ในการทำงานเราคงได้ยินคำว่า ‘Generalist’ และ ‘Specialist’ เป็นคำที่ใช้เรียกคนเก่งเชิงกว้างกับคนเก่งเชิงลึกกันมาบ้าง แต่ JobThai Tips กระทู้นี้จะพาไปรู้จักกับ Specializing Generalist และ Generalizing Specialist คนที่มีความสามารถทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกในคนเดียว
Specializing Generalist และ Generalizing Specialist คืออะไร
Specializing Generalist คือ Generalist ที่เก่งเชิงกว้าง มีความสามารถหลากหลาย แต่ศึกษาเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเพิ่มเติมจนเกิดความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในหัวข้อนั้น ๆ
Generalizing Specialist คือ Specialist หรือคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งอยู่แล้ว แต่ขยายทักษะของตัวเองออกไปในเชิงกว้างจนมี Skill ที่หลากหลายมากขึ้น สามารถทำงานอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่ตนเองถนัดได้ด้วย
Specializing Generalist และ Generalizing Specialist ต่างจาก T-shaped Person ยังไง
เมื่อพูดถึงคนที่มีทักษะรอบด้านในการทำงาน หลายคนอาจจะคุ้นกับคำว่า ‘T-shaped Person’ หรือคนที่มีทักษะแบบรูปตัว T (T-shaped Skills) มากกว่า Specializing Generalist หรือ Generalizing Specialist แต่จริง ๆ แล้วทั้ง 3 คำมีความหมายเหมือนกัน เพราะ T-shaped Person เองก็เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีทักษะและความรู้กว้างขวาง หลากหลาย คล้ายกับเส้นแนวนอนของตัว T ที่แผ่ออกไปในแนวระนาบ รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง อย่างลึกซึ้งเหมือนกับเส้นแนวตั้งหรือขาของตัว T ที่ทิ้งตัวลงลึกเป็นแนวดิ่ง
เพียงแต่เราอาจมอง T-shaped Person เป็นคำเรียกกว้าง ๆ ที่ใช้เรียกคนเก่งรอบด้านทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างทั้งหมด ส่วนคำว่า Specializing Generalist และ Generalizing Specialist นั้นจะช่วยจำกัดความคนกลุ่มนี้ให้แคบลงมา ทำให้เราเข้าใจ Background ของเขามากขึ้นว่าเริ่มต้นพัฒนาทักษะมายังไงกว่าจะกลายมาเป็นคนที่มีทักษะครอบคลุมอย่างที่เห็น ระหว่างเริ่มต้นศึกษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเชี่ยวชาญก่อนแล้วค่อยขยายขอบข่ายการเรียนรู้ของตัวเองออกไปให้กว้างขึ้นแบบ Generalizing Specialist หรือเริ่มต้นจากการเรียนรู้หลาย ๆ ทักษะอย่างละนิดอย่างละหน่อยแล้วจึงค่อยลงลึกในสิ่งที่ตัวเองชอบหรือสนใจแบบ Specializing Generalist
ทำไมเราถึงต้องพัฒนาตัวเองให้เก่งทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง
ถึงแม้การตัดสินใจเลือกเส้นทางพัฒนาตัวเองเพื่อเป็น Generalist หรือ Specialist อย่างใดอย่างหนึ่งจะช่วยให้เรามีจุดโฟกัสในการพัฒนาทักษะชัดเจนขึ้น เดินตาม Career Path ที่วางไว้ได้เหมาะสมมากขึ้น เช่น หากต้องการเติบโตไปในสายบริหารจัดการ ก็อาจพัฒนาทักษะตัวเองในเชิงกว้างแบบ Generalist จะได้กลายเป็นคนที่มองเห็นภาพรวมได้ดี เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้เก่ง หรือถ้าอยากเติบโตไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก็อาจศึกษาความรู้และสะสมประสบการณ์ให้ตัวเองเก่งขึ้นในเชิงลึกแบบ Specialist จะได้ชำนาญและเข้าใจในศาสตร์นั้นอย่างถ่องแท้
