คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02d1R3t5yo7hcJ74LgP9t3BiTELpbhGGsxjHaHSNcDujh1735J2soEpMLhzJ5ktnQhl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 2 ส.ค. 2565)
รวม 141,680,300 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 2 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 43,880 โดส
เข็มที่ 1 : 4,079 ราย
เข็มที่ 2 : 8,023 ราย
เข็มที่ 3 : 31,778 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,143,462 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,508,381 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,028,457 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0XHxq6ycs7BmmvvVZrmr4Se97v31ZY3vDBmmqTgQK5wHQeU2naWGMnhMEgG6iZDSfl
โรงพยาบาลคลองสามวา สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด (COVID-19) เปิด Walk in ฉีดวัคซีน Moderna จำนวน 50 รายต่อวัน ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 13:00 - 14:00 น. ณ หน่วยบริการฉีดวัคซีน COVID-19 ของโรงพยาบาลคลองสามวา
ที่มา : สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0MiCA1bmndc5h41q7oxhT7iKrx5g2rcRGMVHewCAVnVqdo7PBajXgK6xNBhH871jpl
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จับมือ กองทุนประกันวินาศภัย จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เชื่อมโยงข้อมูลผลตรวจ RT-PCR ผู้ติดเชื้อโควิด 19 เจอ จ่าย จบ ย่นเวลาการตรวจสอบหลักฐาน หวังช่วยประชาชนได้รับเงินเยียวยาเร็วขึ้น
นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลระบบอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กับ กองทุนประกันวินาศภัย เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสาร ประชาชนได้รับเงินเยียวยารวดเร็วขึ้น ผ่านระบบ Co-Lab 2 ซึ่งเป็นแอปฯที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศกำหนด เพื่อให้การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ของห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน สำหรับความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยครั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR ให้กับกองทุนประกันวินาศภัยสามารถตรวจสอบยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จริง คาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารของเจ้าหน้าที่ และช่วยให้ประชาชนผู้ติดเชื้อให้ได้รับเงินเยียวยารวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่นำออกจากระบบ CO-Lab 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกองทุนประกันวินาศภัยได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ด้วยความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0dCtCYb8J2PkVZKHxJddmigcrc2k3H9NhVLttrusZtvud7ZKKzjGNaXeJbZQufRcnl
หมอเด็กเผย ภาวะ MIS-C ในเด็กสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า จากการระบาดของโรค COVID-19
ส่งผลให้มีเด็กอายุ 0-18 ปีติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ทำให้มีการพบผู้ป่วย MIS-C (มิสซี) เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเป็นอาการที่พบในเด็กหลังติดเชื้อโควิด19 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปี 2565 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้มีบริการการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้เด็ก ซึ่งคาดหวังว่าจำนวนผู้ป่วยเด็กที่เป็นโควิดลดลง ส่งผลให้อัตราการเกิดมิสซีลดลงด้วย
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า มิสซี เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการคล้ายโรคคาวาซากิ แต่พบภาวะช็อคที่เกิดจากการอักเสบที่หัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจโป่งพองซึ่งเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ถ้ามีอาการรุนแรงจนจำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ในประเทศไทยพบผู้ป่วย MIS-C แล้วมากกว่า 100 ราย ทั่วประเทศ สำหรับการป้องกันโรคนี้มีการรายงานจากต่างประเทศพบว่าการให้วัคซีนป้องกันโควิดลดความเสี่ยงต่อการเกิด MIS-C และลดความรุนแรงของโรคได้
