🌎🌎🌎มาลาริน/ยืนยันอีกครั้งค่ะ..ข่าวดี!!!ไทยเตรียมผลิตยารักษา‘โควิด-19’ พัฒนา‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ คาดปี64 ยื่นขึ้นทะเบียน

ข่าวดี!!!ไทยเตรียมผลิตยารักษา‘โควิด-19’ พัฒนา‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ คาดปี64 ยื่นขึ้นทะเบียน

วันอังคาร ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 16.52 น.



“องค์การเภสัชกรรม” เตรียมผลิตยารักษา “โควิด-19” หลังผลิตยาที่ใช้ร่วมกันได้เอง 5 จาก 7 รายการ พร้อมวิจัยและพัฒนา “ยาฟาวิพิราเวียร์” (Favipiravir) คาดปี 2564 พร้อมยื่นขึ้นทะเบียน
 
19 พฤษภาคม 2563 ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรม ได้วางแผนบริหารจัดการเพื่อให้มียาที่จำเป็นสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19  ภายในประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งในภาวะวิกฤติและระยะยาว
 
ทั้งนี้ มียาที่ใช้ร่วมกัน 7 รายการ โดยองค์การเภสัชกรรมผลิตเอง 5 รายการ ประกอบด้วย 1. ยาคลอโรควิน รักษาโรคมาลาเรีย สำรองไว้ 1.8 ล้านเม็ด 2. ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรผสม โลพินาเวียร์ และริโทรนาเวียร์ (Lopinavir / Ritonavir) สำรองไว้ 30.6 ล้านเม็ด 3. ยาต้านไวรัสเอดส์ดารุนาเวียร์ (Darunavir) สำรองไว้ 1.9 ล้านเม็ด 4. ยาต้านไวรัสเอดส์ริโทรนาเวียร์ (Ritonavir) สำรองไว้ 1.9 ล้านเม็ด 5. ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ยาปฏิชีวนะใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย สำรองไว้ 3.4 ล้านเม็ด
 
ส่วนยาอีก 2 รายการคือ ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน ได้จัดซื้อจากผู้ผลิตในประเทศแล้ว 1.09 ล้านเม็ด และยาฟาวิพิราเวียร์ ( Favipiravir ) ซึ่งเป็นยาสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในการรักษา อภ.และกรมควบคุมโรค ได้มีการจัดซื้อแล้ว 187,000 เม็ด จาก 2 แหล่งผลิตหลัก คือบริษัท FUJIFILM Toyama Chemical Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่นเจ้าของสิทธิบัตรและ

บริษัท Zhejiang Hisun Pharmaceutical Company ประเทศจีนซึ่งได้รับใบอนุญาตผลิตจากญี่ปุ่น โดยได้กระจายไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ แล้วประมาณ 100,000 เม็ด ยังคงมียาสำรองในคลังของ อภ. ประมาณ 87,000 เม็ด และจะส่งมอบเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคมเพื่อสำรองไว้อีก 303,860 เม็ด จากประเทศญี่ปุ่น 103,860 เม็ด ที่เลื่อนการส่งมอบมาจากในปลายเดือนเมษายน  และส่งมอบจากสาธารณรัฐประชาชนจีน 200,000 เม็ด ซึ่งจะทำให้มียาฟาวิพิราเวียร์ใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
 
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนายาเม็ดฟาวิพิราเวียร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาพัฒนาสูตรตำรับ ขยายขนาดการผลิต ศึกษาความคงสภาพและประสิทธิผลทางชีวสมมูล (Bioequivalence study) เพื่อศึกษาระดับยาในเลือดเทียบกับยาต้นแบบต่อไป คาดว่าใช้เวลาประมาณ 1 ปีจะมีข้อมูลพร้อมยื่นขึ้นทะเบียน ขณะเดียวกันได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วิจัยพัฒนาการสังเคราะห์วัตถุดิบยาฟาวิพิราเวียร์  คาดจะแล้วเสร็จภายใน 3 – 6 เดือน และจะสามารถเริ่มผลิตวัตถุดิบในระดับกึ่งอุตสาหกรรมได้ในเดือนมิถุนายน 2564 ทั้งนี้ ในส่วนของสิทธิบัตรยานั้น อภ.จะต้องมีการเจรจาทำ Voluntary Licensing กับบริษัทเจ้าของสิทธิบัตร เพื่อให้สามารถผลิตและจำหน่ายได้
 
“ขอเตือนว่ายาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้เฉพาะโรค เป็นยาอันตราย การสั่งใช้ต้องเป็นไปตามการสั่งของแพทย์เท่านั้น ประชาชนห้ามซื้อมากินเองเด็ดขาด” ดร.ภญ.นันทกาญจน์ กล่าว



https://www.naewna.com/local/493772

อภ.มั่นใจ “ยาฟาวิพิราเวียร์” เพียงพอหากโควิดระบาดระลอก 2 เร่งพัฒนาผลิตเป็น “ยาสามัญ” พร้อมสังเคราะห์วัตถุดิบสูตรใหม่



