เมื่อความเฟคไม่ใช่สิ่งที่โลกนี้ต้องการอีกต่อไป ไม่ว่าภาพที่คุณถ่ายจะเป็นสภาวะโลกร้อน โรคระบาด การเมืองหรือสิ่งแวดล้อมในสังคม
ทุกอย่างต้องสื่อออกมาดั่งความจริงที่สายตาเห็น
สมองของคนเราสามารถมองภาพแลัวตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ภายใน 1 มิลลิวินาที เร็วกว่าการอ่านตัวหนังสือถึง 60,000 เท่า
การศึกษาของ Microsoft พบว่าความสนใจและการจดจ่อของสมองมนุษย์ลดลงเหลือเพียง 8 วินาที แต่ก็มีคนเคยมีคนกล่าวไว้ว่า
“สโลวคอนเทนต์คือคอนเทนต์ที่ดีกว่า”
การเลือกภาพที่โดนใจและเหมาะสมกับคอนเทนต์ สามารถสร้างภาพจำใหม่ๆและทำลายกรอบการเล่าเรื่องเก่าแบบเดิมๆได้ ภาพที่มีคอนเซ็ปต์ชัดเจนสามารถเชื่อมต่ออารมณ์กับผู้ชมได้อย่างรวดเร็วกว่าคำพูดเป็นไหนๆ
ภาพโดย GoodStudio
ด้วยเหตุนี้ เรากำลังเข้าสู่โลกที่กฎการใช้ภาพเปลี่ยนไป เหล่านักการตลาดและครีเอทีฟโฆษณาต้องปรับตัวให้ทันก่อนที่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปมากกว่านี้
ถ้าเราคือนักเล่าเรื่องโดยรูปภาพ เราต้องมีความรับผิดชอบต่อการนำเสนอไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเล่า แต่ต้องรับผิดชอบในการเลือกรูปภาพด้วย
นอกจากเป้าหมายในการสร้างให้เกิดการกระทำ ควรมีเป้าหมายในการจูงใจผู้ชมด้วย
ต่อไปนี้คือหัวข้อและคำแนะนำในการเลือกใช้ภาพ ที่จะสื่อว่าโลกใบนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน
1.ภาพถ่ายภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนคือหายนะครั้งใหญ่ที่คน Gen Z และ Millennials ต้องเผชิญต่อไปในอนาคต นับว่าเป็นภาพที่ยากในการสื่อสาร
และอธิบายหายนะนี้ออกมาให้ได้ดีที่สุดในภาพเดียว
ภาพส่วนใหญ่ในทำนองเดียวกันบนโลกออนไลน์ จะสื่อว่าภาวะโลกร้อนคือวันสิ้นโลกที่รอคอยให้เกิดขึ้น แต่ไม่ค่อยมีใครถ่ายภาพ
ที่เสนอหนทางแก้ไขวันสิ้นโลกนี้เลย จึงเป็นปัญหาในการชักชวนให้ใครหลายๆคนหันมาช่วยกันสู้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้
ภาพโดย Pand P Studio
2.ภาพถ่ายสงคราม
ภาพถ่ายสงครามมักประกอบไปด้วยความขัดแย้ง ความรุนแรง ผลกระทบที่พลเรือนได้รับหรือบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
การเปิดเผยภาพความรุนแรงอย่างโจ่งแจ้งบ่อยครั้งอาจสร้างผลกระทบต่อผู้ชมให้เกิดความเคยชินกับภาพเหล่านี้ ซึ่งลดผลกระทบต่ออารมณ์
และความรู้สึกกับภาพสงครามที่น่ากลัวได้
การนำเสนอข่าวเชิงลบสามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า PTSD หรือความวิตกกังวล โดยเฉพาะภาพที่มีการปรับแต่งจนดูโหดร้ายน้อยกว่าหรือมากกว่า
ความเป็นจริง สิ่งสำคัญของการถ่ายภาพสงครามคือต้องไม่แต่งเติม ต้องแสดงให้เห็นความจริงว่าสงครามนั้นเป็นอย่างไร ความจริงที่เกิดขึ้นคืออะไร
ภาพโดย Yanosh Nemesh
3.ภาพถ่ายโรคระบาด
ในช่วงแรกนั้นภาพถ่ายการระบาดของโรคแสดงให้เห็นแต่ความกลัว ท้องถนนที่ว่างเปล่า เหล่าแพทย์พยาบาลที่อ่อนแรงและอิดโรย
ความตายเกลื่อนท้องถนน ฯลฯ ใจความที่จะสื่อในภาพเหล่านี้คือความสิ้นหวังทั้งสิ้น
ลองพยายามสื่อสารภาพเหล่านี้ออกมาใหม่แต่ในมุมมองของวิทยาศาสตร์บ้าง ไม่ว่าคอนเทนต์ที่คุณเผชิญจะเป็นหัวข้อแบบใด
ทั้งภาพถ่าย รูปวาด การนำเสนอล้วนมีวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
เมื่อนึกถึงการสื่อสารในช่วงการระบาด ควรใช้การสื่อสารแบบวิทยาศาสตร์ผ่านรูปภาพที่แสดงให้เห็นการเป็นอยู่ของผู้คนเป็นหลัก
หรือไม่ก็แสดงให้เห็นถึงนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังค้นคว้าวิจัยวัคซีน หรือการกระทำใดๆก็ตามที่สื่อถึงปัจจุบันเพื่อช่วยให้มนุษย์เข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ภาพโดย Gil Cohen Magen
4.ภาพถ่ายการเมืองที่กำลังดำเนินไป
นักการเมืองหลายๆคนจะต้องออกหาเสียงเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนโหวต จากการค้นคว้าพบว่า 3.5% ของประชากรในพื้นที่มักออกมาประท้วงอย่างแข็งขันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างหนักแน่น
แล้วเราจะทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกจากการดูภาพเหล่านี้ได้อย่างไร? เมื่อเราต้องถ่ายภาพใครสักคนที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจทางการเมืองในมุมมองด้านไหนก็ตาม เราจะต้องคิดให้ดีเสมอ เพราะภาพนั้นอาจจะสื่อเป็นทั้งด้านดีและไม่ดีก็ได้
พยายามสื่อให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในที่ต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเน้นให้เห็นข้อขัดแย้งให้น้อยที่สุดตามแต่จะพิจารณาว่าคุณต้องการสื่อสารออกไปแบบใด
บทความต้นฉบับ : A Changing World: New Rules for Using Images
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24
เรื่องที่ทุกคนต้องรู้ !!! โลกที่เปลี่ยนแปลงกับหลักการใช้ภาพที่เปลี่ยนไป
ถ้าเราคือนักเล่าเรื่องโดยรูปภาพ เราต้องมีความรับผิดชอบต่อการนำเสนอไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเล่า แต่ต้องรับผิดชอบในการเลือกรูปภาพด้วย
นอกจากเป้าหมายในการสร้างให้เกิดการกระทำ ควรมีเป้าหมายในการจูงใจผู้ชมด้วย
ต่อไปนี้คือหัวข้อและคำแนะนำในการเลือกใช้ภาพ ที่จะสื่อว่าโลกใบนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน
1.ภาพถ่ายภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนคือหายนะครั้งใหญ่ที่คน Gen Z และ Millennials ต้องเผชิญต่อไปในอนาคต นับว่าเป็นภาพที่ยากในการสื่อสาร
และอธิบายหายนะนี้ออกมาให้ได้ดีที่สุดในภาพเดียว
ภาพส่วนใหญ่ในทำนองเดียวกันบนโลกออนไลน์ จะสื่อว่าภาวะโลกร้อนคือวันสิ้นโลกที่รอคอยให้เกิดขึ้น แต่ไม่ค่อยมีใครถ่ายภาพ
ที่เสนอหนทางแก้ไขวันสิ้นโลกนี้เลย จึงเป็นปัญหาในการชักชวนให้ใครหลายๆคนหันมาช่วยกันสู้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้
ภาพถ่ายสงครามมักประกอบไปด้วยความขัดแย้ง ความรุนแรง ผลกระทบที่พลเรือนได้รับหรือบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
การเปิดเผยภาพความรุนแรงอย่างโจ่งแจ้งบ่อยครั้งอาจสร้างผลกระทบต่อผู้ชมให้เกิดความเคยชินกับภาพเหล่านี้ ซึ่งลดผลกระทบต่ออารมณ์
และความรู้สึกกับภาพสงครามที่น่ากลัวได้
การนำเสนอข่าวเชิงลบสามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า PTSD หรือความวิตกกังวล โดยเฉพาะภาพที่มีการปรับแต่งจนดูโหดร้ายน้อยกว่าหรือมากกว่า
ความเป็นจริง สิ่งสำคัญของการถ่ายภาพสงครามคือต้องไม่แต่งเติม ต้องแสดงให้เห็นความจริงว่าสงครามนั้นเป็นอย่างไร ความจริงที่เกิดขึ้นคืออะไร
ในช่วงแรกนั้นภาพถ่ายการระบาดของโรคแสดงให้เห็นแต่ความกลัว ท้องถนนที่ว่างเปล่า เหล่าแพทย์พยาบาลที่อ่อนแรงและอิดโรย
ความตายเกลื่อนท้องถนน ฯลฯ ใจความที่จะสื่อในภาพเหล่านี้คือความสิ้นหวังทั้งสิ้น
ลองพยายามสื่อสารภาพเหล่านี้ออกมาใหม่แต่ในมุมมองของวิทยาศาสตร์บ้าง ไม่ว่าคอนเทนต์ที่คุณเผชิญจะเป็นหัวข้อแบบใด
ทั้งภาพถ่าย รูปวาด การนำเสนอล้วนมีวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
เมื่อนึกถึงการสื่อสารในช่วงการระบาด ควรใช้การสื่อสารแบบวิทยาศาสตร์ผ่านรูปภาพที่แสดงให้เห็นการเป็นอยู่ของผู้คนเป็นหลัก
หรือไม่ก็แสดงให้เห็นถึงนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังค้นคว้าวิจัยวัคซีน หรือการกระทำใดๆก็ตามที่สื่อถึงปัจจุบันเพื่อช่วยให้มนุษย์เข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น
นักการเมืองหลายๆคนจะต้องออกหาเสียงเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนโหวต จากการค้นคว้าพบว่า 3.5% ของประชากรในพื้นที่มักออกมาประท้วงอย่างแข็งขันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างหนักแน่น
แล้วเราจะทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกจากการดูภาพเหล่านี้ได้อย่างไร? เมื่อเราต้องถ่ายภาพใครสักคนที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจทางการเมืองในมุมมองด้านไหนก็ตาม เราจะต้องคิดให้ดีเสมอ เพราะภาพนั้นอาจจะสื่อเป็นทั้งด้านดีและไม่ดีก็ได้
พยายามสื่อให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในที่ต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเน้นให้เห็นข้อขัดแย้งให้น้อยที่สุดตามแต่จะพิจารณาว่าคุณต้องการสื่อสารออกไปแบบใด
บทความต้นฉบับ : A Changing World: New Rules for Using Images
เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24