JJNY : ครึ่งปีแรก“บาทอ่อน” ขาดดุล 2.78แสนล.│ราคาน้ำมันโลกพุ่งกว่า 2$│'ชัชชาติ'ลุยตรวจสถานีสูบน้ำ│“สาธิต”ค้านแก้ไขรธน.

ครึ่งปีแรก “บาทอ่อน” ขาดดุล 2.78 แสนล้านบาท
https://www.prachachat.net/economy/news-994095
 
 
การส่งออกนับเป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับไทย แม้ในยามวิกฤตที่ทั่วโลกยังเผชิญโควิด-19 แต่ล่าสุด “นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยรายงานการส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2565 มูลค่า 149,184.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 12.7% สูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งปีว่าจะขยายตัว 4%
 
โดยเป็นผลจากการส่งออกล่าสุดในเดือนมิ.ย. 2565 มีมูลค่า 26,553.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 11.9% ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 และเมื่อหากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 10.4%

โผสินค้า-ตลาดสำคัญ
 
โดยในช่วง 6 เดือนแรก การส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 17.1% โดยสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ข้าว ขยายตัว 30.5% ยางพารา ขยายตัว 4.7% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 23.4% อาหาร ขยายตัว 10.2% อาหารสัตว์เลี้ยง 23.2% และน้ำตาล ขยายตัว 138.8% ขณะที่สินค้าที่ส่งออกหดตัว เช่น สุกร แช่เย็น แช่แข็ง ลดลง 95.4%
 
ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 10.5% สินค้าที่ส่งออกสำคัญ เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัว 6.3% เครื่องใช้ไฟฟ้า 5.8% อัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัว 94.6% เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ขยายตัว 10.5% สิ่งทอ ขยายตัว 10.0% ส่วนสินค้าส่งออกที่หดตัว เช่น ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัว 6.3% ผลิตภัณฑ์ยาง 4.4% ถุงมือยาง หดตัว 55.0%
 
เมื่อพิจารณาตลาดส่งออกในช่วงครึ่งปีแรก พบว่า กลุ่มตลาดหลักขยายตัว 11.5% อาทิ สหรัฐ ขยายตัว 20.55% จีน ขยายตัว 0.8% ญี่ปุ่น ขยายตัว 1.4% อาเซียน ขยายตัว 18.1% CLMV ขยายตัว 9.9% สหภาพยุโรป ขยายตัว 5.7% ส่วนตลาดที่หดตัว เช่น บรูไน หดตัว 17.7%
ขณะที่ตลาดรอง ขยายตัว 10.4% อาทิ เอเชียใต้ ขยายตัว 35.7% อินเดีย ขยายตัว 46.6% เกาหลีใต้ ขยายตัว 17.9% ตะวันออกกลาง ขยายตัว 21.5% แอฟริกา ขยายตัว 5.1% สหราชอาณาจักร ขยายตัว 8.35% ส่วนตลาดที่หดตัว เช่น ฮ่องกง 1.9% ทวีปออสเตรเลีย หดตัว 3.2% กลุ่มประเทศ CIS หดตัว 34.4% และรัสเซีย หดตัว 36.0%
 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออก
 
ทิศทางการส่งออกครึ่งปีแรกยังเป็นไปในทิศทางที่ดี ส่วนแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลัง ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดการชะลอตัวของการบริโภคที่มีสาเหตุมาจากภาวะเงินเฟ้อโลกที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคในต่างประเทศ และยังต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากมีแนวโน้มทรงตัวจะส่งผลต่อภาพรวมความต้องการสินค้า
 
ขณะที่ปริมาณตู้สินค้าและเรือขนส่งสินค้าที่เคยติดปัญหา ขณะนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น “ค่าเงินบาท” ที่อ่อนค่ามีส่วนช่วยให้การส่งออกสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศให้สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งในตลาดโลกได้ และปัจจัยจากที่ทั่วโลกมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงด้านอาหารส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตร และอาหารเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการฟื้นตัวการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังเติบโตตามการขยายตัวของภาคการผลิตโลก
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ เร่งทำงานเชิงรุกเพื่ออำนวยความสะดวก พร้อมทั้งเตรียมแผนขยายตลาดส่งออกทั้งตลาดหลัก และตลาดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการส่งออก ต่อเนื่องจากที่ได้ดำเนินการในช่วงครึ่งปีแรกที่ได้เปิดการเจรจา FTA ไทย-เอฟต้า การลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-สหราชอาณาจักร
 
