กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบไฟล์ .pdf
https://drive.google.com/file/d/1mcxsbYIAnFCmrsuguZamh3ZeFCiTJiFS/view?usp=sharing
คำปรารภ
ผู้เขียนได้ดำริจะจัดทำหนังสือเกี่ยวกับการเร่งรัดกำลังใจสำหรับผู้ต้องการออกบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนผ่านมาได้ด้วยความยากลำบากและเสียเวลานานในการเร่งรัดกำลังใจของตนเอง ผู้เขียนได้ลองผิดลองถูกเพื่อแสวงหาวิธีที่จะทำให้ออกบวชได้ และต้องประสบพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้ามาขัดขวางการออกบวช จนกระทั่งผู้เขียนสามารถออกบวชได้จริง ทั้งนี้เพราะผู้เขียนขาดครูบาอาจารย์ที่มีความสามารถ ผู้ที่คอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง โดยการจัดทำหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กุลบุตรผู้มีความศรัทธาและกำลังแสวงหาหนทางในการออกบวชที่มีโอกาสได้ผ่านมาอ่านหนังสือเล่มนี้ จะได้นำไปใช้ในการสร้างกำลังใจของตนเองให้เข้มแข็งในเวลาอันสั้นจนสามารถออกบวชเป็นนักบวชที่ดีได้โดยง่ายตามความปรารถนา และจะได้เป็นกำลังของพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
ขอทุกท่านเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว อุบายใดที่พอจะทำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ก็ให้ท่านได้พิจารณาด้วยตนเอง อุบายใดที่ไม่ถูกกับนิสัย ขอให้ท่านทิ้งไปเสีย อย่าเอามาคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้เป็นที่เสียเวลา
สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายมีความเจริญทางสติปัญญา พิจารณาในสัจธรรมใด ขอให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมนั้น หากท่านมีบารมีได้บำเพ็ญมาแล้วในอดีตชาติ พร้อมแล้วที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในชาตินี้ ขอท่านจงสมปรารถนาด้วยเทอญ
บุญกุศลใดที่จะพึงบังเกิดขึ้นจากการเขียนหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอน้อมถวายบุญกุศลนี้ เพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชาคุณความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมวินัย และพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย มีพระเดชพระคุณพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา และพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ผู้ซึ่งผู้เขียนนับถือเป็นบุรพาจารย์เป็นที่สุด
จารุธรรม
4 สิงหาคม 2565
คำนิยม
มองย้อนกลับไปสมัยที่ข้าพเจ้ายังเป็นฆราวาส ข้าพเจ้าเองก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความปรารถนาอยากจะบวชเพื่อความพ้นทุกข์ แต่แล้วก็มีความลังเลสงสัยนานัปการพรั่งพรูเข้ามาในหัว ว่าการใช้ชีวิตหลังม่านกำแพงวัดเป็นเช่นไร บวชไปแล้วจะอยู่ได้หรือ ไม่สึกหรือ
ถือเป็นความโชคดีของข้าพเจ้าที่มีโอกาสได้พบท่านอาจารย์จารุธรรมก่อนบวช ทำให้ทราบความเป็นไปในชีวิตของสมณเพศ รวมถึงวิธีเร่งรัดกำลังใจ และนำไปปฏิบัติได้จริง ทำให้กำลังใจเข้มแข็งพอ ส่วนตัวข้าพเจ้าเองได้ใช้เวลาเร่งรัดรวบรวมกำลังใจอยู่นานเพียง 6 เดือน ก็สามารถก้าวเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์แห่งนี้ได้ และหนังสือเล่มนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสดี ที่อาจารย์จารุธรรมท่านได้เมตตารวบรวมการเร่งรัดกำลังใจ และอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ก่อนบวชจากประสบการณ์จริง เผยแผ่สู่สาธารณะไว้สำหรับผู้ที่อยากจะบวช ประดุจดั่งแผนที่ที่ทำให้เข้าใจถึงเส้นทางที่กำลังจะดำเนินไป จะได้ไม่พลัดตกนอกลู่นอกทางเสียก่อน
