ประสบการณ์เรียนปริญญาเอก วิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)…..ตลอด 3 ปี
เมื่อวาน (27 ก.ค. 65) เป็นวันสุดท้ายของภาคการศึกษา 2/2564 ส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ให้ทะเทียนคณะ ตอนสี่ทุ่ม……จบแบบเฉียดฉิวจนวินาทีสุดท้ายจริงๆ ขอบันทึกไว้เผื่อได้กลับมาอ่านใน 10 20 หรือ 30 ปีข้างหน้า….และเผื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเรียนต่อปริญญาเอกครับ
เริ่มต้น ต้องขอบพระคุณ คุณโชคชัย ธนเมธี กรรมการผู้จัดการใหญ่ (กจญ.) บริษัท พีทีทีแอลเอ็นจี (PTTLNG) สมัยนั้น ที่มีวิสัยทัศน์ มอบหมายให้ผมศึกษาการนำพลังงานความเย็นเหลือทิ้งของ LNG มาระบายความร้อนของ Datacenter เพื่อส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Datacenter ของภูมิภาคอาเซียน ท่านส่งเสริมและเขียนหนังสือรับให้ผมไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่ สจล. ในปี 2562
เมื่อได้รับมอบหมายงาน ผมก็ตามหาผู้เชี่ยวชาญ Datacenter ระดับประเทศ ตลอดครึ่งปีเต็ม ส่วนมากจะโดนปฏิเสธ ไม่ให้ความร่วมมือใดๆ เพราะเขามองว่า LNG ทำธุรกิจพลังงานไม่เกี่ยวกับ Datacenter ไม่มีศักยภาพจะทำได้ทำให้ผมท้อใจเป็นอย่างมาก
โชคดีที่ได้เข้าร่วมสัมมนาของ อ.รศ.ดร.มนตรี วิบูลยรัตน์ ประธานร่างมาตรฐาน Datacenter วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เชี่ยวชาญ Datacenter ระดับประเทศ ที่ Bitec ท่านฟังแล้วเห็นโอกาสความเป็นไปได้ จึงชวนผมนำหัวข้อนี้มาทำวิจัย และศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ผมก็คิดจะเรียนต่อพอดี ตอนแรกจะสมัครเรียน DBA (Doctor of Business) ที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) วิทยาเขตระยอง แต่ค่าเทอมตลอดหลักสูตร รวมๆเกือบ 1 ล้านบาท จึงถอยคิดว่าอ่านหนังสือเองก็ได้
จากการได้คุยกับ อ.มนตรี ในวันนั้นนำไปสู่การเซ็น MOU ความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง PTTLNG สจล. และ มจธ. ใน “การศึกษาการนำประโยชน์พลังงานความเย็น LNG มาระบายความร้อนของ Datacenter เพื่อส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Datacenter ของภูมิภาคอาเซียน” ในปี 2562
ขั้นตอนการสมัครเรียน เริ่มต้นต้องขอบพระคุณ อ.ศ.ดร.บรรเจิด จงสมจิตร ภาควิชา วิศวกรรมเคมี จุฬา อาจารย์ที่ปรึกษาสมัยเรียนปริญญาโท ที่เขียนหนังสือรับรองและให้กำลังใจว่าผมสามารถเรียนต่อปริญญาเอกได้ อาจารย์เมตตาต่อผมเสมอมาถ้าไม่เพราะอาจารย์ช่วยเหลือ ผมคงไม่จบปริญญาโทและไม่ได้เรียนต่อปริญญาเอกในครั้งนี้
สอบสัมภาษณ์ : ขอบพระคุณ อ.ผศ.ดร. ณัฐนันท์ ไพบูลย์ศิลป์ ประธานหลักสูตร ที่เมตตา เห็นว่าผมสามารถเรียนต่อได้ จึงช่วยเหลือผมจนได้ศึกษาต่อและขอบพระคุณ อ.รศ.ดร.กุลนันทน์ เกียรติกิตติพงษ์ ที่รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาเอก ถ้าไม่เพราะอาจารย์ช่วยเหลือ ผลักดันคงเรียนไม่จบแน่ๆ
5 ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการเรียนจบปริญญาเอก เรียงลำดับ ดังต่อไปนี้
1.หัวข้อวิจัย ต้องเป็นงานวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นบนโลกและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติจริงๆ
2.อาจารย์ที่ปรึกษา ต้องให้การช่วยเหลือผลักดัน ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ให้ความรู้ประสบการณ์ในการทำวิจัย เราจะจบไม่จบขึ้นอยู่อาจารย์ที่ปรึกษานี่แหละ ในที่ประกอบด้วย