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีการพบผู้ป่วย MIS-C จำนวน 51 ราย อายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 11 ปี อายุเฉลี่ย 4.8 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 27 มีภาวะช็อคจึงจำเป็นต้องให้การรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยบางคนมีเส้นเลือดหัวใจโป่งพองคล้ายกับโรคคาวาซากิ ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีการตอบสนองต่อการรักษาดี การทำงานของหัวใจกลับมาทำงานเป็นปกติร้อยละ 90 ระยะเวลาที่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตขึ้นกับความรุนแรงและการตอบสนองต่อการรักษา ในสถาบันฯ พบการเสียชีวิตจากภาวะนี้จากเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง 1 ราย การวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีจะช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคนี้และลดภาวะแทรกซ้อนได้ ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินียังไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากวัคซีนป้องกันโควิดในผู้ป่วยที่เคยเป็น MIS-C และพบว่าผู้ป่วย MIS-C ที่จำเป็นต้องเข้าไอซียูในปี 2565 มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้เด็กไทย
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0Lh7MuxTiPM1fe3SJGVejqt9ceZfzVQCRMkRHkBG3irTvg4MvguZC7mx6VxdMjDftl&id=100069182200543
สธ. คาดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตมีแนวโน้มลดลง ห่วงปรากฏการณ์ Rebound เชื้อดื้อยาต้านไวรัสโควิด-19
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผย สถานการณ์โรคโควิด-19 ของไทยเริ่มคงตัว คาดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตจะเริ่มลดลงใน 2 - 3 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ค่อนข้างดื้อต่อวัคซีน การฉีดเข็มกระตุ้นจะช่วยลดการป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากฉีดเข็มล่าสุดมากกว่า 3 - 4 เดือนขึ้นไป สามารถไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
พร้อมย้ำว่า ผู้ติดเชื้อโควิดไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย ซึ่งคนทั่วไปที่แข็งแรง ฉีดวัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่จะอาการน้อยไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส และการจ่ายยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ตามมาตรฐานสากล เป็นผู้เลือกยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งยาต้านไวรัสเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีทั้งข้อดีข้อเสีย หากรับประทานไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม อาจเกิดผลข้างเคียงหรือการดื้อยาได้
ซึ่งขณะนี้เจอปรากฏการณ์ใหม่ คือ การรีบาวนด์ (Rebound) ดื้อยาและทำให้พบเชื้อซ้ำ เช่น กรณีนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่รับยาต้านไวรัสแต่กลับมาพบเชื้อใหม่ สมมติฐาน คือ อาจเกิดจากรับยาต้านไวรัสเข้าไป และยาไม่สามารถกำจัดเชื้อในร่างกายคนบางคนให้หมดไป เมื่อหยุดยา เชื้อที่ซ่อนอยู่กลับมาแบ่งตัวขึ้นใหม่ จึงมีผลบวกซ้ำ ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขจะติดตามรายละเอียดต่อไป
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02x5w12HKDWz9Y1fUn4GjTytTtMDhdPwQK7BFjWMKmpBVdpZ21c5tavdXYqgG8AhYdl
กรมควบคุมโรคกระจายภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ล็อตแรก 7 พันโดส ให้แพทย์ใช้ดุลยพินิจ เน้นกลุ่มฟอกไต – เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (กินยากดภูมิ)
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุ Long Acting Antibody : LAAB หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับป้องกันโรคโควิด19 ที่รัฐบาลจัดซื้อเข้ามาบริการประชาชนกลุ่มที่มีปัญหาภูมิคุ้มกัน ว่า วันนี้ล็อตแรก 7,000 โดส ได้กระจายออกไปแล้ว สำหรับกลุ่มเน้นที่จะให้ LAAB มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ฟอกไต กับกลุ่มคนเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ที่กินยากดภูมิคุ้มกัน
“ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการพิจารณา เพราะไม่อยากกำหนดเกณฑ์ตายตัวเกินไป จนใช้ยาลำบาก อยากให้ยาถึงผู้ที่จำเป็นมากที่สุด การให้ยาทุกตัว มีทั้งประโยชน์ และมีผลข้างเคียง การใช้ยาให้ได้ประโยชน์ คือ ต้องให้ถูกโรค ถูกคน ถูกเวลา และใช้อย่างเหมาะสม ฉะนั้นต้องให้แพทย์ผู้รักษาคนไข้รายนั้นๆ เป็นผู้พิจารณา จะดีที่สุด” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
จุดเด่น ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ป้องกันโรคโควิด 19 คือ 1 โดสต่อ 1 คน ฉีด 1 ครั้ง จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ทันที และภูมิฯ อยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน โดย 7,000 โดส ที่เริ่มกระจายเป็นเพียงล็อตแรก ที่ไทยได้รับจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า โดยจะทยอยส่งให้จนครบ 250,000 โดส ภายใน 2 เดือน
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid09aSfDcG6DgpaMXsfDheNQgRbiC4fqZd95LRz9YMWEgsnnnWPADFTZMjcZWbS3N4el
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02d1R3t5yo7hcJ74LgP9t3BiTELpbhGGsxjHaHSNcDujh1735J2soEpMLhzJ5ktnQhl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 2 ส.ค. 2565)
