คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์ฝีดาษวานร ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น.
https://www.facebook.com/fanmoph/videos/470745988208623/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคฝีดาษวานร
ณ กระทรวงสาธารณสุข
22 กรกฎาคม 2565
กระทรวงสาธารณสุข แถลงผลการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษ วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น.
https://www.facebook.com/DMScNews/videos/5347144902065447/ (มีคลิป)
แถลงผลการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษ
ณ กระทรวงสาธารณสุข
22 กรกฎาคม 2565
“โรคฝีดาษวานร” ไวรัสตัวร้ายที่ป้องกันได้ !!
มาทำความรู้จัก โรคฝีดาษวานร ที่แพร่ระบาดในขณะนี้
- การแพร่เชื้อ
- โรคนี้มีวัคซีนแล้วหรือไม่?
- วัคซีนจำเป็นสำหรับใคร
Infographic นี้ มีคำตอบ
https://www.facebook.com/nvikm/posts/pfbid0cud16oeHugF3Z9DhAcX165AG2fa1bZKEi1uHUiJkKYr59BTXaqZk78ffHj6Qi5sfl
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย วัคซีนฝีดาษคนที่เก็บไว้ 40 ปียังมีมาตรฐาน อาจเป็นทางเลือกรับมือฝีดาษลิงได้
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าว ภายหลังการพบการติดเชื้อฝีดาษวานรรายแรกในไทย จึงมีการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษคน (smallpox) ขององค์การเภสัช ที่เก็บรักษาไว้นานกว่า 40 ปี เพื่อตรวจดูคุณภาพว่ายังนำกลับมาใช้ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนฝีดาษวานร แต่จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า วัคซีนฝีดาษคนสามารถนำมาป้องกันฝีดาษวานรได้ราว 85% โดยทำการตรวจถึง 13 ครั้ง พบว่ายังคงมีคุณภาพตามมาตรฐานวัคซีนไวรัสทั่วไป
ทั้งนี้วัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนรุ่นแรกที่ผลิตจากน้ำเหลืองของสัตว์ รูปแบบการนำมาใช้โดยการหยดลงผิวหนังและใช้เข็มสะกิดผิวให้ถลอกเพื่อให้วัคซีนซึมผ่าน จนเกิดเป็นแผลเป็นหรือฝี
หากเกิดการระบาดของฝีดาษวานรขึ้นในประเทศไทยและไม่สามารถจัดหาวัคซีนมาใช้ได้ หรือมีน้อยเกินไป วัคซีนฝีดาษรุ่นเก่านี้น่าจะนำมาใช้ป้องกันฝีดาษวานรได้เพื่อเป็นทางเลือก แต่การจะนำมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินจะต้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับ เพื่อความปลอดภัยของผู้รับวัคซีน และจำเป็นต้องไปหาวัคซีนรุ่นใหม่ ๆ มาใช้ด้วยหากเกิดการระบาดขึ้นมาในประเทศ
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02dysRq6wfehEmFiYUkhbyQm3KepqPDPDMoYktNAG8HMd7BzWp5wGp6EndYu5Y8dvVl
เปิด Timeline ผู้ป่วยฝีดาษลิง คนแรกในไทย
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0pdzxYC17p5Gr19MaPiAy2bEuvSV5hvYiyL33KYb3x1QHvwpPv4ssaEd6iEWU3HMGl
จังหวัดภูเก็ต แถลงข่าวพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรรายแรกของไทย เป็นชาวไนจีเรีย หลบเลี่ยงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังติดตามตัว
จังหวัดภูเก็ตแถลงข่าวกรณีพบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายแรกที่จังหวัดภูเก็ต โดยผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี อาชีพนักธุรกิจ มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย
นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย timeline ของผู้ป่วย
- วันที่ 16 ก.ค.65 ทาง สสจ.ได้รับแจ้งจาก รพ.ว่า มีเคสสงสัย ให้ข้อมูลว่ามีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้ออก่อโรค มีประวัติสัมผัสนักท่องเที่ยวในสถานบันเทิงที่ป่าตองใน 2-3 สัปดาห์ก่อนป่วย พร้อมทั้งให้ประวัติมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย (กับเพศหญิงไม่สามารถระบุสัญชาติได้)
- วันที่ 18 ก.ค.65 ทราบผล Lab ตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วันที่ 19 ก.ค.65 ทราบผล Lab ยืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
การสอบสวนโรคมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 17 คน เบื้องต้นกลุ่มแรก 7 คน ไม่พบเชื้อ ขณะที่อีก 10 คน อยู่ระหว่างรอผลและกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการ
ด้าน พล.ต.ต.เสริมพันธุ์ ศิริคง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่าผู้ป่วยรายนี้ ได้หลีกเลี่ยงการเปิดประวัติส่วนบุคคล ทั้งการเดินทาง และอาชีพ และหลบหายไปจากที่พัก เมื่อวันที่ 21 ก.ค.65 ช่วงเวลา 21.00 น. เบื้องต้นทราบว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่ ไม่ได้อายุ VISA จึงกลายเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่ม overstay ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามตัว โดยปิดทุกช่องทางเข้าออกของจังหวัดภูเก็ต
นพ.วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยการ รพ.วชิระภูเก็ต กล่าวว่า จากข้อมูลทางการแพทย์ โรคฝีดาษวานรจะมี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ West African เป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง อีกสายพันธุ์คือ Central African เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงกว่า ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ พบเชื้อยืนยันเป็นสายพันธุ์ West African และไม่ได้แพร่เชื้อได้ง่ายเหมือนโรคโควิด -19
พร้อมฝากถึงนักท่องเที่ยวและประชาชนว่า ยังคงสามารถเดินทางท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตได้ตามปกติ
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02Cd2cDaAzNEgPpRrr9EcegECDkCtDn71eXVnvVPtMfALDKR6QTtjn2DAxqs2jDdGQl
สธ.ยืนยัน ไทยพบฝีดาษวานรรายแรกจากการเฝ้าระวังโรค แจงไม่รุนแรง-ไม่ติดต่อง่าย
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคฝีดาษวานร หลังพบผู้ติดเชื้อรายแรกในไทย ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคนี้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยกำหนดอาการสำคัญคือ ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต เจ็บคอ เกิดตุ่มตามตัว โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด รวมถึงเจ้าพนักงานควบคุมโรคต้องจัดทำแผนปฏิบัติการและรายงานสถานการณ์เหตุสงสัยการระบาด
