📚 งานนี้เป็นการศึกษาว่าด้วยการจำกัดเวลานอนต่อเนื่อง (Chronic Sleep Restriction, CSR) ว่าส่งผลยังไงกับความดันโลหิต , การคั่งของโซเดียม (Sodium retention) และการหลั่งฮอร์โมน Aldosterone บ้าง
🤔 นอกจากดูเรื่องการนอนที่จำกัดเวลาแล้วเนี่ย เขาดูไปถึงเรื่องของ Recurrent circadian disruption ว่าง่ายๆคือการที่นาฬิกาชีวภาพของเราคลาดเคลื่อนถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง ว่าง่ายๆกว่าอีกก็คือพวกคนที่ทำงานเป็นกะ ที่ต้องสลับทำงานเช้าบ้าง บ่ายบ้าง ดึกบ้าง หรือ Shift worker นั่นเอง
📝 เขาก็นำเอาคนสุขภาพดีๆนี่แหละครับ มาทดลอง ได้คนมา 17 คน (งานวิจัยแบบนี้ 17 คนนี่ก็ไม่น้อยนา) ทำการทดลอง 32 วัน โดยจับเอามาอยู่ในที่ทำวิจัยของเขา (งานพวกนี้ชอบจับคนไปขัง ๕๕) แล้วก็ให้ใช้ชีวิตวันละ 20 ชั่วโมง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ ให้เวลานอนกับเวลาตื่นสัดส่วน 1:3.3 (CSR group) และกลุ่มที่นอนต่อตื่น 1:2 (Control)
🍱 อาหารการกินเนี่ยเขาก็มีให้นะครับ โดยคำนวณอาหารที่จะกินจากสูตร Harris-Benedict มื้อเช้าให้กินหลังจากตื่น 1:25 ชั่วโมง เที่ยงก็ 5:30 ชั่วโมง และเย็น 9:30 ชั่วโมงหลังตื่น สัดส่วนอาหารทั่วไป คาร์บ 45-50% ไขมัน 30-35% และโปรตีน 15-20% คุมโซเดียมและโพแทสเซียม และให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 2.5 ลิตรต่อวัน (อย่าลืมว่าวันนึงของเขาคือ 20 ชั่วโมง ตาม FD protocol)
📌 ว่าง่ายๆ (หลายง่ายละ๕๕) ก็คือเขาเอาคนมาทำให้นอนน้อยและทำให้นาฬิกาชีวภาพรวน โดยมันจะได้ออกมาเป็นว่าในแต่ละกลุ่ม ทั้งกลุ่ม CSR ที่นอนน้อย และกลุ่มควบคุม จะได้ผลทั้งช่วงที่นาฬิกาชีวภาพมันตรง (Aligned) และคลาดเคลื่อน (Misaligned) เขามีรายละเอียดอธิบายเรื่องตรงไม่ตรงในงานนะครับ ใครสนใจไปอ่านได้
🔎 ทั้งหมดนี้ก็เพื่อวัดผลสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งก็คือพวกผลที่เกี่ยวกับความดันโลหิต , อัตราการเต้นหัวใจ , โซเดียม และโพแทสเซียม ในปัสสาวะ และการหลั่งฮอร์โมน Aldosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลย์ของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในเลือด ในแต่ละเงื่อนไข
🩸 ผลที่พบก็คือ จากคนที่สุขภาพแข็งแรงปกติทั่วๆไป ถ้านาฬิกาชีวภาพคลาดเคลื่อน ความดันจะสูงขึ้นประมาณ 6% เมื่อนอนน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่ม Control และนาฬิกาชีวภาพที่คลาดเคลื่อน ส่งผลให้การขับโซเดียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น และโพแทสเซียมขับลดลง โดยไม่ขึ้นกับฮอร์โมน Aldosterone
🤔 ทีนี้พอกลุ่มตัวอย่างที่นาฬิกาชีวภาพคลาดเคลื่อน ทานโซเดียมและโพแทสเซียมเท่าเดิม (เพราะเขากำหนดไว้) แต่พบว่ามีการขับโซเดียมและโพแทสเซียมทางปัสสาวะเปลี่ยนไป ก็แปลว่าในช่วงที่ไม่ได้ขับถ่ายออกมา ในร่างกายก็จะเกิดโซเดียมคั่ง และพร่องโพแทสเซียม ซึ่งตรงนี้ก็ส่งผลกับความดันโลหิต และอาการบวมน้ำ (Water retention)
📌 ในทางปฎิบัติของเรา สำหรับผมนะก็คิดว่าย้อนกลับไปที่ฟีดแบคของเรา ถ้าเรามีความดันสูง ก็ย้อนกลับไปดูปัจจัยต่างๆว่าอาจจะมีอะไรเกี่ยวบ้าง และเรื่องของเวลานอนเวลาตื่นที่เปลี่ยนไป ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุนึง ถ้ามันเปลี่ยนแปลงตรงนี้ไม่ได้ ก็ต้องไปปรับด้านอื่นชดเชยกันช่วยไป
😎 ผมลองนึกภาพนะว่า เวลางานที่เปลี่ยนไปส่งผลให้เรามีโซเดียมคั่งเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังรู้สึกว่า ความนัวความแซ่บมันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรขาด เราก็จัดชาบู จัดตำปูปลาร้า จัดเมี่ยงปลาเผา(เค็มนะเว้ยจะบอกให้ ๕๕๕) กันเป็นประจำ ออกพอเวลามันรวน ก็มักจะส่งผลกิจกรรมอื่นอีก อาจจะพ่วงด้วยกำลังกายก็ไม่ค่อยได้ออก แล้วพอตรวจสุขภาพแล้วความดันมันก็สูงๆ แต่ไม่คิดจะปรับจะเปลี่ยนอะไร เดี๋ยวพี่ความดันคงจะกวักมือชวนเพื่อนๆโรคอื่นตามมาอ่ะ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-26-sleep-restriction-and-recurrent-circadian-disruption-differentially-affects-blood-pressure-sodium-retention-and-aldosterone-secretion/
นี่อาจจะคำอธิบายนึงว่าทำไมทำงานเป็นกะ นอนไม่เป็นเวลา แล้วมีอาการบวมน้ำเกิดขึ้นได้ง่าย ? 😱
🤔 นอกจากดูเรื่องการนอนที่จำกัดเวลาแล้วเนี่ย เขาดูไปถึงเรื่องของ Recurrent circadian disruption ว่าง่ายๆคือการที่นาฬิกาชีวภาพของเราคลาดเคลื่อนถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง ว่าง่ายๆกว่าอีกก็คือพวกคนที่ทำงานเป็นกะ ที่ต้องสลับทำงานเช้าบ้าง บ่ายบ้าง ดึกบ้าง หรือ Shift worker นั่นเอง
📝 เขาก็นำเอาคนสุขภาพดีๆนี่แหละครับ มาทดลอง ได้คนมา 17 คน (งานวิจัยแบบนี้ 17 คนนี่ก็ไม่น้อยนา) ทำการทดลอง 32 วัน โดยจับเอามาอยู่ในที่ทำวิจัยของเขา (งานพวกนี้ชอบจับคนไปขัง ๕๕) แล้วก็ให้ใช้ชีวิตวันละ 20 ชั่วโมง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ ให้เวลานอนกับเวลาตื่นสัดส่วน 1:3.3 (CSR group) และกลุ่มที่นอนต่อตื่น 1:2 (Control)
🍱 อาหารการกินเนี่ยเขาก็มีให้นะครับ โดยคำนวณอาหารที่จะกินจากสูตร Harris-Benedict มื้อเช้าให้กินหลังจากตื่น 1:25 ชั่วโมง เที่ยงก็ 5:30 ชั่วโมง และเย็น 9:30 ชั่วโมงหลังตื่น สัดส่วนอาหารทั่วไป คาร์บ 45-50% ไขมัน 30-35% และโปรตีน 15-20% คุมโซเดียมและโพแทสเซียม และให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 2.5 ลิตรต่อวัน (อย่าลืมว่าวันนึงของเขาคือ 20 ชั่วโมง ตาม FD protocol)
📌 ว่าง่ายๆ (หลายง่ายละ๕๕) ก็คือเขาเอาคนมาทำให้นอนน้อยและทำให้นาฬิกาชีวภาพรวน โดยมันจะได้ออกมาเป็นว่าในแต่ละกลุ่ม ทั้งกลุ่ม CSR ที่นอนน้อย และกลุ่มควบคุม จะได้ผลทั้งช่วงที่นาฬิกาชีวภาพมันตรง (Aligned) และคลาดเคลื่อน (Misaligned) เขามีรายละเอียดอธิบายเรื่องตรงไม่ตรงในงานนะครับ ใครสนใจไปอ่านได้
🔎 ทั้งหมดนี้ก็เพื่อวัดผลสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งก็คือพวกผลที่เกี่ยวกับความดันโลหิต , อัตราการเต้นหัวใจ , โซเดียม และโพแทสเซียม ในปัสสาวะ และการหลั่งฮอร์โมน Aldosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลย์ของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในเลือด ในแต่ละเงื่อนไข
🩸 ผลที่พบก็คือ จากคนที่สุขภาพแข็งแรงปกติทั่วๆไป ถ้านาฬิกาชีวภาพคลาดเคลื่อน ความดันจะสูงขึ้นประมาณ 6% เมื่อนอนน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่ม Control และนาฬิกาชีวภาพที่คลาดเคลื่อน ส่งผลให้การขับโซเดียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น และโพแทสเซียมขับลดลง โดยไม่ขึ้นกับฮอร์โมน Aldosterone
🤔 ทีนี้พอกลุ่มตัวอย่างที่นาฬิกาชีวภาพคลาดเคลื่อน ทานโซเดียมและโพแทสเซียมเท่าเดิม (เพราะเขากำหนดไว้) แต่พบว่ามีการขับโซเดียมและโพแทสเซียมทางปัสสาวะเปลี่ยนไป ก็แปลว่าในช่วงที่ไม่ได้ขับถ่ายออกมา ในร่างกายก็จะเกิดโซเดียมคั่ง และพร่องโพแทสเซียม ซึ่งตรงนี้ก็ส่งผลกับความดันโลหิต และอาการบวมน้ำ (Water retention)
📌 ในทางปฎิบัติของเรา สำหรับผมนะก็คิดว่าย้อนกลับไปที่ฟีดแบคของเรา ถ้าเรามีความดันสูง ก็ย้อนกลับไปดูปัจจัยต่างๆว่าอาจจะมีอะไรเกี่ยวบ้าง และเรื่องของเวลานอนเวลาตื่นที่เปลี่ยนไป ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุนึง ถ้ามันเปลี่ยนแปลงตรงนี้ไม่ได้ ก็ต้องไปปรับด้านอื่นชดเชยกันช่วยไป
😎 ผมลองนึกภาพนะว่า เวลางานที่เปลี่ยนไปส่งผลให้เรามีโซเดียมคั่งเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังรู้สึกว่า ความนัวความแซ่บมันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรขาด เราก็จัดชาบู จัดตำปูปลาร้า จัดเมี่ยงปลาเผา(เค็มนะเว้ยจะบอกให้ ๕๕๕) กันเป็นประจำ ออกพอเวลามันรวน ก็มักจะส่งผลกิจกรรมอื่นอีก อาจจะพ่วงด้วยกำลังกายก็ไม่ค่อยได้ออก แล้วพอตรวจสุขภาพแล้วความดันมันก็สูงๆ แต่ไม่คิดจะปรับจะเปลี่ยนอะไร เดี๋ยวพี่ความดันคงจะกวักมือชวนเพื่อนๆโรคอื่นตามมาอ่ะ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-26-sleep-restriction-and-recurrent-circadian-disruption-differentially-affects-blood-pressure-sodium-retention-and-aldosterone-secretion/