2.1. อ.รศ.ดร.กุลนันทน์ เกียรติกิตติพงษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
2.2. อ.รศ.ดร.มนตรี วิบูลยรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
2.3. อ.ดร.ญาณิน สุขใจ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์จบปริญญาโท-เอก วิศวกรรมเครื่องกลที่ MIT ความรู้ทางวิชาการสุดยอดมากๆ ไอดอลผมเลย
3.Motivation ของนักศึกษา ในการทำวิจัย เขียนวารสารวิชาการ (Paper) เขียนเล่มวิทยานิพนธ์ (Thesis) ทุกขั้นตอนต้องใช้แรงผลักดัน แรงใจและแรงกายทุ่มเทให้สำเร็จอย่างมาก ถ้าขาด Motivation จะไม่สามารถเรียนปริญญาเอกได้เลย เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาจะไม่จ้ำจี้จ้ำไช เหมือนปริญญาตรีและโท เพราะเห็นว่าโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว สำหรับผม Motivation คิดว่างานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สร้างธุรกิจดิจิตอลให้แก่ประเทศไทยจึงอยากเร่งวิจัยให้เสร็จ
4.อาจารย์กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ สำคัญมากๆ เพราะท่านให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ในการพัฒนาวิทยานิพนธ์ให้มีคุณภาพและตรวจสอบข้อผิดพลาดของวิทยานิพนธ์ถ้าไม่มีข้อเสนอแนะดีๆจากอาจารย์คงตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติได้ยากมา
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
4.1 อ.ศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบํารุงรัตน์
4.2 อ.ศ.ดร.จารุวัตร เจริญสุข
4.3 อ.ผศ.ดร. ณัฐนันท์ ไพบูลย์ศิลป์
4.4 อ.ผศ.ดร.สันติ วัฒนานุสรณ์
5.ทะเบียนภาควิชาและทะเบียนคณะ พี่อ้อและพี่ตุ๊กติ๊ก ถ้าไม่มีพี่ๆ Support ด้านเอกสารและแก้ปัญหาระหว่างศึกษาปริญญาเอก คงยากมากๆที่จะเรียนจบ
เริ่มเรียน…..
ปี 1 เทอม 1
คุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา เรื่องเงื่อนไขในการจบ อาจารย์ให้ตีพิมพ์วารสารนานาชาติ (paper) จำนวน 2 ฉบับ ตามเงื่อนไขของคณะวิศว สจล. และให้ International conference แรก ที่จุฬา ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผมฟังแล้วตกใจมาก เพราะเพิ่งเริ่มเรียนเอง แต่ก็ดีเหมือนกันได้เริ่มวิจัยเลยถ้าไม่ทำจะเอาอะไรไปพูดหล่ะ
ลงทะเบียนเรียนวิชา Doctor Seminar 1 แต่เนื่องจากเพิ่งเข้าเรียนใหม่ ทำให้มึนๆ ลืมยื่นเรื่องสอบได้เกรด U (ไม่ผ่าน) มาเลย เพิ่งเริ่มเรียนเทอมแรกก็ตกซะแล้ว แบบนี้จะจบไหมเนี่ย….
ปี 1 เทอม 2
เริ่ม International conference แรก ที่จุฬา เป็นงานใหญ่มากมี Professor ทั่วโลกมาร่วมงานจำนวนมาก ผมได้นำเสนอแบบ Oral presentation หน้าหอประชุมห้องใหญ่ที่สุด มีนักวิจัยร่วมฟังเกือบ 40 ท่าน หลังจากทำวิจัยเบื้องต้นมาแล้ว 6 เดือน บวกกับความรู้ที่ทำงานด้าน LNG มาเกือบ 10 ปี สามารถพูดได้สบายๆ แต่ติดปัญหาตรงนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษนี่สิ พอไปหน้าหอประชุม พูดผิด พูดถูกตะกุกตะกักมาก แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก
เทอมนี้ลงทะเบียนเรียน Doctor Seminar 1 อีกครั้ง เทอมนี้กำหนดให้ Review Paper ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมานำเสนอ ผมนำไฟล์นำเสนอในงาน International conference มาสอบเลยผ่านสบายๆ เลย เทอมนี้ได้เกรด S (ผ่าน) แรกมาจนได้
ขึ้นปี 2 ปีนี้เน้นทำการวิจัยเต็มๆตลอดทั้งปี….
