คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ถ้าไม่มีปัญหาทางการเงิน แนะนำให้จ่ายเต็มจำนวนที่ได้ใช้ไป จ่ายภายในรอบบิล อย่าจ่ายเกินกำหนดเวลา
แต่หากจ่ายขั้นต่ำ ก็ควรจ่ายปิดยอดให้เร็วที่สุด เพราะดอกเบี้ยคิดรายวัน
วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ใช้เงินต่อได้ ไม่สะดุด!
หมวดหมู่ : ความรู้
https://www.ktc.co.th/article/knowledge/credit-card-interest-charge-method
เผยแพร่ 3 มีนาคม 2564
เงินไม่สะดุดแม้ยามฉุกเฉิน
อย่างที่ทราบกันดีว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและมนุษย์เงินเดือน โดยเฉพาะเรื่อง "เงิน" ปัจจัยหลักที่ขาดไม่ได้ ในวันที่ค่าครองชีพมีแต่สูงขึ้น แบบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตของทุกคนยังเต็มไปด้วยภาระค่าใช้จ่ายมากมายในทุก ๆ วัน แค่ก้าวเท้าออกจากบ้านก็ต้องเสียเงิน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่แปลกที่หลายคนเลือกยืมเงินในอนาคตภายใน “บัตรเครดิต” มาหมุนใช้ก่อน ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในแต่ละเดือนพุ่งสูงขึ้น สวนทางกับรายรับ และสิ่งที่ตามมาก็คือ "ดอกเบี้ยบัตรเครดิต" ที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ยังมีสิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่า คือ หลายคนไม่รู้หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สะสมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามมา และวันนี้เราขอพาทุกคนทำความเข้าใจว่า ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดขึ้นเพราะอะไร มีวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพราะคำว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตอย่างไร เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลก่อนสมัครบัตรเครดิตใบแรก
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คืออะไร
เป็นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ใช้บัตรเครดิตเลือกชำระคืนค่าสินค้าหรือบริการไม่เต็มจำนวน ไม่ว่าจะเลือกจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ หรือจ่ายบัตรเครดิตครบแต่ช้า ก็ล้วนเป็นที่มาของวงจรหนี้ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ยากจะหลุดรอด
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดขึ้นเพราะอะไร
1. จ่ายตรงเวลา แต่ไม่เต็มจำนวน หรือที่เรียกกันว่า จ่ายแค่ขั้นต่ำ 10% ของยอดหนี้บัตรเครดิต เป็นการทยอยผ่อนชำระที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ย 0%
2. จ่ายเต็มจำนวน แต่ไม่ตรงเวลา กรณีนี้แม้จะชำระเต็มจำนวน แต่จะต้องถูกคิดดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตรจนถึงวันที่ชำระคืนครบทั้งหมด
3. กดเงินสดจากวงเงินบัตรเครดิตออกมาใช้ล่วงหน้า เงินส่วนนี้จะถูกคิดดอกเบี้ยทันที
อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต
โดยทั่วไปบัตรเครดิตมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 18% ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการชำระคืนของผู้ใช้บัตรเครดิต แต่ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยให้ปรับเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินจาก 18% เป็น 16% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต
คำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผ่อนสินค้า เพื่อวางแผนการเงิน
สำหรับวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้น สามารถแบ่งตามวิธีชำระหนี้บัตรเครดิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผ่อนสินค้า กรณีจ่ายขั้นต่ำ ตรงเวลา
จะแยกคำนวณดอกเบี้ยออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตร
ส่วนที่ 2 ดอกเบี้ยของยอดที่ยังไม่ได้ชำระ หรือยอดคงค้าง
ตัวอย่าง
รูดเงินซื้อสินค้า 30,000 บาท และชำระคืนขั้นต่ำเพียง 10% เป็นเงินจำนวน 3,000 บาท เมื่อวันที่ 12 มกราคม โดยบัตรเครดิตสรุปยอดทุกวันที่ 2 กำหนดชำระในทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน ในกรณีนี้จะถูกคิดดอกเบี้ย ส่วนแรกจากยอดที่ใช้ไปทั้งหมด