สุดท้ายนี้ท่านจะบวชได้หรือไม่นั้น ก็สุดแท้แต่กำลังใจของท่านเอง
จิณณธรรมภิกขุ
การออกบวชคืออะไร
การออกบวช คือ การออกจากความเป็นอยู่แบบเก่าอย่างฆราวาส เข้าสู่ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตแบบใหม่อย่างนักบวช และมีหน้าที่ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของการเป็นนักบวช การออกบวชเป็นการสละเครื่องพันธนาการอันร้อยรัดใจของบุคคล เป็นการปลดภาระความรับผิดชอบของความเป็นฆราวาสลง อันได้แก่ ความสนุกสนานเพลิดเพลินในการละเล่นและทำตนให้มีจิตลุ่มหลงในกามคุณ การศึกษาเล่าเรียนวิชาชีพ การทำมาหากินเลี้ยงชีพ การสร้างฐานะให้เป็นปึกแผ่น และการเลี้ยงดูบุตรและภรรยา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดโปร่งของใจ ทำให้ใจไม่มีความเดือดร้อนรำคาญ เป็นการเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติสมณธรรมเป็นไปได้โดยสะดวกและราบรื่น
มูลเหตุของการออกบวช
คุณสมบัติที่สำคัญในการที่จะทำให้ใครสักคนอยากออกบวชและสามารถบวชอยู่ได้อย่างยาวนาน นั่นคือ ความเป็นผู้มีบุญบวช การที่บุคคลใดสั่งสมเนกขัมมบารมีมาอย่างยาวนาน เคยออกบวชมาแต่อดีตชาติ ในบางชาติที่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเสด็จอุบัติขึ้นเพื่อทรงประกาศพระศาสนา บุคคลนั้นก็จะออกบวชเป็นภิกษุหรือสามเณรในพระศาสนานั้น ๆ ในบางชาติที่เป็นช่วงว่างเว้นจากพระศาสนา กล่าวคือ เป็นช่วงรอยต่อระหว่างพุทธันดรแห่งพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนหน้ากับพุทธันดรแห่งพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ถัดไป บุคคลนั้นก็จะออกบวชเป็นดาบส ฤๅษี โยคี ชีไพร แสวงหาความสงบวิเวกอยู่ด้วยการบรรพชา จนทำให้ในชาติปัจจุบันผู้ที่มีบุญบวช จะมีใจน้อมไปในความเป็นนักบวช ไม่ค่อยชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะที่มีกำลังใจไม่เสมอกัน เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดใจ แต่จะรู้สึกสบายใจมากกว่าเมื่อได้อยู่เพียงลำพังคนเดียว รู้สึกเบื่อหน่ายในการครองเรือน มีความเห็นว่าความเป็นอยู่ของฆราวาสเป็นภาระอันหนักที่น่าอิดหนาระอาใจ จะมีเสียงเพรียกร้องจากภายในใจอยู่เนือง ๆ ว่า “พึงออกบวชเถิด”
ยกตัวอย่างเรื่องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา พระองค์ก็ได้เคยละเพศฆราวาสออกบวชเป็นนักบวชมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ตลอดการสร้างบารมีเพื่อให้ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในบางชาติพระมหาบุรุษเกิดเป็นพระราชา เช่น ในชาติที่พระองค์เสวยชาติเป็นพระมหาชนกแห่งเมืองมิถิลา เป็นต้น พระองค์ก็ทรงเบื่อหน่ายต่อราชสมบัติ ทรงสละราชบัลลังก์ออกผนวชเป็นสมณะ ในบางชาติพระมหาบุรุษเกิดเป็นมหาเศรษฐี เช่น ในชาติที่พระองค์เสวยชาติเป็นบุตรเศรษฐีพระนครพาราณสี ชื่อว่า มหาธนกุมาร เป็นพระสหายของพระเจ้าพรหมทัต เป็นต้น พระองค์ก็เห็นโทษของมาตุคาม สละทรัพย์สมบัติออกบวชเป็นฤๅษี ในบางชาติพระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดียากจน ทำการรับจ้างเลี้ยงดูมารดา เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ท่านก็ได้ละทิ้งบุตรและภรรยา ออกจากกามบวชเป็นฤๅษี หรือในบางชาติพระมหาบุรุษ เกิดในกำเนิดคนจัณฑาลต่ำต้อย เช่น ในชาติที่พระองค์เสวยชาติเป็น คนจัณฑาล ชื่อว่า มาตังคะ เป็นต้น ท่านก็ได้ออกบวชเป็นดาบส ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้น เสวยสุขอยู่ด้วยอำนาจแห่งความสงบนั้น มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ประเภทของการออกบวช
