50ปี การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

กระทู้ข่าว
❝50 ปี การทางพิเศษแห่งประเทศไทย❞
สาส์นจาก สุขวิช รังสิตพล ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยคนที่5 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2536ถึงปี 2537
ปี 2504 ผมสําเร็จรัฐศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเร่ิมทํางานบริษัทนํ้า มันคาลเท็กซ์ในระยะแรกเพื่อรอกระทรวงมหาดไทยเปิดสอบปลัดอำเภอตามเจตนารมณ์ในการเลือกเรียน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ในที่สุดจนถึงปี 2536ผมไม่ได้ลาออกเพราะทุกครั้งที่ต้องการจะลาออกมารับใช้ประเทศชาติมักมีมูลเหตุให้รู้สึกเห็นใจเพื่อนร่วมงานจึงต้องอยู่ช่วยงานต่อให้ลุล่วง
ผมดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของบรรษัทข้ามชาติ หรือซีอีโอเมื่อปี 2530และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีเดียวกัน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/074/1.PDF
ผมดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อ16 มิถุนายน 2536 ในรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชวน1เพราะผมถูกขอร้องนําความสำเร็จในแก้ไขปัญหาในการบริหารบรรษัทเอกชนข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน (ปัญหาโรงกลั่นซึ่งเป็นวาระแห่งชาติในยุควิกฤตการณ์น้ำมัน นักการเมืองในยุคนั้นจึงต้องการให้ผมใช้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆในเรื่องโรงกลั่นน้ำมัน มาหาวิธียุติข้อพิพาทระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กับบริษัทสัมปทานเอกชนซึ่งมีผู้ร่วมทุนจากต่างชาติ
ปมปัญหาเกิดจากเอกชนผู้รับสัมปทาน คือบริษัทร่วมทุนระหว่างกูมาไกกูมิและบริษัททางด่วนกรุงเทพฯ ผู้รับสัมปทานสร้างทางด่วนขั้น 2  เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ยอมให้เปิดใช้งาน
เนื่องจากมีปัญหาความขัดแย้งกับภาครัฐ การทางพิเศษฯจึงไม่สามารถเปิดดำเนินการทางด่วนขั้นที่2หรือทางด่วนพระรามเก้า แจ้งวัฒนะ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วได้
การเปิดใช้ทางด่วนขั้นที่ 2 เป็นความจำเป็นย่ิงยวดกับประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร เพราะห้วงเวลาน้ันเกิดปัญหาวิกฤตจราจรสาหัส กระทั่งมีนักเขียน เขียนหนังสือชื่อ ครอบครัวกลางถนน เพราะต้องใช้ชีวิตและทำกิจกรรมทุกอย่างบนรถยนต์ หนังสือเล่มดังกล่าว ถึงกับได้รับรางวัลซีไรต์ เพราะบรรยายความทุกข์ยากของคนกรุงเทพมหานครผู้ต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถยนต์ส่วนใหญ่ในห้วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ขอแนะนำให้ไปอ่านดูและจะเข้าใจว่าเหตุใดผมจึงต้องตอบรับมาทำงานแก้ไขปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การสัญจรภายในกรุงเทพมหานครในยุค2536 ใช้เวลาแต่ละคร้ังอย่างน้อย2-3ชั่วโมง หรือ ติดขัดเป็นวัน จนกระทั่งมีอยู่วัน1ก่อนที่ผมตัดสินใจรับตำแหน่งไม่นาน การจราจรติดขัดพันกันก่อนจะคลี่คลายได้ในเวลา04.00 เกือบจะย่ำรุ่งของวันถัดมา ผมเชื่อว่าทุกคนในเหตุการณ์ครั้งนั้นยังจำความลำบากได้ดี ถึงกับมีผู้จอดรถทิ้งและเดินกลับบ้านแทน 
การเดินทางไปชลบุรีหรือพัทยายุคนั้น ใช้เวลาถึง4ถึง5 ชั่วโมงถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ซ่อมแล้วพัง พังแล้วซ่อมหนักหนากว่าวิกฤตถนนพระราม2ในปัจจุบันหลายเท่าตัวเพราะไม่มีทางเลือกอื่น วิกฤตจราจรขัดขวางการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภาคตะวันออกของประเทศอย่างสูงสุด