วิธีคำนวณดอกเบี้ย ส่วนที่ 1
ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
ในกรณีนี้ดอกเบี้ย ส่วนที่ 1 คือ 30,000 x 16% x 22 / 365 = 289.32 บาท
วิธีคำนวณดอกเบี้ย ส่วนที่ 2
เป็นการคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เหลือ หรือยอดที่ยังไม่ได้ชำระ โดยมีวิธีคิดดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
ค่าคงค้าง X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ชำระคืนบางส่วนถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
จากกรณีตัวอย่าง มียอดคงเหลือ 27,000 บาท เมื่อคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต ส่วนที่ 2 คือ 27,000 x 16% x 19 / 365 = 224.88 บาท
ฉะนั้น ผู้ใช้บัตรเครดิตจะถูกคิดดอกเบี้ยในยอดบิลถัดไป เป็นเงิน 289.32 (ส่วนที่ 1) + 224.88 (ส่วนที่ 2) = 514.20 บาท และจะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยวิธีไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถจ่ายเงินคืนได้ครบทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย
2. วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผ่อนสินค้า กรณีจ่ายคืนเต็มจำนวน แต่ไม่ตรงเวลา
สำหรับกรณีนี้ แม้จะชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวน ก็ยังถูกคิดดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตรจนถึงวันที่ชำระคืนครบทั้งหมด โดยมีวิธีคำนวณดอกเบี้ย ตามนี้
ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย คือ 30,000 x 16% x 45 / 365 = 591.78 บาท
นอกจากดอกเบี้ย จำนวน 591.78 บาทแล้ว ผู้ถือบัตรเครดิตยังต้องชำระค่าทวงถามหนี้ โดยส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 บาท/รอบบัญชี ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไข อัตราค่าธรรมเนียมติดตามทวงถามหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
ฉะนั้น หากผู้ใช้บัตรเครดิตไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตรงตามเวลา และจ่ายครบทั้งหมด จะถูกคิดดอกเบี้ย และค่าทวงถามเบื้องต้นใน 1 รอบบิล เป็นเงิน 591.78 + 100 บาท = 691.78 บาท
3. วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต กรณีเบิกเงินสด
ตัวอย่าง
ผู้ใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสดจากวงเงินในบัตร จำนวน 10,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม โดยบัตรเครดิตสรุปยอดทุกวันที่ 25 กำหนดชำระในทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน ในกรณีนี้ ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต คิดดอกเบี้ย 20% ต่อปี เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องเสียดอกเบี้ยจากการเบิกเงินสดเป็นจำนวนเท่าไร
วิธีคำนวณดอกเบี้ย
ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
จากกรณีตัวอย่าง เมื่อคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต คือ 10,000 x 20% x 25 / 365 = 136.99 บาท
เมื่อรู้วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตกันแล้ว คงต้องบอกว่า วิธีใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องและควรทำทุกครั้งที่ใช้ คือ "รูดเท่าไร จ่ายเท่านั้น" เนื่องจากบัตรเครดิตจะมี "ระยะปลอดดอกเบี้ย" ทำให้เราสามารถเลื่อนระยะเวลาการใช้เงินออกไปได้ โดยไม่เสียดอกเบี้ยใด ๆ เลย
สุดท้ายนี้ อยากบอกว่า บัตรเครดิตเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้จ่ายให้กับผู้ถือบัตรได้ หากจะสมัครบัตรเครดิตมีไว้สักใบก็ไม่เสียหาย แต่ควรเลือกใช้และวางแผนการใช้อย่างรัดกุมและรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ระยะยาว
หมายเหตุ: ดอกเบี้ย หมายถึง ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ซึ่งมีอัตรารวมกัน 16%
*แต่ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับดอกเบี้ยฯตามแต่ละช่วงได้เหมือนกัน โปรดตรวจสอบแต่ละสถาบันการเงินอีกครั้ง
แต่หากจ่ายขั้นต่ำ ก็ควรจ่ายปิดยอดให้เร็วที่สุด เพราะดอกเบี้ยคิดรายวัน
วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ใช้เงินต่อได้ ไม่สะดุด!
