสำรองไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยทุกรายไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และหากแพทย์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องรับยาก็ไม่ควรไปซื้อมารับประทานเอง โดยการซื้อยาต้านไวรัสในร้านขายยาต้องใช้ใบสั่งแพทย์ เนื่องจากยังเป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน
https://web.facebook.com/ttraisuree/posts/pfbid0kWxxZTQTsFT82A7j17AzyouZY5Z3S2uEwaNFaUrk5RuAQsZboT5S3GiEabcQ8bTKl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่