ปี 2 เทอม 1
อาจารย์ที่ปรึกษาให้สอบวัดคุณสมบัติ (Qualified) โดยกรรมการทั้ง 4 ท่านให้นำเสนอสิ่งที่จะวิจัย บวกกับ Review paper ที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 paper โดยกรรมการจะถามถึงความรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โชคดีที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เจ้านายให้ผมศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากพลังงานความเย็น LNG ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ได้ไปศึกษาดูงานและเรียนรู้ที่ Osaka gas ประเทศญี่ปุ่นเรื่องนี้โดยตรง ทำให้สอบวัดคุณสมบัติผ่านสบายๆ
วิชา Doctor Semina 2 กรรมการให้นำความก้าวหน้างานวิจัยมานำเสนอ…ผ่านไปได้ด้วยดี
เทอมนี้ลงทะเบียน Doctor Thesis 1 ครั้งแรก
ได้เกรด S มา 2 ตัว
ปี 2 เทอม 2
ลงทะเบียนเรียน วิชา Doctor Semina 3 โชคดีกรรมการตรวจพบว่าทำวิจัยผิด ให้ไปปรับแก้และให้ข้อเสนอแนะ ผมจึงต้องปรับแก้งานวิจัยและเก็บผลการทดลองใหม่ทั้งหมดที่ทำมาตลอด 2 ปี และทำวิจัยเพิ่มตามที่กรรมการเสนอแนะ ได้เกรด S มา 2 ตัว
หลังจากได้งานวิจัยมาพอสมควรแล้ว อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำให้จดสิทธิบัตรในนามของ สจล. ร่วมกับ มจธ. เพื่อป้องกันการนำแนวคิดงานวิจัยไปใช้โดยไม่ขออนุญาต เนื่องจากทางสิงคโปร์และเกาหลีก็กำลังทำวิจัยคล้ายๆกับผม คือ การนำพลังงานความเย็น LNG ไปลดต้นทุน Datacenter จึงยื่นเรื่องขอจดสิทธิบัตรไป
ขึ้นปี 3…..ลงทะเบียนวิชา Doctor thesis ให้ครบอีก 2 ตัว
ปี 3 เทอม 1
เปิดเทอมมาอาจารย์ที่ปรึกษาบอกว่าอยากให้ร่วมนำเสนองานวิจัยในงาน International conference ที่สอง จัดที่ สจล. อาจารย์บอกว่ารอบนี้จัดร่วมกับวารสารนานาชาติ ถ้าผลงานวิจัยดีอาจได้ตีพิมพ์ Paper แรก โดยมีเวลาเตรียมตัว 3 เดือน เมื่อถึงวัน International conference เกิด Covid-19 ระบาดหนักพอดี จึงเปลี่ยนเป็น Online conference แทน สบายสิครับ ไม่ตื่นเต้นเลย….
หลังจาก International conference ผ่านไป 1 เดือน มี E-mail จาก Reviewer วารสาร Applied Science ที่ร่วมจัดงาน ตอบกลับมาว่า เนื้อหาที่นำเสนอเหมาะสมที่จะตีพิมพ์วารสารได้ ผมดูแล้วว่างานวิจัยผมไม่เกี่ยวข้องกับวารสารนี้ จึงไม่ส่งไป
ส่งวารสารนานาชาติ Energies Q1 IF 3.5 paper แรก
หลังจากได้รับ E-mail จาก Applied Science ก็เกิดแรงฮึด เริ่มเอางานวิจัยมาเขียน Paper แรก เลย โดยแบ่งงานวิจัยมา 1/3 มาเขียน 2/3 เอาไปเขียน paper แรกใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็เขียนเสร็จ ไวยากรณ์ถูกบ้างผิดบ้างแต่ Submission Manuscript วารสารนานาชาติ Energies ไปเลยไม่ได้ทำการ English proof ใดๆ ไม่คิดว่าจะได้ Accepted อาจารย์ที่ปรึกษาสอนว่า ส่งไปแล้วโดน Reject เป็นเรื่องปกติ ถือเป็นประสบการณ์นะ
ผมเริ่ม Submission วันที่ 5 กรกฏาคม 64 ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน อาจารย์ที่ปรึกษาก็โทรมาว่า วารสารตอบกลับมาได้รับ Major Revision 1 Manuscript ผล คือ Reviewers 1 และ 2 Accepted แต่ให้ปรับแก้ภาษาใหม่ Reviewer 3 ให้ Accepted with Major revision พร้อมให้ปรับแก้ประมาณ 7-8 ข้อ
ผมใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ปรับแก้งานวิจัยตามที่ Reviewer 3 เสนอแนะและส่งไป English proof ที่ประเทศอังกฤษเลยครับตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ มีค่าใช้จ่ายแค่ 3500 บาทเอง ใช้เวลา 4 วันก็เสร็จ (ตอนแรกจะจ้างคนไทยเค้าคิด 10000 บาทใช้เวลา 15 วัน) ผมก็ Submission กลับไปใช้เวลาอ่านประมาณ 5 วัน ก็โดน Major Revision 2 จาก Reviewer 3 เจ้าเดิม
ส่งไปอีกรอบ เจอ Major Revision 3 อีกรอบ ก็ปรับแก้อีกครั้ง สรุปว่าปรับแก้ 3 ครั้ง วันที่ 23 กันยายน 65 วารสาร E-mail มาแจ้งว่า Accepted ดีใจมากๆ สรุปใช้เวลา 3 เดือน 18 วัน ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับผมในการเขียน Paper 2
ส่งวารสารนานาชาติ Energy Q1 IF 8.9 Ranking 3 in Thermodynamics เป็น paper 2 ของผม
หลังจากได้ paper แรกแล้วอุ่นใจ Paper 2 จึงอยากส่งวารสาร Energy วารสารในฝันที่ผมอ่านบ่อยๆและอยากตีพิมพ์ที่วารสารนี่มากๆ ถ้าอุปมา paper แรกเหมือนวิ่ง Haft marathon 21 กม. paper 2 ก็เหมือนลงวิ่ง 42 กม. ท้าทายกว่ามากๆ
เนื่องจากไฟยังแรงอยู่ ผมใช้เวลา 2 เดือนในการเขียน paper 2 โดยใช้งานวิจัย 2/3 ที่เหลืออยู่ที่ยื่นจดสิทธิบัตรแล้วตั้งใจจะเขียน paper นี้มากๆ อยากทำตามความฝัน ก็สามารถ แต่ Submission Manuscript วันที่ 28 พ.ย.64 วันเกิดผมพอดี
ผมรออยู่ 4 เดือนเต็มๆ ในการ Review ไม่มี E-mail ตอบกลับมา แต่ก็อุ่นใจไม่โดน Rejected เพราะถ้าโดนจะมี E-mail มาแจ้งใน 2 สัปดาห์
ประมาณ 10 เมษายน 65 มี E-mail จากวารสารตอบกลับมาให้ Major Revision ผล คือ Reviewers 1 และ 2 Accepted แต่ Reviewer 3 Rejected โดยให้เหตุผลประมาณ 8 ข้อ งานเข้าสิครับ ก่อนสงกรานต์พอดีเที่ยวไม่สนุกเลยสิครับผมใช้เวลาวันหยุดช่วงสงกรานต์ 7 วัน ในแก้ไข paper ตาม Reviewer 3 comments ทั้ง 8 ข้อ
แล้ว Submission ไปอีกครั้งใช้เวลา Reviewed 1 เดือน
วัที่ 28 พฤษภาคม 65 เวลาเที่ยงคืน อาจารย์ ไลน์มาแจ้งผลว่า Accepted ดีใจจนนอนไม่หลับทั้งคืน เหมือนฝันที่เป็นจริงได้ตีพิมพ์ในวารสารในฝัน สรุป paper 2 ใช้เวลา 6 เดือนเต็มๆ
หลังจากได้ 2 paper จะรออะไร เขียนเล่มวิทยานิพนธ์ต่อเลยสิครับ ผมใช้เวลาเขียนเล่มประมาณ 1 เดือน ก็นำส่งทะเบียนคณะ เพื่อยื่นเรื่องขอสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ ในเดือนมิถุนายน และได้กำหนดการสอบในวันที่ 18 กรกฏาคม 65 ที่ผ่านมา การสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง อาจารย์ให้อธิบายทฤษฎีและผลงานวิจัยอย่างละเอียด เนื่องจากกรรมการเป็นศาสตราจารย์ถึง 2 ท่านจึงเครียดและกดดันมาก ทั้งๆที่มั่นใจในความรู้ที่ทำวิจัยมาบวกประสบการณ์ทำงานอีก 10 ปี สอบเสร็จ อาจารย์ให้ออกจากห้อง แล้วอาจารย์ประชุมกัน 5 ท่าน ประมาณ 10 นาทีก็ให้ผมเข้าห้องอีกครั้งเพื่อประกาศผล ผล คือ “ผ่าน” แต่ต้องปรับแก้เล่มวิทยานิพนธ์เพิ่ม เป็น Minor revision ผมใช้เวลาประมาณ 9 วัน ปรับแก้ทันส่งทะเบียนคณะ ตอน 4 ทุ่มของวันที่ 27 ก.ค. 65 พอดี พี่ตุ๊กใจดีมากๆช่วยเหลือเต็มที่ ส่งเล่มตอนเที่ยงคืนก็จะรอ เมื่อส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์แล้วความรู้สึกเหมือนวิ่ง Marathon 42 กม. เข้าเส้นชัยด้วยความสำเร็จ สมดังที่ตั้งใจทุ่มเทมาตลอด 3 ปีเต็ม
จบปริญญาเอก 3 ปี แบบฉิวเฉียดพอดี ถ้าส่งช้ากว่านี้ 2 ชม. จะต้องลงทะเบียนรักษาสภาพนักศึกษาอีก 1 เทอม
ประสบการณ์เรียนปริญญาเอก วิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)…..ตลอด 3 ปี
