ท่วมซ้ำซากทุกปี ชาวนาทุกข์หนัก น้ำขังนาน-สูงเกินเมตร ข้าวกำลังโตจมเสียหาย
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7238366
นครราชสีมา ฝนถล่มต่อเนื่องนาน ชาวนาทุกข์หนัก น้ำขังนานหลายสัปดาห์ สูงเกิน 1 เมตร น้ำท่วมนาจมข้าว ประสบปัญหาซ้ำซากทุกปี วอนภาครัฐหาทางแก้ไขด่วน
นครราชสีมา – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จะมีพายุฝนฟ้าคะนองจะทำให้มีฝนตกในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ร้อยและ 30-60% ของพื้นที่
โดยช่วงค่ำ วันที่ 29 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา เกิดพายุฝนก่อตัวขึ้นในพื้นที่ อำเภอเมือง ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องนานนับชั่วโมง และจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องหลายวันที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอประทาย จ.นครราชสีมา
ซึ่งปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมา ทำให้มีมวลน้ำไหลหลากเข้าท่วมนาข้าวในพื้นที่ อ.ประทายจ.นครราชสีมา เป็นบริเวณกว้าง ชาวนาหลายรายได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังนานหลายสัปดาห์ ทำให้ต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตได้รับความเสียหาย
นาย
เกรียติศักดิ์ บุตรฉิม อายุ 63 ปี ชาวนา ต.ตลาดไทร อ.ประทาย บอกว่า ตนลงทุนทำนาปลูกข้าว จำนวน 8 ไร่ เป็นข้าวหอมมะลิ แต่ฝนที่ตกลงมาติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ ส่งผลให้ปริมาณน้ำจากพื้นที่ บ้านไผ่ อ.พล จ.ขอนแก่น ไหลมารวมกันภายในลำสะแทด อ.ประทาย
ทำให้นาข้าวที่อยู่ติดกับลำสะแทด ถูกน้ำท่วมสูงเกิน 1 เมตร ต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตได้รับความเสียหาย จึงอยากให้ทางภาครัฐ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนาข้าวของเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน เพราะชาวนาเจอปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปี
เด็กไทยฮิตเรียนต่อมหา'ลัย ตปท.แห่เทียบวุฒิอเมริกา ลาออกกลางคันเพียบ แฉเบื่อระบบการศึกษาไทย
https://www.matichon.co.th/education/news_3531755
เด็กไทยฮิตเรียนต่อมหา’ลัย ตปท.แห่เทียบวุฒิอเมริกา ลาออกกลางคันเพียบ ‘ศุภเสฏฐ์’ แฉสาเหตุเบื่อระบบการศึกษาไทย
ดร.
ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) เปิดเผยว่า กรณีนาย
สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุ เทรนด์การเรียนในปัจจุบัน ว่าเด็กในวัยเรียนสนใจมาเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพิ่มมากขึ้น เพราะเด็กนิยมเรียนไป ทำงานไป การมาเรียน กศน.ทำให้แบ่งเวลาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับโรงเรียนเอกชน โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กที่อาจมีจำนวนนักเรียนลดลงนั้น มองว่าเรื่องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบกับโรงเรียนเอกชนมากนัก เพราะส่วนใหญ่เด็กที่เรียน กศน.จะจบชั้น ม.3 ก่อน ถึงตัดสินใจไปเรียน ดังนั้น ถ้าโรงเรียนเอกชนที่ไหนเปิดสอนถึงระดับชั้น ม.3 จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้าโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนถึงระดับชั้น ม.6 จะได้รับผลกระทบ แต่จะเป็นส่วนน้อย เพราะโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนชั้นมัธยมปลายด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่
ดร.
ศุภเสฏฐ์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โรงเรียนเอกชนพบปัญหาที่น่าห่วงคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย ทั้งรัฐ และเอกชน ไปสอบ General Educational Development (GED) การสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบอเมริกา (US High School Equivalency Diploma) กันจำนวนมาก ซึ่งการสอบ GED เพื่อเทียบวุฒิมัธยมปลาย ใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทั้งใน และต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อการโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐ โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ปัจจุบันพบว่ามีนักเรียนชั้นมัธยมปลายของโรงเรียนเอกชนประมาณ 10% เข้าไปสอบ GED ถือเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
“การสอบ GED นั้น เด็กจะเข้าสอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี หากได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองแล้ว เมื่อเด็กสอบเทียบได้ จะลาออกกลางคัน หรือบางรายอาจจะลาออกเพื่อไปเตรียมสอบ ส่งผลกระทบเรื่องค่าใช้จ่ายกับโรงเรียนเอกชนอย่างมาก เพราะกระทบต่อการคำนวณเงินเพื่อจ้างครู ที่อาจจะไม่คุ้มค่า เพราะแต่ละปีโรงเรียนจะคำนวณว่าเมื่อเด็กเข้ามาเรียนชั้น ม.4-6 ใน 3 ปีนี้ โรงเรียนจะได้รับค่าเทอมมาบริหารจัดสรรเป็นเงินเดือนครูเท่าใด แต่ถ้านักเรียนออกกลางคันจำนวนมาก การจ่ายค่าจ้างครูอาจมีปัญหาได้ ที่ผ่านมา ส.ปส.กช.หารือร่วมกัน และเห็นตรงกันว่าสาเหตุที่นักเรียนไปสอบ GED จำนวนมาก เพราะเบื่อระบบการศึกษาของประเทศ ดังนั้น โรงเรียนเอกชนต้องปรับตัว ปรับการเรียนการสอนให้น่าสนใจมากขึ้น เพราะไม่สามารถบังคับเด็กให้มาเรียนได้” ดร.
ศุภเสฏฐ์ กล่าว
"หมอชลน่าน"หวั่นยุบสภาใช้พ.ร.ก.เลือกตั้งหวั่นเกิดวิกฤตการเมือง
https://www.nationtv.tv/news/politics/378884840
"ชลน่าน"ย้ำติดตามการใช้อำนาจ"บิ๊กป้อม"อย่างใกล้ชิด หวั่นยุบสภาออกพ.ร.ก.เลือกตั้ง ทำประเทศมีปัญหาแน่ เพราะต้องมีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
30 สิงหาคม 2565 นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการใช้อำนาจรักษาการนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ยกตัวอย่างกรณีเมื่อวานนี้ (29 ส.ค.) นั่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ตช.) ว่า ซึ่งมีข้อถกเถียงพอสมควรว่าทำได้หรือไม่ แต่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลยืนยันว่า ความเป็นนายกรักษาการของ พล.อ.ประวิตร นั้นมีอำนาจเต็ม ซึ่งสามารถทำหน้าที่แทนนายกฯได้
นพ.
ชลน่าน กล่าวต่อว่า แต่จะมีปัญหาหรือไม่เป็นข้อถกเถียงทางกฎหมาย จะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง สิ่งที่กระทำเป็นบวกหรือลบ ส่งผลเสียต่อประเทศชาติหรือประชาชนหรือไม่ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งฝ่ายค้านจะไปตรวจสอบอย่างเข้มข้นตรงนั้น จะสงสัยหรือไม่ จะต้องปรึกษาหารือกัน โดยให้ผลการกระทำเป็นตัววัด
ส่วนกระแสข่าวการยุบสภา แม้ยืนยันว่าควรคืนอำนาจให้ประชาชน แต่เกรงจะมีสุญญากาศทางการเมืองเกิดขึ้น เนื่องจากการยุบสภาช่วงนี้ไม่เหมาะสม เพราะมองว่าจะไม่เกิดการเลือกตั้ง หรือหากมีการเลือกตั้ง ก็อาจมีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เอง หรือประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่อาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
นอกจากนั้น ยังมีข้อถกเถียงอยู่ คือ การออก พ.ร.ก. ตามศักดิ์ทางกฎหมาย ใช้แทนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ไม่ใช่กฎหมายเลือกตั้ง อย่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะมีปัญหา หากใช้บังคับ แล้วมีคนยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญจนการเลือกตั้งเป็นโมฆะ จนส่งผลเสียต่อประเทศ
"ถึงที่สุดอะไรที่ไม่เขียนในรัฐธรรมนูญ ก็ไปอ้างอิงเอาตรงนั้น ซึ่งอาจเป็นทางออกทางเลี่ยงได้ แต่จะชอบด้วยกระบวนการ วิธีการ แล้วเป็นประโยชน์โดยรวมหรือไม่ กติกาจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องไปดูกัน จึงมีโอกาสเกิดวิกฤติทางการเมือง หรือวุ่นวายเป็นไปได้สูงหากยุบสภาในช่วงนี้ สำหรับข้อถกเถียงในส่วนอำนาจรักษาการนายกรัฐมนตรี จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และดูตามข้อเท็จจริงว่าเหมาะสมหรือไม่" นพ.
ชลน่าน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจน ควรยื่นให้ศาลตรวจสอบอำนาจรักษาการนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า ต้องให้ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยดูข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ว่าจำเป็นต้องทำขนาดนั้นหรือไม่ ส่วนตัวยังไม่มีความรู้เท่านั้น
JJNY : ท่วมซ้ำซากทุกปี ชาวนาทุกข์หนัก│เด็กไทยเบื่อระบบการศึกษาไทย│"หมอชลน่าน"หวั่นยุบสภา│‘กูรูไพศาล’เตือนอย่าแถจนวิปริต!