หมวดหมู่ : ความรู้
https://www.ktc.co.th/article/knowledge/credit-card-interest-charge-method
เผยแพร่ 3 มีนาคม 2564
เงินไม่สะดุดแม้ยามฉุกเฉิน
อย่างที่ทราบกันดีว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและมนุษย์เงินเดือน โดยเฉพาะเรื่อง "เงิน" ปัจจัยหลักที่ขาดไม่ได้ ในวันที่ค่าครองชีพมีแต่สูงขึ้น แบบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตของทุกคนยังเต็มไปด้วยภาระค่าใช้จ่ายมากมายในทุก ๆ วัน แค่ก้าวเท้าออกจากบ้านก็ต้องเสียเงิน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่แปลกที่หลายคนเลือกยืมเงินในอนาคตภายใน “บัตรเครดิต” มาหมุนใช้ก่อน ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในแต่ละเดือนพุ่งสูงขึ้น สวนทางกับรายรับ และสิ่งที่ตามมาก็คือ "ดอกเบี้ยบัตรเครดิต" ที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ยังมีสิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่า คือ หลายคนไม่รู้หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สะสมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามมา และวันนี้เราขอพาทุกคนทำความเข้าใจว่า ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดขึ้นเพราะอะไร มีวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพราะคำว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตอย่างไร เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลก่อนสมัครบัตรเครดิตใบแรก
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คืออะไร
เป็นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ใช้บัตรเครดิตเลือกชำระคืนค่าสินค้าหรือบริการไม่เต็มจำนวน ไม่ว่าจะเลือกจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ หรือจ่ายบัตรเครดิตครบแต่ช้า ก็ล้วนเป็นที่มาของวงจรหนี้ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ยากจะหลุดรอด
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดขึ้นเพราะอะไร
1. จ่ายตรงเวลา แต่ไม่เต็มจำนวน หรือที่เรียกกันว่า จ่ายแค่ขั้นต่ำ 10% ของยอดหนี้บัตรเครดิต เป็นการทยอยผ่อนชำระที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ย 0%
2. จ่ายเต็มจำนวน แต่ไม่ตรงเวลา กรณีนี้แม้จะชำระเต็มจำนวน แต่จะต้องถูกคิดดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตรจนถึงวันที่ชำระคืนครบทั้งหมด
3. กดเงินสดจากวงเงินบัตรเครดิตออกมาใช้ล่วงหน้า เงินส่วนนี้จะถูกคิดดอกเบี้ยทันที
อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต
โดยทั่วไปบัตรเครดิตมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 18% ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการชำระคืนของผู้ใช้บัตรเครดิต แต่ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยให้ปรับเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินจาก 18% เป็น 16% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต
คำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผ่อนสินค้า เพื่อวางแผนการเงิน
สำหรับวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้น สามารถแบ่งตามวิธีชำระหนี้บัตรเครดิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผ่อนสินค้า กรณีจ่ายขั้นต่ำ ตรงเวลา
จะแยกคำนวณดอกเบี้ยออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตร
ส่วนที่ 2 ดอกเบี้ยของยอดที่ยังไม่ได้ชำระ หรือยอดคงค้าง
ตัวอย่าง
รูดเงินซื้อสินค้า 30,000 บาท และชำระคืนขั้นต่ำเพียง 10% เป็นเงินจำนวน 3,000 บาท เมื่อวันที่ 12 มกราคม โดยบัตรเครดิตสรุปยอดทุกวันที่ 2 กำหนดชำระในทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน ในกรณีนี้จะถูกคิดดอกเบี้ย ส่วนแรกจากยอดที่ใช้ไปทั้งหมด
วิธีคำนวณดอกเบี้ย ส่วนที่ 1
ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