ทาง จ.ภูเก็ต มีการเฝ้าระวังก่อนได้รับรายงานจากโรงพยาบาลว่าพบชาวต่างชาติ ชาวไนจีเรีย ต้องสงสัยว่าเป็นโรคฝีดาษวานร จึงส่งตัวอย่างไปตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบผลบวกว่าเป็นฝีดาษวานร เมื่อพบผู้ติดเชื้อโรคระบาดรายแรกๆ ในประเทศ จะต้องตรวจเชื้อ 2 ครั้งเพื่อยืนยัน จึงส่งไปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมีผลยืนยันตรงกันในวันที่ 19 ก.ค.65 ต่อไปคือการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยรายดังกล่าว เพื่อเสนอคณะกรรมการวิชาการเพื่อยืนยัน โดยคณะกรรมการดังกล่าวยืนยันแล้วจึงมีการแถลงข่าวทันทีเมื่อวานนี้
ในกระบวนการยืนยันผู้ป่วยรายแรกจะมีขั้นตอนหลายประการ แต่ในขั้นตอนสอบสวนควบคุมโรคจะเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที มีการตามหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และตรวจเชิงรุก พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย ยังไม่มีอาการ และยังไม่พบเชื้อ แต่ยังคงอยู่ในช่วงกักตัวสังเกตุอาการอีก 21 วัน ยังคงค้นหาผู้สัมผัสโรคเพิ่มเติม คือ สถานบันเทิง 2 แห่ง ทั้งหมด 142 ราย พบอีก 6 รายต้องสงสัย และมีการส่งตรวจ 4 ราย ไม่พบเชื้อ
เบื้องต้นยืนยันเราพบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายแรกแล้ว ตามการเฝ้าระวัง และมีการรายงานให้ WHO รับทราบแล้วตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ โดยขณะนี้ยังไม่มีการประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และมีเงื่อนไขคือ มีความรุนแรงสูง ติดต่อง่าย และอาจต้องจำกัดการเดินทางของประชากร แต่จากข้อมูลที่มีตอนนี้ ความรุนแรงยังไม่มากนัก และการติดต่อไม่ได้รวดเร็วนัก รวมมีผู้ป่วย 12,608 รายทั่วโลก ตั้งแต่การระบาดวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เบื้องต้นแจ้งเตือนประชาชน หากมีอาการเสี่ยงให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย พร้อมย้ำว่า โรคนี้ไม่ได้มีความรุนแรงมากนัก มีความรุนแรงน้อย สำหรับประชาชน การติดต่อโรคนี้เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด ไม่ได้ติดต่อง่ายนัก มาตรการป้องกันโรคโควิดที่ใช้กันอยู่ก็ใช้กับโรคนี้ได้เช่นกัน พร้อมขออย่าตีตราหรือรังเกียจผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง
ส่วนการรักษาโรคจะเป็นไปตามอาการ ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสโรคนี้โดยตรง แต่มีการสั่งจองวัคซีนกับบริษัทต่าง ๆ ในเบื้องต้นแล้ว ส่วนวัคซีนเดิมหรือวัคซีนฝีดาษที่ไทยมีเก็บไว้อาจจะนำมาใช้ได้ ต้องดูประสิทธิภาพและผลข้างเคียงอีกครั้ง และสถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02n5Fjgw9uwXvfXEW7V28dBW3bhHTq6EW4ZDLaHj3WC4tP7AX7yt76xnqyXdjy1ZKsl
https://www.facebook.com/fanmoph/videos/470745988208623/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคฝีดาษวานร
ณ กระทรวงสาธารณสุข
22 กรกฎาคม 2565
กระทรวงสาธารณสุข แถลงผลการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษ วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น.
https://www.facebook.com/DMScNews/videos/5347144902065447/ (มีคลิป)
แถลงผลการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษ
ณ กระทรวงสาธารณสุข
22 กรกฎาคม 2565
“โรคฝีดาษวานร” ไวรัสตัวร้ายที่ป้องกันได้ !!
มาทำความรู้จัก โรคฝีดาษวานร ที่แพร่ระบาดในขณะนี้
- การแพร่เชื้อ
- โรคนี้มีวัคซีนแล้วหรือไม่?