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7238366
นครราชสีมา ฝนถล่มต่อเนื่องนาน ชาวนาทุกข์หนัก น้ำขังนานหลายสัปดาห์ สูงเกิน 1 เมตร น้ำท่วมนาจมข้าว ประสบปัญหาซ้ำซากทุกปี วอนภาครัฐหาทางแก้ไขด่วน
นครราชสีมา – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จะมีพายุฝนฟ้าคะนองจะทำให้มีฝนตกในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ร้อยและ 30-60% ของพื้นที่
โดยช่วงค่ำ วันที่ 29 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา เกิดพายุฝนก่อตัวขึ้นในพื้นที่ อำเภอเมือง ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องนานนับชั่วโมง และจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องหลายวันที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอประทาย จ.นครราชสีมา
ซึ่งปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมา ทำให้มีมวลน้ำไหลหลากเข้าท่วมนาข้าวในพื้นที่ อ.ประทายจ.นครราชสีมา เป็นบริเวณกว้าง ชาวนาหลายรายได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังนานหลายสัปดาห์ ทำให้ต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตได้รับความเสียหาย
นายเกรียติศักดิ์ บุตรฉิม อายุ 63 ปี ชาวนา ต.ตลาดไทร อ.ประทาย บอกว่า ตนลงทุนทำนาปลูกข้าว จำนวน 8 ไร่ เป็นข้าวหอมมะลิ แต่ฝนที่ตกลงมาติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ ส่งผลให้ปริมาณน้ำจากพื้นที่ บ้านไผ่ อ.พล จ.ขอนแก่น ไหลมารวมกันภายในลำสะแทด อ.ประทาย
ทำให้นาข้าวที่อยู่ติดกับลำสะแทด ถูกน้ำท่วมสูงเกิน 1 เมตร ต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตได้รับความเสียหาย จึงอยากให้ทางภาครัฐ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนาข้าวของเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน เพราะชาวนาเจอปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปี
เด็กไทยฮิตเรียนต่อมหา'ลัย ตปท.แห่เทียบวุฒิอเมริกา ลาออกกลางคันเพียบ แฉเบื่อระบบการศึกษาไทย
https://www.matichon.co.th/education/news_3531755
เด็กไทยฮิตเรียนต่อมหา’ลัย ตปท.แห่เทียบวุฒิอเมริกา ลาออกกลางคันเพียบ ‘ศุภเสฏฐ์’ แฉสาเหตุเบื่อระบบการศึกษาไทย
ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) เปิดเผยว่า กรณีนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุ เทรนด์การเรียนในปัจจุบัน ว่าเด็กในวัยเรียนสนใจมาเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพิ่มมากขึ้น เพราะเด็กนิยมเรียนไป ทำงานไป การมาเรียน กศน.ทำให้แบ่งเวลาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับโรงเรียนเอกชน โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กที่อาจมีจำนวนนักเรียนลดลงนั้น มองว่าเรื่องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบกับโรงเรียนเอกชนมากนัก เพราะส่วนใหญ่เด็กที่เรียน กศน.จะจบชั้น ม.3 ก่อน ถึงตัดสินใจไปเรียน ดังนั้น ถ้าโรงเรียนเอกชนที่ไหนเปิดสอนถึงระดับชั้น ม.3 จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้าโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนถึงระดับชั้น ม.6 จะได้รับผลกระทบ แต่จะเป็นส่วนน้อย เพราะโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนชั้นมัธยมปลายด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่
ดร.ศุภเสฏฐ์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โรงเรียนเอกชนพบปัญหาที่น่าห่วงคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย ทั้งรัฐ และเอกชน ไปสอบ General Educational Development (GED) การสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบอเมริกา (US High School Equivalency Diploma) กันจำนวนมาก ซึ่งการสอบ GED เพื่อเทียบวุฒิมัธยมปลาย ใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทั้งใน และต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อการโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐ โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ปัจจุบันพบว่ามีนักเรียนชั้นมัธยมปลายของโรงเรียนเอกชนประมาณ 10% เข้าไปสอบ GED ถือเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
“การสอบ GED นั้น เด็กจะเข้าสอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี หากได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองแล้ว เมื่อเด็กสอบเทียบได้ จะลาออกกลางคัน หรือบางรายอาจจะลาออกเพื่อไปเตรียมสอบ ส่งผลกระทบเรื่องค่าใช้จ่ายกับโรงเรียนเอกชนอย่างมาก เพราะกระทบต่อการคำนวณเงินเพื่อจ้างครู ที่อาจจะไม่คุ้มค่า เพราะแต่ละปีโรงเรียนจะคำนวณว่าเมื่อเด็กเข้ามาเรียนชั้น ม.4-6 ใน 3 ปีนี้ โรงเรียนจะได้รับค่าเทอมมาบริหารจัดสรรเป็นเงินเดือนครูเท่าใด แต่ถ้านักเรียนออกกลางคันจำนวนมาก การจ่ายค่าจ้างครูอาจมีปัญหาได้ ที่ผ่านมา ส.ปส.กช.หารือร่วมกัน และเห็นตรงกันว่าสาเหตุที่นักเรียนไปสอบ GED จำนวนมาก เพราะเบื่อระบบการศึกษาของประเทศ ดังนั้น โรงเรียนเอกชนต้องปรับตัว ปรับการเรียนการสอนให้น่าสนใจมากขึ้น เพราะไม่สามารถบังคับเด็กให้มาเรียนได้” ดร.ศุภเสฏฐ์ กล่าว
"หมอชลน่าน"หวั่นยุบสภาใช้พ.ร.ก.เลือกตั้งหวั่นเกิดวิกฤตการเมือง
https://www.nationtv.tv/news/politics/378884840
"ชลน่าน"ย้ำติดตามการใช้อำนาจ"บิ๊กป้อม"อย่างใกล้ชิด หวั่นยุบสภาออกพ.ร.ก.เลือกตั้ง ทำประเทศมีปัญหาแน่ เพราะต้องมีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
30 สิงหาคม 2565 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการใช้อำนาจรักษาการนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ยกตัวอย่างกรณีเมื่อวานนี้ (29 ส.ค.) นั่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ตช.) ว่า ซึ่งมีข้อถกเถียงพอสมควรว่าทำได้หรือไม่ แต่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลยืนยันว่า ความเป็นนายกรักษาการของ พล.อ.ประวิตร นั้นมีอำนาจเต็ม ซึ่งสามารถทำหน้าที่แทนนายกฯได้
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า แต่จะมีปัญหาหรือไม่เป็นข้อถกเถียงทางกฎหมาย จะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง สิ่งที่กระทำเป็นบวกหรือลบ ส่งผลเสียต่อประเทศชาติหรือประชาชนหรือไม่ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งฝ่ายค้านจะไปตรวจสอบอย่างเข้มข้นตรงนั้น จะสงสัยหรือไม่ จะต้องปรึกษาหารือกัน โดยให้ผลการกระทำเป็นตัววัด
ส่วนกระแสข่าวการยุบสภา แม้ยืนยันว่าควรคืนอำนาจให้ประชาชน แต่เกรงจะมีสุญญากาศทางการเมืองเกิดขึ้น เนื่องจากการยุบสภาช่วงนี้ไม่เหมาะสม เพราะมองว่าจะไม่เกิดการเลือกตั้ง หรือหากมีการเลือกตั้ง ก็อาจมีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เอง หรือประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่อาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
นอกจากนั้น ยังมีข้อถกเถียงอยู่ คือ การออก พ.ร.ก. ตามศักดิ์ทางกฎหมาย ใช้แทนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ไม่ใช่กฎหมายเลือกตั้ง อย่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะมีปัญหา หากใช้บังคับ แล้วมีคนยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญจนการเลือกตั้งเป็นโมฆะ จนส่งผลเสียต่อประเทศ
"ถึงที่สุดอะไรที่ไม่เขียนในรัฐธรรมนูญ ก็ไปอ้างอิงเอาตรงนั้น ซึ่งอาจเป็นทางออกทางเลี่ยงได้ แต่จะชอบด้วยกระบวนการ วิธีการ แล้วเป็นประโยชน์โดยรวมหรือไม่ กติกาจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องไปดูกัน จึงมีโอกาสเกิดวิกฤติทางการเมือง หรือวุ่นวายเป็นไปได้สูงหากยุบสภาในช่วงนี้ สำหรับข้อถกเถียงในส่วนอำนาจรักษาการนายกรัฐมนตรี จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และดูตามข้อเท็จจริงว่าเหมาะสมหรือไม่" นพ.ชลน่าน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจน ควรยื่นให้ศาลตรวจสอบอำนาจรักษาการนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ต้องให้ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยดูข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ว่าจำเป็นต้องทำขนาดนั้นหรือไม่ ส่วนตัวยังไม่มีความรู้เท่านั้น