เมื่อรับตําแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ต้องใช้เวลาถึง102 วัน ยุติความขัดแย้งของคู่พิพาทของทางด่วนขั้นที่2 โดยยึดหลักการสําคัญคือไม่ให้ผู้ใดเสียหายเพื่อในที่สุดแล้วผลดีจะตกกับประชาชน และประเทศชาติได้ประโยชน์โดยรวมในที่สุด
ผมขอขอบคุณศาลแพ่งในขณะน้ันมา ณ ที่นี้ด้วยในการใช้อํานาจตามกฎหมาย สั่งเปิดทางด่วนให้ก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากวิกฤตจราจร ระหว่างการเจรจาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งยังไม่มีทีท่าว่าจะหาทางออกได้ เนื่องจากมีปัญหาความขัดแย้งกันต่อเนื่องหลายปี ก่อนที่ผมตอบรับมาแก้ไขปัญหา 
เมื่อเปิดใช้ทางด่วนไปพลางๆระหว่างการเจรจายังดำเนินอยู่ มีผลให้คู่กรณีทั้ง2ฝ่ายคือ การทางพิเศษฯและผู้รับสัมปทาน สถาบันการเงิน และผู้รับเหมา ได้เห็นผลดีของความสําเร็จร่วมกัน จึงมีความเห็นในทางเดียวกันง่ายขึ้น
การทางพิเศษฯได้เปิดใช้ทางด่วนตามวัตถุประสงค์/ เอกชนผู้รับสัมปทานมีผลตอบแทน/ สถาบันการเงินเองไม่ต้องกลัวสะดุด/ในที่สุดผู้รับเหมาจึงได้ค่าตอบแทนตามจริง ตามสัญญา ประการสําคัญท่ีสุด คือ ประชาชนได้ใช้ทางด่วนขั้นที่2 แก้ไขปัญหาวิกฤติจราจรได้ในระดับหนึ่ง
องค์กรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ก่อต้ังข้ึนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับท่ี 290  วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ก่อนผมเข้ารับตําแหน่งผู้ว่าการฯ 21 ปี และมีทางด่วนบริการประชาชน 27.1กิโลเมตร คือทางด่วนดินแดง บางนา และ ดินแดง ดาวคะนอง แม้จะเปิดใช้ทางด่วนขั้นที่ 2 แล้ว ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร เพรางข้อกฎหมายจากประกาศของคณะปฏิวัติให้อํานาจ การทางพิเศษฯ อย่างกว้างขวาง ในการเป็นองค์กรหลักสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางของประชาชน และวางระบบคมนาคมทั้งประเทศ รวมทั้งให้รับผิดชอบการสร้างและบริการถระบบรถไฟฟ้รางเดี่ยว ใต้ดิน เหนือพื้นดิน เหนือพื้นน้ำ ดูแลระบบเรือขนส่ง และรวมท้ังอุโมงค์เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร เป็นต้น
เมื่อการแก้ปัญหาทางด่วนขั้นที2แล้วเสร็จใน 102 วัน ผมจึงให้สํารวจการก่อสร้างบริเวณถนนอ่อนนุช แยกสุขุมวิท ขณะนั้นก่อสร้างมาแล้วเกือบ 5 ปีแต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะแล้วเสร็จ มีผลให้ประชาชนในบริเวณนั้นเดือดร้อนถ้วนหน้า และได้ส่งผลต่อระบบการจราจรกรุงเทพมหานครโดยรวม ได้แก้ปัญหา เรื่องท่อประปา สายไฟฟ้า โทรศัพท์ และการเวนคืนที่ดินให้ควบถ้วน จนกระทั่งส่งมอบผู้รับเหมาดําเนินการ 
และผู้รับเหมามาส่งมอบคืน 2-3เดือนต่อมามีผลให้
การจราจร อ่อนนุช สุขุมวิทสะดวกขึ้นทันที
หลังจากนั้น ได้แก้ปัญหาจราจรทั้งระบบ จากกรุงเทพและปริมณฑลไปสู่ทุกภูมิภาคโดย
ตระหนักว่ากทพ.จะต้องดําเนินโครงการทางด่วน 300กม.และรถไฟฟ้าใต้ ดินในเมืองและบนดินชานเมือง 300 กม.
ต่อมาผมทําแผนงานให้เปิดประมูลสร้างด่วน รามอินทรา อาจณรงค์ทันที โดยไม่รอการเจรจา
โครงการให้สัมปทานกับเอกชน มีผลให้ทางด่วน 28 กม. สายนี้ มีค่าก่อสร้างต่ำกว่าทางด่วนทุกสายถูกกว่าสัมปทานประเมินไว้กว่าเท่าตัวด้วยการให้ กทพ. ใช้เงินกู้ ลงทุนเองบริหารเอง สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกําให้กับกทพ.