ในบรรดาผู้ที่สละความเป็นฆราวาสออกบวชเป็นภิกษุสามเณรในเขตพระพุทธศาสนา จะว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นออกบวชด้วยเจตนารมณ์เดียวกัน หรือมีปฏิปทาการปฏิบัติตนเหมือนกันก็หาไม่ มีทั้งท่านที่บวชเล่น บวชลอง บวชครองประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน ด้วยเหตุนี้เองทำให้ภิกษุสามเณรทั้งหลายมีจริยาไม่เสมอกัน มีทั้งที่ดีมากบ้าง ดีน้อยบ้าง ชั่วน้อยบ้าง ชั่วมากบ้าง ซึ่งพอจะแบ่งประเภทของผู้ที่ออกบวชในเขตพระพุทธศาสนาได้พอสังเขปได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. ผู้ที่บวชเพื่ออาศัยพระศาสนาเลี้ยงชีวิต
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ เมื่อตอนเป็นฆราวาสก็มีความเกียจคร้านในการทำมาหากินเลี้ยงชีพ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ บ้างก็เป็นเด็กจากครอบครัวที่ยากจน ผู้ปกครองไม่มีกำลังทรัพย์พอจะส่งเสียให้ได้รับการศึกษาทางโลกได้ เมื่อเห็นว่าการบวชเข้ามาเป็นภิกษุสามเณรแล้วมีแต่ความสุขสบาย กินฟรี อยู่ฟรี เรียนฟรี มีสตางค์ใช้ จึงได้บวชเข้ามา ทำตนเป็นคนอนาถาหาที่พึ่งไม่ได้
2. ผู้ที่บวชเพื่อเล่นสนุก
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ บวชเข้ามาเพื่อหาความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่กับการละเล่นต่าง ๆ เหมือนคฤหัสถ์ เช่น การเล่นหมากรุก หมากฮอส ดูทีวี ดูกีฬา เล่นเกมส์ เล่นมือถือ อ่านหนังสือทางโลก สนทนาเรื่องทางโลก ชอบคุยเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองกับญาติโยม เป็นต้น ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปวันหนึ่ง ๆ ด้วยการละเล่นเหล่านี้ไม่ได้เจริญสมณธรรม
3. ผู้ที่บวชเพื่อสร้างความชั่วเสียหาย
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ บวชเข้ามาแล้วก็ทำความชั่วเสียหาย สร้างความเสื่อมเสียต่อพระพุทธศาสนา เช่น เสพเมถุน ฉ้อโกงชาวบ้าน ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ทำตนเป็นนักเลงหัวไม้ก่อความทะเลาะวิวาท เป็นต้น หรือทำตนเป็นผู้ประจบคฤหัสถ์ ให้สิ่งของเขาเพื่อเอาใจ ทำตนเป็นทูตรับใช้คฤหัสถ์ ช่วยทำธุระการงานของเขาบ้าง เพื่อหวังลาภสักการะเป็นสิ่งตอบแทน
4. ผู้ที่บวชเข้ามาอย่างคนหลงงมงาย
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ เมื่อบวชเข้ามาแล้วทำตนเป็นคนโง่งมงาย บ้างก็งมงายในการศึกษาปริยัติธรรม บ้างก็แสวงหาลาภด้วยลาภ ลงทุนค้าขาย ปล่อยเงินกู้ มุ่งสร้างฐานะ ไม่ได้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง บ้างก็สนใจในการปลุกเสกเลขยันต์ ทำตนเป็นคนทรงเจ้าเข้าผี ออกวัตถุมงคล แสวงหาลาภสักการะในทางมิชอบเพื่อประโยชน์ของตนเอง มิใช่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาคนใกล้ชิดกลายเป็นคนหลงงมงาย ไม่มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปตาม ๆ กัน
5. ผู้ที่บวชเพื่อหาทางออกจากทุกข์
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ เมื่อยังไม่ได้บวชก็มีปัญญาเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยของการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อความเป็นฆราวาส เมื่อได้บวชเข้ามาแล้วก็ตั้งใจศึกษาในเรื่องของพระธรรมวินัยที่จำเป็นต้องใช้ แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติตามด้วยความตั้งใจ พากเพียรพยายามในการรักษาสิกขาบทของตนให้บริสุทธิ์ ฝึกสมาธิให้จิตตั้งมั่น และเจริญปัญญาขัดเกลาจิตใจของตนเองให้ยอมรับนับถือความเป็นจริงตามพระสัทธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะหมายเอาเฉพาะการสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งเพื่อการออกบวชของบุคคลประเภทสุดท้ายนี้เท่านั้น
