ภาพโดย Charlie Lew
ปัญหาอีกข้อหนึ่ง มักจะเป็นที่สงสัยกัน คือว่า พระอวโลกิเตศวรนี้เป็นชายหรือหญิง ทั้งนี้ถ้าท่านผู้อ่านผู้สนใจในเรื่องลัทธิมหายานบ้างแล้ว คงจะอดคิดกังขาไม่ได้เพราะชาวจีนทั่วไปบูชาปฏิมาของพระโพธิสัตว์องค์นี้ เป็นสตรีเกือบทั้งหมด และเรียกว่า “กวงซีอิมเนี้ยๆ” ซึ่งคำว่า “เนี้ย” ก็บ่งชัดว่า เป็นสตรีเพศ หาใช่บุรุษเพศไม่
อันที่จริงพระโพธิสัตว์ ถึงขั้นอวโลกิเตศวรแล้วย่อมเป็นบุรุษเพศทั้งนั้น ปฏิมาของพระองค์ในประเทศจีนสมัยก่อนสมัยราชวงศ์ถัง คือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ขึ้นไปล้วนสร้างเป็นรูปมหาบุรุษ ประดับด้วยอลังการวิภูษิตาภรณ์อย่างกษัตริย์อินเดียโบราณทั้งสิ้น แม้รูปปฏิมาที่สร้างขึ้นในอินเดียเอง ก็เป็นรูปมหาบุรุษ
แต่ภายหลังเกิดการนิยมสร้างเป็นรูปสตรีนั้น เข้าใจว่า เพราะปณิธานของพระอวโลกิเตศวรต้องการจะโปรดสัตว์ ทุกภพทุกภูมิ และทรงเสด็จมาโปรดสัตว์เหล่านั้น ตามสภาวรูปแห่งสัตว์นั้นๆ ด้วย เช่น ถ้ามีสตรีตกทุกข์ พระองค์ก็แบ่งภาคมาในรูปสตรีมาโปรดนี้ ดังปรากฏในสัทธรรมปุณฑริกสูตร
อีกประการหนึ่ง เห็นจะเป็นด้วยสตรีเพศอันเป็นเพศมารดาเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตาปราณี ซาบซึ้งยิ่งกว่าบุรุษเพศเช่น ความรักของมารดาที่แสดงต่อบุตรธิดา ย่อมประณีตกว่า เห็นได้ชัดกว่าความรักของบิดา ด้วยบิดาเป็นชาย ย่อมต้องธำรงไว้ ซึ่งความเข้มแข็งองอาจ ข้อนี้จึงเป็นเหตุให้คนทั้งหลายนิยมสร้างปฏิมาพระอวโลกิเตศวรเป็นหญิง
อีกประการหนึ่ง ด้วยพระองค์ก็ทรงมีพระกรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้นในสรรพสัตว์ ดุจมารดาเมตตารักถนอมในบุตรธิดาของตนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปฏิมาของพระอวโลกิเตศวร ถ้าจะสร้างให้ถูกคุณลักษณะแล้ว ช่างผู้สร้างต้องสามารถสร้าง จนกระทั่งสามารถดึงดูดบันดาลใจผู้บูชาให้เห็นพระปัญญาคุณ พระสันติคุณ และพระกรุณาธิคุณทั้ง ๓ ประการนี้ ในพระเนตรและพระพักตร์ของรูปปฏิมาจึงจัดว่าถูกต้องด้วยคุณลักษณะของพระโพธิสัตว์โดยแท้
เสถียร โพธินันทะ
รับสมัครคัดเลือก องค์สมมติพระโพติสัตว์กวนอิม พระอวโลกิเตศวร
ปัญหาอีกข้อหนึ่ง มักจะเป็นที่สงสัยกัน คือว่า พระอวโลกิเตศวรนี้เป็นชายหรือหญิง ทั้งนี้ถ้าท่านผู้อ่านผู้สนใจในเรื่องลัทธิมหายานบ้างแล้ว คงจะอดคิดกังขาไม่ได้เพราะชาวจีนทั่วไปบูชาปฏิมาของพระโพธิสัตว์องค์นี้ เป็นสตรีเกือบทั้งหมด และเรียกว่า “กวงซีอิมเนี้ยๆ” ซึ่งคำว่า “เนี้ย” ก็บ่งชัดว่า เป็นสตรีเพศ หาใช่บุรุษเพศไม่
อันที่จริงพระโพธิสัตว์ ถึงขั้นอวโลกิเตศวรแล้วย่อมเป็นบุรุษเพศทั้งนั้น ปฏิมาของพระองค์ในประเทศจีนสมัยก่อนสมัยราชวงศ์ถัง คือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ขึ้นไปล้วนสร้างเป็นรูปมหาบุรุษ ประดับด้วยอลังการวิภูษิตาภรณ์อย่างกษัตริย์อินเดียโบราณทั้งสิ้น แม้รูปปฏิมาที่สร้างขึ้นในอินเดียเอง ก็เป็นรูปมหาบุรุษ
แต่ภายหลังเกิดการนิยมสร้างเป็นรูปสตรีนั้น เข้าใจว่า เพราะปณิธานของพระอวโลกิเตศวรต้องการจะโปรดสัตว์ ทุกภพทุกภูมิ และทรงเสด็จมาโปรดสัตว์เหล่านั้น ตามสภาวรูปแห่งสัตว์นั้นๆ ด้วย เช่น ถ้ามีสตรีตกทุกข์ พระองค์ก็แบ่งภาคมาในรูปสตรีมาโปรดนี้ ดังปรากฏในสัทธรรมปุณฑริกสูตร
อีกประการหนึ่ง เห็นจะเป็นด้วยสตรีเพศอันเป็นเพศมารดาเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตาปราณี ซาบซึ้งยิ่งกว่าบุรุษเพศเช่น ความรักของมารดาที่แสดงต่อบุตรธิดา ย่อมประณีตกว่า เห็นได้ชัดกว่าความรักของบิดา ด้วยบิดาเป็นชาย ย่อมต้องธำรงไว้ ซึ่งความเข้มแข็งองอาจ ข้อนี้จึงเป็นเหตุให้คนทั้งหลายนิยมสร้างปฏิมาพระอวโลกิเตศวรเป็นหญิง
อีกประการหนึ่ง ด้วยพระองค์ก็ทรงมีพระกรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้นในสรรพสัตว์ ดุจมารดาเมตตารักถนอมในบุตรธิดาของตนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปฏิมาของพระอวโลกิเตศวร ถ้าจะสร้างให้ถูกคุณลักษณะแล้ว ช่างผู้สร้างต้องสามารถสร้าง จนกระทั่งสามารถดึงดูดบันดาลใจผู้บูชาให้เห็นพระปัญญาคุณ พระสันติคุณ และพระกรุณาธิคุณทั้ง ๓ ประการนี้ ในพระเนตรและพระพักตร์ของรูปปฏิมาจึงจัดว่าถูกต้องด้วยคุณลักษณะของพระโพธิสัตว์โดยแท้
เสถียร โพธินันทะ