นโยบายต่อไปคือให้ กทพ.แก้ไขและวางแผนการจราจร ไปยังภาคตะวันออกทั้งระบบ เพื่อร่นเวลาเดินทํางไปชลบุรี พัทยา ให้เหลือไม่ถึง 2 ชั่วโมง(เดิม4-5ชั่วโมง)
โดยดําเนินการ โครงการด่วนบางนา บางพลี บางปะกง 55 กม. แต่เนื่องจากการใช้พื้นที่ก่อสร้างถูกจํากัดโดยกรมทางหลวงมอบพื้นที่ เกาะกลางทางหลวงให้เพียง 5 เมตร จึงต้องปรับแผนก่อสร้างเป็นถนนยกระดับเสาสูง 17.5เมตร เพื่อว่างานจราจรทางด่วนบนเสานั้น เเละยังได้ออกแบบให้สวยงามไม่กระทบต่อทัศนวิสัยของผู้สัญจร ด้านล่าง
เมื่อสร้างเสร็จ ทางด่วนบางนา บางพลี บางปะกง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ทางพิเศษบูรพาวิถี ถูกบันทึกโดยกินเนสบุ๊ค ว่าเป็นสะพานยาว(Carbridge)ที่สุดในโลก ครองแชมป์ตั้งแต่ปี2000-2010 สวยงามตามแผนงาน ถือเป็นหน่ึง ในสถาปัตยกรรมซึ่งสร้างความฮือฮาระดับโลก ในปัจจุบันน้ีการจราจรบนทางพิเศษบูรพาวิถี ยังคงคราคร่ำเป็นเส้นทางคมนาคมสําคัญ ใช้สอยแก้ไขปัญหาจราจรได้มากมายสร้างรายได้ให้กทพ.จนคุ้มทุนและทํากําไรได้ต่อเนื่อง ที่น่าเสียดายคือทางด่วนสายน้ี ยังกุดอยู่บริเวณบางปะกง 
ผมหวังว่าต่อไปจะได้ขยํายไปยังพัทยา แกลง จันทบุรี และตราด ตามแผนที่วางกันไว้เมื่อ30ปี
มาแล้ว เป็นแผนที่วางไว้ต้ังแต่ต้น เช่นเดียวกับแผนงาน ทางด่วนขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งควรจะต้องขยายให้
ครบตามแผนงานทั้งหมด เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและแก้ไขปัญหา จราจรทั้งระบบต่อไปในอนาคต
ผมเป็นผู้ว่าการกทพ. ในระยะเวลาเพียง1ปี4เดือนเพราะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในปี2537  ปี 2538ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ผลักดันให้นําโครงกํารของ กทพ. บรรจุลงในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โดยกําหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 8 ซึ่ง มีสําระสําคัญ 3 ข้อ คือ
แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์ 2538 เพื่อสิทธิการเรียนขั้นพื้นฐาน 12 ปี รวมถึงอนุบาล3ปีและมีอาหารกลางวันทุกคนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในฐานะพลเมืองไทย เพื่อเตรียมพร้อมสําหรับศตวรรษท่ี 21
2. แผนแม่บทกํารแก้ไขปัญหาจราจรทางบก“ถนนขนรถ” หรือแผนแม่บทระบบทางด่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 300 กม. รวมถึงทํางด่วนระหว่างเมือง และแผนแม่บท “รถขนคน” คือ โครงการรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) 300 กม. รวมท้ังรถไฟความเร็วสูง ระบบขนส่งมวลชนภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ และอื่นๆ รวมทั้งการปรับปรุงบาทวิถี ตรอกซอย
และ 3. แผนบูรณาการน้ำ ปี 2538 ของกระทรวงกลาโหม
ในระยะเวลาที่ผมทํางานกับองค์กรน้ีผมได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องชาวกทพ. อย่างดีย่ิงต้ังแต่การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง การรวมพลังเดินหน้าพัฒนางาน รวมถึงการวางแผนงานในอนาคต ส่งผลให้ในเวลําน้ันประชาชนมีทางด่วนแก้ปัญหาการจราจรเพิ่มมากกว่า110 กม. ทั้งหมดเพราะความสามัคคีร่วมมือรวมใจในองค์กร งานทุกอย่างจึงสำเร็จลงด้วยดี
เนื่องในโอกาสครบ 50 ปี กทพ. ผมขออวยพรให้พี่น้องชาวกทพ. ทุกท่านได้ทํางานด้วยความเข้มแข็ง สํามัคคี และยึดมั่นในหัวใจหลักขององค์กร เพื่อเป็นตัวจักรสําคัญในการแก้ไขปัญหาจราจร สร้างความสะดวกสบายด้านคมนาคมรองรับความ เจริญเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ได้
สุขวิช รังสิตพล
ผู้ว่าการการพิเศษแห่งประเทศไทยคนที่5 ดำรงตำแหน่งระหว่าง ปี 2536 ถึง 2537
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่