แนวทางการเร่งรัดกำลังใจสำหรับผู้ต้องการออกบวชไม่สึก (แจกไฟล์ pdf)
กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบไฟล์ .pdf
https://drive.google.com/file/d/1mcxsbYIAnFCmrsuguZamh3ZeFCiTJiFS/view?usp=sharing
คำปรารภ
ผู้เขียนได้ดำริจะจัดทำหนังสือเกี่ยวกับการเร่งรัดกำลังใจสำหรับผู้ต้องการออกบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนผ่านมาได้ด้วยความยากลำบากและเสียเวลานานในการเร่งรัดกำลังใจของตนเอง ผู้เขียนได้ลองผิดลองถูกเพื่อแสวงหาวิธีที่จะทำให้ออกบวชได้ และต้องประสบพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้ามาขัดขวางการออกบวช จนกระทั่งผู้เขียนสามารถออกบวชได้จริง ทั้งนี้เพราะผู้เขียนขาดครูบาอาจารย์ที่มีความสามารถ ผู้ที่คอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง โดยการจัดทำหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กุลบุตรผู้มีความศรัทธาและกำลังแสวงหาหนทางในการออกบวชที่มีโอกาสได้ผ่านมาอ่านหนังสือเล่มนี้ จะได้นำไปใช้ในการสร้างกำลังใจของตนเองให้เข้มแข็งในเวลาอันสั้นจนสามารถออกบวชเป็นนักบวชที่ดีได้โดยง่ายตามความปรารถนา และจะได้เป็นกำลังของพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
ขอทุกท่านเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว อุบายใดที่พอจะทำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ก็ให้ท่านได้พิจารณาด้วยตนเอง อุบายใดที่ไม่ถูกกับนิสัย ขอให้ท่านทิ้งไปเสีย อย่าเอามาคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้เป็นที่เสียเวลา
สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายมีความเจริญทางสติปัญญา พิจารณาในสัจธรรมใด ขอให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมนั้น หากท่านมีบารมีได้บำเพ็ญมาแล้วในอดีตชาติ พร้อมแล้วที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในชาตินี้ ขอท่านจงสมปรารถนาด้วยเทอญ
บุญกุศลใดที่จะพึงบังเกิดขึ้นจากการเขียนหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอน้อมถวายบุญกุศลนี้ เพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชาคุณความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมวินัย และพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย มีพระเดชพระคุณพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา และพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ผู้ซึ่งผู้เขียนนับถือเป็นบุรพาจารย์เป็นที่สุด
จารุธรรม
4 สิงหาคม 2565
คำนิยม
มองย้อนกลับไปสมัยที่ข้าพเจ้ายังเป็นฆราวาส ข้าพเจ้าเองก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความปรารถนาอยากจะบวชเพื่อความพ้นทุกข์ แต่แล้วก็มีความลังเลสงสัยนานัปการพรั่งพรูเข้ามาในหัว ว่าการใช้ชีวิตหลังม่านกำแพงวัดเป็นเช่นไร บวชไปแล้วจะอยู่ได้หรือ ไม่สึกหรือ
ถือเป็นความโชคดีของข้าพเจ้าที่มีโอกาสได้พบท่านอาจารย์จารุธรรมก่อนบวช ทำให้ทราบความเป็นไปในชีวิตของสมณเพศ รวมถึงวิธีเร่งรัดกำลังใจ และนำไปปฏิบัติได้จริง ทำให้กำลังใจเข้มแข็งพอ ส่วนตัวข้าพเจ้าเองได้ใช้เวลาเร่งรัดรวบรวมกำลังใจอยู่นานเพียง 6 เดือน ก็สามารถก้าวเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์แห่งนี้ได้ และหนังสือเล่มนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสดี ที่อาจารย์จารุธรรมท่านได้เมตตารวบรวมการเร่งรัดกำลังใจ และอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ก่อนบวชจากประสบการณ์จริง เผยแผ่สู่สาธารณะไว้สำหรับผู้ที่อยากจะบวช ประดุจดั่งแผนที่ที่ทำให้เข้าใจถึงเส้นทางที่กำลังจะดำเนินไป จะได้ไม่พลัดตกนอกลู่นอกทางเสียก่อน