- วัคซีนจำเป็นสำหรับใคร
Infographic นี้ มีคำตอบ
https://www.facebook.com/nvikm/posts/pfbid0cud16oeHugF3Z9DhAcX165AG2fa1bZKEi1uHUiJkKYr59BTXaqZk78ffHj6Qi5sfl
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย วัคซีนฝีดาษคนที่เก็บไว้ 40 ปียังมีมาตรฐาน อาจเป็นทางเลือกรับมือฝีดาษลิงได้
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าว ภายหลังการพบการติดเชื้อฝีดาษวานรรายแรกในไทย จึงมีการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษคน (smallpox) ขององค์การเภสัช ที่เก็บรักษาไว้นานกว่า 40 ปี เพื่อตรวจดูคุณภาพว่ายังนำกลับมาใช้ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนฝีดาษวานร แต่จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า วัคซีนฝีดาษคนสามารถนำมาป้องกันฝีดาษวานรได้ราว 85% โดยทำการตรวจถึง 13 ครั้ง พบว่ายังคงมีคุณภาพตามมาตรฐานวัคซีนไวรัสทั่วไป
ทั้งนี้วัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนรุ่นแรกที่ผลิตจากน้ำเหลืองของสัตว์ รูปแบบการนำมาใช้โดยการหยดลงผิวหนังและใช้เข็มสะกิดผิวให้ถลอกเพื่อให้วัคซีนซึมผ่าน จนเกิดเป็นแผลเป็นหรือฝี
หากเกิดการระบาดของฝีดาษวานรขึ้นในประเทศไทยและไม่สามารถจัดหาวัคซีนมาใช้ได้ หรือมีน้อยเกินไป วัคซีนฝีดาษรุ่นเก่านี้น่าจะนำมาใช้ป้องกันฝีดาษวานรได้เพื่อเป็นทางเลือก แต่การจะนำมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินจะต้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับ เพื่อความปลอดภัยของผู้รับวัคซีน และจำเป็นต้องไปหาวัคซีนรุ่นใหม่ ๆ มาใช้ด้วยหากเกิดการระบาดขึ้นมาในประเทศ
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02dysRq6wfehEmFiYUkhbyQm3KepqPDPDMoYktNAG8HMd7BzWp5wGp6EndYu5Y8dvVl
เปิด Timeline ผู้ป่วยฝีดาษลิง คนแรกในไทย
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0pdzxYC17p5Gr19MaPiAy2bEuvSV5hvYiyL33KYb3x1QHvwpPv4ssaEd6iEWU3HMGl
จังหวัดภูเก็ต แถลงข่าวพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรรายแรกของไทย เป็นชาวไนจีเรีย หลบเลี่ยงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังติดตามตัว
จังหวัดภูเก็ตแถลงข่าวกรณีพบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายแรกที่จังหวัดภูเก็ต โดยผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี อาชีพนักธุรกิจ มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย
นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย timeline ของผู้ป่วย
- วันที่ 16 ก.ค.65 ทาง สสจ.ได้รับแจ้งจาก รพ.ว่า มีเคสสงสัย ให้ข้อมูลว่ามีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้ออก่อโรค มีประวัติสัมผัสนักท่องเที่ยวในสถานบันเทิงที่ป่าตองใน 2-3 สัปดาห์ก่อนป่วย พร้อมทั้งให้ประวัติมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย (กับเพศหญิงไม่สามารถระบุสัญชาติได้)
- วันที่ 18 ก.ค.65 ทราบผล Lab ตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วันที่ 19 ก.ค.65 ทราบผล Lab ยืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
การสอบสวนโรคมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 17 คน เบื้องต้นกลุ่มแรก 7 คน ไม่พบเชื้อ ขณะที่อีก 10 คน อยู่ระหว่างรอผลและกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการ
ด้าน พล.ต.ต.เสริมพันธุ์ ศิริคง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่าผู้ป่วยรายนี้ ได้หลีกเลี่ยงการเปิดประวัติส่วนบุคคล ทั้งการเดินทาง และอาชีพ และหลบหายไปจากที่พัก เมื่อวันที่ 21 ก.ค.65 ช่วงเวลา 21.00 น. เบื้องต้นทราบว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่ ไม่ได้อายุ VISA จึงกลายเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่ม overstay ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามตัว โดยปิดทุกช่องทางเข้าออกของจังหวัดภูเก็ต
นพ.วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยการ รพ.วชิระภูเก็ต กล่าวว่า จากข้อมูลทางการแพทย์ โรคฝีดาษวานรจะมี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ West African เป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง อีกสายพันธุ์คือ Central African เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงกว่า ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ พบเชื้อยืนยันเป็นสายพันธุ์ West African และไม่ได้แพร่เชื้อได้ง่ายเหมือนโรคโควิด -19
พร้อมฝากถึงนักท่องเที่ยวและประชาชนว่า ยังคงสามารถเดินทางท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตได้ตามปกติ
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02Cd2cDaAzNEgPpRrr9EcegECDkCtDn71eXVnvVPtMfALDKR6QTtjn2DAxqs2jDdGQl
สธ.ยืนยัน ไทยพบฝีดาษวานรรายแรกจากการเฝ้าระวังโรค แจงไม่รุนแรง-ไม่ติดต่อง่าย
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคฝีดาษวานร หลังพบผู้ติดเชื้อรายแรกในไทย ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคนี้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยกำหนดอาการสำคัญคือ ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต เจ็บคอ เกิดตุ่มตามตัว โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด รวมถึงเจ้าพนักงานควบคุมโรคต้องจัดทำแผนปฏิบัติการและรายงานสถานการณ์เหตุสงสัยการระบาด
ทาง จ.ภูเก็ต มีการเฝ้าระวังก่อนได้รับรายงานจากโรงพยาบาลว่าพบชาวต่างชาติ ชาวไนจีเรีย ต้องสงสัยว่าเป็นโรคฝีดาษวานร จึงส่งตัวอย่างไปตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบผลบวกว่าเป็นฝีดาษวานร เมื่อพบผู้ติดเชื้อโรคระบาดรายแรกๆ ในประเทศ จะต้องตรวจเชื้อ 2 ครั้งเพื่อยืนยัน จึงส่งไปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมีผลยืนยันตรงกันในวันที่ 19 ก.ค.65 ต่อไปคือการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยรายดังกล่าว เพื่อเสนอคณะกรรมการวิชาการเพื่อยืนยัน โดยคณะกรรมการดังกล่าวยืนยันแล้วจึงมีการแถลงข่าวทันทีเมื่อวานนี้
ในกระบวนการยืนยันผู้ป่วยรายแรกจะมีขั้นตอนหลายประการ แต่ในขั้นตอนสอบสวนควบคุมโรคจะเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที มีการตามหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และตรวจเชิงรุก พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย ยังไม่มีอาการ และยังไม่พบเชื้อ แต่ยังคงอยู่ในช่วงกักตัวสังเกตุอาการอีก 21 วัน ยังคงค้นหาผู้สัมผัสโรคเพิ่มเติม คือ สถานบันเทิง 2 แห่ง ทั้งหมด 142 ราย พบอีก 6 รายต้องสงสัย และมีการส่งตรวจ 4 ราย ไม่พบเชื้อ