เมื่อวาน (27 ก.ค. 65) เป็นวันสุดท้ายของภาคการศึกษา 2/2564 ส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ให้ทะเทียนคณะ ตอนสี่ทุ่ม……จบแบบเฉียดฉิวจนวินาทีสุดท้ายจริงๆ ขอบันทึกไว้เผื่อได้กลับมาอ่านใน 10 20 หรือ 30 ปีข้างหน้า….และเผื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเรียนต่อปริญญาเอกครับ
เริ่มต้น ต้องขอบพระคุณ คุณโชคชัย ธนเมธี กรรมการผู้จัดการใหญ่ (กจญ.) บริษัท พีทีทีแอลเอ็นจี (PTTLNG) สมัยนั้น ที่มีวิสัยทัศน์ มอบหมายให้ผมศึกษาการนำพลังงานความเย็นเหลือทิ้งของ LNG มาระบายความร้อนของ Datacenter เพื่อส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Datacenter ของภูมิภาคอาเซียน ท่านส่งเสริมและเขียนหนังสือรับให้ผมไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่ สจล. ในปี 2562
เมื่อได้รับมอบหมายงาน ผมก็ตามหาผู้เชี่ยวชาญ Datacenter ระดับประเทศ ตลอดครึ่งปีเต็ม ส่วนมากจะโดนปฏิเสธ ไม่ให้ความร่วมมือใดๆ เพราะเขามองว่า LNG ทำธุรกิจพลังงานไม่เกี่ยวกับ Datacenter ไม่มีศักยภาพจะทำได้ทำให้ผมท้อใจเป็นอย่างมาก
โชคดีที่ได้เข้าร่วมสัมมนาของ อ.รศ.ดร.มนตรี วิบูลยรัตน์ ประธานร่างมาตรฐาน Datacenter วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและเป็นผู้เชี่ยวชาญ Datacenter ระดับประเทศ ที่ Bitec ท่านฟังแล้วเห็นโอกาสความเป็นไปได้ จึงชวนผมนำหัวข้อนี้มาทำวิจัย และศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ผมก็คิดจะเรียนต่อพอดี ตอนแรกจะสมัครเรียน DBA (Doctor of Business) ที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) วิทยาเขตระยอง แต่ค่าเทอมตลอดหลักสูตร รวมๆเกือบ 1 ล้านบาท จึงถอยคิดว่าอ่านหนังสือเองก็ได้
จากการได้คุยกับ อ.มนตรี ในวันนั้นนำไปสู่การเซ็น MOU ความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง PTTLNG สจล. และ มจธ. ใน “การศึกษาการนำประโยชน์พลังงานความเย็น LNG มาระบายความร้อนของ Datacenter เพื่อส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Datacenter ของภูมิภาคอาเซียน” ในปี 2562
ขั้นตอนการสมัครเรียน เริ่มต้นต้องขอบพระคุณ อ.ศ.ดร.บรรเจิด จงสมจิตร ภาควิชา วิศวกรรมเคมี จุฬา อาจารย์ที่ปรึกษาสมัยเรียนปริญญาโท ที่เขียนหนังสือรับรองและให้กำลังใจว่าผมสามารถเรียนต่อปริญญาเอกได้ อาจารย์เมตตาต่อผมเสมอมาถ้าไม่เพราะอาจารย์ช่วยเหลือ ผมคงไม่จบปริญญาโทและไม่ได้เรียนต่อปริญญาเอกในครั้งนี้
สอบสัมภาษณ์ : ขอบพระคุณ อ.ผศ.ดร. ณัฐนันท์ ไพบูลย์ศิลป์ ประธานหลักสูตร ที่เมตตา เห็นว่าผมสามารถเรียนต่อได้ จึงช่วยเหลือผมจนได้ศึกษาต่อและขอบพระคุณ อ.รศ.ดร.กุลนันทน์ เกียรติกิตติพงษ์ ที่รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาเอก ถ้าไม่เพราะอาจารย์ช่วยเหลือ ผลักดันคงเรียนไม่จบแน่ๆ
5 ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการเรียนจบปริญญาเอก เรียงลำดับ ดังต่อไปนี้
1.หัวข้อวิจัย ต้องเป็นงานวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นบนโลกและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติจริงๆ
2.อาจารย์ที่ปรึกษา ต้องให้การช่วยเหลือผลักดัน ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ให้ความรู้ประสบการณ์ในการทำวิจัย เราจะจบไม่จบขึ้นอยู่อาจารย์ที่ปรึกษานี่แหละ ในที่ประกอบด้วย