ในกรณีนี้ดอกเบี้ย ส่วนที่ 1 คือ 30,000 x 16% x 22 / 365 = 289.32 บาท
วิธีคำนวณดอกเบี้ย ส่วนที่ 2
เป็นการคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เหลือ หรือยอดที่ยังไม่ได้ชำระ โดยมีวิธีคิดดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
ค่าคงค้าง X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ชำระคืนบางส่วนถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
จากกรณีตัวอย่าง มียอดคงเหลือ 27,000 บาท เมื่อคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต ส่วนที่ 2 คือ 27,000 x 16% x 19 / 365 = 224.88 บาท
ฉะนั้น ผู้ใช้บัตรเครดิตจะถูกคิดดอกเบี้ยในยอดบิลถัดไป เป็นเงิน 289.32 (ส่วนที่ 1) + 224.88 (ส่วนที่ 2) = 514.20 บาท และจะถูกคิดดอกเบี้ยด้วยวิธีไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถจ่ายเงินคืนได้ครบทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย
2. วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ผ่อนสินค้า กรณีจ่ายคืนเต็มจำนวน แต่ไม่ตรงเวลา
สำหรับกรณีนี้ แม้จะชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวน ก็ยังถูกคิดดอกเบี้ยของยอดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ใช้บัตรจนถึงวันที่ชำระคืนครบทั้งหมด โดยมีวิธีคำนวณดอกเบี้ย ตามนี้
ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย คือ 30,000 x 16% x 45 / 365 = 591.78 บาท
นอกจากดอกเบี้ย จำนวน 591.78 บาทแล้ว ผู้ถือบัตรเครดิตยังต้องชำระค่าทวงถามหนี้ โดยส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 บาท/รอบบัญชี ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไข อัตราค่าธรรมเนียมติดตามทวงถามหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
ฉะนั้น หากผู้ใช้บัตรเครดิตไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตรงตามเวลา และจ่ายครบทั้งหมด จะถูกคิดดอกเบี้ย และค่าทวงถามเบื้องต้นใน 1 รอบบิล เป็นเงิน 591.78 + 100 บาท = 691.78 บาท
3. วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต กรณีเบิกเงินสด
ตัวอย่าง
ผู้ใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสดจากวงเงินในบัตร จำนวน 10,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม โดยบัตรเครดิตสรุปยอดทุกวันที่ 25 กำหนดชำระในทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน ในกรณีนี้ ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต คิดดอกเบี้ย 20% ต่อปี เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องเสียดอกเบี้ยจากการเบิกเงินสดเป็นจำนวนเท่าไร
วิธีคำนวณดอกเบี้ย
ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ทำรายการถึงวันที่สรุปยอดบัญชี
จำนวนวันใน 1 ปี
จากกรณีตัวอย่าง เมื่อคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต คือ 10,000 x 20% x 25 / 365 = 136.99 บาท
เมื่อรู้วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตกันแล้ว คงต้องบอกว่า วิธีใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องและควรทำทุกครั้งที่ใช้ คือ "รูดเท่าไร จ่ายเท่านั้น" เนื่องจากบัตรเครดิตจะมี "ระยะปลอดดอกเบี้ย" ทำให้เราสามารถเลื่อนระยะเวลาการใช้เงินออกไปได้ โดยไม่เสียดอกเบี้ยใด ๆ เลย
สุดท้ายนี้ อยากบอกว่า บัตรเครดิตเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้จ่ายให้กับผู้ถือบัตรได้ หากจะสมัครบัตรเครดิตมีไว้สักใบก็ไม่เสียหาย แต่ควรเลือกใช้และวางแผนการใช้อย่างรัดกุมและรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ระยะยาว
หมายเหตุ: ดอกเบี้ย หมายถึง ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ซึ่งมีอัตรารวมกัน 16%
*แต่ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับดอกเบี้ยฯตามแต่ละช่วงได้เหมือนกัน โปรดตรวจสอบแต่ละสถาบันการเงินอีกครั้ง
แสดงความคิดเห็น
บัตรเครดิต จ่ายเต็มจำนวน และ จ่ายชำระแบบขั้นต่ำ ?