รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วันนี้ (11 ต.ค.) การบินไทยได้รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 3,920 ล้านบาท เทียบกับการขาดทุน 5,310 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 32,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 582% จากไตรมาส 3 ของปี 2564
อย่างไรก็ดีมีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า 30,890 ล้านบาท อันเป็นผลจากการเพิ่มความถี่เที่ยวบินจากช่วง 6 เดือนแรกของปี ได้แก่ เส้นทางลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต เจนไน เบงกาลูรู นิวเดลี มุมไบ ละฮอร์ การาจีอิสลามาบัด ฮานอย โฮจิมินห์ พนมเปญ จาการ์ตา ธากา เดนปาซาร์ ไทเป สิงคโปร์ โคเปนเฮเกน มิวนิก และซูริค และกลับไปทำการบินในเส้นทางเดิมก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ เส้นทาง ปีนัง โตเกียว (ฮาเนดะ) และบรัสเซลส์ ประกอบกับอัตราบรรทุกผู้โดยสารรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากเป็น 77.0% เทียบกับ 9.9% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564
ในขณะเดียวกันบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 28,940 ล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อน 186% จากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ผันแปรตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณขนส่งตามจำนวนเส้นทางบินและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นค่าใช้จ่ายน้ำมันถึง 44% ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเครื่องบินปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 80% ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีได้รายงานผลการสอบทาน แบบให้ข้อสรุปแบบไม่มีเงื่อนไข เป็นครั้งแรกตั้งแต่เข้าแผนฟื้นฟู
ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 3,672 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งมีการปรับปรุงดอกเบี้ยจ่ายตามแผนฟื้นฟูกิจการจำนวน 2,160 ล้านบาท และแม้จะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้และการขายทรัพย์สินในส่วนของรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว แต่บริษัทฯ ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากการตีมูลค่าทางบัญชีอันเนื่องมาจากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ
อีกทั้งยังมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ส่งผลให้บริษัทฯ มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิเป็นค่าใช้จ่ายรวม 5,212 ล้านบาท และมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิจำนวน 4,780 ล้านบาท เป็นส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 4,785 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ และบริษัทย่อยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าทั้งในส่วนของเครื่องบินและอื่นๆ เป็นกำไรจำนวน 6,181 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 3,100 ล้านบาท ทั้งนี้ EBITDA สำหรับบริษัทฯ มากกว่า 20,000 ล้านบาทในรอบ 12 เดือนคือเงื่อนไขหนึ่งในการออกจากแผนฟื้นฟู
ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 183,289 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 22,070 ล้านบาท หนี้สินรวมจำนวน 265,788 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม2564 จำนวน 33,318 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อยติดลบ 82,499 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยอดการขายตั๋วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับ EBITDA กว่าเดือนละ 2,000 ล้านบาททำให้เงินสดคงเหลือของบริษัทเพิ่มจาก 6,017 ล้านบาท ณ 31 มีนาคม 2565 เป็น 13,474 ล้านบาท ณ 30 มิถุนายน 2565 และ 23,308 ล้านบาท เมื่อสิ้นไตรมาส 3 ของปี 2565
สำหรับการฟื้นตัวของการเดินทางอย่างต่อเนื่องทำให้ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เที่ยวบินของบริษัทฯ มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย 80.4% และเมื่อรวมผู้โดยสารต่างประเทศของสายการบินไทยสมายล์ด้วยแล้ว บริษัทฯและบริษัทย่อยมีผู้โดยสารต่างประเทศรวมเฉลี่ยต่อวันจำนวน 21,557 คน คิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนผู้โดยสารต่างประเทศทั้งหมดที่เดินทางเข้า-ออกสนามบินสุวรรณภูมิ มีส่วนแบ่งปริมาณการขนส่งสินค้าคิดเป็นสัดส่วน 28% ส่งผลให้รายได้รวมจากกิจกรรมการขนส่งปรับตัวขึ้นไปสู่ระดับ 10,000 ล้านบาท และยังคงมีอัตราการสำรองที่นั่งล่วงหน้าในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 ในระดับที่สูงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนเพิ่มความถี่เที่ยวบินและเปิดให้บริการเส้นทางบินใหม่เพิ่มเติมในเส้นทาง สตอกโฮล์ม ไทเปโตเกียว (ฮาเนดะ) ฟุกุโอกะ ซัปโปโร นิวเดลี มุมไบ ไฮเดอราบัด กัลกัตตา เจดดาห์ สิงคโปร์ เมลเบิร์น กวางโจว และคุนหมิง เพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางที่ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเร่งขยายขนาดฝูงบินทั้งโดยการนำเครื่องบินในฝูงบินของบริษัทฯ กลับมาให้บริการและจัดหาเครื่องบินใหม่เข้ามาประจำการด้วยวิธีเช่าดำเนินการให้เพียงพอต่อแผนเส้นทางบินและจำนวนเที่ยวบิน และเพื่อบรรลุเป้าหมายการหารายได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1037212