2.1. อ.รศ.ดร.กุลนันทน์ เกียรติกิตติพงษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
2.2. อ.รศ.ดร.มนตรี วิบูลยรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
2.3. อ.ดร.ญาณิน สุขใจ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์จบปริญญาโท-เอก วิศวกรรมเครื่องกลที่ MIT ความรู้ทางวิชาการสุดยอดมากๆ ไอดอลผมเลย
3.Motivation ของนักศึกษา ในการทำวิจัย เขียนวารสารวิชาการ (Paper) เขียนเล่มวิทยานิพนธ์ (Thesis) ทุกขั้นตอนต้องใช้แรงผลักดัน แรงใจและแรงกายทุ่มเทให้สำเร็จอย่างมาก ถ้าขาด Motivation จะไม่สามารถเรียนปริญญาเอกได้เลย เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาจะไม่จ้ำจี้จ้ำไช เหมือนปริญญาตรีและโท เพราะเห็นว่าโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว สำหรับผม Motivation คิดว่างานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สร้างธุรกิจดิจิตอลให้แก่ประเทศไทยจึงอยากเร่งวิจัยให้เสร็จ
4.อาจารย์กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ สำคัญมากๆ เพราะท่านให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ในการพัฒนาวิทยานิพนธ์ให้มีคุณภาพและตรวจสอบข้อผิดพลาดของวิทยานิพนธ์ถ้าไม่มีข้อเสนอแนะดีๆจากอาจารย์คงตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติได้ยากมา
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
4.1 อ.ศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบํารุงรัตน์
4.2 อ.ศ.ดร.จารุวัตร เจริญสุข
4.3 อ.ผศ.ดร. ณัฐนันท์ ไพบูลย์ศิลป์
4.4 อ.ผศ.ดร.สันติ วัฒนานุสรณ์
5.ทะเบียนภาควิชาและทะเบียนคณะ พี่อ้อและพี่ตุ๊กติ๊ก ถ้าไม่มีพี่ๆ Support ด้านเอกสารและแก้ปัญหาระหว่างศึกษาปริญญาเอก คงยากมากๆที่จะเรียนจบ
เริ่มเรียน…..
ปี 1 เทอม 1
คุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา เรื่องเงื่อนไขในการจบ อาจารย์ให้ตีพิมพ์วารสารนานาชาติ (paper) จำนวน 2 ฉบับ ตามเงื่อนไขของคณะวิศว สจล. และให้ International conference แรก ที่จุฬา ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผมฟังแล้วตกใจมาก เพราะเพิ่งเริ่มเรียนเอง แต่ก็ดีเหมือนกันได้เริ่มวิจัยเลยถ้าไม่ทำจะเอาอะไรไปพูดหล่ะ
ลงทะเบียนเรียนวิชา Doctor Seminar 1 แต่เนื่องจากเพิ่งเข้าเรียนใหม่ ทำให้มึนๆ ลืมยื่นเรื่องสอบได้เกรด U (ไม่ผ่าน) มาเลย เพิ่งเริ่มเรียนเทอมแรกก็ตกซะแล้ว แบบนี้จะจบไหมเนี่ย….
ปี 1 เทอม 2
เริ่ม International conference แรก ที่จุฬา เป็นงานใหญ่มากมี Professor ทั่วโลกมาร่วมงานจำนวนมาก ผมได้นำเสนอแบบ Oral presentation หน้าหอประชุมห้องใหญ่ที่สุด มีนักวิจัยร่วมฟังเกือบ 40 ท่าน หลังจากทำวิจัยเบื้องต้นมาแล้ว 6 เดือน บวกกับความรู้ที่ทำงานด้าน LNG มาเกือบ 10 ปี สามารถพูดได้สบายๆ แต่ติดปัญหาตรงนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษนี่สิ พอไปหน้าหอประชุม พูดผิด พูดถูกตะกุกตะกักมาก แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก
เทอมนี้ลงทะเบียนเรียน Doctor Seminar 1 อีกครั้ง เทอมนี้กำหนดให้ Review Paper ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมานำเสนอ ผมนำไฟล์นำเสนอในงาน International conference มาสอบเลยผ่านสบายๆ เลย เทอมนี้ได้เกรด S (ผ่าน) แรกมาจนได้
ขึ้นปี 2 ปีนี้เน้นทำการวิจัยเต็มๆตลอดทั้งปี….
