องค์กรที่มักใช้คำว่า ผู้บริโภค เป็นส่วนประกอบในชื่อองค์กร รวมตัวกันประมาณ 151 องค์กรทั่วประเทศ ยื่นเรื่องต่อสำนักปลัดสำนักนายรัฐมนตรี ขอจัดตั้งเป็น “สภาองค์กรผู้บริโภค”
แต่มีการทักท้วงจากภาคประชาสังคม นำโดยนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบที่มาที่ไปของ 151 องค์กรนี้ เพราะมีความไม่ชอบมาพากล ในการจัดตั้งองค์กรระดับท้องถิ่น เงื่อนเวลาการจัดตั้ง และเรื่องของผลงาน
ตามพ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ปี 2562 ระบุว่า สภาองค์กรของผู้บริโภค ต้องมีการรวมตัว องค์กรเครือข่ายอย่างน้อย 150 องค์กร โดยมีหลักการสำคัญคือต้องเป็นอิสระ ไม่ได้รับเงินจากหน่วยงานรัฐหรือองค์กรใด รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี และมีการขออนุญาตจดแจ้งกับนายทะเบียนส่วนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด เมื่อได้รายชื่อครบแล้ว จึงจะสามารถรวมตัวกันยื่นจดแจ้งต่อสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อตั้งเป็น สภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งจุดนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยเรื่องเงื่อนเวลาที่ไม่สัมพันธ์กับการจัดหารายชื่อองค์กรของผู้บริโภคมารวมตัวกัน
นอกจากนี้ สังคมยังไม่เคยเห็นผลงานขององค์กรพวกนี้เลย เพราะถ้าผลงานเป็นที่ประจักษ์จริงกันทุกองค์กร คงไม่มีปัญหาผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างแพร่หลายในขณะนี้ และอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีสภาองค์กรผู้บริโภค เว้นแต่มีความพยายามที่จะจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง!!!
เพราะว่า ถ้ามีการประกาศจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้แล้ว กฎหมายกำหนดให้ รัฐบาลต้องจัดสรรเงินจากภาษีประชาชน มาเป็นทุนประเดิมให้กับสภานี้ ไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท (350 ล้านบาท!!! โอ้ว แม่เจ้า) หลังจากนั้นจึงจะได้รับงบประมาณในแต่ละปี
ฟังแล้วอึ้งใช่มั้ย งบเยอะขนาดนี้นี่เอง ถึงต้องพยายามจัดตั้งเป็น “สภา” ให้ได้
จะตั้งอะไรก็คงไม่มีใครว่า ถ้ามีที่มาที่ไปอย่างขาวสะอาด โปร่งใส ตรวจสอบได้
แต่ถ้ามาแบบมีเงื่อนงำ ยังทำผิดกฎหมาย แล้วจะมาอ้างตัวว่าทำหน้าที่แทนประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้บริโภคตามกฎหมายได้อย่างไร
ถ้าตัวเองยังไม่สะอาด ก็อย่าเที่ยวไปซักฟอกใครเหมือนที่ทำอยู่ตอนนี้จะดีกว่า ไปทำตัวเองให้ใสสะอาดไร้มลทินก่อนเถอะ พวกองค์กรทิพย์ทั้งหลาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อมูลจากข่าว ลุ้นระทึกบทสรุป “สภาองค์กรผู้บริโภค” จดจัดตั้งผิดกม.หรือไม่
รูปจากกลุ่มในเฟซบุ๊ก
อึ้ง องค์กรทิพย์ นับร้อย อ้างทำเพื่อผู้บริโภค แต่จัดตั้งผิดกฎหมาย
แต่มีการทักท้วงจากภาคประชาสังคม นำโดยนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบที่มาที่ไปของ 151 องค์กรนี้ เพราะมีความไม่ชอบมาพากล ในการจัดตั้งองค์กรระดับท้องถิ่น เงื่อนเวลาการจัดตั้ง และเรื่องของผลงาน
ตามพ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ปี 2562 ระบุว่า สภาองค์กรของผู้บริโภค ต้องมีการรวมตัว องค์กรเครือข่ายอย่างน้อย 150 องค์กร โดยมีหลักการสำคัญคือต้องเป็นอิสระ ไม่ได้รับเงินจากหน่วยงานรัฐหรือองค์กรใด รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี และมีการขออนุญาตจดแจ้งกับนายทะเบียนส่วนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด เมื่อได้รายชื่อครบแล้ว จึงจะสามารถรวมตัวกันยื่นจดแจ้งต่อสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อตั้งเป็น สภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งจุดนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยเรื่องเงื่อนเวลาที่ไม่สัมพันธ์กับการจัดหารายชื่อองค์กรของผู้บริโภคมารวมตัวกัน
นอกจากนี้ สังคมยังไม่เคยเห็นผลงานขององค์กรพวกนี้เลย เพราะถ้าผลงานเป็นที่ประจักษ์จริงกันทุกองค์กร คงไม่มีปัญหาผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างแพร่หลายในขณะนี้ และอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีสภาองค์กรผู้บริโภค เว้นแต่มีความพยายามที่จะจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง!!!
เพราะว่า ถ้ามีการประกาศจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้แล้ว กฎหมายกำหนดให้ รัฐบาลต้องจัดสรรเงินจากภาษีประชาชน มาเป็นทุนประเดิมให้กับสภานี้ ไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท (350 ล้านบาท!!! โอ้ว แม่เจ้า) หลังจากนั้นจึงจะได้รับงบประมาณในแต่ละปี
ฟังแล้วอึ้งใช่มั้ย งบเยอะขนาดนี้นี่เอง ถึงต้องพยายามจัดตั้งเป็น “สภา” ให้ได้
จะตั้งอะไรก็คงไม่มีใครว่า ถ้ามีที่มาที่ไปอย่างขาวสะอาด โปร่งใส ตรวจสอบได้
แต่ถ้ามาแบบมีเงื่อนงำ ยังทำผิดกฎหมาย แล้วจะมาอ้างตัวว่าทำหน้าที่แทนประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้บริโภคตามกฎหมายได้อย่างไร
ถ้าตัวเองยังไม่สะอาด ก็อย่าเที่ยวไปซักฟอกใครเหมือนที่ทำอยู่ตอนนี้จะดีกว่า ไปทำตัวเองให้ใสสะอาดไร้มลทินก่อนเถอะ พวกองค์กรทิพย์ทั้งหลาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้