รวม 141,680,300 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 2 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 43,880 โดส
เข็มที่ 1 : 4,079 ราย
เข็มที่ 2 : 8,023 ราย
เข็มที่ 3 : 31,778 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,143,462 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,508,381 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,028,457 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0XHxq6ycs7BmmvvVZrmr4Se97v31ZY3vDBmmqTgQK5wHQeU2naWGMnhMEgG6iZDSfl
โรงพยาบาลคลองสามวา สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด (COVID-19) เปิด Walk in ฉีดวัคซีน Moderna จำนวน 50 รายต่อวัน ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 13:00 - 14:00 น. ณ หน่วยบริการฉีดวัคซีน COVID-19 ของโรงพยาบาลคลองสามวา
ที่มา : สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0MiCA1bmndc5h41q7oxhT7iKrx5g2rcRGMVHewCAVnVqdo7PBajXgK6xNBhH871jpl
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จับมือ กองทุนประกันวินาศภัย จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เชื่อมโยงข้อมูลผลตรวจ RT-PCR ผู้ติดเชื้อโควิด 19 เจอ จ่าย จบ ย่นเวลาการตรวจสอบหลักฐาน หวังช่วยประชาชนได้รับเงินเยียวยาเร็วขึ้น
นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลระบบอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กับ กองทุนประกันวินาศภัย เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสาร ประชาชนได้รับเงินเยียวยารวดเร็วขึ้น ผ่านระบบ Co-Lab 2 ซึ่งเป็นแอปฯที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศกำหนด เพื่อให้การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ของห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน สำหรับความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยครั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR ให้กับกองทุนประกันวินาศภัยสามารถตรวจสอบยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จริง คาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารของเจ้าหน้าที่ และช่วยให้ประชาชนผู้ติดเชื้อให้ได้รับเงินเยียวยารวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่นำออกจากระบบ CO-Lab 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกองทุนประกันวินาศภัยได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ด้วยความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0dCtCYb8J2PkVZKHxJddmigcrc2k3H9NhVLttrusZtvud7ZKKzjGNaXeJbZQufRcnl
หมอเด็กเผย ภาวะ MIS-C ในเด็กสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า จากการระบาดของโรค COVID-19
ส่งผลให้มีเด็กอายุ 0-18 ปีติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ทำให้มีการพบผู้ป่วย MIS-C (มิสซี) เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเป็นอาการที่พบในเด็กหลังติดเชื้อโควิด19 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปี 2565 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้มีบริการการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้เด็ก ซึ่งคาดหวังว่าจำนวนผู้ป่วยเด็กที่เป็นโควิดลดลง ส่งผลให้อัตราการเกิดมิสซีลดลงด้วย
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า มิสซี เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการคล้ายโรคคาวาซากิ แต่พบภาวะช็อคที่เกิดจากการอักเสบที่หัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจโป่งพองซึ่งเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ถ้ามีอาการรุนแรงจนจำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ในประเทศไทยพบผู้ป่วย MIS-C แล้วมากกว่า 100 ราย ทั่วประเทศ สำหรับการป้องกันโรคนี้มีการรายงานจากต่างประเทศพบว่าการให้วัคซีนป้องกันโควิดลดความเสี่ยงต่อการเกิด MIS-C และลดความรุนแรงของโรคได้
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีการพบผู้ป่วย MIS-C จำนวน 51 ราย อายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 11 ปี อายุเฉลี่ย 4.8 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 27 มีภาวะช็อคจึงจำเป็นต้องให้การรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยบางคนมีเส้นเลือดหัวใจโป่งพองคล้ายกับโรคคาวาซากิ ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีการตอบสนองต่อการรักษาดี การทำงานของหัวใจกลับมาทำงานเป็นปกติร้อยละ 90 ระยะเวลาที่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตขึ้นกับความรุนแรงและการตอบสนองต่อการรักษา ในสถาบันฯ พบการเสียชีวิตจากภาวะนี้จากเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง 1 ราย การวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีจะช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคนี้และลดภาวะแทรกซ้อนได้ ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินียังไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากวัคซีนป้องกันโควิดในผู้ป่วยที่เคยเป็น MIS-C และพบว่าผู้ป่วย MIS-C ที่จำเป็นต้องเข้าไอซียูในปี 2565 มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้เด็กไทย