เบื้องต้นยืนยันเราพบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายแรกแล้ว ตามการเฝ้าระวัง และมีการรายงานให้ WHO รับทราบแล้วตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ โดยขณะนี้ยังไม่มีการประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และมีเงื่อนไขคือ มีความรุนแรงสูง ติดต่อง่าย และอาจต้องจำกัดการเดินทางของประชากร แต่จากข้อมูลที่มีตอนนี้ ความรุนแรงยังไม่มากนัก และการติดต่อไม่ได้รวดเร็วนัก รวมมีผู้ป่วย 12,608 รายทั่วโลก ตั้งแต่การระบาดวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เบื้องต้นแจ้งเตือนประชาชน หากมีอาการเสี่ยงให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย พร้อมย้ำว่า โรคนี้ไม่ได้มีความรุนแรงมากนัก มีความรุนแรงน้อย สำหรับประชาชน การติดต่อโรคนี้เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด ไม่ได้ติดต่อง่ายนัก มาตรการป้องกันโรคโควิดที่ใช้กันอยู่ก็ใช้กับโรคนี้ได้เช่นกัน พร้อมขออย่าตีตราหรือรังเกียจผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง
ส่วนการรักษาโรคจะเป็นไปตามอาการ ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสโรคนี้โดยตรง แต่มีการสั่งจองวัคซีนกับบริษัทต่าง ๆ ในเบื้องต้นแล้ว ส่วนวัคซีนเดิมหรือวัคซีนฝีดาษที่ไทยมีเก็บไว้อาจจะนำมาใช้ได้ ต้องดูประสิทธิภาพและผลข้างเคียงอีกครั้ง และสถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02n5Fjgw9uwXvfXEW7V28dBW3bhHTq6EW4ZDLaHj3WC4tP7AX7yt76xnqyXdjy1ZKsl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💙มาลาริน💙🇹🇭22ก.ค.โควิดไทยอันดับ27โลก/ป่วย2,424คน หาย1,816คน เสียชีวิต25คน/เปิดข้อมูลใหม่สี่ยง/เร่งตามผู้ป่วยหนี
https://www.bangkokbiznews.com/social/1016732
https://www.bangkokbiznews.com/social/1016767
วัคซีนโควิด" ในเด็ก 5-11 ปี หมอสันต์ เปิดข้อมูล ผลวิจัย ใหม่ ทำไม เสี่ยงกว่าไม่ "ฉีดวัคซีน" ถึง 4.4 เท่า ชัดเจนในยุค โอไมครอน
(22 ก.ค. 2565) "หมอสันต์" นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 20 กค.65 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์เจอร์นาล ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยการใช้ "วัคซีนโควิด" ในเด็กอายุ 5-11 ขวบ ที่ประเทศสิงคโปร์
ข้อมูลที่ตีพิมพ์ เป็นข้อมูลใหม่ที่ให้ภาพในเรื่องนี้ ชัดเจนกว่าที่ผ่านมา ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ ครูอาจารย์ และผู้กำหนดนโยบายของรัฐในแง่ที่จะชั่งน้ำหนัก "วัคซีนโควิด" ความเสี่ยงและประโยชน์ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะ "ฉีดวัคซีน" ให้เด็กหรือไม่ จึงได้สรุปมาให้อ่าน
ในภาพใหญ่งานวิจัยนี้ เป็นการติดตามเด็กสิงคโปร์ จับช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มค. ถึง 8 เมย.2565 ซึ่งเป็นยุคโอไมครอน 100% ครอบคลุมเด็กจำนวน 255,936 คน ในจำนวนนี้ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว 66.7% (173,268 คน) ได้แต่ไม่ครบ 12%(30,712 คน) ไม่ได้วัคซีนเลย 20.3% (51,995 คน)
ในแง่ของการรักษาโรค มีการติดเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้น 53,429 ครั้ง ต้องเข้าโรงพยาบาล 288 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นการป่วยหนักถึงต้องให้ออกซิเจน หรือเข้าไอซียู 5 คน ในจำนวน 5 คนที่ป่วยหนักนี้ เป็นคนไม่ได้ฉีดวัคซีนมาก่อนเลย 1 คน ได้วัคซีนแล้ว 4 คน (ได้ครบ 2 คน ได้ไม่ครบ 2 คน)
ในแง่ของภูมิคุ้มกันของวัคซีนที่วัดจากโมเลกุลภูมิคุ้มกัน (antibody) ในเลือด พบว่า ภูมิคุ้มกันเกิดสูงสุด 48.9% ใน 1-2 สัปดาห์หลังฉีด แล้วลดลงอย่างรวดเร็วเหลือ 25.6% ใน 2 เดือนหลังฉีด