สุดท้ายนี้ท่านจะบวชได้หรือไม่นั้น ก็สุดแท้แต่กำลังใจของท่านเอง
จิณณธรรมภิกขุ
การออกบวชคืออะไร
การออกบวช คือ การออกจากความเป็นอยู่แบบเก่าอย่างฆราวาส เข้าสู่ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตแบบใหม่อย่างนักบวช และมีหน้าที่ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของการเป็นนักบวช การออกบวชเป็นการสละเครื่องพันธนาการอันร้อยรัดใจของบุคคล เป็นการปลดภาระความรับผิดชอบของความเป็นฆราวาสลง อันได้แก่ ความสนุกสนานเพลิดเพลินในการละเล่นและทำตนให้มีจิตลุ่มหลงในกามคุณ การศึกษาเล่าเรียนวิชาชีพ การทำมาหากินเลี้ยงชีพ การสร้างฐานะให้เป็นปึกแผ่น และการเลี้ยงดูบุตรและภรรยา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดโปร่งของใจ ทำให้ใจไม่มีความเดือดร้อนรำคาญ เป็นการเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติสมณธรรมเป็นไปได้โดยสะดวกและราบรื่น
มูลเหตุของการออกบวช
คุณสมบัติที่สำคัญในการที่จะทำให้ใครสักคนอยากออกบวชและสามารถบวชอยู่ได้อย่างยาวนาน นั่นคือ ความเป็นผู้มีบุญบวช การที่บุคคลใดสั่งสมเนกขัมมบารมีมาอย่างยาวนาน เคยออกบวชมาแต่อดีตชาติ ในบางชาติที่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเสด็จอุบัติขึ้นเพื่อทรงประกาศพระศาสนา บุคคลนั้นก็จะออกบวชเป็นภิกษุหรือสามเณรในพระศาสนานั้น ๆ ในบางชาติที่เป็นช่วงว่างเว้นจากพระศาสนา กล่าวคือ เป็นช่วงรอยต่อระหว่างพุทธันดรแห่งพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนหน้ากับพุทธันดรแห่งพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ถัดไป บุคคลนั้นก็จะออกบวชเป็นดาบส ฤๅษี โยคี ชีไพร แสวงหาความสงบวิเวกอยู่ด้วยการบรรพชา จนทำให้ในชาติปัจจุบันผู้ที่มีบุญบวช จะมีใจน้อมไปในความเป็นนักบวช ไม่ค่อยชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะที่มีกำลังใจไม่เสมอกัน เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดใจ แต่จะรู้สึกสบายใจมากกว่าเมื่อได้อยู่เพียงลำพังคนเดียว รู้สึกเบื่อหน่ายในการครองเรือน มีความเห็นว่าความเป็นอยู่ของฆราวาสเป็นภาระอันหนักที่น่าอิดหนาระอาใจ จะมีเสียงเพรียกร้องจากภายในใจอยู่เนือง ๆ ว่า “พึงออกบวชเถิด”
ยกตัวอย่างเรื่องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา พระองค์ก็ได้เคยละเพศฆราวาสออกบวชเป็นนักบวชมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ตลอดการสร้างบารมีเพื่อให้ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในบางชาติพระมหาบุรุษเกิดเป็นพระราชา เช่น ในชาติที่พระองค์เสวยชาติเป็นพระมหาชนกแห่งเมืองมิถิลา เป็นต้น พระองค์ก็ทรงเบื่อหน่ายต่อราชสมบัติ ทรงสละราชบัลลังก์ออกผนวชเป็นสมณะ ในบางชาติพระมหาบุรุษเกิดเป็นมหาเศรษฐี เช่น ในชาติที่พระองค์เสวยชาติเป็นบุตรเศรษฐีพระนครพาราณสี ชื่อว่า มหาธนกุมาร เป็นพระสหายของพระเจ้าพรหมทัต เป็นต้น พระองค์ก็เห็นโทษของมาตุคาม สละทรัพย์สมบัติออกบวชเป็นฤๅษี ในบางชาติพระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดียากจน ทำการรับจ้างเลี้ยงดูมารดา เมื่อมารดาถึงแก่กรรม ท่านก็ได้ละทิ้งบุตรและภรรยา ออกจากกามบวชเป็นฤๅษี หรือในบางชาติพระมหาบุรุษ เกิดในกำเนิดคนจัณฑาลต่ำต้อย เช่น ในชาติที่พระองค์เสวยชาติเป็น คนจัณฑาล ชื่อว่า มาตังคะ เป็นต้น ท่านก็ได้ออกบวชเป็นดาบส ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้น เสวยสุขอยู่ด้วยอำนาจแห่งความสงบนั้น มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ประเภทของการออกบวช
ในบรรดาผู้ที่สละความเป็นฆราวาสออกบวชเป็นภิกษุสามเณรในเขตพระพุทธศาสนา จะว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นออกบวชด้วยเจตนารมณ์เดียวกัน หรือมีปฏิปทาการปฏิบัติตนเหมือนกันก็หาไม่ มีทั้งท่านที่บวชเล่น บวชลอง บวชครองประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน ด้วยเหตุนี้เองทำให้ภิกษุสามเณรทั้งหลายมีจริยาไม่เสมอกัน มีทั้งที่ดีมากบ้าง ดีน้อยบ้าง ชั่วน้อยบ้าง ชั่วมากบ้าง ซึ่งพอจะแบ่งประเภทของผู้ที่ออกบวชในเขตพระพุทธศาสนาได้พอสังเขปได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. ผู้ที่บวชเพื่ออาศัยพระศาสนาเลี้ยงชีวิต
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ เมื่อตอนเป็นฆราวาสก็มีความเกียจคร้านในการทำมาหากินเลี้ยงชีพ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ บ้างก็เป็นเด็กจากครอบครัวที่ยากจน ผู้ปกครองไม่มีกำลังทรัพย์พอจะส่งเสียให้ได้รับการศึกษาทางโลกได้ เมื่อเห็นว่าการบวชเข้ามาเป็นภิกษุสามเณรแล้วมีแต่ความสุขสบาย กินฟรี อยู่ฟรี เรียนฟรี มีสตางค์ใช้ จึงได้บวชเข้ามา ทำตนเป็นคนอนาถาหาที่พึ่งไม่ได้
2. ผู้ที่บวชเพื่อเล่นสนุก
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ บวชเข้ามาเพื่อหาความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่กับการละเล่นต่าง ๆ เหมือนคฤหัสถ์ เช่น การเล่นหมากรุก หมากฮอส ดูทีวี ดูกีฬา เล่นเกมส์ เล่นมือถือ อ่านหนังสือทางโลก สนทนาเรื่องทางโลก ชอบคุยเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองกับญาติโยม เป็นต้น ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปวันหนึ่ง ๆ ด้วยการละเล่นเหล่านี้ไม่ได้เจริญสมณธรรม
3. ผู้ที่บวชเพื่อสร้างความชั่วเสียหาย
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ บวชเข้ามาแล้วก็ทำความชั่วเสียหาย สร้างความเสื่อมเสียต่อพระพุทธศาสนา เช่น เสพเมถุน ฉ้อโกงชาวบ้าน ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ทำตนเป็นนักเลงหัวไม้ก่อความทะเลาะวิวาท เป็นต้น หรือทำตนเป็นผู้ประจบคฤหัสถ์ ให้สิ่งของเขาเพื่อเอาใจ ทำตนเป็นทูตรับใช้คฤหัสถ์ ช่วยทำธุระการงานของเขาบ้าง เพื่อหวังลาภสักการะเป็นสิ่งตอบแทน
4. ผู้ที่บวชเข้ามาอย่างคนหลงงมงาย
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ เมื่อบวชเข้ามาแล้วทำตนเป็นคนโง่งมงาย บ้างก็งมงายในการศึกษาปริยัติธรรม บ้างก็แสวงหาลาภด้วยลาภ ลงทุนค้าขาย ปล่อยเงินกู้ มุ่งสร้างฐานะ ไม่ได้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง บ้างก็สนใจในการปลุกเสกเลขยันต์ ทำตนเป็นคนทรงเจ้าเข้าผี ออกวัตถุมงคล แสวงหาลาภสักการะในทางมิชอบเพื่อประโยชน์ของตนเอง มิใช่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาคนใกล้ชิดกลายเป็นคนหลงงมงาย ไม่มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปตาม ๆ กัน
5. ผู้ที่บวชเพื่อหาทางออกจากทุกข์
ภิกษุสามเณรประเภทนี้ เมื่อยังไม่ได้บวชก็มีปัญญาเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยของการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อความเป็นฆราวาส เมื่อได้บวชเข้ามาแล้วก็ตั้งใจศึกษาในเรื่องของพระธรรมวินัยที่จำเป็นต้องใช้ แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติตามด้วยความตั้งใจ พากเพียรพยายามในการรักษาสิกขาบทของตนให้บริสุทธิ์ ฝึกสมาธิให้จิตตั้งมั่น และเจริญปัญญาขัดเกลาจิตใจของตนเองให้ยอมรับนับถือความเป็นจริงตามพระสัทธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะหมายเอาเฉพาะการสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งเพื่อการออกบวชของบุคคลประเภทสุดท้ายนี้เท่านั้น