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0Lh7MuxTiPM1fe3SJGVejqt9ceZfzVQCRMkRHkBG3irTvg4MvguZC7mx6VxdMjDftl&id=100069182200543
สธ. คาดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตมีแนวโน้มลดลง ห่วงปรากฏการณ์ Rebound เชื้อดื้อยาต้านไวรัสโควิด-19
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผย สถานการณ์โรคโควิด-19 ของไทยเริ่มคงตัว คาดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตจะเริ่มลดลงใน 2 - 3 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ค่อนข้างดื้อต่อวัคซีน การฉีดเข็มกระตุ้นจะช่วยลดการป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากฉีดเข็มล่าสุดมากกว่า 3 - 4 เดือนขึ้นไป สามารถไปฉีดเข็มกระตุ้นได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
พร้อมย้ำว่า ผู้ติดเชื้อโควิดไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย ซึ่งคนทั่วไปที่แข็งแรง ฉีดวัคซีนครบถ้วน ส่วนใหญ่จะอาการน้อยไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส และการจ่ายยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ตามมาตรฐานสากล เป็นผู้เลือกยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งยาต้านไวรัสเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีทั้งข้อดีข้อเสีย หากรับประทานไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม อาจเกิดผลข้างเคียงหรือการดื้อยาได้
ซึ่งขณะนี้เจอปรากฏการณ์ใหม่ คือ การรีบาวนด์ (Rebound) ดื้อยาและทำให้พบเชื้อซ้ำ เช่น กรณีนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่รับยาต้านไวรัสแต่กลับมาพบเชื้อใหม่ สมมติฐาน คือ อาจเกิดจากรับยาต้านไวรัสเข้าไป และยาไม่สามารถกำจัดเชื้อในร่างกายคนบางคนให้หมดไป เมื่อหยุดยา เชื้อที่ซ่อนอยู่กลับมาแบ่งตัวขึ้นใหม่ จึงมีผลบวกซ้ำ ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขจะติดตามรายละเอียดต่อไป
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02x5w12HKDWz9Y1fUn4GjTytTtMDhdPwQK7BFjWMKmpBVdpZ21c5tavdXYqgG8AhYdl
กรมควบคุมโรคกระจายภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ล็อตแรก 7 พันโดส ให้แพทย์ใช้ดุลยพินิจ เน้นกลุ่มฟอกไต – เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (กินยากดภูมิ)
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุ Long Acting Antibody : LAAB หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับป้องกันโรคโควิด19 ที่รัฐบาลจัดซื้อเข้ามาบริการประชาชนกลุ่มที่มีปัญหาภูมิคุ้มกัน ว่า วันนี้ล็อตแรก 7,000 โดส ได้กระจายออกไปแล้ว สำหรับกลุ่มเน้นที่จะให้ LAAB มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ฟอกไต กับกลุ่มคนเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ที่กินยากดภูมิคุ้มกัน
“ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการพิจารณา เพราะไม่อยากกำหนดเกณฑ์ตายตัวเกินไป จนใช้ยาลำบาก อยากให้ยาถึงผู้ที่จำเป็นมากที่สุด การให้ยาทุกตัว มีทั้งประโยชน์ และมีผลข้างเคียง การใช้ยาให้ได้ประโยชน์ คือ ต้องให้ถูกโรค ถูกคน ถูกเวลา และใช้อย่างเหมาะสม ฉะนั้นต้องให้แพทย์ผู้รักษาคนไข้รายนั้นๆ เป็นผู้พิจารณา จะดีที่สุด” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
จุดเด่น ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ป้องกันโรคโควิด 19 คือ 1 โดสต่อ 1 คน ฉีด 1 ครั้ง จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ทันที และภูมิฯ อยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน โดย 7,000 โดส ที่เริ่มกระจายเป็นเพียงล็อตแรก ที่ไทยได้รับจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า โดยจะทยอยส่งให้จนครบ 250,000 โดส ภายใน 2 เดือน
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid09aSfDcG6DgpaMXsfDheNQgRbiC4fqZd95LRz9YMWEgsnnnWPADFTZMjcZWbS3N4el
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭3ส.ค.ไทยไม่ติดTop10 อยู่อันดับ28 ไต้หวันแซง/ป่วย2,432คน หาย 2,472คน ตาย32คน/โควิดรีบาวด์/ตั้งงบตอบแทน
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1018748
ไทยพบแล้ว 2 ราย "โควิดรีบาวด์" หายแล้วผลบวกใหม่ ขอผู้ป่วยอย่าซื้อยาต้านไวรัสกินเอง
03 ส.ค. 65 (08:35 น.)