แต่บางครั้งการเลือกฝึกฝนทักษะในเชิงลึก หรือขยายทักษะในเชิงกว้างเพียงอย่างเดียวก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการทำงานในอนาคตอีกต่อไป เพราะหากเราเป็น Generalist ที่ทำได้หลายอย่างแต่ไม่มี Core Competency หรือทักษะหลักที่ทำได้ดีเป็นพิเศษอันเปรียบเสมือนจุดแข็งของเรา ก็อาจทำให้เราถูกแทนที่ในการทำงานได้ง่าย และเช่นเดียวกันสำหรับ Specialist ที่เก่งในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งมาก ๆ เช่น เทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย หรือการเขียนโปรแกรม หากวันหน้าสิ่งที่เราเชี่ยวชาญเหล่านี้กลับกลายเป็นสิ่งล้าหลังในโลกของการทำงานไป หรือในอนาคตมี AI ที่เชี่ยวชาญในการคิดวิเคราะห์และทำงานเฉพาะทางขึ้นมาทำหน้าที่แทน ก็อาจทำให้เราตกงานได้เช่นกัน
ดังนั้นการผสมของคนสองประเภทเข้าด้วยกันจึงกลายเป็นทางเลือกอีกทางที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับคนทำงานยุคใหม่ นั่นคือการพัฒนาตัวเองให้เป็น Specializing Generalist หรือ Generalizing Specialist เพื่อลบข้อเสียเปรียบเฉพาะตัวของ Generalist และ Specialist ออกไป กลายเป็นคนที่มีความรู้รอบด้าน สามารถทำอะไรได้หลากหลายแต่ยังมี Core Competency ที่เป็นทักษะเด่นเฉพาะตัว
ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองจนเก่งทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกได้ก็จะทำให้เราเป็นที่ต้องการในการทำงานมากขึ้น เพราะสามารถมองเห็นภาพรวมได้ดี เข้าใจกลไกในการทำงานของแต่ละฝ่ายในองค์กร เชื่อมโยงองค์ความรู้ได้หลายแขนง อีกทั้งยังมีความเข้าใจและเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ เป็นอย่างดีอีกด้วย เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถวิเคราะห์ได้รอบด้านและตรงจุด ไม่มองข้ามรายละเอียดอะไรไป นอกจากนี้การมีความสามารถที่ครบเครื่องก็ยิ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้กับเรา ทำให้สามารถโยกย้ายไปทำในตำแหน่งที่หลากหลายได้มากกว่าเดิม และเสี่ยงต่อการถูกแทนที่น้อยลงเพราะเป็นเรื่องยากที่จะหาคนที่เก่งรอบด้านเช่นนี้ได้นั่นเอง
คนทำงานรู้ลึกหรือรู้กว้างอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้รอบด้านด้วย
Specializing Generalist และ Generalizing Specialist คืออะไร
Specializing Generalist คือ Generalist ที่เก่งเชิงกว้าง มีความสามารถหลากหลาย แต่ศึกษาเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเพิ่มเติมจนเกิดความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในหัวข้อนั้น ๆ
Specializing Generalist และ Generalizing Specialist ต่างจาก T-shaped Person ยังไง
เมื่อพูดถึงคนที่มีทักษะรอบด้านในการทำงาน หลายคนอาจจะคุ้นกับคำว่า ‘T-shaped Person’ หรือคนที่มีทักษะแบบรูปตัว T (T-shaped Skills) มากกว่า Specializing Generalist หรือ Generalizing Specialist แต่จริง ๆ แล้วทั้ง 3 คำมีความหมายเหมือนกัน เพราะ T-shaped Person เองก็เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีทักษะและความรู้กว้างขวาง หลากหลาย คล้ายกับเส้นแนวนอนของตัว T ที่แผ่ออกไปในแนวระนาบ รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง อย่างลึกซึ้งเหมือนกับเส้นแนวตั้งหรือขาของตัว T ที่ทิ้งตัวลงลึกเป็นแนวดิ่ง