แง่ของผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด มีการเกิดผลเสียของวัคซีนระดับรุนแรง (severe adverse reaction) ตามนิยามทางการแพทย์ขึ้น 22 ราย
ข้อสรุปของหมอสันต์
1.งานวิจัยนี้ทำในยุค "โอไมครอน" จึงใช้กับเหตุการณ์วันนี้ได้มากกว่างานวิจัยอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ที่ทำในยุคเดลตา
2.ความเชื่อแต่เดิมที่เชื่อกันว่า การ "ฉีดวัคซีน" ให้เด็ก จะป้องกันการป่วยรุนแรงนั้นไม่เป็นความจริงในงานวิจัยนี้ เพราะอัตราการป่วยรุนแรงไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ได้กับไม่ได้วัคซีน
3.ความเชื่อแต่เดิมที่เชื่อกันว่า "วัคซีนโควิด" ผลเสียระดับรุนแรงของวัคซีนมีน้อยกว่าประโยชน์ที่จะได้จากการป้องกันการป่วยรุนแรงเพราะโรคนั้นไม่เป็นความจริง เพราะอัตราเกิดผลเสียระดับรุนแรงของวัคซีน สูงกว่าอัตราป่วยรุนแรงถึงขั้นให้ออกซิเจน หรือเข้าไอซียู.จากโรค (ผลเสียรุนแรงของวัคซีนเกิด 8.59 คน: 100,000 คน การป่วยรุนแรงจากโรคเกิด 1.95 คน : 100,000 คน) ประมาณว่าฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงโหลงโจ้งมากกว่าไม่ฉีด 4.4 เท่า
4.ถ้าจะถือตามเกณฑ์สมมุติบัญญัติของวงการแพทย์ที่ว่าวัคซีนที่จะนำมาใช้ควรป้องกันโรคได้ 50% ขึ้นไปวัคซีนโควิดในเด็กก็สอบตก เพราะป้องกันโรคสูงสุดได้ไม่ถึง 50% และผ่านไปแค่สองเดือนก็ป้องกันได้แค่ 25%
สรุป จากงานวิจัยนี้คือ ประโยชน์ที่พึงได้จากวัคซีนโควิดในแง่ป้องกันการป่วยรุนแรงในเด็กไม่มี ผลเสียของวัคซีนมีมากกว่าไม่ยุ่งกับวัคซีน 4.4 เท่า
https://www.komchadluek.net/covid-19/523396
ภูเก็ตเร่งติดตาม "ผู้ป่วยฝีดาษวานร" ไนจีเรียหนีการรักษา
เปิดไทม์ไลน์ผู้ป่วย "โรคฝีดาษวานร" รายแรกในประเทศไทย หนีการรักษาจริงหรือไม่ พบกลุ่มเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกี่ราย
จากกรณีพบผู้ป่วยโรค ‘ฝีดาษวานร’ รายแรกในประเทศไทย เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุประมาณ 27 ปี ติดเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกนั้น นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธาณสุขจังหวัดภูเก็ต และนพ.วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ร่วมกันแถลงข่าววันนี้ (22 ก.ค. 2565) ณ ห้องประชุมศาลากลาง มุขหลัง ชั้น 5
นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนว่า มีผู้ป่วยที่มีลักษณะคล้ายโรคฝีดาษวานรเข้ารับการรักษาตัว จึงเก็บตัวอย่าง ระหว่างนั้นผู้ป่วยมาพักรอในที่พักอาศัย จนผลออกมาเมื่อวันที่ 19 ก.ค. ยืนยันว่าเป็นโรคฝีดาษวานรจริง มีการนัดเข้ามารักษาตัว ปรากฎว่า ไม่พบตัวแล้ว ขณะนี้กำลังติดตามตัว เพื่อให้เข้ารับการรักษาต่อไป
ด้านนพ.กู้ศักดิ์ กล่าวถึงไทม์ไลน์ของผู้ป่วยชายชาวไนจีเรีย ว่า เคสนี้นับเป็นเคสที่ 4 ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคฝีดาษวานร ทางโรงพยาบาลจึงเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในวันที่ 18 ก.ค. ทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยืนยันว่าพบเชื้อ จึงได้ประสานผู้ป่วยเพื่อรับตัวมารักษา แต่ผู้ป่วยปฏิเสธและปิดโทรศัพท์ จากนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกะทู้ ลงพื้นที่ตรวจสอบว่าพักอยู่ที่ไหน พร้อมประสานกับทาง ตม. (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) ทันที มีการเฝ้าที่คอนโด จนในวันที่ 19 ก.ค.ช่วงบ่าย ผลแล็ปที่ 2 จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขก็ยืนยันว่าเป็นโรคฝีดาษวานร
