ปกป้องเด็ก ห่างไกล “โรคมือ เท้า ปาก” 🦠🦠
⛈️⛈️ช่วงนี้ฝนตกชุก อากาศเย็นลง ประกอบกับสถานศึกษาและศูนย์เด็กเล็กเปิดภาคเรียนมาระยะหนึ่งแล้ว เด็กมีการทำกิจกรรมรวมกลุ่มใกล้ชิดกัน ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ได้ง่าย
🚩 โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสในลำไส้ ซึ่งจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก โดยเชื้อไวรัสจะติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากแผลตุ่มพอง หรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอจามใส่กัน จึงพบมากในกลุ่มเด็กเล็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
🚩 หากได้รับเชื้อระยะเริ่มต้นจะมีอาการไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วันจะมีอาการเจ็บปาก มีตุ่มพองเล็ก ๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปากที่เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น จากนั้นจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ
📣📣 สำหรับการดูแลเบื้องต้น ผู้ปกครองควรให้บุตรหลานจิบน้ำบ่อย ๆ อย่าให้ขาดน้ำ หากกินอาหารไม่ได้ เพราะเจ็บในปากมาก สามารถให้กินอาหารเย็น ๆ เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ต และดื่มน้ำตามทุกครั้ง โดยส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นใน 3 วัน แต่ถ้ากินอาหารไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย มีอาการซึมมาก หรือมีไข้สูง เดินเซ ชักเกร็ง หายใจเหนื่อยหอบ อาเจียนมาก ต้องรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษา เพราะอาจเป็นเชื้อชนิดรุนแรง
📣📣 ส่วนวิธีการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ผู้ปกครองควรคัดกรองอาการของเด็กก่อนไปเรียน หากเด็กไม่สบาย หรือมีไข้ ควรพาไปพบแพทย์และให้พักอยู่ที่บ้าน ให้เด็กสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ หมั่นทำความสะอาดของใช้ ของเล่น และพื้นที่ที่เด็กใช้ร่วมกันเป็นประจำ สถานศึกษาควรจัดพื้นที่เข้าแถว หรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อย เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร
ปกป้องเด็ก ห่างไกล “โรคมือ เท้า ปาก” 🦠🦠
⛈️⛈️ช่วงนี้ฝนตกชุก อากาศเย็นลง ประกอบกับสถานศึกษาและศูนย์เด็กเล็กเปิดภาคเรียนมาระยะหนึ่งแล้ว เด็กมีการทำกิจกรรมรวมกลุ่มใกล้ชิดกัน ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ได้ง่าย
🚩 โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสในลำไส้ ซึ่งจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก โดยเชื้อไวรัสจะติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากแผลตุ่มพอง หรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอจามใส่กัน จึงพบมากในกลุ่มเด็กเล็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
🚩 หากได้รับเชื้อระยะเริ่มต้นจะมีอาการไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วันจะมีอาการเจ็บปาก มีตุ่มพองเล็ก ๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปากที่เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น จากนั้นจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ
📣📣 สำหรับการดูแลเบื้องต้น ผู้ปกครองควรให้บุตรหลานจิบน้ำบ่อย ๆ อย่าให้ขาดน้ำ หากกินอาหารไม่ได้ เพราะเจ็บในปากมาก สามารถให้กินอาหารเย็น ๆ เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ต และดื่มน้ำตามทุกครั้ง โดยส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นใน 3 วัน แต่ถ้ากินอาหารไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย มีอาการซึมมาก หรือมีไข้สูง เดินเซ ชักเกร็ง หายใจเหนื่อยหอบ อาเจียนมาก ต้องรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษา เพราะอาจเป็นเชื้อชนิดรุนแรง
📣📣 ส่วนวิธีการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ผู้ปกครองควรคัดกรองอาการของเด็กก่อนไปเรียน หากเด็กไม่สบาย หรือมีไข้ ควรพาไปพบแพทย์และให้พักอยู่ที่บ้าน ให้เด็กสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ หมั่นทำความสะอาดของใช้ ของเล่น และพื้นที่ที่เด็กใช้ร่วมกันเป็นประจำ สถานศึกษาควรจัดพื้นที่เข้าแถว หรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อย เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร