The Long Walk: บ่มีวันจาก
" การเดินทางของดวงวิญญาณ ล้วนมีเส้นทางยาวไกลไม่มีที่สิ้นสุด นั่นคือ การเวียนว่ายในสังสารวัฎ... "
สวัสดีครับทุกท่าน ! หลังจาก
The Long Walk (2019) ภาพยนตร์ไซไฟลาวที่ได้รับการชื่นชมอย่างมาก ได้เข้า
Netflix เป็นที่เรียบร้อย ตัวหนังได้รับรางวัล / คำวิจารณ์เชิงบวกจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติหลาย ๆ ที่ เช่น ได้ชิงรางวัลใน
Venice Film Festival และได้รับเลือกเป็น
Official Selection ใน
Toronto International Film Festival
ดังนั้นผมจึงอยากจะมารีวิวภาพยนตร์ เผื่อว่าท่านใดสนใจ และอย่างน้อยก็เป็นการแนะนำให้กับภาพยนตร์นอกกระแสดี ๆ ที่น่าชื่นชมนะครับ
เรื่องย่อ
ตัวอย่าง บ่มีวันจาก | The Long Walk | ບໍ່ມີວັນຈາກ
The Long Walk (2019) หรือ
"บ่มีวันจาก (ບໍ່ມີວັນຈາກ)" ภาพยนตร์สัญชาติลาวที่ได้รับการกำกับโดย
Mattie Do
เนื้อหาของเรื่องพูดถึง ในอนาคตอันใกล้
"ลุงชายชรา" ผู้อาศัยในหมู่บ้านกันดารในประเทศลาว ได้รับการติดต่อจากตำรวจท้องถิ่นเพื่อให้ช่วยตามหาศพของหญิงสาวในหมู่บ้านที่หายตัวไป โดยหวังว่าความสามารถในการติดต่อกับวิญญาณของเขาจะช่วยในการดำเนินคดีสืบหา แต่โชคชะตาชายชราต้องเผชิญกับ ปริศนาดำมืดที่ซ่อนมากว่า 50 ปี
ความรู้สึกหลังชม
หลังจากที่ได้ยินชื่อเสียงมานาน... ก็อยากบันทึกว่า
"ไม่ได้สัมผัสความรู้สึกว้าวแบบนี้มานานแล้ว" ยิ่งในกลุ่มภาพยนตร์ที่มาจากย่านอาเซียน ก็นับว่าหาได้ยากจริงกับการสร้างหนังที่มีไอเดียล้ำ - ทะเยอทะยานขนาดนี้
- สิ่งแรกที่ชื่นชอบ คือ
"ไอเดียไซไฟที่ผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น" หนังนำเสนอไอเดียย้อนเวลาสไตล์หนังไซไฟโดยผูกเข้ากับความเชื่อเรื่องผี (ท้องถิ่น) และแนวคิดเวียนว่ายตายเกิดของพุทธ
ลุงชราสามารถเดินทางข้ามเวลาได้ผ่านความช่วยเหลือของวิญญาณที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด, เหล่าดวงวิญญาณจะไม่รู้ว่าตัวเองตาย จนกว่าจะมีการทำพิธีทางศาสนา เพื่อแจ้งให้เจ้าตัวรู้ตัวและไปสู่สุคติ, ประเด็นเรื่องความรักที่ก่อเกิดเป็นวงเวียนกรรมจนหมุนเป็น Loop ไม่มีวันสิ้นสุด
จุดนี้รู้สึกว่า ไอเดียสร้างสรรค์จริง เป็นการ Combination ระหว่างแนวคิดไซไฟกับความเชื่อท้องถิ่นที่ลงตัวมาก... ยกให้ห้าดาวเลยในการเล่นไอเดียพุทธไซไฟ !
- ความล้ำอย่างที่สอง คือ
"การเล่นผลกระทบจากการย้อนเวลา" การย้อนเวลากลับไปแก้ไขบางอย่างในอดีต อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (คล้ายกับไอเดีย
Butterfly Effect) แม้ว่าเรากลับไปแก้ไขตามความหวังดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปอย่างที่เราคิด
ยังมีคำถามสำคัญที่ว่า
"เราสามารถแก้ไขอดีตของเราได้ขนาดไหน หรือว่าจริง ๆ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ สิ่งที่ดีที่สุดจากเกิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตคัดสรรให้เราแล้ว..."
บทสรุปของเรื่องจึงเหมือนสอนเราให้เน้นที่การกระทำในปัจจุบัน ซึ่งจุดนี้ก็สอดคล้องกับแนวคิดพุทธอีกเช่นกัน
- การดำเนินเรื่องโดยรวม ถูกขับเคลื่อนผ่านสถานที่ไม่กี่ที่ และที่สำคัญที่สุด ก็คงเป็น
"ถนนลูกรังที่ลุงชรา เด็กน้อย และหญิงสาวใช้เดินทาง" ถนนสายนี้มีนัยต่อภาพรวมเรื่องที่พูดถึงการเดินทางอันยาวไกล เพราะ จากการถ่ายในเรื่อง ก็แสดงให้เห็นถึงการเดินทางบนเส้นทางนี้นับไม่ถ้วนของตัวละครทั้งสาม จนดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆ
- แม้จะเป็นหนังที่มีวิญญาณ / ผี แต่ไม่มีการ Jump Scare... จุดนี้รู้สึกชื่นชมการตีความของผู้กำกับ เนื่องจากผีในเชิงพุทธไม่ได้อยู่ในรูปแบบปีศาจ / ซาตาน แต่เป็นดวงวิญญาณที่วนเวียนในสังสารวัฎ ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องทำให้ผีต้องน่ากลัว เพราะ จริง ๆ แล้ว วิญญาณก็เป็นแค่คนที่ตายไปแล้ว ยิ่งหากเป็นคนที่เรารักและผูกพัน เราคงอยากเจอเขามากกว่าที่จะกลัวด้วยซ้ำไป
- ตัวหนังใช้วิธีดำเนินเรื่องแบบหนังนอกกระแส มีการแช่กล้อง พร้อมด้วยบรรยากาศหนังที่เงียบ ๆ แถมพอมีการย้อนเวลาไปมา ทำให้ Loop เวลาในเรื่องมีความซ้บซ้อน (หนังไม่ได้บอกด้วยว่า ช่วงไหนที่ย้อนเวลา) ทำให้ค่อนข้างเข้าใจยากพอสมควร
- Production หนังอาจจะไม่ได้ดีมาก เน้นเรียล ๆ ในส่วนนักแสดงอาจดูแสดงแข็ง ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยบทเรื่องและไอเดียที่แข็งแรงก็ช่วยกลบจุดอ่อนเรื่องอื่น ๆ ไปมิด
- ชอบอีกอย่างก็การเล่นแสงในเรื่อง หลายซีนถ่ายแสงได้งดงาม ส่วนในเวลากลางคืน ก็เน้นใช้แสงไฟนีออนอมฟ้าตัดกับความมืด ให้ความเป็นไซไฟที่มีบรรยากาศลึกลับ
- จุดสุดท้ายที่น่าสนใจ คงเป็น
"การวิพากษ์วิจารณ์สังคม"
ประเด็นแรกเกี่ยวข้องกับเรื่อง
"ความเหลื่อมล้ำของผู้คนในหมู่บ้านห่างไกล" แม้ตามเนื้อเรื่องจะอยู่ในโลกอนาคต ทว่าสภาพบ้านเรือนในลาวยังเหมือนเดิม ไม่ได้เจริญจนแตกต่างจากปัจจุบันมากนัก ถนนยังคงเป็นลูกรัง และที่ช้ำใจยิ่งกว่า ก็คือ ตัวหมู่บ้านในเรื่อง จริง ๆ แล้ว อยู่ไม่ไกลจากเวียงจันทน์ ซึ่งเรายังเห็นเงาการก่อสร้างเมืองอยู่ด้านหลังลิบ ๆ... สะท้อนถึงความเจริญที่ยังไปไม่ทั่วในทุกพื้นที่ และยังคงมีคนในสังคมบางส่วนถูกทิ้งไว้อยู่ข้างหลัง
นอกจากนี้ หนังก็สะท้อนถึง
"ปัญหาความยากจนในครอบครัว" เช่น ลูกที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ เพราะ ต้องมาช่วยครอบครัวทำงานหาเงิน, แม่ที่ป่วยหนักกับพ่อที่เอาแน่เอานอนไม่ได้... หลายส่วนมีความคล้ายกับปัญหาในสังคมไทยด้วยเช่นกัน
ประเด็นสุดท้ายที่กินใจและสะเทือนใจ ก็เรื่อง
"ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก" ความรักที่แม่มีต่อลูกมากเหลือคณานับ ดังนั้นใครจะไปรู้ว่าชะตาของเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ดูแล จะผันแปรไปได้ขนาดไหน
สรุป
The Long Walk (2019) เป็นหนังที่ผมรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะไอเดียพุทธไซไฟ หนังนำเสนอได้อย่างประณีต / เฉียบคม และถึงแม้ว่าหนังจะดำเนินเรื่องแบบนอกกระแส แต่บทของเรื่อง ทำให้หนังน่าติดตามอยู่เสมอและไม่รู้สึกน่าเบื่อเลย อาจจะมีข้อเสียตรงเส้นเรื่องที่ซับซ้อนจนอาจทำให้งงได้ แต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดดูยากจนไม่รู้เรื่อง
ดังนั้นหากใครชอบหนังนอกกระแส ก็แนะนำนะครับ นับว่ามีไม่บ่อย ที่จะได้เห็นภาพยนตร์นอกกระแสของลาวดี ๆ แบบนี้ !
_________________________________
ป.ล. อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพุดคุยหรือติดต่อกับผม
The Long Walk บ่มีวันจาก (2019) - หนังพุทธไซไฟสุดล้ำที่ผสมกับความเชื่อเวียนว่ายตายเกิดอย่างเฉียบคม
ดังนั้นผมจึงอยากจะมารีวิวภาพยนตร์ เผื่อว่าท่านใดสนใจ และอย่างน้อยก็เป็นการแนะนำให้กับภาพยนตร์นอกกระแสดี ๆ ที่น่าชื่นชมนะครับ
เรื่องย่อ
เนื้อหาของเรื่องพูดถึง ในอนาคตอันใกล้ "ลุงชายชรา" ผู้อาศัยในหมู่บ้านกันดารในประเทศลาว ได้รับการติดต่อจากตำรวจท้องถิ่นเพื่อให้ช่วยตามหาศพของหญิงสาวในหมู่บ้านที่หายตัวไป โดยหวังว่าความสามารถในการติดต่อกับวิญญาณของเขาจะช่วยในการดำเนินคดีสืบหา แต่โชคชะตาชายชราต้องเผชิญกับ ปริศนาดำมืดที่ซ่อนมากว่า 50 ปี
ความรู้สึกหลังชม
- สิ่งแรกที่ชื่นชอบ คือ "ไอเดียไซไฟที่ผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น" หนังนำเสนอไอเดียย้อนเวลาสไตล์หนังไซไฟโดยผูกเข้ากับความเชื่อเรื่องผี (ท้องถิ่น) และแนวคิดเวียนว่ายตายเกิดของพุทธ
ลุงชราสามารถเดินทางข้ามเวลาได้ผ่านความช่วยเหลือของวิญญาณที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด, เหล่าดวงวิญญาณจะไม่รู้ว่าตัวเองตาย จนกว่าจะมีการทำพิธีทางศาสนา เพื่อแจ้งให้เจ้าตัวรู้ตัวและไปสู่สุคติ, ประเด็นเรื่องความรักที่ก่อเกิดเป็นวงเวียนกรรมจนหมุนเป็น Loop ไม่มีวันสิ้นสุด
จุดนี้รู้สึกว่า ไอเดียสร้างสรรค์จริง เป็นการ Combination ระหว่างแนวคิดไซไฟกับความเชื่อท้องถิ่นที่ลงตัวมาก... ยกให้ห้าดาวเลยในการเล่นไอเดียพุทธไซไฟ !
ยังมีคำถามสำคัญที่ว่า "เราสามารถแก้ไขอดีตของเราได้ขนาดไหน หรือว่าจริง ๆ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ สิ่งที่ดีที่สุดจากเกิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตคัดสรรให้เราแล้ว..."
บทสรุปของเรื่องจึงเหมือนสอนเราให้เน้นที่การกระทำในปัจจุบัน ซึ่งจุดนี้ก็สอดคล้องกับแนวคิดพุทธอีกเช่นกัน
- การดำเนินเรื่องโดยรวม ถูกขับเคลื่อนผ่านสถานที่ไม่กี่ที่ และที่สำคัญที่สุด ก็คงเป็น "ถนนลูกรังที่ลุงชรา เด็กน้อย และหญิงสาวใช้เดินทาง" ถนนสายนี้มีนัยต่อภาพรวมเรื่องที่พูดถึงการเดินทางอันยาวไกล เพราะ จากการถ่ายในเรื่อง ก็แสดงให้เห็นถึงการเดินทางบนเส้นทางนี้นับไม่ถ้วนของตัวละครทั้งสาม จนดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆ
- แม้จะเป็นหนังที่มีวิญญาณ / ผี แต่ไม่มีการ Jump Scare... จุดนี้รู้สึกชื่นชมการตีความของผู้กำกับ เนื่องจากผีในเชิงพุทธไม่ได้อยู่ในรูปแบบปีศาจ / ซาตาน แต่เป็นดวงวิญญาณที่วนเวียนในสังสารวัฎ ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องทำให้ผีต้องน่ากลัว เพราะ จริง ๆ แล้ว วิญญาณก็เป็นแค่คนที่ตายไปแล้ว ยิ่งหากเป็นคนที่เรารักและผูกพัน เราคงอยากเจอเขามากกว่าที่จะกลัวด้วยซ้ำไป
- Production หนังอาจจะไม่ได้ดีมาก เน้นเรียล ๆ ในส่วนนักแสดงอาจดูแสดงแข็ง ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยบทเรื่องและไอเดียที่แข็งแรงก็ช่วยกลบจุดอ่อนเรื่องอื่น ๆ ไปมิด
- ชอบอีกอย่างก็การเล่นแสงในเรื่อง หลายซีนถ่ายแสงได้งดงาม ส่วนในเวลากลางคืน ก็เน้นใช้แสงไฟนีออนอมฟ้าตัดกับความมืด ให้ความเป็นไซไฟที่มีบรรยากาศลึกลับ
ประเด็นแรกเกี่ยวข้องกับเรื่อง "ความเหลื่อมล้ำของผู้คนในหมู่บ้านห่างไกล" แม้ตามเนื้อเรื่องจะอยู่ในโลกอนาคต ทว่าสภาพบ้านเรือนในลาวยังเหมือนเดิม ไม่ได้เจริญจนแตกต่างจากปัจจุบันมากนัก ถนนยังคงเป็นลูกรัง และที่ช้ำใจยิ่งกว่า ก็คือ ตัวหมู่บ้านในเรื่อง จริง ๆ แล้ว อยู่ไม่ไกลจากเวียงจันทน์ ซึ่งเรายังเห็นเงาการก่อสร้างเมืองอยู่ด้านหลังลิบ ๆ... สะท้อนถึงความเจริญที่ยังไปไม่ทั่วในทุกพื้นที่ และยังคงมีคนในสังคมบางส่วนถูกทิ้งไว้อยู่ข้างหลัง
นอกจากนี้ หนังก็สะท้อนถึง "ปัญหาความยากจนในครอบครัว" เช่น ลูกที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ เพราะ ต้องมาช่วยครอบครัวทำงานหาเงิน, แม่ที่ป่วยหนักกับพ่อที่เอาแน่เอานอนไม่ได้... หลายส่วนมีความคล้ายกับปัญหาในสังคมไทยด้วยเช่นกัน
ประเด็นสุดท้ายที่กินใจและสะเทือนใจ ก็เรื่อง "ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก" ความรักที่แม่มีต่อลูกมากเหลือคณานับ ดังนั้นใครจะไปรู้ว่าชะตาของเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ดูแล จะผันแปรไปได้ขนาดไหน
สรุป
ดังนั้นหากใครชอบหนังนอกกระแส ก็แนะนำนะครับ นับว่ามีไม่บ่อย ที่จะได้เห็นภาพยนตร์นอกกระแสของลาวดี ๆ แบบนี้ !