ไทยพบแล้ว 2 ราย "โควิดรีบาวด์" หายแล้วผลบวกใหม่ ขอผู้ป่วยอย่าซื้อยาต้านไวรัสกินเอง เสี่ยงเจอยาปลอม ตีกับยาอื่น
(2 ส.ค.65) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์กรณีคนดังในโซเชียลมีเดียโพสต์การซื้อยาต้านไวรัสรักษามาให้ญาติป่วยโควิดกินเอง ทั้งที่แพทย์พิจารณาแล้วไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ว่า เราไม่อยากให้ไปซื้อยาต้านไวรัสมากินเอง เพราะไม่รู้ว่าเป็นยาปลอมหรือไม่ และอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่เรากินอยู่ การซื้อยาเองทำให้มีปัญหาตรงนี้ ย้ำว่าหากติดเชื้ออยากให้เข้าสู่ระบบ ซึ่งในส่วนของ รพ.สังกัดกรมการแพทย์ และ กทม.มีสแกน แจก จบ โดยสามารถสแกนแล้วทิ้งข้อมูลไว้ 6 อย่าง คือ ชื่อ ผลตรวจ อาการ ที่อยู่ เบอร์โทร. และโรคร่วม เราการันตีว่าของกรมการแพทย์ภายใน 1 ชั่วโมงจะมีการติดต่อกลับว่าควรจะได้รับยาอะไรหรือไม่ต้องรับยา ส่วนของ กทม.ก้น่าจะใช้เวลาใกล้เคียงกัน ขอให้ลงทะเบียนมีแพทย์ดูแลดีกว่าจะไปซื้อยากินเอง
"ย้ำว่ายาโมลนูพิราเวียร์ไม่ขาด มีสนับสนุนให้ทุกแห่ง เนื่องจากมีการจัดหาทั้งจากกรมการแพทย์และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) อีกทั้งยาโมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิดใช้มาทั่วโลกยังไม่ถึงปี ยังไม่ได้ติดตามผลกระทบ ซึ่งช่วงนี้จะพบปรากฏการณ์หายจากโควิดแล้วกลับมาบวกใหม่ (Rebound) ก็ไม่อยากให้ไปซื้อยากินเอง" นพ.สมศักดิ์กล่าว
นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า การ Rebound เรายังไม่ได้รวบรวมข้อมูลว่ามีมากน้อยแค่ไหน แต่เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้ว หลักๆ คือต้องผลเป็นลบไปแล้ว แต่กลับมาบวกใหม่ ซึ่งบอกไม่ได้ บางคน 5-7 วันผลเป็นลบ พอวันที่ 10-14 กลับมาบวก ทั้งนี้ โดยหลักการหากกลับมาบวกใหม่ ต้องดูว่ามีอาการหรือไม่ หากไม่มีอาการอาจจะเป็นซากเชื้อก็ได้ หากมีอาการเราก็จะทำ RT-PCR เพื่อดูวงรอบค่า CT หาก CT สูงหรือทำแล้วเป็นลบ การที่ ATK แล้วบวกอาจจะเป็นซากเชื้อหรือผลบวกลวง ซึ่งก็อาจเกี่ยวกับเรื่องของการเก็บตัวอย่างด้วย ถ้าให้ดีกว่านั้นคือเพาะเชื้อ แต่มีราคาสูงเราไม่ทำทุกราย แต่ถ้าค่า CT ต่ำกว่า 28-30 อาจสังเกตอาการ อาจให้เริ่มยาอีกครั้งหรือยาอีกตัว ขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วยว่ามีโรคประจำตัวอะไรไหม
การจ่ายยาจึงควรจ่ายโดยแพทย์ ไม่แนะนำให้ซื้อ เรามีจ่ายในภาครัฐมีให้เข้าถึงทั้งหมด โรงเรียนแพทย์ก็มี หากกินยารักษาครบแล้ว ตรวจ ATK แล้วยังบวกอยู่ก็ให้แจ้งแพทย์เพื่อช่วยดูแล อย่างที่ผมเจอ 2 ราย รายหนึ่งไปต่างประเทศได้ยาจากต่างประเทศ อายุเกือบ 70 ปี พอ 14 วันลบไปแล้ว ก็กลับมาบวกโดยไม่มีอาการอะไร อีกรายหนึ่งอายุ 60 กว่าปี อาการพอสมควร มีโรคประจำตัว ให้โมลนูพิราเวียร์ประมาณ 2 สัปดาห์กลับมาบวก มีอาการไอมานิดหน่อยมาตลอด ซึ่งแนะนำว่าไม่ต้องทำอะไร เพราะกินยาครบแล้ว และอาการไม่ได้มากขึ้น คนไข้บอกว่าดูเหมือนดีขึ้น แต่พอมาตรวจอีกครั้งก็เป็นลบ โดยยังไม่ได้ตรวจ RT-PCR เรื่องนี้จึงยังพูดยาก หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังไม่พอ" นพ.สมศักดิ์กล่าว