การขยายการจัดทำ Mini-FTA ไทย-ปูซาน เพื่อขยายการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ผ่านท่าเรือปูซาน การเจรจากับผู้บริหารศูนย์การค้าของต่างประเทศ เพื่อนำสินค้าไทยไปวางจำหน่ายในศูนย์การค้าของเดนมาร์ก และสหราชอาณาจักร และการจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับ ผู้นำเข้าซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ เจรจาขยายตลาดส่งออก สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป อาทิ การส่งออกมังคุดไปยังไต้หวันกล้วยหอมไทยและผลิตภัณฑ์แปรรูปสู่ตลาดญี่ปุ่น เป็นต้น
 
ขาดดุลการค้า
 
อีกด้านหนึ่ง ภาพรวมการการนำเข้าเดือน มิ.ย. มีมูลค่า 28,082.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 24.5% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1,529.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งส่งผลให้ในช่วง 6 เดือนแรก มีมูลค่านำเข้า 155,440.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 21.0% และไทยขาดดุลการค้า 6,255.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และหากคิดเป็นเงินบาทไทยขาดดุลการค้าสะสมมากขึ้น 2.78 แสนล้านบาท ครั้งแรกในรอบหลายปี จากปมค่าบาทอ่อนค่า
 
แน่นอนว่าภาพการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นนั้น มาจากสินค้ากลุ่มเชื้อเพลิงที่มีมูลค่า 32,140 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 91.4% โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม มูลค่า 5,892.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 185.1% และน้ำมันดิบมูลค่า 20,770 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 102% ขณะที่สินค้าทุน ขยายตัวเพียง 10.0% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ขยาย 11.8% ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ขยายตัว 44.1%
 
แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีสินค้าอีกกลุ่มที่ขยายตัวสูงสุดถึง 888.6% นั่นคือ อาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ ที่มีการนำเข้ามูลค่า 1,976.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นหนึ่งเหตุผลที่นำมาสู่การขาดดุลการค้าด้วย



ราคาน้ำมันโลกพุ่งกว่า 2 ดอลลาร์ จับตาประชุมโอเปกพลัส ลุ้นเพิ่มกำลังผลิต
https://ch3plus.com/news/economy/morning/303395

น้ำมันดิบเบรนท์ งวดส่งมอบล่วงหน้าปิดตลาดเมื่อคืนที่ผ่านมา (30 ก.ค. 2565) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.87 ดอลลาร์ หรือ 2.68 % มาปิดตลาดที่ 110.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล -ขณะที่เวสต์ เท็กซัส อินเตอร์มีเดียท เพิ่มขึ้น 2.20 ดอลลาร์ หรือ 2.28 % ปิดตลาดที่ 98.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

โดยถ้าคิดเป็นรายเดือน ราคาน้ำมันทั้งสองตลาดลดลงเป็นเดือนที่ 2 แล้ว โดยเบรนท์ร่วงลงไป 4% ในเดือนกรกฎาคมนี้ ขณะที่เวสต์เท็กซัส ลดลงไปต่ำกว่า 7%

อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างจับตามองการประชุมของกลุ่มโอเปกพลัสในสัปดาห์หน้านี้ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คาดหวังว่า ที่จะประชุมจะช่วยเพิ่มอุปทานน้ำมัน หรือเพิ่มผลผลิตมากไปกว่าเดิม

เมื่อวานนี้สำนักข่าวต่างประเทศรายงานผลกำไรของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันหลายแห่งที่ทำกำไรในช่วงนี้ โดยบริษัทโททาล เอสเอ (Total) บริษัทด้านพลังงานสัญชาติฝรั่งเศส มีผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 2 โดยผลประกอบการเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากปีก่อนหน้านี้ มาอยู่ที่ 5 พัน 700 ล้านดอลลาร์ บริษัทยังเพิ่มเงินปันผลอีก 5 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว เป็น 0.69 ยูโรต่อหุ้น

เช่นนเดียวกับบริษัทเชลล์ ที่ 2 วันก่อนหน้านี้เปิดเผยผลกำไรไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 1 หมื่น 1 พัน 500 ล้านดอลลาร์ ทำลายสถิติก่อนหน้านี้เมื่อสามเดือนก่อน โดยเชลล์ได้กำไรจากการกลั่นเพิ่มขึ้นสามเท่า และการซื้อขายก๊าซที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนเอ็กซอนโมบิล ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เผยว่า ผลกำไรไตรมาส 2 ทำกำไรได้มากกว่า 1 หมื่น 6 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าผลกำไรในไตรมาสแรกเกือบ 2 เท่า

ซึ่งอุปสงค์ หรือความต้องการน้ำมัน ที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วนี้เกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการล็อกดาวน์จากการระบาดของโควิด19 รวมไปถึงสถานการณ์สู้รบในยูเครน ที่ทำให้ภาวะอุปทานตึงตัว
 

  
'ชัชชาติ' ลุยตรวจสถานีสูบน้ำคลองบางซื่อ เผยขยะลอยมาติดวันละ 3 ตัน ทำปั๊มน้ำเสียหาย
https://ch3plus.com/news/political/weekend/303403