ปี 2 เทอม 1
อาจารย์ที่ปรึกษาให้สอบวัดคุณสมบัติ (Qualified) โดยกรรมการทั้ง 4 ท่านให้นำเสนอสิ่งที่จะวิจัย บวกกับ Review paper ที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 paper โดยกรรมการจะถามถึงความรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โชคดีที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เจ้านายให้ผมศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากพลังงานความเย็น LNG ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ได้ไปศึกษาดูงานและเรียนรู้ที่ Osaka gas ประเทศญี่ปุ่นเรื่องนี้โดยตรง ทำให้สอบวัดคุณสมบัติผ่านสบายๆ
วิชา Doctor Semina 2 กรรมการให้นำความก้าวหน้างานวิจัยมานำเสนอ…ผ่านไปได้ด้วยดี
เทอมนี้ลงทะเบียน Doctor Thesis 1 ครั้งแรก
ได้เกรด S มา 2 ตัว
ปี 2 เทอม 2
ลงทะเบียนเรียน วิชา Doctor Semina 3 โชคดีกรรมการตรวจพบว่าทำวิจัยผิด ให้ไปปรับแก้และให้ข้อเสนอแนะ ผมจึงต้องปรับแก้งานวิจัยและเก็บผลการทดลองใหม่ทั้งหมดที่ทำมาตลอด 2 ปี และทำวิจัยเพิ่มตามที่กรรมการเสนอแนะ ได้เกรด S มา 2 ตัว
หลังจากได้งานวิจัยมาพอสมควรแล้ว อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำให้จดสิทธิบัตรในนามของ สจล. ร่วมกับ มจธ. เพื่อป้องกันการนำแนวคิดงานวิจัยไปใช้โดยไม่ขออนุญาต เนื่องจากทางสิงคโปร์และเกาหลีก็กำลังทำวิจัยคล้ายๆกับผม คือ การนำพลังงานความเย็น LNG ไปลดต้นทุน Datacenter จึงยื่นเรื่องขอจดสิทธิบัตรไป
ขึ้นปี 3…..ลงทะเบียนวิชา Doctor thesis ให้ครบอีก 2 ตัว
ปี 3 เทอม 1
เปิดเทอมมาอาจารย์ที่ปรึกษาบอกว่าอยากให้ร่วมนำเสนองานวิจัยในงาน International conference ที่สอง จัดที่ สจล. อาจารย์บอกว่ารอบนี้จัดร่วมกับวารสารนานาชาติ ถ้าผลงานวิจัยดีอาจได้ตีพิมพ์ Paper แรก โดยมีเวลาเตรียมตัว 3 เดือน เมื่อถึงวัน International conference เกิด Covid-19 ระบาดหนักพอดี จึงเปลี่ยนเป็น Online conference แทน สบายสิครับ ไม่ตื่นเต้นเลย….
หลังจาก International conference ผ่านไป 1 เดือน มี E-mail จาก Reviewer วารสาร Applied Science ที่ร่วมจัดงาน ตอบกลับมาว่า เนื้อหาที่นำเสนอเหมาะสมที่จะตีพิมพ์วารสารได้ ผมดูแล้วว่างานวิจัยผมไม่เกี่ยวข้องกับวารสารนี้ จึงไม่ส่งไป
ส่งวารสารนานาชาติ Energies Q1 IF 3.5 paper แรก
หลังจากได้รับ E-mail จาก Applied Science ก็เกิดแรงฮึด เริ่มเอางานวิจัยมาเขียน Paper แรก เลย โดยแบ่งงานวิจัยมา 1/3 มาเขียน 2/3 เอาไปเขียน paper แรกใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็เขียนเสร็จ ไวยากรณ์ถูกบ้างผิดบ้างแต่ Submission Manuscript วารสารนานาชาติ Energies ไปเลยไม่ได้ทำการ English proof ใดๆ ไม่คิดว่าจะได้ Accepted อาจารย์ที่ปรึกษาสอนว่า ส่งไปแล้วโดน Reject เป็นเรื่องปกติ ถือเป็นประสบการณ์นะ
ผมเริ่ม Submission วันที่ 5 กรกฏาคม 64 ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน อาจารย์ที่ปรึกษาก็โทรมาว่า วารสารตอบกลับมาได้รับ Major Revision 1 Manuscript ผล คือ Reviewers 1 และ 2 Accepted แต่ให้ปรับแก้ภาษาใหม่ Reviewer 3 ให้ Accepted with Major revision พร้อมให้ปรับแก้ประมาณ 7-8 ข้อ
ผมใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ปรับแก้งานวิจัยตามที่ Reviewer 3 เสนอแนะและส่งไป English proof ที่ประเทศอังกฤษเลยครับตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ มีค่าใช้จ่ายแค่ 3500 บาทเอง ใช้เวลา 4 วันก็เสร็จ (ตอนแรกจะจ้างคนไทยเค้าคิด 10000 บาทใช้เวลา 15 วัน) ผมก็ Submission กลับไปใช้เวลาอ่านประมาณ 5 วัน ก็โดน Major Revision 2 จาก Reviewer 3 เจ้าเดิม
ส่งไปอีกรอบ เจอ Major Revision 3 อีกรอบ ก็ปรับแก้อีกครั้ง สรุปว่าปรับแก้ 3 ครั้ง วันที่ 23 กันยายน 65 วารสาร E-mail มาแจ้งว่า Accepted ดีใจมากๆ สรุปใช้เวลา 3 เดือน 18 วัน ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับผมในการเขียน Paper 2
ส่งวารสารนานาชาติ Energy Q1 IF 8.9 Ranking 3 in Thermodynamics เป็น paper 2 ของผม
หลังจากได้ paper แรกแล้วอุ่นใจ Paper 2 จึงอยากส่งวารสาร Energy วารสารในฝันที่ผมอ่านบ่อยๆและอยากตีพิมพ์ที่วารสารนี่มากๆ ถ้าอุปมา paper แรกเหมือนวิ่ง Haft marathon 21 กม. paper 2 ก็เหมือนลงวิ่ง 42 กม. ท้าทายกว่ามากๆ
เนื่องจากไฟยังแรงอยู่ ผมใช้เวลา 2 เดือนในการเขียน paper 2 โดยใช้งานวิจัย 2/3 ที่เหลืออยู่ที่ยื่นจดสิทธิบัตรแล้วตั้งใจจะเขียน paper นี้มากๆ อยากทำตามความฝัน ก็สามารถ แต่ Submission Manuscript วันที่ 28 พ.ย.64 วันเกิดผมพอดี
ผมรออยู่ 4 เดือนเต็มๆ ในการ Review ไม่มี E-mail ตอบกลับมา แต่ก็อุ่นใจไม่โดน Rejected เพราะถ้าโดนจะมี E-mail มาแจ้งใน 2 สัปดาห์
ประมาณ 10 เมษายน 65 มี E-mail จากวารสารตอบกลับมาให้ Major Revision ผล คือ Reviewers 1 และ 2 Accepted แต่ Reviewer 3 Rejected โดยให้เหตุผลประมาณ 8 ข้อ งานเข้าสิครับ ก่อนสงกรานต์พอดีเที่ยวไม่สนุกเลยสิครับผมใช้เวลาวันหยุดช่วงสงกรานต์ 7 วัน ในแก้ไข paper ตาม Reviewer 3 comments ทั้ง 8 ข้อ
แล้ว Submission ไปอีกครั้งใช้เวลา Reviewed 1 เดือน
วัที่ 28 พฤษภาคม 65 เวลาเที่ยงคืน อาจารย์ ไลน์มาแจ้งผลว่า Accepted ดีใจจนนอนไม่หลับทั้งคืน เหมือนฝันที่เป็นจริงได้ตีพิมพ์ในวารสารในฝัน สรุป paper 2 ใช้เวลา 6 เดือนเต็มๆ
หลังจากได้ 2 paper จะรออะไร เขียนเล่มวิทยานิพนธ์ต่อเลยสิครับ ผมใช้เวลาเขียนเล่มประมาณ 1 เดือน ก็นำส่งทะเบียนคณะ เพื่อยื่นเรื่องขอสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ ในเดือนมิถุนายน และได้กำหนดการสอบในวันที่ 18 กรกฏาคม 65 ที่ผ่านมา การสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง อาจารย์ให้อธิบายทฤษฎีและผลงานวิจัยอย่างละเอียด เนื่องจากกรรมการเป็นศาสตราจารย์ถึง 2 ท่านจึงเครียดและกดดันมาก ทั้งๆที่มั่นใจในความรู้ที่ทำวิจัยมาบวกประสบการณ์ทำงานอีก 10 ปี สอบเสร็จ อาจารย์ให้ออกจากห้อง แล้วอาจารย์ประชุมกัน 5 ท่าน ประมาณ 10 นาทีก็ให้ผมเข้าห้องอีกครั้งเพื่อประกาศผล ผล คือ “ผ่าน” แต่ต้องปรับแก้เล่มวิทยานิพนธ์เพิ่ม เป็น Minor revision ผมใช้เวลาประมาณ 9 วัน ปรับแก้ทันส่งทะเบียนคณะ ตอน 4 ทุ่มของวันที่ 27 ก.ค. 65 พอดี พี่ตุ๊กใจดีมากๆช่วยเหลือเต็มที่ ส่งเล่มตอนเที่ยงคืนก็จะรอ เมื่อส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์แล้วความรู้สึกเหมือนวิ่ง Marathon 42 กม. เข้าเส้นชัยด้วยความสำเร็จ สมดังที่ตั้งใจทุ่มเทมาตลอด 3 ปีเต็ม
จบปริญญาเอก 3 ปี แบบฉิวเฉียดพอดี ถ้าส่งช้ากว่านี้ 2 ชม. จะต้องลงทะเบียนรักษาสภาพนักศึกษาอีก 1 เทอม