ถามว่า สปสช.จะหารือกรมการแพทย์เพื่อจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์เป็นตัวแรก (First Line) นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า มีการหารือเป็นระยะ และกรมฯ ช่วยประสานเอาความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญมา ย้ำว่ายามีทั้งดีและไม่ดี ใช้โมลนูพิราเวียร์กันมากๆ เรายังไม่รู้ผลข้างเคียงระยะยาว อย่างตนเองอายุเกิน 60 ปีถ้าอาการไม่มากจะไม่กินยาอะไรเลย กินแก้ไข้ แก้ไอไป ทุกคนไม่จำเป็นต้องกินยา ก็เหมือนโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ หากเป็น Post-Pandemic แล้วไม่มีการกลายพันธุ์รุนแรง ในอนาคตก็จะเหมือนโรคติดเชื้อไวรัสทั่วไป แต่เรากลัวกลายพันธุ์ ฝ่ายรักษาก้ต้องคอยตั้งรับสิ่งที่แย่ที่สุดไว้ด้วย
ถามว่า สปสช.บอกว่าได้รับยาโมลนูพิราเวียร์รอบนี้มากกว่าฟาวิพิราเวียร์ นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ก็เป็นไปตามข้อบ่งชี้ ตอนนี้แค่มีอาการ และมีปัจจัยเสี่ยงข้อเดียว เช่น สูงอายุ หรือโรคประจำตัว แม้กระทั่งฉีดวัควีนไม่ครบไม่ได้เข็มกระตุ้นก็ได้ยาโมลนูพิราเวียร์แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณแพทย์แต่ละคนในการรักษา
https://www.sanook.com/news/8601962/
โควิดระลอกใหม่” ครม.ทุ่มตอบแทนบุคลากรการแพทย์-สธ. 6 โครงการ
เผยแพร่ : 03/08/2022 10:36
โควิดระลอกใหม่" ครม. ประกาศ ทุ่มเงิน 14,510 ล้าน ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณะสุข 6 โครงการ เนื่องจาก สถานการณ์แพร่ระบาดหนักขึ้น
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมครม.เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า ครม. มีมติเห็นชอบกรอบวงเงิน 14,510.3059 ล้านบาท สำหรับชำระค่าตอบแทน ค่าเสี่ยงภัย แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจากภารกิจที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ปรับกรอบวงเงินของโครงการให้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 ตามหลักเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้อง จำแนกค่าใช้จ่ายตามประเภทบุคลากรทางการแพทย์ ระยะเวลาที่ค้างจ่ายเป็นรายเดือน ตลอดจนปรับแผนการดำเนินงาน แผนเบิกจ่ายให้สอดคล้องกับกิจกรรมภายใต้โครงการในกลุ่มดังกล่าว
โดยโครงการในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีจำนวน 6 โครงการ ได้แก่.....👇
👉โครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่โควิด-19 ของกองสาธารณสุขฉุกเฉิน
👉โครงการค่าตอบแทนบุคลากรนอกเหนือภารกิจปกติ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
👉โครงการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ของกรมการแพทย์
👉โครงการจ่ายค่าตอบแทนการเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงานบริการรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
👉โครงการจ่ายค่าตอบแทนการเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงานบริการรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของกรมสุขภาพจิต
👉โครงการสนับสนุนการจัดบริหารทางการแพทย์และสารธารณสุขรองรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของกรมอนามัย
https://www.topnews.co.th/news/386839
ติดตามข่าวฌควิดวันนี้ค่ะ