ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC เปิดเผยว่า ธุรกิจสายการบินสัญชาติไทยเริ่มทยอยฟื้นตัวมากขึ้นหลังจากที่หดตัวรุนแรงในปี 2020-2021 จากวิกฤต COVID-19 และมีมูลค่าราว 1.2-1.3 แสนล้านบาท (คิดเป็น 40% ของรายได้ปี 2019)
สำหรับรายได้ขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางระหว่างประเทศที่เร่งตัวขึ้นและมีมูลค่าราว 5-6 หมื่นล้านบาท จาก Pent-up demand ของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีการเปิดเส้นทางบินใหม่และเพิ่มความถี่เที่ยวบินอย่างต่อเนื่องในหลายเส้นทางโดยเฉพาะในฝั่งอาเซียนและเอเชีย อีกทั้ง สล็อตตารางบินในหลายสนามบินของไทยในช่วงฤดูหนาวปี 2022 ได้ถูกจองล่วงหน้าจนค่อนข้างเต็มแล้ว นอกจากนี้ จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคของ EIC ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้า นักท่องเที่ยวไทย 65% วางแผนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง
ด้านรายได้ขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางในประเทศและอื่น ๆ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและมีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านบาท จากการเดินทางของนักท่องเที่ยวไทยที่เพิ่มขึ้น และการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะช่วยเพิ่มการเดินทางในประเทศ
ขณะที่รายได้ขนส่งสินค้าที่เติบโตต่อเนื่องจนมีมูลค่าราว 2 หมื่นล้านบาท โดยหลายสายการบินได้ปรับตัวมาให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น อีกทั้ง อัตราค่าบริการขนส่งทางอากาศยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินยังเผชิญความท้าทายหลายประการที่จะสร้างความเสี่ยงต่อภาวะทางการเงินที่ค่อนข้างเปราะบาง ได้แก่ 1.ภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เร่งตัวขึ้นจากหลายปัจจัยโดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2.การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน 3.การฟื้นตัวของขีดความสามารถในการดำเนินการด้านการบิน 4.ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และ 5.การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจสายการบิน
ธุรกิจสายการบินสัญชาติไทยเริ่มทยอยฟื้นตัว รอ 3 ปีครึ่งเต็มรูปแบบเหมือนก่อนเกิดโควิด
สำหรับรายได้ขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางระหว่างประเทศที่เร่งตัวขึ้นและมีมูลค่าราว 5-6 หมื่นล้านบาท จาก Pent-up demand ของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีการเปิดเส้นทางบินใหม่และเพิ่มความถี่เที่ยวบินอย่างต่อเนื่องในหลายเส้นทางโดยเฉพาะในฝั่งอาเซียนและเอเชีย อีกทั้ง สล็อตตารางบินในหลายสนามบินของไทยในช่วงฤดูหนาวปี 2022 ได้ถูกจองล่วงหน้าจนค่อนข้างเต็มแล้ว นอกจากนี้ จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคของ EIC ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้า นักท่องเที่ยวไทย 65% วางแผนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง
ด้านรายได้ขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางในประเทศและอื่น ๆ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและมีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านบาท จากการเดินทางของนักท่องเที่ยวไทยที่เพิ่มขึ้น และการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะช่วยเพิ่มการเดินทางในประเทศ
ขณะที่รายได้ขนส่งสินค้าที่เติบโตต่อเนื่องจนมีมูลค่าราว 2 หมื่นล้านบาท โดยหลายสายการบินได้ปรับตัวมาให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น อีกทั้ง อัตราค่าบริการขนส่งทางอากาศยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินยังเผชิญความท้าทายหลายประการที่จะสร้างความเสี่ยงต่อภาวะทางการเงินที่ค่อนข้างเปราะบาง ได้แก่ 1.ภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เร่งตัวขึ้นจากหลายปัจจัยโดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2.การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน 3.การฟื้นตัวของขีดความสามารถในการดำเนินการด้านการบิน 4.ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และ 5.การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจสายการบิน