ลูกจ้าง แรงงาน หรือพนักงานขายประจำสหกรณ์ร้านค้าในชุมชนต้องได้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่าไหร่

.
.
.
มีพนักงานขายสินค้าสหกรณ์ร้านค้าในชุมชน
.
ตื่นเช้าต้องเปิดร้านตั้งแต่หกโมงเช้า ปิดร้านสองทุ่ม
.
มติกรรมการให้เปิด-ปิดเวลา 06:00น. ถึงแค่ 19:30 น.
แต่คนขายอยากขายต่อถึงสองทุ่ม
(เป็นช่วงเวลาที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง)
.
(ปิดช้าลงนั่นคือความสมัครใจ)
.
.
แต่ถ้าไม่พูดถึงเวลาที่เกินมติของกรรมการ
เอาแค่เวลาตามมติของกรรมการ
คนขายควรได้รับค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่
.
ควรเทียบกับกฎหมายแรงงาน
.
หรือเทียบกับค่าจ้างของลูกจ้างราชการ
.
.
.
(ตามความเข้าใจ หรือความคิดเห็นส่วนตัว ควรจะเทียบกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน เพราะไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่ไปเปิดดูรายละเอียดของสหกรณ์ จากกูเกิ้ล กลับมีประโยคที่ว่า
.
"ผลตอบแทนพนักงานเน้นที่ระบบอัตราเงินเดือนที่อิงกับราชการ แรงจูงใจในการทำงานจึงไม่สอดคล้องกับผลงานที่คาดหวัง"
.
ก็เลยงงๆ เพราะคนขายเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา ไม่มีงานที่ได้รับค่าจ้างหรือเงินเดือนจากราชการเลย)
.
.
.
มีพนักงานขาย 2 คน
.
ณ ตอนนี้  มติที่ประชุมสมาชิกกำหนด
จ่ายเงินเดือน แค่ 7,000 บาท กับ 5,000 บาท
(ไม่มีค่าโอทีหรือค่าจ้างล่วงเวลา ไม่มีค่าใดๆเพิ่ม)
.
.
พนักงานขาย  ขอขึ้นค่าจ้างต่อกรรมการ
แต่กรรมการเอาเข้าที่ประชุมสมาชิก
สมาชิกยกมือคัดค้าน  ไม่ยอมขึ้นค่าจ้างให้
.
.
สมาชิกต้องการปันผล 10% จากยอดซื้อสินค้าทุกปี
.
.
(10% จากยอดซื้อไม่ใช่จากกำไร
เช่น สมาชิกหมายเลข 1 จ่ายเงินซื้อทั้งปีหมดไป 10,000 บาท  ต้องได้คืน  10% คือ 1,000 บาท
หรือ หมายเลข 2 จ่ายเงินซื้อรวม 100,000 บาท  ต้องได้คืน  10% เช่นกัน คือ 10,000 บาท)
.
ความคิดของสมาชิกหลายคน คิดว่า
ถ้าจ่ายเงินเดือนเพิ่มขึ้น  จะทำให้ได้ปันผลน้อยลง
(มองแค่ว่าตัวเองจะได้ผลประโยชน์น้อยลงเท่านั้น)
.
.
.
.

ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อะไรก็แพงขึ้นทุกอย่าง น้ำมันแพง สินค้าอุปโภคบริโภคก็ขึ้นราคา คนทำงานอื่นทั่วไปที่รับค่าแรงขั้นต่ำ ยังอยู่ลำบากเลย แต่นี่ค่าแรงถูกว่ากฎหมายแรงงาน ขนาดเป็นคนไทยแต่ค่าแรงยังน้อยกว่าแรงงานต่างด้าวอีก
.
.
สหกรณ์อยู่ในหมู่บ้าน มีเจ้าหน้าที่รัฐ คือผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนกลาง ในการกำกับดูแล (ผู้ใหญ่ไม่ได้เป็นกรรมการ) การลงมติต่างๆ จะทำในวันประชุมของหมู่บ้าน ต่อจากวาระต่างๆ ที่ผู้ใหญ่บ้านเรียกลูกบ้านประชุม มติต่างๆ มีทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. ร่วมประชุม ซึ่งก็เป็นสมาชิกสหกรณ์ด้วย
.
.
คนขายเสนอขอขึ้นค่าแรงบ่อยครั้ง แต่ผู้ใหญ่อ้างว่า  แล้วแต่คณะกรรมการ ทุกครั้ง เหมือนอำนาจครอบงำอยู่ แล้วก็ต้องปัดตกไป อ้างว่าสมาชิกมีมติไม่เห็นชอบให้ขึ้นค่าแรง
.
.
ตัวผม ซึ่งไม่ได้เป็นคนขาย ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นแค่ชาวบ้านคนหนึ่ง มีความรู้สึกส่วนตัวว่า การถือมติแบบนี้มันไม่ชอบธรรม อำนาจมันกดทับ กดขี่คนทำงานเกินไป
.
.
ผมจึงได้ทำหนังสือร้องเรียนผู้ใหญ่ ถึงตัวผู้ใหญ่
.
แต่การร้องเรียนมีคำที่ค่อนข้างรุนแรง ว่า มติของสมาชิกอยู่เหนือกฎหมายแรงงาน ที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย บังคับใช้ทั่วประเทศไทย ถือว่า เป็น "กบฎ หรือไม่"
.
พร้อมหนังสือร้องเรียนก็มีลายมือชื่อของผมด้วย
.
ฝ่ายผู้ใหญ่ไม่พอใจกับคำว่า กบฎ
อ้างว่าสามารถเอาหนังสือนี้ไปดำเนินการทางกฎหมายได้
.
.
.
รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ
.
.
.
.
.
(สหกรณ์ร้านค้า ตั้งมานานหลายสิบปีแล้ว ตามระเบียบว่าด้วยเรื่องสหกรณ์ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้าน ไม่มีการยื่นบัญชี หรือผลการดำเนินงานใดๆ ต่อรัฐ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วยครับ)
.
.
[นอกจากหมู่บ้านที่ผมอาศัยอยู่ หมู่บ้านรอบข้างในตำบลเดียวกัน คนขายสหกรณ์ร้านค้าก็ได้ค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมายแรงงานเช่นกัน (มากน้อย แต่ละหมู่บ้านไม่เท่ากัน) ส่วนรายละเอียดเวลาการทำงาน(ขายของ) และ หรือ การปันผลค่าตอบแทนเป็นอย่างไรผมไม่ทราบครับ]
.
.
.
.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่