วานนี้ (29 ก.ค.65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่สถานีสูบน้ำคลองบางซื่อ ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
 
นายชัชชาติ ระบุว่า จากการตรวจสอบระบบระบายน้ำ ทั้งระบบคลอง และอุโมงค์ระบายน้ำ หัวใจจริงๆ คือ คลอง ที่ กทม. ต้องระบาย 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ยุทธศาสตร์หลักๆ จึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพของคลอง ทุกวันนี้คลองบางซื่อ รับน้ำจาก 2 คลอง จากเปรมประชากร และลาดพร้าว ซึ่งมีปั๊มน้ำ 17 ตัว เราเปลี่ยนตัวใหม่เพียง 5 ตัว ที่เหลือมีอายุใช้มาแล้ว 15 ปี จากการจัดซื้อ ราคาตัวละ 4 ล้านบาท หากปรับพวกนี้ราคาไม่แพง จะช่วยการระบายน้ำได้ ดังนั้นตอนนี้ ต้องไล่ทุกจุด ให้ปั๊มทำงานได้ดี เช่น ระบบส่งไฟ
 
อย่างไรก็ตาม กทม.มีสถานีสูบน้ำ 190 สถานี หากต้องเปลี่ยนเครื่องสูบก็ต้องทำ และเครื่องต้องมีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ คาดว่าจะต้องเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำ กว่า 300 เครื่อง
 
ภาพรวมเครื่องสูบน้ำ กทม.มี 733 ตัว ชำรุด 22 ตัว เครื่องเก็บขยะอัตโนมัติ 263 ตัว ชำรุด 63 ตัว ประตูระบายน้ำ 523 ประตู ชำรุด 14 ประตู ประสิทธิภาพในภาพรวมตามตัวเลขยังพอใช้ได้อยู่ หากปรับปรุง ไม่ได้ใช้เงินเยอะหรือเป็นโครงการขนาดใหญ่ หลังจากนี้จะดูว่างบประมาณปี 65 มีเพียงพอหรือไม่ หรือไม่ต้องแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายปี 2566
 
ส่วนคลองบางซื่อไม่ได้ขุดมา 13 ปี ท้องคลองตื้น พร่องน้ำได้ไม่เต็มที่ จึงต้องเริ่มดำเนินการ พร้อมทำเขื่อนไปด้วย ให้เป็นลักษณะแก้มลิงหน้าอุโมงค์ระบายน้ำ ซึ่งไม่ได้ใช้เงินเยอะ เหมือนอุโมงค์ระบายน้ำ ซึ่งจะเป็นแผนงบปี 65/66 และพยายามใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุด และขออย่าไปโฟกัส เรื่องอุโมงค์มาก แต่ต้องทำควบคู่กัน ทั้งอุโมงค์และคลอง
 
นอกจากนี้ การเก็บขยะจากคลองบางซื่อ พบว่าได้วันละ 3 ตัน หรือบางที ขยะเข้าไปในที่ปั๊มน้ำ ทำให้เสียหาย จึงขอฝากทุกคนช่วยกัน ขณะที่พระราม 9 พบขยะวันละ 5 ตัน
 
ทั้งนี้ ต้องขอบคุณกรมราชทัณฑ์ และมองว่าเป็นมิติความร่วมมือที่ดีมาก ซึ่งทหารก็มาช่วย ที่บางบัวก็จะช่วยพร่องน้ำ ในแก้มลิงของกองทัพ และไม่ได้ใช้งบเยอะ หลายเสียงตอบรับก็ดี ขอยืนยันการที่ตนนั่งรถจักรยานยนต์ไปดูน้ำท่วมนั้น ไม่ได้สร้างภาพ แต่ต้องออกไปให้เห็นเส้นเลือดฝอย ไม่สามารถรู้ได้หากนั่งอยู่แต่ในห้องทำงาน
  
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ บอกว่า พร้อมลุยเต็มที่ น้ำเหนือลดลง ไม่ได้รุนแรงมาก อยู่ในสถานการณ์ ที่เราดูแลได้ แต่ไม่ประมาท จุดฟันหลอส่วนหนึ่งเอกชนไม่ให้สร้างเขื่อน เอกชนบอกว่ากลัวผิดฮวงจุ้ย ไม่อยากให้ทำ สุดท้ายน้ำมาท่วมทั้งหมู่บ้าน ดังนั้นต้องฝาก บางทีต้องเสียสละเหมือนกัน อย่างน้อยให้ กทม.เรียงกระสอบทรายก่อน ตรงที่เป็นฟันหลอตรง ถ.ทรงวาด มีอยู่เกือบ 200 เมตร ช่วงนี้อาจไม่ต้องกังวลเรื่องความสวยงามหรือฮวงจุ้ยมาก เอาชีวิตรอดก่อน จะได้ดูแลเพื่อนบ้านเราด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่