วันที่ 2 สิงหาคม 2565 วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดยมีพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส กรรมการมหาเถรสมาคม และ รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธาน ป.ป.ช. ได้จัดกิจกรรมการสัมมนาแนวทางการประยุกต์หลักธรรมคำสอนกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
โดยมีพระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย,ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร และนายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการพระพุทฑศาสนาแห่งชาติ ร่วมเสวนา โดยมีพระนักเผยแผ่และพระปริยัตินิเทศก์ทั่วประเทศร่วมรับฟังและซักถาม เพื่อนำไปขยายผลการทำงานต่อไป
พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า หลักคำสอนเรื่องปธานในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางสำคัญที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาได้อย่างดี เพราะสังวรปธานเน้นการป้องกันการทุจริต ปหานปธานเน้นการปราบปรามการทุจริตทั้งภายในใจและภายนอก ภาวนาปธานเน้นการปลูกฝังสุจริตวัฒนธรรม และอนุรักขนาปธานเน้นรักษาสุจริตวัฒนธรรมให้ต่อเนื่องและยั้งยืนตลอดไป
รศ.ดร.มาณี กล่าวเสริมว่า หลักปธาน 4 นั้น สอดรับในทิศทางเดียวกันกับ STRONG Model เพราะเน้นจิตใจเข้มแข็ง และสังคมเข้มแข็งทนต่อการทุจริตคดโกง ไม่ว่าจะเป็นหลักพอเพียง (Sufficient: S) โปร่งใส (Transparent: T) ตื่นรู้ (Realise: R) มุ่งไปข้างหน้า (Onward: O) ความรู้ (Knowledge: N) และเอื้ออาทร (Generosity: G) หลักการเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ และผสานกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในชุมชนและสังคมได้อย่างทรงพลัง
ทั้งนี้ พระมหาฉัตรชัย ได้กล่าวถึงการประยุกต์หลักคำสอนไปจัดโครงการ Smart Strong เพื่อพัฒนานิสิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ไม่ทนต่อการทุจริตในชุมชนและสังคม ในขณะที่พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ได้ย้ำว่า มหาจุฬาฯ ได้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ไปปรับเป็นรายวิชาธรรมาภิบาลเพื่อเสริมสร้างชุมชนและสังคมสุจริต อีกทั้งนักศึกษายุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่น 5 ได้ประยุกต์หลักปธานกับ Strong Model ไปพัฒนาหมู่บ้านช่อสะอาด โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน จนทำให้มูลนิธิต่อต้านการทุจริตได้นำไปขยายผลจนครอบคลุมครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ
https://www.banmuang.co.th/news/politic/290371
"พุทธจักร" จับมือ "อาณาจักร" จัดหลักสูตรประยุกต์หลักคำสอนต้านทุจริต พระนักเผยแผ่และพระปริยัตินิเทศก์เตรียมขยายผล
โดยมีพระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย,ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร และนายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการพระพุทฑศาสนาแห่งชาติ ร่วมเสวนา โดยมีพระนักเผยแผ่และพระปริยัตินิเทศก์ทั่วประเทศร่วมรับฟังและซักถาม เพื่อนำไปขยายผลการทำงานต่อไป
พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า หลักคำสอนเรื่องปธานในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางสำคัญที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาได้อย่างดี เพราะสังวรปธานเน้นการป้องกันการทุจริต ปหานปธานเน้นการปราบปรามการทุจริตทั้งภายในใจและภายนอก ภาวนาปธานเน้นการปลูกฝังสุจริตวัฒนธรรม และอนุรักขนาปธานเน้นรักษาสุจริตวัฒนธรรมให้ต่อเนื่องและยั้งยืนตลอดไป
รศ.ดร.มาณี กล่าวเสริมว่า หลักปธาน 4 นั้น สอดรับในทิศทางเดียวกันกับ STRONG Model เพราะเน้นจิตใจเข้มแข็ง และสังคมเข้มแข็งทนต่อการทุจริตคดโกง ไม่ว่าจะเป็นหลักพอเพียง (Sufficient: S) โปร่งใส (Transparent: T) ตื่นรู้ (Realise: R) มุ่งไปข้างหน้า (Onward: O) ความรู้ (Knowledge: N) และเอื้ออาทร (Generosity: G) หลักการเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ และผสานกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในชุมชนและสังคมได้อย่างทรงพลัง
ทั้งนี้ พระมหาฉัตรชัย ได้กล่าวถึงการประยุกต์หลักคำสอนไปจัดโครงการ Smart Strong เพื่อพัฒนานิสิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ไม่ทนต่อการทุจริตในชุมชนและสังคม ในขณะที่พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ได้ย้ำว่า มหาจุฬาฯ ได้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ไปปรับเป็นรายวิชาธรรมาภิบาลเพื่อเสริมสร้างชุมชนและสังคมสุจริต อีกทั้งนักศึกษายุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่น 5 ได้ประยุกต์หลักปธานกับ Strong Model ไปพัฒนาหมู่บ้านช่อสะอาด โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน จนทำให้มูลนิธิต่อต้านการทุจริตได้นำไปขยายผลจนครอบคลุมครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ
https://www.banmuang.co.th/news/politic/290371