‘การบินไทย’ โชว์กำไรไตรมาส 3 รวมกว่า 3.9 พันล้านบาท
อย่างไรก็ดีมีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า 30,890 ล้านบาท อันเป็นผลจากการเพิ่มความถี่เที่ยวบินจากช่วง 6 เดือนแรกของปี ได้แก่ เส้นทางลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต เจนไน เบงกาลูรู นิวเดลี มุมไบ ละฮอร์ การาจีอิสลามาบัด ฮานอย โฮจิมินห์ พนมเปญ จาการ์ตา ธากา เดนปาซาร์ ไทเป สิงคโปร์ โคเปนเฮเกน มิวนิก และซูริค และกลับไปทำการบินในเส้นทางเดิมก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ เส้นทาง ปีนัง โตเกียว (ฮาเนดะ) และบรัสเซลส์ ประกอบกับอัตราบรรทุกผู้โดยสารรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากเป็น 77.0% เทียบกับ 9.9% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564
ในขณะเดียวกันบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 28,940 ล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อน 186% จากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ผันแปรตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณขนส่งตามจำนวนเส้นทางบินและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นค่าใช้จ่ายน้ำมันถึง 44% ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันเครื่องบินปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 80% ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีได้รายงานผลการสอบทาน แบบให้ข้อสรุปแบบไม่มีเงื่อนไข เป็นครั้งแรกตั้งแต่เข้าแผนฟื้นฟู
ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 3,672 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งมีการปรับปรุงดอกเบี้ยจ่ายตามแผนฟื้นฟูกิจการจำนวน 2,160 ล้านบาท และแม้จะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้และการขายทรัพย์สินในส่วนของรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว แต่บริษัทฯ ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากการตีมูลค่าทางบัญชีอันเนื่องมาจากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ
อีกทั้งยังมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ส่งผลให้บริษัทฯ มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิเป็นค่าใช้จ่ายรวม 5,212 ล้านบาท และมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิจำนวน 4,780 ล้านบาท เป็นส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 4,785 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ และบริษัทย่อยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าทั้งในส่วนของเครื่องบินและอื่นๆ เป็นกำไรจำนวน 6,181 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 3,100 ล้านบาท ทั้งนี้ EBITDA สำหรับบริษัทฯ มากกว่า 20,000 ล้านบาทในรอบ 12 เดือนคือเงื่อนไขหนึ่งในการออกจากแผนฟื้นฟู
ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 183,289 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 22,070 ล้านบาท หนี้สินรวมจำนวน 265,788 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม2564 จำนวน 33,318 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อยติดลบ 82,499 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยอดการขายตั๋วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับ EBITDA กว่าเดือนละ 2,000 ล้านบาททำให้เงินสดคงเหลือของบริษัทเพิ่มจาก 6,017 ล้านบาท ณ 31 มีนาคม 2565 เป็น 13,474 ล้านบาท ณ 30 มิถุนายน 2565 และ 23,308 ล้านบาท เมื่อสิ้นไตรมาส 3 ของปี 2565
สำหรับการฟื้นตัวของการเดินทางอย่างต่อเนื่องทำให้ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เที่ยวบินของบริษัทฯ มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย 80.4% และเมื่อรวมผู้โดยสารต่างประเทศของสายการบินไทยสมายล์ด้วยแล้ว บริษัทฯและบริษัทย่อยมีผู้โดยสารต่างประเทศรวมเฉลี่ยต่อวันจำนวน 21,557 คน คิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนผู้โดยสารต่างประเทศทั้งหมดที่เดินทางเข้า-ออกสนามบินสุวรรณภูมิ มีส่วนแบ่งปริมาณการขนส่งสินค้าคิดเป็นสัดส่วน 28% ส่งผลให้รายได้รวมจากกิจกรรมการขนส่งปรับตัวขึ้นไปสู่ระดับ 10,000 ล้านบาท และยังคงมีอัตราการสำรองที่นั่งล่วงหน้าในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 ในระดับที่สูงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนเพิ่มความถี่เที่ยวบินและเปิดให้บริการเส้นทางบินใหม่เพิ่มเติมในเส้นทาง สตอกโฮล์ม ไทเปโตเกียว (ฮาเนดะ) ฟุกุโอกะ ซัปโปโร นิวเดลี มุมไบ ไฮเดอราบัด กัลกัตตา เจดดาห์ สิงคโปร์ เมลเบิร์น กวางโจว และคุนหมิง เพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางที่ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเร่งขยายขนาดฝูงบินทั้งโดยการนำเครื่องบินในฝูงบินของบริษัทฯ กลับมาให้บริการและจัดหาเครื่องบินใหม่เข้ามาประจำการด้วยวิธีเช่าดำเนินการให้เพียงพอต่อแผนเส้นทางบินและจำนวนเที่ยวบิน และเพื่อบรรลุเป้าหมายการหารายได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1037212