เพียงแต่เราอาจมอง T-shaped Person เป็นคำเรียกกว้าง ๆ ที่ใช้เรียกคนเก่งรอบด้านทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างทั้งหมด ส่วนคำว่า Specializing Generalist และ Generalizing Specialist นั้นจะช่วยจำกัดความคนกลุ่มนี้ให้แคบลงมา ทำให้เราเข้าใจ Background ของเขามากขึ้นว่าเริ่มต้นพัฒนาทักษะมายังไงกว่าจะกลายมาเป็นคนที่มีทักษะครอบคลุมอย่างที่เห็น ระหว่างเริ่มต้นศึกษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเชี่ยวชาญก่อนแล้วค่อยขยายขอบข่ายการเรียนรู้ของตัวเองออกไปให้กว้างขึ้นแบบ Generalizing Specialist หรือเริ่มต้นจากการเรียนรู้หลาย ๆ ทักษะอย่างละนิดอย่างละหน่อยแล้วจึงค่อยลงลึกในสิ่งที่ตัวเองชอบหรือสนใจแบบ Specializing Generalist
ถึงแม้การตัดสินใจเลือกเส้นทางพัฒนาตัวเองเพื่อเป็น Generalist หรือ Specialist อย่างใดอย่างหนึ่งจะช่วยให้เรามีจุดโฟกัสในการพัฒนาทักษะชัดเจนขึ้น เดินตาม Career Path ที่วางไว้ได้เหมาะสมมากขึ้น เช่น หากต้องการเติบโตไปในสายบริหารจัดการ ก็อาจพัฒนาทักษะตัวเองในเชิงกว้างแบบ Generalist จะได้กลายเป็นคนที่มองเห็นภาพรวมได้ดี เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้เก่ง หรือถ้าอยากเติบโตไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก็อาจศึกษาความรู้และสะสมประสบการณ์ให้ตัวเองเก่งขึ้นในเชิงลึกแบบ Specialist จะได้ชำนาญและเข้าใจในศาสตร์นั้นอย่างถ่องแท้
แต่บางครั้งการเลือกฝึกฝนทักษะในเชิงลึก หรือขยายทักษะในเชิงกว้างเพียงอย่างเดียวก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการทำงานในอนาคตอีกต่อไป เพราะหากเราเป็น Generalist ที่ทำได้หลายอย่างแต่ไม่มี Core Competency หรือทักษะหลักที่ทำได้ดีเป็นพิเศษอันเปรียบเสมือนจุดแข็งของเรา ก็อาจทำให้เราถูกแทนที่ในการทำงานได้ง่าย และเช่นเดียวกันสำหรับ Specialist ที่เก่งในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งมาก ๆ เช่น เทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย หรือการเขียนโปรแกรม หากวันหน้าสิ่งที่เราเชี่ยวชาญเหล่านี้กลับกลายเป็นสิ่งล้าหลังในโลกของการทำงานไป หรือในอนาคตมี AI ที่เชี่ยวชาญในการคิดวิเคราะห์และทำงานเฉพาะทางขึ้นมาทำหน้าที่แทน ก็อาจทำให้เราตกงานได้เช่นกัน
ดังนั้นการผสมของคนสองประเภทเข้าด้วยกันจึงกลายเป็นทางเลือกอีกทางที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับคนทำงานยุคใหม่ นั่นคือการพัฒนาตัวเองให้เป็น Specializing Generalist หรือ Generalizing Specialist เพื่อลบข้อเสียเปรียบเฉพาะตัวของ Generalist และ Specialist ออกไป กลายเป็นคนที่มีความรู้รอบด้าน สามารถทำอะไรได้หลากหลายแต่ยังมี Core Competency ที่เป็นทักษะเด่นเฉพาะตัว
ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองจนเก่งทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกได้ก็จะทำให้เราเป็นที่ต้องการในการทำงานมากขึ้น เพราะสามารถมองเห็นภาพรวมได้ดี เข้าใจกลไกในการทำงานของแต่ละฝ่ายในองค์กร เชื่อมโยงองค์ความรู้ได้หลายแขนง อีกทั้งยังมีความเข้าใจและเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ เป็นอย่างดีอีกด้วย เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถวิเคราะห์ได้รอบด้านและตรงจุด ไม่มองข้ามรายละเอียดอะไรไป นอกจากนี้การมีความสามารถที่ครบเครื่องก็ยิ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้กับเรา ทำให้สามารถโยกย้ายไปทำในตำแหน่งที่หลากหลายได้มากกว่าเดิม และเสี่ยงต่อการถูกแทนที่น้อยลงเพราะเป็นเรื่องยากที่จะหาคนที่เก่งรอบด้านเช่นนี้ได้นั่นเอง