อภ.สำรองยารักษาโรคโควิด 7 ชนิด เผย “ยาฟาวิพิราเวียร์” มี 4 แสนเม็ด มั่นใจเพียงพอหากเกิดระบาดระลอก 2 เร่งศึกษาผลิตเป็น “ยาชื่อสามัญ” คาดผลิตขายเองได้ในต้นปี 65 เหตุญี่ปุ่นยังไม่ได้รับสิทธิบัตรในไทย พร้อมสังเคราะห์วัตถุดิบเอง ใช้สูตรเคมีต่างกัน แต่ปลายทางให้ได้โครงสร้างโมเลกุลเป็นยาฟาวิพิราเวียร์ตัวเดียวกัน เชื่อ 3-6 เดือนสำเร็จ เล็งประสานสร้างโรงงานสังเคราะห์วัตถุดิบยาในประเทศ

วันนี้ (19 พ.ค.) ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึงการผลิต จัดหา และพัฒนา ยารักษาโรคโควิด-19 ว่า อภ.มีการสำรองยาและจัดหายาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคโควิด-19 ในภาวะวิกฤตและระยะยาว รวม 7 รายการ โดย อภ.ผลิตเอง 5 รายการ ได้แก่ 

1. ยาคลอโรควิน ที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย สำรอง 1.8 ล้านเม็ด 
2. ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรผสมโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ 30.6 ล้านเม็ด 
3. ยาต้านไวรัสเอดส์ ดารุนาเวียร์ 1.9 ล้านเม็ด 
4. ยาต้านไวรัสเอดส์ริโทนาเวียร์ 1.9 ล้านเม็ด และ 
5. ยาอะซิโทรมัยซิน ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย 3.4 ล้านเม็ด 

ส่วนอีก 2 รายการ คือ ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน จัดซื้อในประเทศ 1.09 ล้านเม็ด และ ยาฟาวิพิราเวียร์ สั่งนำเข้าครั้งแรกจำนวน 187,000 เม็ด จากญี่ปุ่นและจีน กระจายไปยังสถานพยาบาลแล้ว 1 แสนเม็ด เหลือสำรองในคลัง 87,000 เม็ด และจะส่งมอบเพิ่มเติม พ.ค.นี้ อีก 303,860 เม็ดจากญี่ปุ่นและจีน ทำให้ประเทศไทยมียาฟาวิพิราเวียร์ใช้ได้อย่างต่อเนื่องระยะยาว



ภญ.นันทกาญจน์ กล่าวว่า 2. อภ.ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วิจัยพัฒนาการสังเคราะห์วัตถุดิบยาฟาวิพิราเวียร์ คาดจะแล้วเสร็จภายใน 3-6 เดือน หลังจากนั้น จะขยายการสังเคราะห์วัตถุดิบเป็นระดับกึ่งอุตสาหกรรม โดย อภ.มีสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์พร้อมทำการผลิต คาดว่า ช่วง มิ.ย. 2564 จะเริ่มสังเคราะห์วัตถุดิบผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ได้ และอนาคตอาจมีการขยายกำลังการผลิตเป็นระดับอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทย หลายหน่วยงานอาจจะต้องพิจารณาร่วมกันลงทุนสร้างโรงงานสังเคราะห์วัตถุดิบขึ้น เป็นแบบมัลติฟังก์ชัน คือ สามารถสังเคราะห์วัตถุดิบผลิตยาได้หลายชนิดนอกจากยาฟาวิพิราเวียร์ด้วย 

ภญ.นันทกาญจน์ กล่าวว่า การสังเคราะห์วัตถุดิบยาฟาวิพิราเวียร์มีหลายทางเดิน (Pathway) โดยอาจจะเป็น A+B = C หรือเอาอย่างอื่นมาผสมกันให้สุดท้ายได้โครงสร้างโมเลกุลที่เป็นยาฟาวิพิราเวียร์เหมือนกัน แต่ก่อนหน้านั้น จะเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่เราดีไซน์เอง ให้สุดท้ายได้ออกมาเป็นฟาวิพิราเวียร์เหมือนกัน แล้วค่อยมาทดสอบวิธีทางเคมีต่างๆ เพื่อตรวจว่าเป็นฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ ถ้าใช่ก็คือใช่ และการสังเคราะห์ยาฟาวิพิราเวียร์โดย Pathway ใหม่นี้ เราก็สามารถจดสิทธิบัตรได้เช่นกัน และไม่แน่ใจว่า Pathway ใหม่อาจจะดีกว่าก็ได้

“ในช่วงเดือน พ.ค.จะมีการส่งมอบยาฟาวิพิราเวียร์อีก 3 แสนเม็ด ก็จะทำให้ประเทศไทยมียาสำรองประมาณ 4 แสน น่าจะเพียงพอหากมีการระบาดของโรคโควิด-19 ในระยะที่ 2 ขณะเดียวกัน อีก 1 ปีข้างหน้า มียาที่ผลิตได้เองด้วยก็น่าจะเพียงพอ โดยในผู้ป่วย 1 ราย ที่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์นั้น ในระยะการรักษาจะใช้ 70 เม็ดต่อราย เพราะฉะนั้นการมีสำรองยาไว้ประมาณ 4 แสนเม็ด น่าจะมีมากเพียงพอ” ภญ.นันทกาญจน์ กล่าว

https://mgronline.com/qol/detail/9630000052206

นอกจากจะมีการผลิตวัคซีนใช้แล้ว ไทยยังจะได้ผลิตยารักษาโควิด19 สูตรของไทยใช้ด้วยค่ะ

อภ.เริ่มมีข้อมูลมาให้เรื่อยๆ   เป็นข่าวดีที่ได้รับทราบเลยนะคะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่