สำหรับข้อมูลของผู้ป่วยเป็นเพศชาย ชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี ปฏิเสธการให้ประวัติอาชีพ ช่วงหลังบอกว่าเป็นนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เข้าพักอาศัยที่คอนโดมิเนียมในตำบลป่าตองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 มีประวัติเสี่ยงในสถานบันเทิงที่ป่าตอง 2-3 สัปดาห์ก่อนป่วย และมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัยกับผู้หญิง จนวันที่ 9 ก.ค. 2565 เริ่มมีอาการป่วย ไอ เจ็บคอ ผื่นขึ้นจากอวัยวะเพศลามไปยังใบหน้า แขน ขา จนวันที่ 16 ก.ค. เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชน เมื่อสงสัยว่าเข้าข่ายของโรคจึงเจาะเลือดส่งตรวจ แต่ไม่ได้นอนโรงพยาบาล เพราะไม่มีอาการมากนัก โรงพยาบาลจึงรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแนะนำให้กักตัวอยู่ที่คอนโดที่พัก จนวันที่ 18 ก.ค. ในช่วงเย็นทางโรงพยาบาลได้โทรศัพท์ไปประสานเพื่อรับตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต แต่ผู้ป่วยปิดโทรศัพท์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามพบว่า ผู้ป่วยนั่งแท็กซี่ออกจากคอนโดไปในเวลา 19.30 น. ไปเช็คอินที่โรงแรมแห่งหนึ่งใน อ.ป่าตอง จากนั้นในเวลา 21.00 น. ผู้ป่วยได้นำกุญแจมาวางไว้ที่เคาท์เตอร์และหายไป" นพ.สสจ.ภูเก็ต กล่าว
ส่วนการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด นพ.สสจ.ภูเก็ต เปิดเผยว่า ทีมสอบสวนได้ดูกล้องวงจรปิดในที่พักอาศัย พบผู้สัมผัสใกล้ชิด 2 คน เป็นชายชาวไนจีเรียกับแฟนสาว ส่วนโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งที่ผู้ป่วยได้เดินทางไปนั้น มีการป้องกันเป็นอย่างดี จึงมีเพียงผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ โดยสรุปรวมมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 17 คน ช่วงวันที่ 18-19 ก.ค. ได้ส่งตรวจไป 7 คน จากคอนโดและสถานบันเทิง ตรวจไม่พบเชื้อ เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ส่งตรวจเพิ่มจากคนในชุมชน และยังรอผลของคนที่เพิ่งส่งตรวจไป สำหรับโรคฝีดาษวานรนั้นติดต่อยาก อาการของสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกก็ไม่รุนแรง ต้องเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดแบบเนื้อแนบเนื้อ มีการไอจามใส่หน้ากัน จึงจะเป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง
ขณะที่ นพ.วีระศักดิ์ กล่าวว่า โรคฝีดาษวานรเป็นเชื้อไวรัส ลักษณะโรคคล้ายกับโรคอีสุกอีใส มีไข้ ตุ่มน้ำตุ่มหนอง แต่ติดยากกว่าโรคอีสุกอีใส ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งตรงตุ่มน้ำตุ่มหนอง ไอจามรดกัน หรือมีเพศสัมพันธ์ โดยระยะฟักตัวอยู่ที่ 5-21 วัน ส่วนใหญ่ต้องเฝ้าระวังในช่วงที่ผื่นขึ้นซึ่งจะเริ่มแพร่เชื้อในตอนนั้น ระยะของผื่น 2-4 สัปดาห์ และผื่นจะหายไป หลังจากนั้นจะไม่แพร่เชื้ออีก ลักษณะของผื่นจะขึ้นบริเวณ มือ เท้า อวัยวะเพศ ก่อนจะกระจายทั่วตัว สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องระวัง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เพราะเชื้อนี้ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ หากคนท้องได้รับเชื้ออาจเกิดอาการรุนแรงได้ รวมถึงเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่แออัด
ขอบคุณข้อมูลจากไลฟ์ของ Phuket Times ภูเก็ตไทม์
https://www.hfocus.org/content/2022/07/25576
...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
โควิดก็ยังไม่จบนะคะ ฝีดาษวานรก็มาวุ่นวาย